<< Back
" เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล วันพุธที่ 16 ตุลาคม 2545 "
(น.61) รูป
(น.61) หุ่นมีหลายประเภท มีชนิดที่มีเท้า มีเชือกชัก หุ่นมือ มีมาแต่สมัยราชวงศ์ถัง หุ่นที่ใช้ก้านเหล็ก 3 ก้านเชิด อยู่เขตเจ้าอานติดกับซัวเถา (ซ่านโถว) มีรูปคนทำหุ่นที่มีชื่อเสียงปลายราชวงศ์ชิง
มีตู้แสดงการชักหุ่นและมีจอคอมพิวเตอร์แสดงการชักหุ่นแบบต่างๆ มีแบบที่คนชักหุ่นกับตัวหุ่นอยู่บนเวทีด้วยกัน
ดื่มน้ำชาแล้วยังพอมีเวลา จึงไปดูแผนกงานฝีมือ
(น.62) การแกะสลักหินโซ่วซาน (Shoushan Stone Carving) เป็นศิลปะที่ทำสืบต่อกันมาเป็นเวลาพันปีแล้ว หินที่ใช้แกะสลักมีหลายชนิด ที่ดีที่สุดเรียกว่า หินเถียนหวงสือ หินอีกอย่างมีลักษณะคล้ายหยก
การแกะสลักงาช้าง เป็นรูปต่างๆ ละเอียดประณีต เช่น รูปกุ้ง
เครื่องเขินแบบของฝูโจว ที่ตู้มีคำบรรยายติดไว้ว่า bodiless lacquer ware แปลว่า เครื่องเขินไม่มีรูปร่าง ใช้ดิน ปูนปลาสเตอร์ และไม้เป็นโครง
พันผ้าเป็นชั้นๆ พอแห้งแล้ว เอาโครงไม้ออก แล้วลงรักและเขียนสี มีคุณสมบัติพิเศษคือ กักน้ำได้ ทนร้อน ทนเย็น ไม่ว่าจุดเยือกแข็ง และจุดเดือด ทนต่อการกัดกร่อน ไม่เปลี่ยนรูป สีไม่ลอก แลคเกอร์ไม่หลุด
งานหัตถกรรมสมัยใหม่มีกระดาษสีตัดเป็นเส้นๆ แล้วมาสาน มาจากอำเภออิ๋งเฉียน
เครื่องเซรามิก จากเต๋อฮั่ว สมัยราชวงศ์หมิง เป็นสีขาว รูปเทพธิดาหมาจู่ อยู่แถวๆ เฉวียนโจว
(น.62) รูป
(น.63) รูป
(น.63) ไม้แกะสลักปิดทอง มีส่วนประกอบอาคาร เชิงเทียน ไม้ประดับประตู ที่ปักธง ไม้แกะสมัยราชวงศ์หมิงและชิง (รูป 8 เซียน) รูปคนที่สุขสบาย 4 อย่าง คือ ดื่มสุรา แยงจมูกให้จาม นวดหลัง และแคะหู ฉากทาสีทำด้วยไม้
การทอผ้าแบบจางโจว มีกี่หลายแบบ แบบที่ใช้คน 2 คนทอ คนหนึ่งอยู่ข้างบน คนหนึ่งอยู่ข้างล่าง ผ้าพิมพ์สีน้ำเงินแบบอานซี
ขึ้นไปชั้นบน มีเรื่องการส่งเครื่องถ้วยเซรามิกออกไปขายต่างประเทศ มีรูปจำลองท่าเรือขนส่งสินค้าออก
(น.64) ก. เครื่องถ้วยที่เริ่มทำในแถบนี้ สมัยราชวงศ์ใต้-เหนือ และเจริญต่อมาจนถึงสมัยราชวงศ์ถัง และห้าราชวงศ์ (ค.ศ. 420-960) มีเตาหวยอาน (Huai an Kiln-怀安窑) เป็นต้น เครื่องถ้วยสมัยราชวงศ์ใต้มีเคลือบบางๆ เตาเจียงโข่ว (将口窑)
(น.64) รูป
(น.65) รูป
(น.65) ข. สมัยราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน
การค้าส่งเครื่องถ้วยไปต่างประเทศรุ่งเรือง มีเตาเผามากขึ้นขยายเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ มีการเผาเคลือบ 3 แบบ
เตาหลงเฉวียน เคลือบสีน้ำเงิน
เตาเจี้ยน เคลือบดำ (ส่งขายญี่ปุ่น)
(น.66) รูป
(น.66) ค. สมัยราชวงศ์หมิง-ชิง ลายคราม (Blue and White)
เครื่องเคลือบของจางโจว ผู้คนมักเรียกว่า เครื่องเคลือบซัวเถา พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลายจางๆ ลาย 5 สี พบที่ญี่ปุ่น เมืองไทยก็มี
มีรายละเอียดการค้าเครื่องเคลือบ แผนที่ต่างๆ การขุดค้นเตาเผาในที่ต่างๆ
เรายังดูได้ไม่ครบทุกแผนก ไม่ได้ดูแผนกธรรมชาติวิทยา
(น.67) กลับโรงแรม Golden Resources International (จินหยวน) แล่นรถผ่านสวนสาธารณะซีหู เมื่อถึงเวลาไปโรงแรม Lake View ผู้ว่าราชการมณฑลเลี้ยง
กล่าวต้อนรับว่า ขอต้อนรับในนามประชาชน 34.5 ล้านคน นับเป็นวันที่ 3 ที่มารับตำแหน่ง (เป็นคนเจ้อเจียงไม่ได้เป็นคนฮกเกี้ยน) เนื่องจากข้าพเจ้ามามณฑลฮกเกี้ยนเป็นครั้งแรก จึงขอแนะนำมณฑลนี้
ประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์
มณฑลฝูเจี้ยน (หรือฮกเกี้ยน) มีชื่อย่อว่า หมิ่น ได้ชื่อจากแม่น้ำหมิ่น (หมิ่นเจียง) ส่วนชื่อฮกเกี้ยนก็เรียกกันมานานกว่า 1,300 ปีแล้ว มณฑลนี้เปิดสู่โลกภายนอกมานาน มาร์โคโปโลบันทึกไว้ว่า
ท่าเรือแห่งหนึ่งที่ฮกเกี้ยนมีพ่อค้ามาจากทั่วโลก ฮกเกี้ยนเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางแพรไหมทางทะเล เมืองฝูโจวและเมืองเซี่ยเหมินเป็นเมืองท่าที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติมาค้าขายได้ เป็น 2 แห่งในจำนวน 5 แห่งแรก
มีจังหวัด 9 จังหวัด 85 อำเภอ เนื้อที่ 120,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ติดกับมณฑลกวางตุ้ง เจ้อเจียง และเจียงซี ทางใต้ใกล้กับเกาะไต้หวัน มีพื้นที่ทางทะเล 130,000 ตารางกิโลเมตร มีแนวชายฝั่งยาวกว่า 3,300 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับ 2 ในบรรดามณฑลต่างๆ ของจีน
มีประชากร 34.5 ล้านคน เป็นถิ่นฐานเดิมของชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมาก ปัจจุบันมีคนเชื้อสายฮกเกี้ยนอยู่ในต่างประเทศถึงสิบล้านคน อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด
ในไทยมี 230,000 คน ฮ่องกง มาเก๊า 123,000 คน ชาวไต้หวัน 80% (ประมาณ 20 ล้านคน) ย้ายถิ่นฐานมาจากฮกเกี้ยน ผู้คนระหว่าง 2 ฝั่งจึงผูกพันกันมาก
ในด้านทรัพยากร มีอยู่มากมาย ที่เป็นพิเศษคือ
1. ป่าไม้ มีประมาณ 4% ของจีน พื้นที่มณฑล 80% เป็นภูเขา มีป่าสมบูรณ์ถึง 60.5% สูงสุดของประเทศจีน
(น.68)
2. ทรัพยากรทางน้ำ มีระบบทางน้ำ 29 ระบบ แม่น้ำ 660 สาย ผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำได้ มีทรัพยากรทางน้ำอีกประมาณ 60% ที่ยังไม่ได้พัฒนา
3. ทรัพยากรทางทะเล มีพื้นที่ทางทะเลและทางบกเท่ากัน มีพื้นที่เลี้ยงสัตว์น้ำ 2,700 ตารางกิโลเมตร การประมงเจริญมาก กำลังค้นคว้าวิจัยผลิตไฟฟ้าด้วยพลังของระดับน้ำทะเลขึ้นลง
4. แร่ธาตุ มีอยู่มาก มีทรายและหินหลายชนิด
5. ทรัพยากรการท่องเที่ยว ที่สำคัญคือ เขาอู่อี๋ซาน ยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกทั้งด้านธรรมชาติและวัฒนธรรม นอกจากนั้นมีวัด ศาลเจ้า มีศาสนาหลายศาสนา ทั้งพุทธ
คริสต์ และอิสลาม ศาสนาอิสลามของจีนเริ่มที่ฮกเกี้ยน มีลูกศิษย์พระมะหะหมัดขึ้นเรือมาเฉวียนโจว มาเผยแพร่ศาสนา มีสุเหร่า ซึ่งมีสุสานของลูกศิษย์พระมะหะหมัด
(น.68) รูป
(น.69) รูป
(น.69) มีประเพณีพื้นเมือง เทพเจ้าพื้นเมืองที่สำคัญคือ เจ้าแม่หมาจู่ นับถือกันทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศาลหมาจู่มีมากกว่า 1,500 ศาลในเอเชีย ต้นกำเนิดของความเชื่อหมาจู่อยู่ที่ฮกเกี้ยน
ส่วนด้านการพัฒนานั้น มณฑลฮกเกี้ยนพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วหลังการเปิดประเทศ ทั้งด้านสาธารณูปโภค การคมนาคมสื่อสารที่ทันสมัย การขนส่งทางทะเล มีท่าเรือใหญ่ที่เมืองฝูโจว เซี่ยเหมิน สามารถเทียบเรือขนาดหมื่นตันได้คราวละ 40 ลำ แต่ละปีมีสินค้าขนถ่ายถึง 80 ล้านตัน ตู้สินค้า 2 ล้านตู้
ท่าอากาศยานมี 4 แห่งคือ ฝูโจว เซี่ยเหมิน จิ้นเจียง อู่อี๋ซาน กำลังก่อสร้างที่เหลียนเฉิง ซึ่งจะทำให้ไปเที่ยวเขากวนจ้านได้สะดวก
(น.70) รถไฟมี 3 สาย และกำลังก่อสร้างเส้นทางเวินโจว-ฝูโจว หลานโจว-หลงเหยียน
อีกสายกำลังสำรวจ
ทางด่วนมี 3 เส้นทาง เลียบทะเลเหนือใต้ ไปทางตะวันตก กำลังสร้างอีกหลายเส้น ปีหน้า (พ.ศ. 2546) จะเสร็จสมบูรณ์ มีที่อนุมัติแล้วให้สร้างเพิ่ม
ผลิตไฟฟ้าได้ 10.75 ล้านกิโลวัตต์ การสื่อสารถือว่าอยู่ในระดับโลก
การพัฒนาเศรษฐกิจก้าวหน้ารวดเร็ว ก่อนปฏิรูปอยู่ลำดับ 22 เมื่อพัฒนามา 20 ปี อยู่ลำดับ 11 GDP ค.ศ. 1978 อยู่ลำดับ 23 ปีที่แล้วเป็นอันดับ 7
ท่านผู้ว่าบอกตัวเลขการค้ากับต่างประเทศ มูลค้าส่งออกนำเข้า แต่จดไม่ทัน ปีนี้คาดว่าการค้าจะเจริญขึ้น
Next >>