<< Back
เม้งก่า
จากหนังสือ
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 51
สมัยที่มีการติดต่อกับต่างประเทศอย่างเต็มที่คือ สมัยราชวงศ์ซ่ง พบสิ่งของต่างๆ ที่มาจากสุเหร่า แผ่นจารึกภาษาอาหรับ สิ่งของจากโบสถ์คริสต์ศาสนา เทวรูปศาสนาฮินดู (สันนิษฐานว่าเป็นนางทุรคา) ศาสนามานีเคี่ยน (Manichean) จากเปอร์เซีย ภาษาจีนเรียกว่า หมิงเจี้ยว (ภาษาแต้จิ๋ว เรียกว่า เม้งก่า)
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 191
ลำดับต่อไปแสดงเรื่องราวของศาสนามานีเคียน ศาสดาชื่อ มานิ (ค.ศ. 216-276) ชาวเปอร์เซีย เป็นผู้ตั้งศาสนานี้ ที่ผสานแนวคิดความเชื่อทั้งจากศาสนาคริสต์ และลัทธิโซโรอาสเตอร์ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 3 ศาสนามานีเคียนมีผู้นับถือและสานุศิษย์อยู่มาก เผยแพร่เข้ามาในเอเชียและรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 หมดอำนาจในดินแดนตะวันตก และแอฟริกาเหนือ ส่วนทางตะวันออกเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 และรวมความเชื่อศาสนาอื่นเข้ามาด้วย มีอิทธิพลต่อศาสนาคริสต์นิกายนอกรีตทั้งหลาย ปัจจุบันยังมีศาสนานี้อยู่ในเอเชียกลาง
ศาสนามานีเคียนเชื่อว่าความสว่างจะชำระขจัดสิ่งที่ไม่ดีทั้งปวง จักรวาลนี้ควบคุมโดยอำนาจ 2 อย่างที่ขัดกันคือ ความดี-ความชั่ว ในตอนนี้อยู่รวมกัน แต่ในอนาคตจะแยกออกจากกัน ความดีจะไปสู่โลกแห่งความดี ความชั่วก็จะแยกไปอยู่ในโลกแห่งความชั่ว
ศาสนามานีเคียนแพร่เข้ามาในจีนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 6-7 จากเปอร์เซียเข้ามาทางเมืองซีอานในสมัยราชวงศ์ถัง เรียกกันว่า หมอหนีเจี้ยว แต่ถูกต่อต้านว่าเป็นพวกมาร เนื่องจากศาสนามานีเคียนนับถือแสงสว่าง พวกที่นับถือศาสนานี้ในจีนจึงเรียกนิกายของพวกตนว่า หมิงเจี้ยว (ภาษาแต้จิ๋วว่า เม้งก่า) ใน ค.ศ. 845 ถูกปราบจึงหนีไปอยู่ทางตะวันตกแถวซินเจียง มีบางตำรากล่าวว่าในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14-15 พวกหมิงเจี้ยวเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธนิกายสัทธรรมปุณฑริก (ไป่เหลียนเจี้ยว หรือนิกายดอกบัวขาว) นิกายนี้มีอิทธิพลต่อสมาคมลับในภาคเหนือของจีน ซึ่งสมาคมที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า “สมาคมดอกบัวขาว” มีอิทธิพลในหมู่ชาวนา และเป็นองค์กรนำในการก่อกบฏชาวนาในภาคเหนือสมัยราชวงศ์ชิง
ในประเทศจีนตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็ไม่ปรากฏหลักฐานของพวกหมิงเจี้ยว (มานีเคียน) วัดที่เฉวียนโจวมีศิลาจารึกของหมิงเจี้ยว และมีหม้ออยู่ใบหนึ่ง
จัดหมวดหมู่สารสนเทศ
เม้งก่า
คือศาสนามานีเคียนนับถือแสงสว่าง พวกที่นับถือศาสนานี้ในจีนจึงเรียกนิกายของพวกตนว่า หมิงเจี้ยว (ภาษาแต้จิ๋วว่า เม้งก่า)
กำเนิดและการแพร่ขยายของศาสนามานีเคียน
ศาสนามานีเคียน ศาสดาชื่อ มานิ (ค.ศ. 216-276) ชาวเปอร์เซีย เป็นผู้ตั้งศาสนานี้ ที่ผสานแนวคิดความเชื่อทั้งจากศาสนาคริสต์ และลัทธิโซโรอาสเตอร์ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 3 ศาสนามานีเคียนมีผู้นับถือและสานุศิษย์อยู่มาก เผยแพร่เข้ามาในเอเชียและรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 หมดอำนาจในดินแดนตะวันตก และแอฟริกาเหนือ ส่วนทางตะวันออกเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 และรวมความเชื่อศาสนาอื่นเข้ามาด้วย มีอิทธิพลต่อศาสนาคริสต์นิกายนอกรีตทั้งหลาย ปัจจุบันยังมีศาสนานี้อยู่ในเอเชียกลาง [1]
ความเชื่อ
ศาสนามานีเคียนนับถือแสงสว่าง [2]
เชื่อว่าความสว่างจะชำระขจัดสิ่งที่ไม่ดีทั้งปวง จักรวาลนี้ควบคุมโดยอำนาจ 2 อย่างที่ขัดกันคือ ความดี-ความชั่ว ในตอนนี้อยู่รวมกัน แต่ในอนาคตจะแยกออกจากกัน ความดีจะไปสู่โลกแห่งความดี ความชั่วก็จะแยกไปอยู่ในโลกแห่งความชั่ว [3]
การแพร่ขยายและพัฒนาการในจีน
แพร่เข้ามาในจีนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 6-7 จากเปอร์เซียเข้ามาทางเมืองซีอานในสมัยราชวงศ์ถัง เรียกกันว่า หมอหนีเจี้ยว แต่ถูกต่อต้านว่าเป็นพวกมาร เนื่องจากศาสนามานีเคียนนับถือแสงสว่าง พวกที่นับถือศาสนานี้ในจีนจึงเรียกนิกายของพวกตนว่า หมิงเจี้ยว (ภาษาแต้จิ๋วว่า เม้งก่า) ใน ค.ศ. 845 ถูกปราบจึงหนีไปอยู่ทางตะวันตกแถวซินเจียง มีบางตำรากล่าวว่าในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14-15 พวกหมิงเจี้ยวเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธนิกายสัทธรรมปุณฑริก (ไป่เหลียนเจี้ยว หรือนิกายดอกบัวขาว) นิกายนี้มีอิทธิพลต่อสมาคมลับในภาคเหนือของจีน ซึ่งสมาคมที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า “สมาคมดอกบัวขาว” มีอิทธิพลในหมู่ชาวนา และเป็นองค์กรนำในการก่อกบฏชาวนาในภาคเหนือสมัยราชวงศ์ชิง ในประเทศจีนตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็ไม่ปรากฏหลักฐานของพวก หมิงเจี้ยว (มานีเคียน) [4]
อ้างอิง
1. เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 191
2. เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 191
3. เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 191
4. เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 191