Please wait...

<< Back

หลินเจ๋อสู

(น.44) ตอนมารับตำแหน่งที่มณฑลกวางตุ้งหลินเจ๋อสูเคยเรียกพวก (พ่อค้า) 13 ห้าง (สือซานหัง) ที่ก่วงโจว (เมืองกวางตุ้ง) มาประชุม และบอกว่าวันใดที่ฝิ่นยังไม่หมดสิ้นไป ตัวข้าพเจ้าจะไม่กลับกรุง ขอเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เป็นไปไม่ได้ที่ฝิ่นจะไม่หมดสิ้น (13 ห้าง คือ กลุ่มพ่อค้าจีนที่ร่วมทุนกับพวกฝรั่ง ได้รับสิทธิพิเศษผูกขาดทางการค้า) แต่แรกเมื่อมีรายงานการปราบฝิ่นส่งเข้ากรุง จักรพรรดิเต้ากวงทรงแทงหนังสือว่าเป็นเรื่องน่ายินดี รับทราบแล้ว เอกสารฉบับนี้เป็นสำเนา ตัวจริงอยู่พระราชวังกู้กงในกรุงปักกิ่ง จักรพรรดิเต้ากวงรู้ว่าชนะ จึงปิดประกาศ อันเป็นเหตุผลหนึ่งที่พวกฝรั่งมาทำสงครามฝิ่น ศาลาที่ 3 สถานการณ์สงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839-1842) มีแผนที่ตอนที่พวกฝรั่งไปถึงเมืองเทียนสิน จักรพรรดิเต้ากวงกริ้วหลินเจ๋อสู ปลดออกจากตำแหน่ง ให้ฉีซ่านไปเจรจากับอังกฤษ ค.ศ. 1841 ทหารอังกฤษรุกรานเกาะฮ่องกง มีอิฐกำแพง ค.ศ. 1841 โอ่งดินปืน จักรพรรดิไม่เพียงแต่ปลดหลินเจ๋อสูเท่านั้น แต่เนรเทศไปซินเกียง เขาต้องจากครอบครัวที่เมืองซีอาน เดินทางเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1842 ขณะนั้นเขาร่างวาทะที่เจียงเจ๋อหมินเขียนลายมือพู่กันไว้ เดินทาง 4 เดือน ไปถึงเมืองอีหลี มณฑลซินเกียง ตอนนั้นอายุ 58 ปี เขาเป็นที่เคารพของชาวซินเกียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขุนนางชาวแมนจู ชื่อปู้เหยียนไท่

(น.45) เมื่อไปอยู่ที่ซินเกียงได้สร้างความเจริญหลายอย่าง เช่น ทำโครงการชลประทานหลายโครงการ บางโครงการบริจาคเงินก่อสร้างด้วย ข้าพเจ้าสงสัยว่าต้องราชภัยถึงแค่นี้ยังมีเงินบริจาคอีกหรือ อาจจะอธิบายได้คือ การลงโทษนั้นเป็นการลงโทษเพื่อเอาใจฝรั่ง ไม่ได้ยึดทรัพย์ สร้างทางประมาณ 20,000 ลี้ (10,000 กิโลเมตร) บุกเบิกที่ดินการเกษตร 37,000 เอเคอร์ (ประมาณ 92,500 ไร่) ทำชลประทานทะเลทราย ดึงน้ำจากใต้ดินมาทำการเกษตร (ที่จริงเป็นเทคโนโลยีคนพื้นเมือง อาจจะไปสนับสนุน) รวมความแล้ว กล่าวได้ว่า คนดี มีความสามารถ เมื่อตกไปอยู่ที่ใด ก็สามารถทำให้ที่นั้นเจริญรุ่งเรือง ทำประโยชน์ต่างๆ ได้ ท่านได้เขียนตุ้ยเหลียนเป็นคติสอนใจลูกหลาน (ตุ้ยเหลียนของจริงหายไปแล้ว เหลือแต่ของทำเทียม) มีใจความว่า อาจารย์และญาติมิตรมาเยี่ยมบ้านหลังน้อย เป็นการให้เกียรติอย่างสูง ลูกหลานอย่าปล่อยให้หนังสือกองสูงท่วมหัวโดยเปล่าประโยชน์ เมื่อพ้นโทษแล้วกลับมาเป็นผู้ว่าราชการมณฑลยูนนานและกุ้ยโจว มีผลงานด้านการพัฒนาหลายอย่าง เช่น ส่งเสริมให้ชาวบ้านถลุงโลหะ เงิน และทองแดง เมื่อเกษียณอายุราชการ มาสร้างบ้านใหม่ที่ฝูโจว (มีแผนที่บ้านใหม่ให้ดูด้วย) ค.ศ. 1850 มีพระราชโองการแต่งตั้งให้เป็นขุนนางพิเศษ ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ไปปราบกบฏชาวนา เมื่อเดินทางไปถึงอำเภอผู่หนิง (โผวเล้ง) เมืองเฉาโจว (แต้จิ๋ว) ก็ล้มป่วย ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน รวมอายุได้ 66 ปี มีภาพแผนที่ประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิง ส่วนที่ระบายสีเอาไว้เป็นมณฑลที่หลินเจ๋อสูเคยไปเป็นผู้ว่าราชการ มี 14 มณฑล


(น.46) รูป

(น.46) อีกห้องมีอักษรต่างๆ เป็นลายมือพู่กันของหลินเจ๋อสู มีกวีนิพนธ์และคติธรรมต่างๆ เช่น
เมื่อได้นั่งสงบ (สมาธิ) และอ่านหนังสืออย่างละครึ่งวัน
ลมเย็น จันทร์กระจ่าง ไม่ต้องใช้เงินแม้แต่น้อย
เมื่อรอบรู้เรื่องเศรษฐกิจการเมือง อำนวยประโยชน์แก่สาธารณชน
แล้วนำไปปฏิบัติ จะเกิดความปรองดอง และความสุขในครอบครัว
หลินเจ๋อสูไปรับราชการหลายแห่ง ถือว่าเป็นบุคคลที่มีคุณูปการแก่ชาติบ้านเมือง แต่ละมณฑลจึงทำอนุสรณ์สถาน ฝูโจวเป็นเมืองบ้านเกิดยิ่งต้องทำ

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 120

(น.120) ตอนที่ 6 เป็นห้องที่ว่าด้วยหลินเจ๋อสูทั้งห้อง หลินเจ๋อสู (ค.ศ. 1785-1850) เป็นชาวฝูเจี้ยน เขาเป็นคนที่คนจีนถือว่าเป็นวีรบุรุษ ที่พยายามคุ้มครองคนจีนให้พ้นจากภัยฝิ่น คนจีนจึงเป็นชาติแรกที่พยายามหามาตรการเลิกยาเสพติด ใน ค.ศ. 1839 เขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหูเป่ยและหูหนาน ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจราชการมีภารกิจไปตรวจสอบเรื่องกรณีฝิ่นที่กวางตุ้ง ของที่วางแสดงไว้มีบันทึกรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน บันทึกประจำวันของหลินเจ๋อสูเกี่ยวกับการตรวจโครงการชลประทานตั้งแต่วันที่ 7-23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831 ลายมือของหลินเจ๋อสูเขียนบทกวี (ข้าพเจ้าเคยเรียนบทกวีของหลินเจ๋อสู แต่จดเอาไว้ตรงไหนจำไม่ได้หาไม่เจอแล้ว จำได้ว่าเป็นบทกวีรักชาติ ค่อนข้างดุเดือด)
เรื่องบทบาทของสมาคมลับในการต่อต้านต่างชาติ
รูปผู้ว่าราชการกวางตุ้ง ที่สนับสนุนหลินเจ๋อสู
รูป Charles Elliot เป็นผู้กำกับการค้าหรือทูตพาณิชย์ของอังกฤษในจีน
รูปการจับคนค้าฝิ่นตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม ถึง 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1839



จัดหมวดหมู่สารสนเทศ

หลินเจ๋อสู

ประวัติ

หลินเจ๋อสูเกิดที่เมืองฝูโจว เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1785 รัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง บิดาเป็นครู ฐานะยากจน มารดาต้องทำดอกไม้กระดาษเป็นการหารายได้เพิ่ม บิดามีความคาดหวังสูงว่าบุตรชายจะต้องเป็นขุนนาง มีอนาคตดี จึงสอนหนังสือตั้งแต่อายุ 4 ปี สามารถเขียนบทความได้ตั้งแต่อายุ 7 ปี เมื่ออายุ 13 ปีสอบได้ที่ 1 ในตำบล อายุ 14 ปีสอบได้เป็น ซิ่วไฉ อายุ 20 ปีเป็น จี่เหริน แต่งงาน อายุ 27 ปีเป็น จิ้นซื่อ และเข้าเรียนที่สถาบันฮั่นหลิน (ในกรุงปักกิ่ง) สถาบันวิชาการระดับสูงสำหรับขุนนาง (การสอบไล่ด้านวิชาการในประเทศจีนนั้นเป็นลำดับจากซิ่วไฉ-จี่เหริน-จิ้นซื่อ ผู้ที่สอบได้จิ้นซื่อได้ที่ 1 เรียกว่า จ้วงหย่วน หรือ จ่อง้วนในภาษาแต้จิ๋ว ภาษาไทยใช้ว่า จอหงวน) มีสำเนาลายมือเขียนของหลินเจ๋อสู เลียนแบบตัวอักษรของโอวหยังซวิน นักเขียนพู่กันจีนสมัยราชวงศ์ถัง รูปถ่าย บทความที่เขียนให้แม่ เขายังสร้างฮวงซุ้ยให้ข้าราชการนักปราชญ์สมัยราชวงศ์ซ่ง ชื่อ หลี่กัง ประโยคเตือนสติที่สำคัญ คือ
“มหาสมุทรยิ่งใหญ่ รับแม่น้ำได้ 100 สาย
คนใจกว้าง จึงทำงานใหญ่ได้”
(海纳百川, 有容乃大)
มีคำขวัญของหลินเจ๋อสูว่า “ถ้าไม่ปราบฝิ่น จะไม่มีทหารรักษาชาติ และไม่มีเงินเดือนให้ทหาร”

(น.43) รูป
(น.44) รูป
ตอนมารับตำแหน่งที่มณฑลกวางตุ้งหลินเจ๋อสูเคยเรียกพวก (พ่อค้า) 13 ห้าง (สือซานหัง) ที่ก่วงโจว (เมืองกวางตุ้ง) มาประชุม และบอกว่าวันใดที่ฝิ่นยังไม่หมดสิ้นไป ตัวข้าพเจ้าจะไม่กลับกรุง ขอเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เป็นไปไม่ได้ที่ฝิ่นจะไม่หมดสิ้น (13 ห้าง คือ กลุ่มพ่อค้าจีนที่ร่วมทุนกับพวกฝรั่ง ได้รับสิทธิพิเศษผูกขาดทางการค้า) แต่แรกเมื่อมีรายงานการปราบฝิ่นส่งเข้ากรุง จักรพรรดิเต้ากวงทรงแทงหนังสือว่าเป็นเรื่องน่ายินดี รับทราบแล้ว เอกสารฉบับนี้เป็นสำเนา ตัวจริงอยู่พระราชวังกู้กงในกรุงปักกิ่ง จักรพรรดิเต้ากวงรู้ว่าชนะ จึงปิดประกาศ อันเป็นเหตุผลหนึ่งที่พวกฝรั่งมาทำสงครามฝิ่น สถานการณ์สงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839-1842) ฝรั่งไปถึงเมืองเทียนสิน จักรพรรดิเต้ากวงกริ้วหลินเจ๋อสู ปลดออกจากตำแหน่ง ให้ฉีซ่านไปเจรจากับอังกฤษ ค.ศ. 1841 ทหารอังกฤษรุกรานเกาะฮ่องกง มีอิฐกำแพง ค.ศ. 1841 โอ่งดินปืน จักรพรรดิไม่เพียงแต่ปลดหลินเจ๋อสูเท่านั้น แต่เนรเทศไปซินเกียง เขาต้องจากครอบครัวที่เมืองซีอาน เดินทางเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1842 ขณะนั้นเขาร่างวาทะที่เจียงเจ๋อหมินเขียนลายมือพู่กันไว้ เดินทาง 4 เดือน ไปถึงเมืองอีหลี มณฑลซินเกียง ตอนนั้นอายุ 58 ปี เขาเป็นที่เคารพของชาวซินเกียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขุนนางชาวแมนจู ชื่อปู้เหยียนไท่ เมื่อไปอยู่ที่ซินเกียงได้สร้างความเจริญหลายอย่าง เช่น ทำโครงการชลประทานหลายโครงการ บางโครงการบริจาคเงินก่อสร้างด้วย ข้าพเจ้าสงสัยว่าต้องราชภัยถึงแค่นี้ยังมีเงินบริจาคอีกหรือ อาจจะอธิบายได้คือ การลงโทษนั้นเป็นการลงโทษเพื่อเอาใจฝรั่ง ไม่ได้ยึดทรัพย์ สร้างทางประมาณ 20,000 ลี้ (10,000 กิโลเมตร) บุกเบิกที่ดินการเกษตร 37,000 เอเคอร์ (ประมาณ 92,500 ไร่) ทำชลประทานทะเลทราย ดึงน้ำจากใต้ดินมาทำการเกษตร (ที่จริงเป็นเทคโนโลยีคนพื้นเมือง อาจจะไปสนับสนุน) รวมความแล้ว กล่าวได้ว่า คนดี มีความสามารถ เมื่อตกไปอยู่ที่ใด ก็สามารถทำให้ที่นั้นเจริญรุ่งเรือง ทำประโยชน์ต่างๆ ได้ ท่านได้เขียนตุ้ยเหลียนเป็นคติสอนใจลูกหลาน (ตุ้ยเหลียนของจริงหายไปแล้ว เหลือแต่ของทำเทียม) มีใจความว่า อาจารย์และญาติมิตรมาเยี่ยมบ้านหลังน้อย เป็นการให้เกียรติอย่างสูง ลูกหลานอย่าปล่อยให้หนังสือกองสูงท่วมหัวโดยเปล่าประโยชน์ เมื่อพ้นโทษแล้วกลับมาเป็นผู้ว่าราชการมณฑลยูนนานและกุ้ยโจว มีผลงานด้านการพัฒนาหลายอย่าง เช่น ส่งเสริมให้ชาวบ้านถลุงโลหะ เงิน และทองแดง เมื่อเกษียณอายุราชการ มาสร้างบ้านใหม่ที่ฝูโจว (มีแผนที่บ้านใหม่ให้ดูด้วย) ค.ศ. 1850 มีพระราชโองการแต่งตั้งให้เป็นขุนนางพิเศษ ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ไปปราบกบฏชาวนา เมื่อเดินทางไปถึงอำเภอผู่หนิง (โผวเล้ง) เมืองเฉาโจว (แต้จิ๋ว) ก็ล้มป่วย ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน รวมอายุได้ 66 ปี มีภาพแผนที่ประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิง ส่วนที่ระบายสีเอาไว้เป็นมณฑลที่หลินเจ๋อสูเคยไปเป็นผู้ว่าราชการ มี 14 มณฑล

(น.46) รูป
หลินเจ๋อสูไปรับราชการหลายแห่ง ถือว่าเป็นบุคคลที่มีคุณูปการแก่ชาติบ้านเมือง แต่ละมณฑลจึงทำอนุสรณ์สถาน ฝูโจวเป็นเมืองบ้านเกิดยิ่งต้องทำ [1]
หออนุสรณ์สถานวีรบุรุษ-นายพลหลินเจ๋อสู(ฝูโจว)
อนุสรณ์สถานนี้สร้าง ค.ศ. 1905 เป็นปีที่หลินเจ๋อสูเสียชีวิตครบ 55 ปี
(น.38) รูป
(น.39) รูป (น.39) ทางเข้ามีรูปสัตว์ต่างๆ 2 ด้าน มีต้นไทรต้นใหญ่ (Rong) เข้าไปมีป้ายเขียนตำแหน่งที่นายพลหลินเจ๋อสูเคยปฏิบัติงาน เป็นผู้ว่าราชการมณฑล 14 มณฑล เคยทำลายฝิ่นที่ป้อมหู่เหมิน เมืองตงก่วน มณฑลก่วงตง (กวางตุ้ง) มีศิลาจารึกของจักรพรรดิกวางสู มีเนื้อหา 3 ประการ
1. แต่งตั้งให้มีตำแหน่งกิตติมศักดิ์ (หลังเสียชีวิต)
2. ตอนมีชีวิตอยู่ทำผิดอะไร ยกโทษให้หมด
3. ดูแลคนในครอบครัว ให้ลูกชาย 3 คนรับราชการ

(น.40) รูป
(น.41) ศาลาซู่เต๋อ (สร้างธรรมะ) มีรูปหลินเจ๋อสู ทำด้วยไฟเบอร์กลาส สร้าง ค.ศ. 1997 หลังเกาะฮ่องกงกลับคืนสู่จีน มีลายพระหัตถ์จักรพรรดิเต้ากวง มีรูปฮกกับซิ่ว ที่เห็นอยู่เป็นของจำลอง ป้ายลายมือประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน เมื่อ ค.ศ. 1995 แปลเป็นภาษาไทยความว่า หากในวาระแห่งความเป็นความตายของชาติ จะชักเข้าชักออกด้วยเหตุเป็นคุณเป็นโทษแก่ตนเองได้หรือ สื่อความหมายว่า ในวิกฤตการณ์ของชาติ ต้องกล้าทำกล้าตัดสินโดยไม่คิดถึงผลกระทบต่อตนเอง ข้อความในป้ายลายมือของเจียงเจ๋อหมินมาจากวาทะของหลินเจ๋อสูที่เขียนสอนคนในครอบครัว อนุสรณ์สถานนี้ใช้เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งคือ ต่อต้านยาเสพติด มีโปสเตอร์ต่อต้านยาเสพติด (สมัยใหม่) ติดไว้ข้างทางเดิน
ตามศาลามีประวัติหลินเจ๋อสู เป็นป้ายอธิบาย มีภาพเขียนและภาพถ่ายประกอบ [2]
ศาลาที่ 2 แสดงกระบอกสูบฝิ่น และตำรับยาจีนที่ช่วยให้เลิกฝิ่นได้ [3]
ศาลาที่ 3 สถานการณ์สงครามฝิ่น [4]
อีกห้องมีอักษรต่างๆ เป็นลายมือพู่กันของหลินเจ๋อสู มีกวีนิพนธ์และคติธรรมต่างๆ เช่น
เมื่อได้นั่งสงบ (สมาธิ) และอ่านหนังสืออย่างละครึ่งวัน ลมเย็น จันทร์กระจ่าง ไม่ต้องใช้เงินแม้แต่น้อย เมื่อรอบรู้เรื่องเศรษฐกิจการเมือง อำนวยประโยชน์แก่สาธารณชน แล้วนำไปปฏิบัติ จะเกิดความปรองดอง และความสุขในครอบครัว [5]



อ้างอิง

1. เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเลหน้า 42-46
2. เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเลหน้า 38-41
3. เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเลหน้า 43
4. เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเลหน้า 44
5. เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเลหน้า 46