Please wait...

<< Back

" หวงเหออู่อารยธรรม วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม 2543 "

(น.128) สมัยราชวงศ์ซ่งและหยวน ตอนนี้เวลาชักน้อย ไม่มีเวลาจะดูแล้วจึงจดอะไรไม่ค่อยได้ กลับไปดูส่วนที่แสดงเรื่องการแสดงพื้นบ้าน ซึ่งในแถบนี้ของจีนมีชื่อมาก แสดงการเชิดหุ่นไม้และหุ่นน้ำ (ฉันเคยเห็นแต่หุ่นน้ำของเวียดนาม) สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (ค.ศ. 960-1127) มีหีบศพทองคำที่เก็บพระธาตุ เก็บไว้ที่ใต้ฐานเจดีย์ หอดาราศาสตร์ที่ใช้เป็นรูปแบบของพิพิธภัณฑ์นี้

(น.128)


รูป 95 รูปสัตว์สำริด
Bronze animal.

(น.129)


รูป 96 รูปบ้านดินเผาที่พบในสุสานสมัยราชวงศ์ฮั่น
Model of an earthen house found in the tomb of the Han Dynasty.

(น.129) ลงลิฟต์มาชั้นล่าง เข้าห้องเก็บเครื่องหยก ที่เก่าแก่ที่สุดอายุ 4,500 กว่าปี เป็นหยกหนานหยัง เครื่องหยกตู๋ซาน ใช้เป็นเงินตราได้ ที่สุสานของสนมเอกฟู่เห่าพบเครื่องหยก เป็นหยกจากเมืองเหอเถียนในภูมิภาคปกครองตนเองซินเกียง เป็นเครื่องประกอบพิธีต่างๆ หินหยกที่ทำเป็นเสื้อผ้าของศพ เพราะคนจีนเชื่อว่าหยกช่วยไม่ให้ศพเน่าเปื่อย สมัยราชวงศ์ฮั่น สมัยชุนชิว มีหยกแสดงไว้ 800 ชิ้น อีกห้องทำโมเดลสิ่งก่อสร้างในสุสาน มีจำนวนมากและค่อนข้างจะใหญ่กว่าที่เคยเห็นที่อื่น มีทั้งยุ้งข้าว บ้านเรือนมีนกเกาะ เครื่องสำริดของแคว้นฉู่ สมัยชุนชิว มีโต๊ะวางถ้วยเหล้า ลายเมฆ พบที่มณฑลเสฉวน เทคนิคที่ใช้คือ การเผาไล่ขี้ผึ้ง (Lost wax) เป็นวิธีที่โบราณ 2,600 กว่าปีแล้ว

(น.130)


รูป 97 งาช้างแกะเป็นรูปหัวผักกาดมีแมลงเกาะ สมัยราชวงศ์ชิง
Ivory lettuces and insects, Qing Dynasty.

(น.130) ติ่ง 7 ใบ มีกระดูกอยู่ข้างใน ลวดลายเป็นเฉินโซ่ว สัตว์ในนิยาย ฝังเพชรพลอย หนวดถอดออกมาได้ งาช้างแกะเป็นรูปหัวผักกาด แล้วระบายสีเหมือนของจริงมาก ผักมีจิ้งหรีด แมลงเต่าทองเกาะ ทางพิพิธภัณฑ์ซื้อมา พิพิธภัณฑ์นี้ของสวยงามจริงๆ การจัดแสดงก็ดี เพราะเป็นอาคารใหม่ คนอธิบายก็ดี กลับโรงแรมแล้วลงไปรับประทานอาหารค่ำ รองผู้ว่าราชการมณฑลเหอหนานกล่าวบรรยายสรุปเกี่ยวกับมณฑลดังนี้
มณฑลเหอหนานอยู่ช่วงปลายของแม่น้ำหวงเหอ มีลักษณะพิเศษหลายประการ
1. มีประชากร 98.37 ล้านคน ตามสถิติ ค.ศ. 1999 เป็นมณฑลที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศ
2. ที่ตั้งของมณฑลเป็นศูนย์กลางของประเทศมาแต่ครั้งโบราณ จึงมีคำกล่าวที่ว่า “ได้เหอหนานเหมือนได้ทั้งประเทศ” ทุกวันนี้เหอหนานยังคงเป็นศูนย์กลางทางรถไฟและถนน

(น.131)
3. เหอหนานตั้งอยู่ภาคกลางของประทศ มีประชากรมากที่สุดจึงเป็นตลาดใหญ่ของจีน หลังจากที่ชูนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจเปิดกว้างแล้ว เหอหนานเป็นที่ที่ต่างประเทศมาลงทุนกันมาก
4. มณฑลเหอหนานมีประวัติยาวนานกว่า 5,000 ปี เป็นแหล่งกำเนิดชนชาติจีน มีสถานที่และวัตถุโบราณมากมาย ในบรรดาเมืองหลวงโบราณ 7 แห่งของจีน อยู่ในเหอหนานถึง 3 แห่ง คือ ลั่วหยัง ไคเฟิง และอานหยัง นอกจากนั้นมีวัดเซ่าหลิน ถ้ำหลงเหมิน และวัดม้าขาวที่มีชื่อเสียงทั้ง โลก
5. อุดมด้วยแร่ธาตุต่างๆ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ มีแร่ทองคำเป็นที่สองของประเทศ เหมืองแร่ธรรมชาติ เช่น ปูนขาว แหล่งปูนซีเมนต์ และแร่อื่นๆ 76 ชนิด
6. เป็นแหล่งใหญ่ของผลิตผลทางการเกษตร ด้วยลุ่มน้ำหวงเหออุดมสมบูรณ์ นอกจากปลูกธัญพืชแล้ว ยังมีฝ้าย น้ำมันพืช และการเลี้ยงสัตว์
เนื่องจากมณฑลเหอหนานมีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีเงื่อนไขทางธรรมชาติที่ดี หลังนโยบายเปิดประเทศแล้ว เศรษฐกิจโดยรวมรุดหน้าไปมาก เป้าหมายที่รัฐบาลมณฑลวางไว้มีคำขวัญว่า “หนึ่งสูงหนึ่งต่ำ” สูงคือต้องเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจให้ตัวเลขสูงกว่ามณฑลอื่น ต่ำคืออัตราเพิ่มประชากรต้องต่ำ สิบกว่าปีมานี้ได้บรรลุเป้าหมายระดับหนึ่ง ปีที่แล้ว (ค.ศ. 1999) ตัวเลขรายได้ประชาชาติติดอันดับชาติ แต่ด้วยมีประชากรมากเกินไป เฉลี่ยต่อหัวจึงเป็นอันดับที่ 19 ของประเทศ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจพัฒนาไปค่อนข้างเร็วคือ การเปิดประตูสู่ต่างประเทศ แม้จะเปิดช้ากว่ามณฑลอื่นไปบ้าง แต่ปัจจุบันมีทุนต่างประเทศเข้ามามาก มีบริษัทร่วมทุนกว่า 6,000 บริษัท มณฑลเหอหนาน

(น.132)


รูป 98 พ่อครัวแสดงการทำเส้นหมี่เส้นละเอียดๆ ให้ดู
Chefs demonstrating how to make fine vermicelli.

(น.132) ติดต่อกับประเทศไทยมาหลายปีแล้ว มีบริษัทร่วมทุนกับไทย บริษัทนี้ทำหน้าที่พัฒนาส่งเสริมและแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจกับไทย เร็วๆ นี้ลั่วหยังจะร่วมทุนกับไทยผลิตแทรกเตอร์ อย่างไรก็ตามเขาขอให้ฉันแนะนำมณฑลเหอหนานให้คนไทยรู้จักมากขึ้นเพื่อจะได้มาลงทุน ที่จริงจดเอาไว้อีกแยะ แต่สมุดหาย จำได้แต่ว่าเหล้าขาวที่นี่เรียกว่า เหล้าตู้คัง ค่อนข้างแรง พ่อครัวแสดงการ “ลาเมี่ยน” คือ การดึงแป้งเป็นเส้นหมี่ละเอียดๆ ให้ดู กุ๊กเคยมาทำงานเมืองไทยจึงพูดไทยได้ ขึ้นมาที่ห้อง พยายามลองเครื่องออกกำลังกายที่เขาให้ไว้ในห้อง แต่เครื่องเสียเลยวิ่งในห้องเฉยๆ คิดถึง