<< Back
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน วันอังคารที่ 11 มกราคม 2537
(น.131) รูป 215 อู้ซงหน้าเทศบาลเมืองจี๋หลิน อู้ซงคือ เกล็ดน้ำแข็งที่เกาะบนต้นไม้
(น.132) รูป 216 อู้ซงหน้าเทศบาลเมืองจี๋หลิน อู้ซงคือ เกล็ดน้ำแข็งที่เกาะบนต้นไม้
(น.133) รูป 217 ที่พิพิธภัณฑ์ ดูนิทรรศการเรื่องลูกอุกกาบาตที่ตกมาในวันที่ 8 มีนาคม 1976
รูป 218 ที่พิพิธภัณฑ์ ดูนิทรรศการเรื่องลูกอุกกาบาตที่ตกมาในวันที่ 8 มีนาคม 1976
(น.133) นิทรรศการลูกอุกกาบาต ใช้ชื่อว่า “แขกที่มาจากสวรรค์” เล่าถึงความรู้สึกของมนุษย์ที่มีความพิศวงต่อปรากฏการณ์ที่เกิดในฟากฟ้า
มีคนพูดถึง UFO มนุษย์ต่างดาว ฉะนั้นในวันนี้เรามาคุยกับแขกต่างดาวกันเถิด (นิทรรศการนี้มีคำอธิบายเป็นภาษาจีน อังกฤษ และญี่ปุ่น)
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1976 มีดาวตกมามากในบริเวณกว้างที่สุด มีคนมาดูลูกอุกกาบาตที่ตกมานี้จากประเทศต่าง ๆ 30 กว่าประเทศ คนจีนมาดูจากทั่วประเทศ ประวัติ
(น.134) รูป 219 ที่พิพิธภัณฑ์ ดูนิทรรศการเรื่อง ลูกอุกกาบาตที่ตกมาในวันที่ 8 มีนาคม 1976
(น.134) เรื่องนี้แต่ครั้งโบราณ พวกกรีกไหว้บูชาลูกอุกกาบาต เป็นการบูชาเทพเจ้าแห่งแม่น้ำ Argos พวกฮังการีเอาโซ่ล่ามลูกอุกกาบาตไว้เกรงว่าจะบินกลับสวรรค์
ที่เมกกะก็มีการทำกรอบล้อมไว้ มีบางคนถือว่าเป็นลางร้ายจึงทิ้งน้ำไป คนจีนวินิจฉัยตามหลักวิทยาศาสตร์แต่ครั้งโบราณ สมัยชุนชิวประมาณก่อน ค.ศ. 640 นักปราชญ์สวินจื่อเขียนไว้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ อย่าถือผิด ๆ ว่าเป็นเรื่องของโชคลาง
มีการนำเอาสะเก็ดดาวซึ่งมีธาตุเหล็กสูงมาทำเครื่องอาวุธตั้งแต่ครั้งโบราณสมัยราชวงศ์ซาง ลูกอุกกาบาตมี 3 ประเภท คือ เป็นเหล็ก เป็นหิน และที่ปนกันสองอย่าง มีตัวอย่างลูกอุกกาบาตซึ่งตกที่ซินเกียงหนักถึง 28,000 ตัน ตัดมาส่วนหนึ่ง
(น.135) รูป 220 เล่าเรื่องอุกกาบาตตั้งแต่สมัยโบราณ
รูป 221 ลูกอุกกาบาตยักษ์
(น.136) รูป 222 นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์หาธาตุต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของอุกกาบาต มีธาตุที่หายากในโลกหลายอย่าง
(น.136) ส่วนใหญ่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์อูลูมู่ฉี มีส่วนประกอบเป็นเหล็ก 90% ลักษณะเหล็กหลอมในอวกาศแบบนี้ มนุษย์ทำไม่ได้ นอกจากเหล็กมีส่วนประกอบเป็นซิลิกอน
(องค์ประกอบหินทราย) ก้อนที่ตกที่จี๋หลิน ที่ใหญ่ที่สุดมีน้ำหนัก 1,770 กิโลกรัม เมื่อตกกระทบโลกก็แตกกระจาย เหลือน้ำหนัก 1,170 กิโลกรัม ตกลงมาฝังดินลึก 6.5 เมตร
ก้อนเล็ก ๆ แตกกระจายออกมา ทั่วโลกสนใจถือว่าเป็นตัวอย่างของวัตถุในฟากฟ้าที่อวกาศส่งมาให้มนุษย์ได้ศึกษาโดยไม่ต้องไปเอาเองในอวกาศ เมื่อวิเคราะห์ออกมาแล้ว นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า
อุกกาบาตก้อนนี้มีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี มีแร่ธาตุหลายอย่าง รวมทั้งแร่ธาตุที่หาได้ยากในโลก เช่น ธาตุหมายเลข 36, 37 และ 40 (Krypton Kr, Rubidium Rb, Zirconium Zr)
ก็มีมาก การศึกษาลูกอุกกาบาตยังทำให้เรารู้ถึงการเปลี่ยนแปลงวงโคจรของโลก ทฤษฎีกำเนิดสิ่งมีชีวิตในโลก เนื่องจากได้พบว่ามีกรดอมิโนอยู่ด้วย
(น.137) รูป 223 นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์หาธาตุต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของอุกกาบาต มีธาตุที่หายากในโลกหลายอย่าง
(น.137) จากนั้นได้ดูวีดีโออธิบายว่าอุกกาบาตนี้มีตกลงมามาก แต่ส่วนใหญ่ตกในสถานที่ที่คนเข้าไปศึกษาไม่ได้ เช่น ในทะเลทราย ภูเขา ทะเล เมื่อมีอุกกาบาตตกลงมา
สภาวิทยาศาสตร์ (Academia Sinica) ให้คนไปขุดขึ้นมาเป็นหลุม หลุมที่ 1 ได้ 1,170 กิโลกรัม หลุมที่ 2 ได้ 400 กิโลกรัม หลุมที่ 3 ได้ 123.5 กิโลกรัม
ชิ้นส่วนกระจายไปถึง 500 กิโลเมตร จากนั้นก็เล่าเรื่องปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์เรื่องระบบสุริยะเมื่อ 4,700 ล้านปีมาแล้วว่า แร่ธาตุต่าง ๆ
ตกผลึกเป็นดาวพระเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีวงโคจรของพวกอุกกาบาตเรียกว่า Asteroid belt แต่อุกกาบาตบางส่วนก็โคจรนอกวงโคจรนี้
และเข้ามาในวงโคจรของโลก ถูกแรงดึงดูดจึงตกลงมา นอกจากนั้นกล่าวถึงเรื่องแร่ธาตุองค์ประกอบ ดังที่เขาอธิบายมาแล้ว
(น.138) ข้าพเจ้าคิดว่าเหตุผลที่เขาต้องเน้นเรื่องการอธิบายว่า อุกกาบาตเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติเนื่องจากคนทั่ว ๆ ไป มักจะเชื่อกันว่าเหตุการณ์แบบนี้เป็นลางร้าย พอดีปี ค.ศ. 1976
ผู้นำของจีนเสียชีวิตหลายท่านได้แก่ ท่านนายกโจวเอินไหล (ค.ศ. 1899 - 1976) ท่านประธานเหมาเจ๋อตุง (ค.ศ. 1893 - 1976) ท่านจูเต๋อ (ค.ศ. 1886 - 1976)
หลังจากเซ็นชื่อในสมุดเยี่ยมแล้ว ไปดูพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์ของนิทรรศการทำเป็นรูปขยายของโบราณวัตถุ ชิ้นหนึ่งเป็นรูปม้า มีคนขี่ 2 คน (ข้าพเจ้าดูไม่ออกว่าเป็นรูปอะไร
แต่ไกด์อธิบายเช่นนี้) เป็นสิ่งของในวัฒนธรรมอาณาจักรโป๋ไห่ 1,500 กว่าปีมาแล้ว ฝาผนังติดหินสลักที่นิยมติดใต้หน้าต่างบ้านเรือนในสมัยราชวงศ์ชิง 200 – 300 ปีมาแล้ว
(ดูคล้าย ๆ กับหินทับหลังปราสาทแต่เล็กกว่า) มีลวดลายสลัก ของจริงอยู่ที่อำเภอหย่งจี๋ เริ่มต้นนิทรรศการมีภาพเขียนฝาผนังซึ่งได้แนวคิดมาจากภาพผนังที่เขียนในหลุมศพตั้งชื่อภาพนี้ว่า
สดุดีแม่น้ำซงฮัว ในภาพมีเรื่องหินอุกกาบาตจนถึงภาพพระเจ้าคังซีเสด็จมาทอดพระเนตรอู่ต่อเรือและสักการะเขาฉางไป๋ซาน ในปี ค.ศ. 1682 เมื่อเสด็จแล้วได้ทอดพระเนตรทัศนียภาพที่งดงาม
จึงเสด็จกลับมาอีกครั้งในปี 1698
Next >>