Please wait...

<< Back

พระไตรปิฎกสมัยราชวงศ์ซ้อง

จากหนังสือ

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 36-37

(น.36) พระไตรปิฎกสมัยราชวงศ์ซ้อง เป็นพระไตรปิฎกจีนสำนวนแรกที่ตีพิมพ์ขึ้น ก่อนหน้านี้เป็นฉบับตัวเขียน เพิ่งมารวบรวมตีพิมพ์ในสมัยราชวงศ์ซ้อง เริ่มแกะแม่พิมพ์ไม้เมื่อ ค.ศ. 972 ที่เมืองเฉิงตู แคว้นเสฉวน การแกะแม่พิมพ์สำเร็จเมื่อ ค.ศ. 983 จำนวนแม่พิมพ์ไม้พระไตรปิฎก 130,000 เล่ม เทียบกับฉบับตัวเขียนประมาณ 5,000 ผูก (ม้วน) พระไตรปิฎกฉบับราชวงศ์ซ้องนี้มักเรียกชื่อว่า สำนวน Kai bao เป็นต้นฉบับของพระไตรปิฎกจีนที่ตรวจชำระและที่พิมพ์ในเกาหลีในคริสต์ศตวรรษที่ 13

(น.37) พระไตรปิฎกฉบับจีนที่พิมพ์ในเกาหลีนี้เป็นต้นฉบับพระไตรปิฎกจีนปัจจุบันฉบับต่างๆ ที่ตีพิมพ์ในญี่ปุ่น เช่น Tai Shi ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้เป็นมาตรฐานในวงวิชาการ (อ้างอิงจาก Encyclopedia of Religion เล่ม 2 หน้า 506 – 507) พระคัมภีร์พบที่พระธาตุเหลยเฟิงซึ่งอยู่ที่เมืองหังโจว พระธาตุนี้ถูกฟ้าผ่าล้มเมื่อ 20 กว่าปีมานี้ เป็นของ สมัยซ้องเหนือ (แต่หังโจวเป็นราชธานีของอาณาจักรซ้องใต้)