Please wait...

<< Back

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 2 เหลียวหนิง วันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2537


(น.26) รูป 39 อาวุธโบราณ


รูป 41 อาวุธโบราณ

(น.26) และพวกเหลียวใต้ ตอนเหนือของมณฑลเหลียวหนิงมีพวกฉยุงหนู (ซึ่งเป็นผู้ร้ายใหญ่ในเรื่องเส้นทางสายไหม) ของสมัยฮั่นตะวันตก พบดาบชนิดต่างๆทำด้วยเหล็ก คันฉ่องโลหะซึ่งใช้เป็นเครื่องมือใส่ในหลุมศพ


(น.27) รูป 40 อาวุธโบราณ


(น.28) รูป 42 ภาพเขียนฝาผนังในสุสาน


รูป 43 ภาพเขียนฝาผนังในสุสาน


(น.29) รูป 44 ภาพเขียนฝาผนังในสุสาน


รูป 45 ภาพเขียนฝาผนังในสุสาน

(น.29) ห้องที่ 5 สมัยเว่ย จิ้น จนถึงถัง (คริสต์ศตวรรษที่ 3-8) ของที่ตั้งแสดงมีจานฝนหมึก ภาชนะ เครื่องประดับ คนแถวเหลียวหนิงตะวันตกเรียกว่าพวกเซียนเปย เป็นบรรพบุรุษของพวกหนู่เจิน พวกนี้เป็นเผ่าพันธุ์ใกล้เคียงกับพวกกลุ่มชนที่อยู่


(น.30) รูป 46 หินหลุมศพ

(น.30) แถวๆ ตุนหวง มณฑลกานซู พบหลุมศพน้องกษัตริย์ ของที่พบมีแก้วมาจากทางตะวันตก เข้าใจว่าแถวๆโรม ฉะนั้นถือได้ว่าเส้นทางแถบนี้ต่อมาจากเส้นทางสายแพรไหม มีพระราชลัญจกรทองคำ หมวกทองคำ (มีช่อดอกไม้ทองคำประดับที่ยอดหมวก) มีลักษณะคล้ายๆกับหมวกที่พบในอัฟกานิสถาน อุปกรณ์การขี่ม้า เช่น บังโกลน สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องใช้ของคนในสังคม เลี้ยงสัตว์เร่ร่อนในทุ่งหญ้า


(น.31) รูป 47 หินหลุมศพ

(น.31) สมัยนี้ทางตะวันตกของมณฑลมีถ้ำพระพุทธรูป พุทธศาสนาเข้ามาทางตะวันตกประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 4 ตามเส้นทางแพรไหมสายทุ้งหญ้ า โดยที่คนกลุ่มน้อยนำเข้ามา มีศิลาจารึกวางบนหลังเต่า สมัยราชวงศ์เหนือ-ใต้ สิ่งที่แปลกอย่างหนึ่งคือ รองเท้าหนามสำหรับเดินบนหิมะ สมัยสุยและถังมีเครื่องเคลือบ 3 สี พิพิธภัณฑ์แสดงรูปจำลองหลุมศพ พบในเฉาหยางซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเหลียวหนิง หลุมศพสมัยนี้มีตุ๊กตาเช่นเดียวกับสุสานจิ๋นซี แต่ตัวขนาดเล็ก


(น.32) รูป

Next >>