Please wait...

<< Back

เทียนสิน

จากหนังสือ

"ไอรัก" คืออะไร?
"ไอรัก" คืออะไร? หน้า 22,24,25,31

(น.22) ได้กล่าวถึงการที่ข้าพเจ้าจะไปมองโกเลียว่ามีทุ่งหญ้าใหญ่ แต่ตอนนี้หนาวหน่อย ว่าแล้วก็ชี้ไปที่ท่านสูตุนซิ่น ว่าไปเมืองไทยบ่อย ท่านสูว่าปีนี้ 2 ครั้งแล้ว มีเพื่อนมากมาย ข้าพเจ้ากล่าวว่าอยากจะร่วมมือกับจีนด้านวิชาการ ท่านว่าก็เป็นสิ่งที่ควรทำ ท่านฝากความระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ สมเด็จพระพี่นางฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฝากถวายพระพรด้วย แล้วหันมาเล่าเรื่องเมืองเทียนสินว่ามีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ที่ได้รับรางวัลการพัฒนา ข้าพเจ้าถามท่านว่าท่านมีโครงการจะไปต่างประเทศไหม ท่านว่ามีประเทศที่เชิญมาหลายประเทศ แต่ว่ายังไม่ได้ตกลงใจรับว่าจะไปที่ไหนก่อน ขณะนี้จีนกับเกาหลีใต้มีความสัมพันธ์ทางการทูต หลังจากขาดการติดต่อมาราว 40 ปี ระยะนั้นเกาหลีใต้มีความสัมพันธ์กับไต้หวัน ประธานาธิบดีโรห์แตวูมาเยือนจีนเพิ่งกลับไป ท่านก็คิดว่าจะเยือนตอบแทน เกาหลีเหนือก็เป็นมิตรที่ดีต่อกัน วันเกิดท่านกิมอิลซุงครบ 80 ปี ท่านก็ไปร่วมงาน วันที่ 23-28 ตุลาคมนี้สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นจะเสด็จมาเป็นครั้งแรก จะจัดการรับเสด็จอย่างยิ่งใหญ่ที่สุด ประธานาธิบดีหลายประเทศก็จะมา

(น.24) เล่ามาถึงตอนนี้พอดีกรมพิธีการทูตส่งสัญญาณว่าหมดเวลา ข้าพเจ้าจึงต้องอำลาท่านหยางช่างคุนเพื่อเดินทางต่อไปนครเทียนสิน มาดามเซี่ยนั่งในรถด้วย มาดามเล่าว่าในเมืองจีนมีนครปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ และนครเทียนสินเท่านั้นที่มีการปกครองเป็นเอกเทศไม่ต้องขึ้นกับมณฑลใด เมื่อออกนอกเมืองเห็นทุ่งนา ขณะนี้ชาวนาเริ่มเก็บเกี่ยวแล้ว ตามทุ่งเขาปลูกต้นหยางไว้เป็นแนวป้องกันลม ไม่ให้พัดต้นข้าวโพดและข้าวฟ่างล้ม เห็นมีไร่ทานตะวันด้วย รถตำรวจเมืองเทียนสินมารับช่วงนำทางจากตำรวจปักกิ่ง นำเข้าเมือง ข้ามแม่น้ำไห่เหอไปที่โรงแรมไฮแอต นั่งรออยู่ที่ห้องก่อน จนอาหารพร้อมจึงลงไปรับประทานที่ห้องอาหาร ตอนบ่ายหัวหน้าฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ของเมืองเทียนสินมานั่งรถด้วย เล่าถึงเมืองเทียนสินว่าเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของจีน เมืองเทียนสินเองเป็นเมืองอุตสาหกรรม มีทั้งอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเบา ไปถึงพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เทียนสิน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นในปี 1952 เป็นที่เก็บโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่น จารึกบนกระดูกที่ใช้ในการพยากรณ์ (Oracle Bone) เหรียญเงิน เครื่องถ้วย เครื่องลายคราม เครื่องสำริด เครื่องหยก ศิลาจารึก แสตมป์ ภาพเขียน ภาพคัดลายมือและสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิวัติ นิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑ์คือนิทรรศการประวัติศาสตร์นครเทียนสิน นิทรรศการเรื่องประเพณีพื้นบ้านของเทียนสินในปัจจุบัน


(น.25) รูป 16 ในพิพิธภัณฑ์เทียนสินมีภาพถ่ายสมัยที่มีเขตยึดครองต่างประเทศ
Photographs of the period of western occupation in the Tianjin Historical Museum.


รูป 17 หุ่นจำลองเมืองโบราณ
Miniature models of the Ancient City.

(น.25) พิพิธภัณฑ์มักจัดนิทรรศการพิเศษ มีงานวิจัยหลายอย่างที่พิมพ์เผยแพร่ ส่วนที่เราดูคือกำเนิดเมืองเทียนสิน ช่วงที่พระจักรพรรดิหย่งเล่อ ราชวงศ์หมิงเสด็จผ่านมา เห็นเมืองเทียนสินงดงาม จึงตั้งชื่อ “Tianjin” ซึ่งหมายถึงเมืองท่าของจักรพรรดิ ส่วนที่เกี่ยวกับบทบาทชาวต่างประเทศ มีภาพท่าเรือต้ากูโช่ว เริ่มมีปัญหาที่ชาวต่างประเทศนำฝิ่นมาขาย มาที่เทียนสินด้วย จนถึงตอนที่เมืองเทียนสินถูกกองกำลังต่างชาติ 8 ชาติยึดครอง หลังสงคราม

(น.31) ตอนเย็นรองนายกเทศมนตรีนครเทียนสินเลี้ยงอาหาร วันนี้ได้รับประทานของที่ไม่เคยรับประทานมาก่อนอย่างหนึ่ง คือแมงป่องทอด ได้ทราบสรรพคุณว่าแมงป่องนี้มีประโยชน์มาก เป็นยาแก้โรคหืด คนที่รับประทานจะไม่เป็นฝีเป็นหนองไปปีหนึ่ง ได้ความว่าประพจน์รับประทานเข้าไป 10 กว่าตัว เพราะคนที่นั่งข้างๆ ไม่ยอมกิน (ราคาราวตัวละ 10 บาท) หลังอาหารไปที่ยิมเนเซียมเทียนสิน ไปชมการแสดงเนื่องในงานฉลองบ้านพี่เมืองน้อง แต่แรกข้าพเจ้าไม่ทราบว่าคืออะไร จนไปดูจึงทราบว่าเป็นการเชิญเมืองของประเทศต่างๆ ที่ทำสัญญาเป็น sister cities กันมาแสดงวัฒนธรรมของตน มีหลายเมืองนอกจากคณะผู้แทนจากมณฑลต่างๆ ของจีน ร้องเพลงจีน เพลงฝรั่ง งิ้วจีน กายกรรมมองโกเลีย ดนตรีออสเตรเลีย โรมาเนีย ไต้หวัน ฯลฯ ใช้เวลาค่อนข้างนาน


(น.31) รูป 28 ระบำจากเมืองต่างๆ
Variety of dances from different cities.

"ไอรัก" คืออะไร? หน้า 40,41

(น.40) ไปที่เขื่อนมีวิศวกรมาอธิบายแต่ฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง สรุปได้แค่ว่าโครงการชลประทานแม่น้ำส่วนนี้สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียในเมืองเทียนสิน เขาว่ากันว่าแต่ก่อนนี้เมืองเทียนสินไม่มีน้ำดีใช้ น้ำก๊อกเปิดมาก็ใช้ดองผักได้เลย ชงน้ำชาก็ไม่อร่อย ถึงจะผันน้ำหวงเหอมาใช้ก็ยังมีน้ำไม่พอ แม่น้ำล่วน หรือล่วนเหอไหลผ่านทุ่งหญ้าในมองโกเลียในมาสู่มณฑลเหอเป่ย ลงทะเลโปไห่ ยาวประมาณ 888 กิโลเมตร


(น.41) รูป 38 โรงไฟฟ้า
Electricity Plant.

(น.41) ค.ศ. 1973 กระทรวงอนุรักษ์น้ำ (ชลประทาน) และพลังงานไฟฟ้าเร่งดำเนินการโครงการผันน้ำล่วนเหอ ซึ่งรวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำพันเจียโช่ว และอ่างเก็บน้ำต้าเหยติ้ง โครงการสำเร็จใน ค.ศ. 1983 สามารถนำน้ำไปใช้ทำน้ำประปาในเมืองเทียนสิน อีก 2 ปีต่อมาเมืองถังซานก็ได้ใช้น้ำเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมของเมืองด้วย บริเวณถังซานนั้นนอกจากจะใช้บริโภคในเมืองแล้ว ยังใช้ในการเกษตรและ

หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า119

(น.119) การพัฒนาระบบน้ำแก้ไขน้ำท่วม นอกจากการสร้างคันกั้นน้ำแล้ว ยังใช้วิธีสร้างอ่างเก็บน้ำ (detention basin) เช่น ให้น้ำไหลเข้าทะเลสาบตงหลิง โดยทำเป็นประตูน้ำผันน้ำเข้าทะเลสาบในเวลาน้ำมาก ถ้าน้ำน้อยก็เอาน้ำมาเข้าแม่น้ำ โครงการนี้จะเสร็จในปีหน้า ฟังๆ ดูฉันว่าคล้ายๆ โครงการแก้มลิงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทำในบ้านเรา ทะเลสาบตงผิงอยู่ทางตะวันตกของมณฑลซานตง ระหว่างอำเภอตงผิงกับเหลียงซาน ทางตะวันออกและทางเหนือของทะเลสาบติดกับแม่น้ำหวงเหอ แต่เดิมทะเลสาบนี้ในฤดูร้อนจะมีพื้นที่เพียง 153 ตารางกิโลเมตร แต่ใน ค.ศ. 1953 เมื่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแล้ว พื้นที่ของทะเลสาบขยายกว้างขึ้นถึง 600 ตารางกิโลเมตร โครงการจัดหาน้ำเข้าเมือง ใช้วิธีทำประตูน้ำ เขายกตัวอย่างที่มหานครเทียนสิน และยังมีตัวอย่างอื่นๆ ที่ทำเสร็จแล้ว โครงการที่กำลังจะเสร็จและกำลังวางแผน ในอนาคตนั้นการอนุรักษ์ดินเป็นเรื่องสำคัญที่สุด นอกจากนั้นยังมีโครงการที่คิดไว้ในอนาคต เช่น การผันน้ำไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเอาน้ำจากแม่น้ำฉังเจียงมาแม่น้ำหวงเหอ โครงการแม่น้ำโขง โครงการปรับปรุงคลองขุดใหญ่ที่ไปมหานครเทียนสิน โครงการความปลอดภัยในการใช้น้ำ มีเวลาน้อยมากเลยจ๊ะ ไม่ใช่เดินดู เรียกว่าวิ่ง เลยจดได้ไม่ดีนัก

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า14

(น.14) ยุคที่ 5 สมัยสหมหาวิทยาลัยแห่งชาติตะวันตกเฉียงใต้ (National Southwest Association University) ค.ศ. 1937-1946 เป็นช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จีนถูกญี่ปุ่นรุกราน เมื่อเกิดสงครามต่อต้านญี่ปุ่น (เริ่ม 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937) เริ่มที่สะพานมาร์โคโปโล รวมมหาวิทยาลัยหนานไค (ที่เทียนสิน) มหาวิทยาลัยปักกิ่งและมหาวิทยาลัยชิงหัวอพยพไปที่นครฉางซา มณฑลหูหนาน ตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉพาะกาล ในที่สุดอพยพไปอยู่ที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน จึงได้ชื่อว่า สหมหาวิทยาลัยแห่งชาติตะวันตกเฉียงใต้ ยุคนี้เป็นยุคที่น่าศึกษา เพราะเป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จมาก ถึงจะยากลำบากเพราะการย้ายสถานที่ ขาดแคลนอุปกรณ์ เขาแสดงรูปห้องสมุดสมัยนั้น เอาหนังสือใส่หีบตั้งซ้อนๆ กัน สมัยนั้นมีศาสตราจารย์ที่มีชื่อหลายท่าน เช่น ศาสตราจารย์เหวินยี่ตัว นอกจากสอนมหาวิทยาลัยแล้ว ต้องไปสอนโรงเรียนมัธยม และหารายได้เพิ่มเติมด้วยการแกะตรา มหาวิทยาลัยมีผลงานมากมาย เช่น สร้างบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ 163 คน นักวิทยาศาสตร์ 2 คน คือ หลี่เจิ้งเต้า และหยังเจิ้นหนิง ได้รับรางวัลโนเบล
ยุคที่ 6 มหาวิทยาลัยปักกิ่งกลับคืนสู่ปักกิ่ง (ค.ศ. 1946-1949) อธิการบดีชื่อ หูซื่อ ขยายสาขาวิชาจากที่มีอักษรศาสตร์ วิทยาศาสตร์และกฎหมาย เพิ่มสาขาวิชาแพทย์ และเกษตร
ยุคที่ 7 สมัย 17 ปีแรกของสมัยสาธารณรัฐประชาชนจีน (ค.ศ. 1949-1966) ป้ายชื่อมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นลายมือประธานเหมา ใน ค.ศ. 1952 ปรับปรุงหลักสูตร เพิ่มภาควิชาต่างๆ เนินวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ ย้ายที่ตั้งมาอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน รวมกับมหาวิทยาลัยเยี่ยนจิง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของอเมริกัน ทั้ง 2 มหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาการ รวมทั้งการผลิตอาวุธนิวเคลียร์

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า44

(น.44) ตอนมารับตำแหน่งที่มณฑลกวางตุ้งหลินเจ๋อสูเคยเรียกพวก (พ่อค้า) 13 ห้าง (สือซานหัง) ที่ก่วงโจว (เมืองกวางตุ้ง) มาประชุม และบอกว่าวันใดที่ฝิ่นยังไม่หมดสิ้นไป ตัวข้าพเจ้าจะไม่กลับกรุง ขอเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เป็นไปไม่ได้ที่ฝิ่นจะไม่หมดสิ้น (13 ห้าง คือ กลุ่มพ่อค้าจีนที่ร่วมทุนกับพวกฝรั่ง ได้รับสิทธิพิเศษผูกขาดทางการค้า) แต่แรกเมื่อมีรายงานการปราบฝิ่นส่งเข้ากรุง จักรพรรดิเต้ากวงทรงแทงหนังสือว่าเป็นเรื่องน่ายินดี รับทราบแล้ว เอกสารฉบับนี้เป็นสำเนา ตัวจริงอยู่พระราชวังกู้กงในกรุงปักกิ่ง จักรพรรดิเต้ากวงรู้ว่าชนะ จึงปิดประกาศ อันเป็นเหตุผลหนึ่งที่พวกฝรั่งมาทำสงครามฝิ่น ศาลาที่ 3 สถานการณ์สงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839-1842) มีแผนที่ตอนที่พวกฝรั่งไปถึงเมืองเทียนสิน จักรพรรดิเต้ากวงกริ้วหลินเจ๋อสู ปลดออกจากตำแหน่ง ให้ฉีซ่านไปเจรจากับอังกฤษ ค.ศ. 1841 ทหารอังกฤษรุกรานเกาะฮ่องกง มีอิฐกำแพง ค.ศ. 1841 โอ่งดินปืน จักรพรรดิไม่เพียงแต่ปลดหลินเจ๋อสูเท่านั้น แต่เนรเทศไปซินเกียง เขาต้องจากครอบครัวที่เมืองซีอาน เดินทางเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1842 ขณะนั้นเขาร่างวาทะที่เจียงเจ๋อหมินเขียนลายมือพู่กันไว้ เดินทาง 4 เดือน ไปถึงเมืองอีหลี มณฑลซินเกียง ตอนนั้นอายุ 58 ปี เขาเป็นที่เคารพของชาวซินเกียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขุนนางชาวแมนจู ชื่อปู้เหยียนไท่

ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 219

(น.219) อีกความหมายหนึ่งว่า “อำเภอ” เช่น ไปแจ้งย้ายทะเบียนที่เขต ในขณะที่คำว่า “ภูมิภาค” สื่อความหมายถึงพื้นที่ที่กว้างใหญ่ เช่น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก มีข้อน่าสังเกตว่า จื้อจื้อชีว์ของจีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ นอกจากนั้นในความรับรู้ของคนไทย จังหวัดหลายๆ จังหวัดจะรวมกันเป็นภาค เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง คำว่า “ภาค” นั้นภาษาอังกฤษใช้ว่า “Region” ด้วยเหตุนี้ คำว่า “จื้อจื้อชีว์” จึงน่าจะแปลว่า “ภูมิภาคปกครองตนเอง”
2.3 จื๋อเสียซื่อ (直辖市) ในประเทศจีนมีเมืองขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญในด้านการเมืองเศรษฐกิจ หรือทั้ง 2 ด้าน รัฐบาลจีนได้จัดระเบียบการปกครองเมืองเหล่านี้ให้ขึ้นกับรัฐบาลกลางโดยตรง ไม่ขึ้นกับรัฐบาลมณฑล และแยกพื้นที่ออกมาต่างหาก เรียกกันว่า “จื๋อเสียซื่อ” มีฐานะเทียบเท่ามณฑล จื้อเสียซื่อจะมีเขต (District,ชีว์) ทั้งที่อยู่ในเมืองและชานเมือง รวมทั้งอำเภอในพื้นที่บริเวณรอบนอกออกไปอยู่ใต้การปกครอง ประเทศจีนมีจื้อเสียซื่ออยู่ 3 เมือง คือ เป่ยจิง (ปักกิ่ง) เทียนจิน (เทียนสิน) และซ่างไห่ (เซี่ยงไฮ้) จื๋อเสียซื่อของจีนนั้นภาษาอังกฤษใช้ว่า “Municipality directly under the Central Government” หากเทียบกับการจัดระเบียบเขตการปกครองของไทยก็คงจะเทียบได้กับกรุงเทพมหานคร ซึ่งเราก็มีกฎหมายในการจัดระเบียบการปกครองกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะแยกออกจากจังหวัดอื่นๆ คำว่า “จื๋อเสียซื่อ” จึงน่าจะแปลว่า “มหานครที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง” และน่าจะเรียกสั้นๆ ว่า “มหานคร”
2.4 ตี้ชีว์ (地区) คำว่า “ตี้ชีว์” ในภาษาจีนหมายถึง เขตการปกครองที่ลดหลั่นจากมณฑล และขึ้นต่อรัฐบาลมณฑล ภาษา

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 16

(น.16) กลับโรงแรมเตรียมตัวเก็บของ แล้วไปรับประทานอาหารกลางวันที่สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานนี้ก็สร้างใหม่ เป็นตึกใหญ่ มีห้องสำหรับรับแขก มีพ่อครัวฝีมือดี มาดามเฉินบอกว่าคนที่ฉงชิ่งชอบ enjoy ชีวิตอยู่ดีกินดีกว่าคนที่ปักกิ่ง มาดามเฉินเล่าว่าชื่อจี้หว่า ซึ่งเป็นชื่อที่แปลกไม่มีคนเขาชื่อกัน เพราะเกิด ค.ศ. 1954 ปีนั้นนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลนำคณะไปประชุมสันติภาพที่เจนีวา เป็นเรื่องที่คนจีนตื่นเต้นกันมาก คุณพ่อจึงนำเหตุการณ์นี้มาตั้งชื่อลูก จี้ ย่อมาจาก กั๋วจี้ แปลว่า นานาชาติ ส่วน หว่า มาจากคำว่า เจนีวา มีน้องสาวฝาแฝด พ่อตั้งชื่อว่า เว่ยผิง แปลว่า พิทักษ์สันติภาพ พบนายกเทศมนตรี ท่านกล่าวต้อนรับบอกว่าคนจีนยังจำวันที่ข้าพเจ้ามาฉงชิ่งเมื่อ ค.ศ. 1996 ได้ (ที่จริงคือวันนี้เมื่อ 5 ปีก่อน) ตอนนั้นฉงชิ่งขึ้นกับมณฑลเสฉวน แต่ขณะนี้สภาพของฉงชิ่งเปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1997 สภาประชาชนแห่งชาติมีมติยกฐานะฉงชิ่งเป็นมหานคร ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง นับเป็นมหานครแห่งที่ 4 ในระบบการปกครองของจีนปัจจุบัน และเป็นแห่งแรกของพื้นที่ทางภาคตะวันตก ขณะที่อีก 3 มหานครที่มีอยู่แล้วคือ ปักกิ่ง เทียนสิน เซี่ยงไฮ้ อยู่ทางตะวันออก ความเปลี่ยนแปลงนั้นสรุปได้ว่ามีพื้นที่บริหารมากขึ้น จาก 20,000 ตารางกิโลเมตร เป็น 82,000 ตารางกิโลเมตร ประชากรในความรับผิดชอบมากขึ้นเท่าตัว จาก 15 ล้านคน เป็น 30.9 ล้านคน โครงสร้าง

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 233

(น.233) กลับโรงแรม เวลา 17.50 น. ไปโรงแรมหงโหลว นายกเทศมนตรีเลี้ยงอาหารเย็น นายกเทศมนตรีกล่าวว่าที่นี่เป็นเมืองใหญ่หนึ่งใน 11 ของมณฑลเหอเป่ย มีลักษณะพิเศษคือ ได้เปรียบทางภูมิประเทศ มีทรัพยากรธรรมชาติและเป็นเมืองท่องเที่ยว เดินทางไปปักกิ่งเพียง 250 กิโลเมตร เดินทางไปท่าเรือเทียนสินใช้เวลาเท่ากัน ทางเหนือไปมองโกเลียใน ตะวันออกไปมณฑลเหลียวหมิง พื้นที่นี้มีแร่ธาตุสำคัญๆ 100 กว่าชนิด มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น กำแพงเมืองจีน อุทยานราชวงศ์ชิง วัด ใน ค.ศ. 1994 ได้รับรางวัลจากองค์การยูเนสโกว่าเป็นมรดกวัฒนธรรมของโลก ขณะนี้เปิดกว้างทางเศรษฐกิจและสังคม พัฒนารวดเร็ว ฐานะของประชาชนดีขึ้น ขณะนี้ติดต่อกับต่างประเทศด้วย มีต่างประเทศมาลงทุน เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฮอลแลนด์ เยอรมัน อิตาลี ฮ่องกง ไต้หวัน ออสเตรเลีย เกาหลี ทั้งในด้านเกษตรและอุตสาหกรรม มีโครงการด้านอนุรักษ์ธรรมชาติ ทางเหนือของเฉิงเต๋อมีทุ่งหญ้าและป่าไม้ที่เทือกเขาอู่หลิงซาน น้ำในอ่างเก็บน้ำมี่หยุนที่คนปักกิ่งใช้ก็มาจากเฉิงเต๋อ นายกเทศมนตรีเป็นคนซานตง แต่ก่อนมีหน้าที่ดูแลกิจการเยาวชน สุราวันนี้ชื่อเฉากั้วตามชื่อร้านที่จักรพรรดิเฉียนหลงออกไปเสวย เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว กลับโรงแรมเฉียนหยาง

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 242


(น.242) ในนิทรรศการ มีเรื่องการท่องเที่ยว สถานที่น่าเที่ยว มีภูเขา ทะเลสาบ ทุ่งหญ้า ป่าที่จักรพรรดิล่าสัตว์ มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โรงแรม ถนนหนทาง เตรียมสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติ และจะสร้างโรงแรมใหม่ด้วย อาหารไร้สารพิษ ผัก ผลไม้ต่างๆ อัลมอนด์ ซึ่งบริษัทลู่ลู่ในเมืองเฉิงเต๋อนี้ทำน้ำกระป๋องขาย มันฝรั่งที่นี่ขายให้แมคโดนัลด์ที่เมืองจีน เห็ด แอปเปิ้ล ซานจาแปรรูปเป็นแบบต่างๆ (Haw) เกาลัด เวลาขายส่งออกส่งไปทางเทียนสิน บางคนเลยเรียกว่าเกาลัดเทียนสิน การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงหมู ตำบลกวนเฉิงเลี้ยงในบ้าน เก็บขี้หมูไปทำแก๊ส เชื้อเพลิงหุงข้าว ส่วนกากทำปุ๋ย ข้าวตราหลงฉวน ยาจีนมี 700 กว่าชนิดที่ขึ้นชื่อ ยาที่ผลิตที่เฉิงเต๋อส่งไปขายสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น Xili เป็นบริษัทร่วมทุนกับสหรัฐอเมริกา วัสดุก่อสร้าง บริษัทเครือลู่ลู่นอกจากขายเครื่องดื่มแล้ว ยังทำวัสดุก่อสร้าง หินแกรนิต ใช้อุปกรณ์สายพานจากอิตาลี ในเฉิงเต๋อมีบริษัทปูนซีเมนต์ทำท่อน้ำร่วมกับมหาวิทยาลัยชิงหัวในปักกิ่ง อิฐ คอนโดสูงที่สุดในภาคเหนือของจีน สร้างโดยใช้วัสดุก่อสร้างเหล่านี้

คืนถิ่นจีนใหญ่

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 122,156

(น.122) เมื่อทำลายฝิ่นแล้วนายพลหลินทราบว่าจะต้องรบกันแน่ๆ จึงหาวิธีป้องกันเมือง มีการตั้งด่านดักเรือ 3 ชั้น โดยใช้ซุงทำเป็นแพ และใช้โซ่กั้นแม่น้ำ มีป้อม 3 จุด แต่ละฝั่งของปากแม่น้ำจูเจียง มีรูปจำลองให้ดูว่าภูมิประเทศจริงเป็นอย่างไร
ตอนที่ 2 การบุกของอังกฤษและการตั้งรับของจีนในกวางตุ้ง อังกฤษนำเรือรบเข้ามาเดือนเมษายน ค.ศ. 1840 มีเรือรบ 48 ลำ ปืนใหญ่ 500 กระบอก ทหาร 4,000 นาย มาถึงจีนในเดือนมิถุนายนถือเป็นการเริ่มสงคราม แสดงแผนที่การเดินทัพของอังกฤษและสมรภูมิในสงครามฝิ่นครั้งแรก เดิมอังกฤษไปกวางโจว จะเข้าแม่น้ำจูเจียง แต่จีนป้องกันไว้อย่างดีจึงเปลี่ยนเส้นทางไปเอ้หมึง ก็เข้าไม่ได้อีก จึงไปทางติ้งไห่ใกล้เมืองเซี่ยงไฮ้ได้ชัยชนะแล้วขึ้นไปถึงเมืองเทียนสินซึ่งอยู่ใกล้กับปักกิ่งจักรพรรดิเกรงภัยจึงให้หย่าทัพ รูปเขียนสีน้ำมันที่แสดงการรบที่ซาเจี่ยว อยู่ปากแม่น้ำจูเจียง ในภาพมีทหารแขกซีปอยร่วมรบด้วย



(น.122) รูป 118 ภาพแสดงการรบที่หู่เหมิน
(น.156) นอกจากการสอบความรู้จากหนังสือขงจื๊อแล้ว ยังให้บอกชื่อผู้ค้าฝิ่นและให้ชี้แจงวิธีหยุดยั้งการค้าฝิ่น พยายามจับฝิ่นรวมทั้งฝิ่นของชาวต่างประเทศโดยผ่านพ่อค้าจีน เขาพยายามมากที่จะไม่ก่อสงคราม พยายามเขียนจดหมายกราบทูลสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียไม่ให้ทรงสนับสนุนการค้าฝิ่นโดยให้เห็นแก่ศีลธรรม แต่ไม่ได้ผล เพราะว่าคนในอังกฤษก็ยังสูบฝิ่น พวกพ่อค้าฝิ่นทั้งหลายแหล่ต่างไปล้อบบี้สภาให้ต่อต้านมาตรการของจีน ตอนแรกสภายังไม่ประกาศสงครามกับจีน แต่ส่งกองทัพเรือไปจีนภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลเรือยอช อีเลียต นายพลหลินขับไล่อังกฤษออกจากกวางตุ้ง มาเก๊า อังกฤษก็เลยไปที่ฮ่องกง หยุดการค้ากับจีน ช่วงนั้นอเมริกันเลยทำหน้าที่พ่อค้าคนกลางอย่างสบาย คนจีนที่ฮ่องกงก็ต่อต้านอังกฤษ สนธิสัญญานานกิง ค.ศ. 1842 (ตรงกับรัชกาลที่ 3) ข้อที่มีผลกับไทยอย่างหนึ่งคือ การยกเลิกการค้าผูกขาดแบบสิบสามห้าง ข้อนี้ทำให้ข้อได้เปรียบของไทยที่ค้าโดยตรงในระบบบรรณาการหมดไป ข้าพเจ้าเคยได้เห็นแผนที่โบราณที่ผู้รู้กำหนดอายุจากปีศักราชที่เขียนไว้ว่าอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีเส้นทางการเดินเรือจากไทยถึงเทียนสิน และไปทางคลองใหญ่จนถึงปักกิ่ง กับอีกแผ่นหนึ่งแผนที่บริเวณอ่าวกวางตุ้ง มีที่ตั้งด่าน บ้านพักราชทูต และสิบสามห้าง แสดงว่าแผนที่นั้นต้องทำก่อนสงครามฝิ่น ได้ทราบว่ารัชกาลที่ 3 ทรงสดับตรับฟังข่าวคราวเรื่องการคุกคามของจักรวรรดินิยมในจีนอยู่สม่ำเสมอจากราชทูตและพ่อค้าที่ไปมาระหว่างระหว่างจีนและไทย

Next >>