<< Back
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม 2537
(น.80) รูป 83 สนทนากับหวางเหมิง
(น.80) จำรายละเอียดของห้องที่นั่งคุยกันได้ดีมาก เขาคุยให้ข้าพเจ้าฟังเรื่องอะไรก็ลืมไปแล้ว เมื่อกลับจีนเขาได้ส่งบทกวีสั้นๆมาให้บทหนึ่ง
ชื่อว่า “เลียนแบบสปิโนซ่า”
“ไม่ร้องไห้ ไม่หัวเราะ แต่เขียนหนังสือ” เลียนแบบของเดิมว่า “ไม่ร้องไห้ ไม่หัวเราะ แต่เข้าใจ”
(น.81) รูป 84 ออกจากโรงแรมแชงกรีลา
(น.81) เมื่อกลับมาแล้วข้าพเจ้าได้ค้นสมุดเก่าๆ ที่ข้าพเจ้าจดบทกวีภาษาจีนเอาไว้ พบบทกวีสั้นๆ ที่หวางเหมิงแต่งเมื่อมาเมืองไทย พ.ศ. 2530 มีอยู่ 5 บท อยู่ในชุดภาพพจน์จากเมืองไทย คือ
1. ฤดูร้อนซ้อนฤดูร้อน
2. พุทธมณฑล
3. มะพร้าวและสหาย
4. พระเจดีย์ทอง
5. เลียนแบบสปิโนซ่า ตอบเจ้าหญิง บทนี้เขาเขียนสั้นๆ
(น.82) รูป 85 ไปวัดพระเขี้ยวแก้ว หรือวัดหลิงกวง
(น.82) ถอดเป็นความภาษาไทยได้ว่า “เมื่อได้เข้าเฝ้าเจ้าหญิงสิรินธร เจ้าหญิงถามว่า ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วยังเขียนหนังสืออยู่หรือเปล่า” (ข้าพเจ้าตอบว่า)
(น.83) รูป 86 ไปวัดพระเขี้ยวแก้ว หรือวัดหลิงกวง
รูป 87 ไปวัดพระเขี้ยวแก้ว หรือวัดหลิงกวง
(น.83)
“ในโลกนี้ ไม่ร้องไห้ ไม่หัวเราะ
หากปรารถนาจะเขียน ก็เขียนได้”
ตีความได้ว่า ถ้ามีใจมั่นคงไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม ก็จะมีพลังที่จะเขียนหนังสือได้ ข้าพเจ้าจะพยายามใช้คตินี้ในการเขียนหนังสือต่อไป
เดินทางไปชานเมืองปักกิ่ง สองข้างทางมีต้นท้อที่มีแต่กิ่ง ร้านองุ่นเปล่าๆถึงวัดเจดีย์พระเขี้ยวแก้ว เรียกอีกชื่อว่าวัดหลิงกวง หมายถึง แสงสว่างแห่งจิตวิญญาณ หรือแสงปาฏิหาริย์ คำว่า “หลิง” นี้แปลยาก ที่คุณชัยรัตน์ (หรือคุณขลุ่ย ข้าราชการสถานทูต
(น.84) รูป 88 วิหารที่วัดหลิงกวง
(น.84) ไทย) แปลว่า “ปาฏิหาริย์” น่าจะถูกต้อง เพราะปกติเราก็พูดกันอยู่เสมอว่า ‘พระธาตุเสด็จ’ หมายถึง การเห็นแสงสว่าง
ผู้ที่มาต้อนรับเป็นรองประธานของพุทธสมาคมจีน และประธานของพุทธสมาคมมณฑลยูนนาน ชื่อตาวซูเหริน เมื่อฟังชื่อก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นชาวไต เมืองสิบสองปันนา พูดภาษาไทยได้
เคยไปประเทศไทยหลายครั้ง เช่นตอนที่สิบสองปันนาส่งพระสงฆ์ไปเรียนพุทธศาสนาที่วัดพระบาทตากผ้า ลำพูน ก็เป็นคนไปรับกลับ เป็นน้องหม่อมคำลือ
เข้าไปที่วิหารพระพุทธรูปที่สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธ ประทาน สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบันเสด็จมาเบิกพระเนตร มีนามว่าพระพุทธปฏิมาวาสนมุนินทร์ หรือหลวงพ่อปักกิ่ง
(น.85) รูป 89 วิหารที่วัดหลิงกวง
รูป 90 หลวงพ่อปักกิ่ง
(น.85) ไปที่เจดีย์พระธาตุที่สร้างใหม่ เจ้าอาวาสอยู่หน้าประตู อวยพรเสียงเพราะแบบคนโบราณ คือลากเสียงยาวๆ เหมือนจะเป็นทำนอง ขึ้นไปชั้นบน ทางแคบๆ เย็นๆ ชื้นๆ พระเขี้ยวแก้วอยู่ชั้นบน คุณตาวซูเหรินเล่าประวัติย่อๆว่า พระธาตุนี้
(น.86) รูป 91 หลวงพ่อปักกิ่ง
(น.86) เข้าใจว่าเป็นของสมัยราชวงศ์ถัง อยู่ที่วัดนี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่ทราบ มีแต่เรื่องเล่าขานกันมาว่าพระเขี้ยวแก้วองค์นี้ มีผู้นำไปเมืองอุทยานะ และนำมา Khotan
(อยู่ในซินเกียง) พระภิกษุฝ่าเสี้ยน (ค.ศ. 424 - 498) สมัยราชวงศ์ฉีใต้ นำมาที่นานกิง ราชธานีของฉีใต้ สมัยสุยมีการรวมประเทศ ก็ได้นำไปฉางอัน
สมัยห้าราชวงศ์บ้านเมืองวุ่นวาย พระธาตุเคลื่อนย้ายไปที่ต่างๆ จนถึงเมืองเยี้ยนจิง คือปักกิ่งในปัจจุบัน (สมัยเหลียว) มีบันทึกราชวงศ์เหลียวกล่าวไว้ว่า (เล่ม22) ประดิษฐานในเจดีย์เจาเซียน วัดหลิงกวง
Next >>