<< Back
พิพิธภัณฑ์จี๋หลิน
รูป 226 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์
(น.140) ห้องแรกประดับด้วยเชือกถักประกอบกับรูปหล่อสำริด รูปหัวหมูป่า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและลัทธิประเพณีไหว้บูชาสัตว์ของคนโบราณ ภาพนี้ข้าพเจ้าก็ดูไม่ออกเช่นเดียวกัน สรุปแล้วศิลปะโบราณกับศิลปะสมัยใหม่ดูไม่ออกพอ ๆ กัน
(น.141) รูป 227 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์
(น.141) สังคมสมัยก่อนเป็นสังคมเกษตรกรรม ปลูกธัญพืชและเลี้ยงสัตว์ จึงถือกันว่าใครมีหมูมากคนนั้นก็ร่ำรวย ของสมัยนั้นเป็นเครื่องสำริด ขวานหินด้านคมเป็นแนวตั้ง (ปกติสมัยใหม่ด้านคมอยู่ข้าง ๆ) เครื่องประดับทำด้วยดินเผา เขี้ยวหมูป่า
(น.142) รูป 228 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของท้องถิ่น
(น.142) ดาบสำริด ด้ามดาบเป็นรูปนก 2 ตัว (จริง ๆ ดูไม่ออก) คมขรุขระ อธิบายว่าเมื่อแทงแล้วชักออกทำให้คนถูกแทงบอบช้ำมากขึ้น ขวานสำริดเป็นเครื่องแสดงบรรดาศักดิ์ เขาว่าหนังสือโบราณคำว่า หวังหรืออ๋อง (王) ที่แปลว่าเจ้า เป็นตัวหนังสือที่เลียนแบบขวานสำริด รูปจำลองหลุมศพทำด้วยแผ่นหิน มีเครื่องใช้ต่าง ๆ ใส่ลงไป รูปจำลองหลงถานซาน เป็นเมืองเก่าสมัยอาณาจักรเกาโกลี (เกาหลีโบราณ) มีที่เก็บของแห้ง (เสบียง) และมีที่เก็บน้ำ ชาวบ้านว่าในน้ำมีมังกร
(น.143) รูป 229 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของท้องถิ่น
รูป 230 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของท้องถิ่น
(น.143) ของที่พบมีศิลปะโป๋ไห่ ของสมัยราชวงศ์เหลียวมีคนทำผมสองแกละซึ่งสมัยนั้นถือว่าสวยงามมาก รูปหวังเหยียนซินสมุหนายกสมัยราชวงศ์จิน ผู้ประดิษฐ์หนังสือของชนชาติหนู่เจิน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของพวกแมนจู
(น.144) รูป 231 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของท้องถิ่น
รูป 232 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของท้องถิ่น
(น.144) รูปจำลองศิลาจารึกบนหน้าผาใกล้ ๆ สถานีไฟฟ้าเฟิงหม่านริมแม่น้ำซงฮัว สมัย 500 กว่าปีมาแล้ว เนื้อความของจารึกเป็นเรื่องการปกครองของราชวงศ์หมิงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประวัติการต่อเรือในยุคนั้น กล่าวว่า แต่ก่อนเมืองจี๋หลินมีชื่อว่า ฉวนฉ่าง แปลว่า อู่ต่อเรือ บริเวณนี้ยังเป็นที่ส่งเสบียงอาหารให้แก่ทหารที่รักษาชายแดนปากแม่น้ำเฮยหลงเจียง
(น.145) รูป 233 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของท้องถิ่น
(น.145) การเดินทางติดต่อทางเรือทำได้ เพราะแม่น้ำซงฮัวเป็นสาขาของแม่น้ำเฮยหลงเจียง
ในสมัยราชวงศ์หมิงพวกหนู่เจินเปลี่ยนชื่อเป็นหม่านโจว ในตู้มีสิ่งของต่างๆ ที่แสดงวัฒนธรรมของพวกหม่านโจว และราชวงศ์ชิง เช่น หนังสือสถาปนาของพระเจ้าเฉียนหลง ชุดแต่งกายหญิงแมนจู เครื่องประดับ หมวกข้าราชการชั้นที่ 1 รองเท้าอูลา (Wula shoes) ทำด้วยหนังวัว และมีหญ้าอูลา (เป็นชื่อภาษาแมนจู) ใส่ข้างในเพื่อป้องกันความหนาวเย็น ดูแล้วนึกถึงมนุษย์โบราณที่เพิ่งค้นพบที่ธารน้ำแข็งบนภูเขาระหว่างแคว้นทีโรลของอิตาลีกับออสเตรีย และทะเลาะกันว่าควรเป็นของใคร มนุษย์โบราณคนนั้นเขาใส่รองเท้ายัดด้วยหญ้าแบบนี้เหมือนกัน
(น.146) รูป 234 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของท้องถิ่น
Next >>