Please wait...

<< Back

เซี่ยงไฮ้


(น.273) รูป 248 นายกเทศมนตรีมหานครเซี่ยงไฮ้เลี้ยง

(น.273) จากนั้นไปนั่งที่โต๊ะอาหาร มีอาหารอร่อย ๆ หลายอย่าง เช่น ซุปอยู่ในซาลาเปา เป็ดปักกิ่ง แต่รสชาติไม่เหมือนเป็ดที่ปักกิ่ง มีลักษณะเฉพาะ ท่านนายกเทศมนตรีพูดภาษาอังกฤษเก่งมาก ท่านบอกว่าเมื่อตอนยังหนุ่มอายุ 20 กว่า ๆ ได้ทุนไปเรียนที่ Imperial College ในกรุงลอนดอน หลังจากนั้นได้อาศัยดูโทรทัศน์ทบทวนภาษา ท่านเป็นคนเซี่ยงไฮ้ แต่ไปเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ภริยาท่านไม่ชอบปักกิ่ง เห็นจะเป็นเพราะปักกิ่งสมัยก่อนเป็นเมืองเรียบ ๆ ไม่มีอะไร ส่วนเซี่ยงไฮ้นั้นเจริญมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยฝรั่งยังอยู่ ระหว่างที่รับประทานอาหารอยู่นี้ก็มีคนดีดเปียโนเป็นเพลงฝรั่ง เมื่อรับประทานเสร็จแล้ว คุยกับครูหวางพักหนึ่งเรื่องขอให้ครูช่วยหาข้อมูลเรื่องต่าง ๆ แล้วทดลองลงไปที่ห้อง fitness ในโรงแรมนี้ ตู่บ่นว่าที่จริงวิ่งหรือออกกำลังกายโดยไม่ใช้เครื่องดีกว่าไม่ต้องเสียเงิน ข้าพเจ้าก็ว่าอย่างนั้น แต่ที่เขาทำไว้แบบนี้มันก็สะดวกสำหรับในสถานที่ที่ออกไปวิ่งข้างนอกไม่ได้

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 277,287,288,290,292,295

(น.277) ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1927 เจียงไคเช็กได้ก่อการปฏิวัติที่นครเซี่ยงไฮ้ กว่างโจวก็ได้รับผลกระทบและมีการจลาจล หลู่ซุ่นเห็นความจริงเกี่ยวกับเรื่องการฆ่าฟันกัน เลยไม่อยากอยู่กว่างโจวอีก ต่อไปจึงย้ายมาอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ ขณะที่อยู่ที่เซี่ยงไฮ้ เขาทำหน้าที่เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวทางด้านวรรณกรรมจีนทั่วประเทศ ตอนนั้นเกิดมีนักเขียนถูกฆ่าตาย หลู่ซุ่นก็เลยออกหนังสือพิมพ์ ออกนิตยสารรายวัน หนังสือต่าง ๆ เช่น เส้นทางที่ถูกต้อง คนประเภทที่ 3 ผู้หลอกลวง วัฒนธรรมโลก วัฒนธรรมของมหาชน และวัฒนธรรมเกิดใหม่ ค.ศ. 1933 หลู่ซุ่นและเพื่อน เช่น ซ่งชิ่งหลิง หลี่เผยหัว หูอี้จือ ไช่หยวนเผย หยางซิ่งโฝว์ ร่วมกันตั้งสมาพันธ์ปกป้องสิทธิประชาชนแห่งประเทศจีน หยางซิ่งโฝ่ว์ถูกฆ่าตาย หลู่ซุ่นเขียนไว้ว่า “หากฉันยังมีชีวิตอยู่ ฉันจะจับปากกามาเขียนเพื่อเป็นการคารวะต่อปืนของพวกเขา” กลุ่มของเขาพยายามต่อต้านลัทธิฟาสซิสม์ที่เผยแพร่จากเยอรมนีและญี่ปุ่นที่กำลังเข้ามารุกรานประเทศจีน ในช่วงที่อยู่เซี่ยงไฮ้ เขาได้รู้จักผู้นำคอมมิวนิสต์รุ่นเก่า ๆ และได้เขียนหนังสือร่วมกันเกี่ยวกับการปลดแอก หลู่ซุ่นสนใจติดต่อกับต่างประเทศด้านการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและตั้งใจสร้างผลงานอุทิศแก่ชาวโลก เขาแปลผลงานของนักเขียนต่างประเทศมากกว่า 100 ท่าน เช่น เรื่อง ล่มสลาย เสี่ยวเอี้ยหาน จิตวิญญาณแห่งความตาย เป็นต้น เป็นการแนะนำวัฒนธรรมต่างชาติให้ชาวจีนได้รู้จัก โดยส่วนตัวเขารู้จักนักเขียนและนักวิชาการชาวต่างประเทศหลายคน ตัวอย่างของคนที่เรารู้จักกันดีคือ Edgar Snow นักเขียนชาวอเมริกันที่เขียนเรื่องเกี่ยวกับจีนเอาไว้มาก

(น.287) ข้างบนสุดก็เป็นที่ชมวิว แต่ขึ้นไปแล้วเห็นอะไร ข้างในมีรูปบุคคลสำคัญที่เคยมาชมสถานที่นี้ ลงมาชั้นล่าง มีป้ายไฟฟ้าเขียนไว้ว่าฮ่องกงจะกลับเป็นของจีนเมื่อไร เหลืออีกกี่วัน มีภาพประเทศต่าง ๆ จากนั้นไปที่เขตเศรษฐกิจพิเศษผู่ตง คุณเจ้าฉี่เจิ้ง รองนายกเทศมนตรี และเป็นหัวหน้าโครงการที่นี่ เชิญนั่ง แล้วบรรยายสรุปยืดยาวมาก อาจจะเก็บความไม่ได้ครบถ้วน จะเล่าเท่าที่เข้าใจว่า เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้วเซี่ยงไฮ้เจริญเฉพาะแต่เขตที่ชาวต่างประเทศอาศัยอยู่ เมื่อสิบกว่าปีมานี้ไม่มีสะพาน ไม่มีอุโมงค์ข้ามแม่น้ำ ต้องข้ามเรือ ชาวบ้านมีความเห็นว่ามีแต่เตียงเพียงเตียงเดียวในผู่ซียังดีกว่ามีห้องชุดในผู่ตง ที่ผู่ตงรายได้ประชาชาติต่ำมาก


(น.287) รูป 258 ฟังคำบรรยายสรุปที่เขตเศรษฐกิจพิเศษผู่ตง


(น.288) รูป 259 ย่านการค้าโบราณ

(น.288) ในวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1990 นายกรัฐมนตรีหลี่เผิง ในฐานะตัวแทนรัฐบาล มาประกาศว่ารัฐบาลจะบุกเบิกพัฒนาเขตผู่ตง ต่อมาเมื่อมีการประชุมสภาของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนสมัยที่ 14 ก็ประกาศเพิ่มเติมว่าจะสร้างเซี่ยงไฮ้เป็นหัวมังกรของจีน ให้เป็นทั้งศูนย์การค้า เศรษฐกิจ และการเงิน ท่านเติ้งเสี่ยวผิงเคยมาเขตนี้ ท่านมาเมื่อ ค.ศ. 1992 ใน ค.ศ. 1994 ท่านเติ้งกลับมาเยี่ยมอีก และได้ข้ามสะพานหยางผู่ ท่านประธานาธิบดีก็มาเมื่อปีที่แล้ว ในบริเวณนี้ได้วางแผนโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น เส้นทางการคมนาคม สนามบิน โรงพยาบาล สถานศึกษา ธนาคาร ฯลฯ ประกาศเป็นเขตปลอดภาษี ชักชวนให้ชาวต่างประเทศมาลงทุน เขตผู่ตงแบ่งออกเป็นเขตย่อย 4 เขต คือ
1) เขตหลู่เจียจุ่ย เป็นเขตการเงินและการค้า
2) เขตจินเฉียว เป็นเขตดำเนินการส่งออก มีนิคมอุตสาหกรรมที่ทันสมัย
3) เขตไว่เกาเฉียว เป็นเขตการค้าเสรี


(น.290) รูป 261 สวนยู่หยวน

(น.290) สวนยู่หยวน สร้างสมัยต้นราชวงศ์หมิง ค.ศ. 1559 ผู้สร้างเป็นขุนนางตระกูลพาน ซึ่งเป็นชาวเซี่ยงไฮ้ แต่ไปรับราชการเป็นผู้ว่าราชการมณฑลเสฉวน สร้างบ้านหลังนี้เพื่อแสดงความกตัญญูต่อบิดา ซึ่งเคยเป็นเสนาบดีกลาโหมของเสฉวน เมื่อสร้างเสร็จบิดาก็เสียชีวิตพอดี แต่ก่อนเป็นสวนใหญ่โต ปลูกทั้งต้นไม้ต่าง ๆ และปลูกผัก ร้านน้ำชาก็เป็นส่วนหนึ่งของสวนนี้ ตอนที่เกิดสงครามฝิ่นใน ค.ศ. 1839 สวนถูกทำลายไปมาก เพิ่งมาซ่อมราว ค.ศ. 1959 ซ่อมเสร็จ ค.ศ. 1980 เข้าไปในสวนนี้จะเห็นต้นแป๊ะก๊วยต้นใหญ่อายุ 400 ปี ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือสวนหิน ทำเป็นเขามอ เป็นแห่งเดียวในเซี่ยงไฮ้ นำหินมาจากหลายแหล่ง เช่น อำเภออู่คัง มณฑลเจ้อเจียง มีหินที่เอามาจากทะเลสาบไท่หู การนำหินมาประกอบกันไม่ได้ใช้ซีเมนต์ ใช้ปูนผสมข้าวเหนียว

(น.292) รูป 263 เลี้ยงอาหารค่ำสุดท้ายในจีนและเป็นการเลี้ยงวันเกิดดร.สุเมธ ด้วย

(น.292) พบกับศิลปินนักเขียนพู่กันจีนของเซี่ยงไฮ้ เขาให้ของขวัญข้าพเจ้าเป็นกาน้ำชา ในสระน้ำมีปลาหลีฮื้อสีแดงฝูงใหญ่ เวลาตบมือแล้วมันมากัน คงเคยได้รับประทานอะไร ไปหลอกปลาแบบนี้อีกหน่อยตบมือมันคงไม่มา กลับโรงแรม ป้าจันกลับมาจากซื้อของที่จะเอาไปเป็นของฝาก ข้าพเจ้าฝากป้าจันหาผ้าสำหรับปูโต๊ะเขียนภาพหรือตัวอักษรจีน

(น.295) คืนนี้มีรายการท่องเซี่ยงไฮ้ยามราตรีอย่างย่นย่อ มาดามจั่วเล่าว่าที่อื่นร้านปิดประมาณ 4 ทุ่ม แต่ที่ถนนหนานจิงนั้นร้านเปิดกันเกือบทั้งคืน เราจอดรถเดินเล่นริมแม่น้ำหวงผู่ เห็นหอไข่มุกตอนกลางคืนสวยงามมาก อาคารต่าง ๆ เช่น ตึกศุลกากรติดไฟดูสวยงามไปอีกแบบ ถนนหนานจิงนี่ก็แปลก ซีกหนึ่งมีป้ายโฆษณาเป๊ปซี่ อีกซีกหนึ่งโฆษณาโคล่า

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 300

(น.300) ที่โรงงานมีสิงโตและวงดนตรีต้อนรับ คุณธนากร เสรีบุรี ผู้จัดการโรงงานรายงานว่าร่วมทุนกับจีนคนละ 50% เป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อข้าพเจ้ากดปุ่มเปิดโรงงานแล้ว ผู้จัดการนำชมโรงงาน รถจักรยานยนต์ของโรงงานนี้ชื่อว่า ซิ่งฝู แปลว่า โชคดี ชื่อภาษาอังกฤษว่า Lucky โรงงานนี้มีคนงานประมาณ 3,000 คน เอาญี่ปุ่นมาฝึกหัดคนงาน แรงงานที่เซี่ยงไฮ้นี้ทำงานได้ดีพอใช้ ทำงานเป็นกะ กะละเจ็ดชั่วโมงครึ่ง ค่าใช้จ่ายในผลิตไม่สูงนัก เพราะว่าส่วนประกอบ 70% ทำในประเทศจีน ส่วนมากขายในประเทศจีน ส่งออกไม่มากนัก ตอนนี้คนจีนมีเงินทองจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น มักจะเปลี่ยนจากขี่จักรยานธรรมดาเป็นจักรยานยนต์ เพราะเร็วดี การผลิตมีแบบต่าง ๆ ที่แสดงไว้มีหลายแบบ แต่ก่อนนี้จีนทำเองใช้แบบยุโรปตะวันออก ปัจจุบันเป็นแบบญี่ปุ่น ดูโรงงานเสร็จคุยกับคุณธนินท์ เจียรวนนท์ พักหนึ่ง ถ่ายรูปหมู่แล้วกลับโรงแรม ตอนอาหารกลางวัน คุณธนินท์เป็นเจ้าภาพเลี้ยงที่โรงแรม เชิญรองนายกเทศมนตรีมาด้วย หลังอาหารไปร้านหนังสือ ร้านนี้มีสามชั้น มีหนังสือมาก (ภาษาจีน) นอกจากซื้อหนังสือแล้ว ยังซื้ออุปกรณ์ทำสำเนาศิลาจารึกได้ด้วย ประมาณ 17.30 น. ไปขึ้นเครื่องบิน พบคณะที่มาร่วมงานเปิดธนาคารและเปิดโรงงานจักรยานยนต์ เขาบอกว่าเขาก็จะกลับเที่ยวบินหลังจากข้าพเจ้าไปแล้ว

เย็นสบายชายน้ำ หน้า 310,315,318

เรือหลวงสิมิลัน
ความเป็นมา
ในปัจจุบันกองทัพเรือมีเรือขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเรือคอร์เวต เรือฟริเกต และเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ การจะทำให้เรือเหล่านี้สามารถปฏิบัติการในทะเลลึกได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานไม่ต้องกลับเข้ารับการส่งกำลังบำรุงที่ฐานทัพ จำเป็นต้องมีเรือส่งกำลังบำรุงที่สามารถส่งกำลังบำรุงในทะเลแก่เรือดังกล่าว กองทัพเรือในนามของรัฐบาลไทยจึงได้ลงนามในข้อตกลงว่าจ้างการสร้างเรือส่งกำลังบำรุงขนาดระวางขับน้ำเต็มที่ 22,000 ตัน จำนวน 1 ลำ จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อ 29 กันยายน 2536 บริษัท CHINA SHIPBUILDING TRADING COMPANY LTD. (CSTC.) ออกแบบเรือต่อที่อู่ต่อเรือ HU DONG SHIPYARD เมืองเซี่ยงไฮ้ เริ่มตัดแผ่นเหล็กตัวเรือเมื่อ 17 ธันวาคม 2537 ประกอบพิธีวางกระดูกงูเรือ เมื่อ 8 มิถุนายน 2538 ปล่อยเรือลงน้ำ 9 พฤศจิกายน 2538 และกำหนดส่งมอบเรือให้กองทัพเรือเดือนสิงหาคม 2539 ตามระเบียบกองทัพเรือ ว่าด้วยการแบ่งชั้นเรือ หมู่เรือ และการตั้งชื่อเรือหลวง พ.ศ. 2527 กำหนดให้ขอพระราชทานพระมหากรุณาพระมหากษัตริย์ทรงตั้งชื่อเรือตั้งแต่ชั้น 1 ถึงชั้น 3 ที่มีระวางขับน้ำ

(น.315) เปอร์เซ็นต์ของที่จีนผลิตได้ พืชผลอื่น ๆ คือฝ้าย ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ถั่ว เฮมป์
เมืองใหญ่ตามลุ่มน้ำคือ เซี่ยงไฮ้, นานกิง, อู่ฮั่น, ฉงชิ่ง เมืองเหล่านี้มีประชากรเกินล้านคน
เขตลุ่มน้ำ มีประชากรสองร้อยล้านคน
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำ ไหลผ่านที่ราบสูงทิเบต ประชากรส่วนมากทำการเกษตรรายย่อย อากาศอบอุ่นในฤดูร้อน หนาวในฤดูหนาว เวลาเพาะปลูกประมาณ 4 – 5 เดือน ผู้คนที่อยู่ในเขตนี้มีชาวทิเบตเป็นส่วนใหญ่ นอกนั้นเป็นชาวจีน เนปาล อินเดีย บ้างเล็กน้อย เขตเขาสูงทางตะวันตกเฉียงใต้ มีชาวจีนเป็นส่วนมาก อาชีพทำการเกษตรรายย่อยเช่นกัน
ต้นน้ำมีสองแห่ง อยู่ในภูเขา Tang-ku-la Shan-mo เขตที่เป็นต้นน้ำ สูง 18,000 ฟุต (5,500 เมตร) จากระดับน้ำทะเล และต้นน้ำหลัก (อยู่ทางใต้) ชื่อ Ulan Muren (ภาษาทิเบต) แม่น้ำในช่วงนี้ไหลผ่านที่ราบหุบเขากว้าง ๆ ไม่ลึกนัก มีทะเลสาบ บึงบ้างพอสมควร ลักษณะแม่น้ำมาเปลี่ยนมากเมื่อสุดแดนที่ราบสูงทิเบตทางตะวันออก เพราะระดับพื้นที่ต่ำลงอย่างรวดเร็ว แม่น้ำไหลผ่านภูเขา Pa-yen-k’a-la Shan คดเคี้ยวไปมาตามโตรกเขา เกิดเป็นหุบเขาแคบ ๆ ลึกประมาณ 1 – 2 ไมล์ ยอดเขาแต่ละยอดสูงเกิน 16,000 ฟุต มีธารน้ำแข็งและหิมะปกคลุมอยู่ตลอดปี จากนั้นแม่น้ำไหลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ แล้วไหลลงไปทางใต้ (น.318) แก่การเพาะปลูก ช่วงเวลาที่เพาะปลูกได้ประมาณ 8 – 11 เดือน บางที่สามารถปลูกพืชได้ 2 – 3 ครั้งต่อปี
เขตนี้เป็นเขตที่มีการเกษตร การอุตสาหกรรมหนาแน่น และพัฒนามากที่สุดของจีน มีคนจีนอยู่โดยมาก ประชากรหนาแน่น
แม่น้ำในช่วงนี้ มีแควใหญ่น้อยมากมาย ระบบแม่น้ำซับซ้อนขึ้นมาก มีทะเลสาบอยู่เป็นตอน ๆ แม่น้ำไหลผ่านเมืองอู่ฮั่นไปสู่ที่ราบลุ่ม นำตะกอนที่พัดพามาทับถมในเขตทะเลสาบหยุนเหมิน ทะเลสาบในเขตนี้มีหลายแห่งเป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญ เพราะมีปลา สัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ แม่น้ำในช่วงนี้อาจกว้างถึง 2,600 ฟุต ลึกกว่า 100 ฟุต กระแสน้ำไหลประมาณ 2 – 3 ฟุตต่อวินาที มีการก่อคันกั้นตามตลิ่งเพื่อกันน้ำท่วม
บนฝั่งแยงซีตรงที่รวมกับฮั่นสุ่ย (แม่น้ำฮั่น) มีเมืองฮั่นหยาง และฮั่นโข่ว ทางฝั่งซ้าย อู่ชาง ทางขวา ต่อมารวมกันเป็นเมืองขนาดใหญ่ชื่อ อู่ฮั่น เป็นเขตที่มีการทำเหมืองโลหะ มีโรงงานถลุงโลหะ และเป็นเมืองท่าสำคัญ เมื่อไหลต่อไปทางตะวันออก แม่น้ำไหลผ่านเขตที่มีทัศนียภาพสวยงามออกไปสู่เขตที่เป็นที่ราบ มีทะเลสาบใหญ่อีกแห่งหนึ่งชื่อ โป๋หยาง แล้วจึงไหลขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำตอนนี้ขยายกว้างถึง 3,000 – 6,000 ฟุต บางแห่งลึกถึง 100 ฟุต เขตนี้มีเมืองใหญ่ ๆ หลายเมือง เช่น ซูโจว เซี่ยงไฮ้ คลองใหญ่ (The Grand Canal) ก็ขุดจากบริเวณปากน้ำนี้
เขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ บริเวณนี้แม่น้ำแยกเป็นสายเล็กสายน้อย มีทะเลสาบ แนวน้ำเก่า เขตที่ลุ่มน้ำขัง ในฤดูน้ำหลากเขตนี้จมน้ำทั้งหมด ทะเลสาบไท่หูเป็นทะเลสาบใหญ่ที่สุดใน

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 92

(น.92) รูป

(น.92) ภาพสมัยสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่ค่อยได้ฟื้นฟูอู่ต่อเรือแห่งนี้เพราะมีปัญหาเกาะไต้หวัน อู่ต่อเรือที่นี้อยู่ในจุดที่ล่อแหลมเกินไป มีการพัฒนาบ้าง เช่น ต่อเรือปูนซีเมนต์โครงเหล็ก ราคาถูก เป็นเรือขนาด 3,000 ตัน พอถึงระยะเปิดประเทศ ฟื้นฟูปรับปรุงสถานที่นี้อย่างรวดเร็ว ผู้บริหารที่นี่ได้ไปดูงานที่เซี่ยงไฮ้และถ่ายภาพต่างๆ เก็บไว้ รัฐบาลมณฑลเห็นความสำคัญจึงขยายกิจการใหม่ได้ในเวลาเพียงไม่กี่ปี ค.ศ. 1990 ผลิตเรือขนาด 10,000 ตัน ส่งขายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป ขณะนี้สร้างได้ถึง 50,000 ตัน

"ไอรัก" คืออะไร?
"ไอรัก" คืออะไร? หน้า 20,24

(น.20) รูป 13 ถ่ายรูปกับประธานาธิบดี

(น.20) ปีหน้าให้ข้าพเจ้ามาเดือนมีนาคม-เมษายน หรือ กรกฎาคม-สิงหาคม กวางตุ้ง ฝูเจี้ยน เป็นบริเวณที่เก่าแก่ ฉะนั้นควรไป สำหรับเฮยหลงเจียงกับแมนจูเรียที่ข้าพเจ้าอยากไปนั้น ขณะนี้ไม่เหมาะ อากาศหนาวมาก เดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็น อุณหภูมิประมาณ -40 ˚C ท่านเองยังไม่อยากไป (ควรไป มิถุนายน-กันยายน จะดีมาก) เสนอความเห็นอีกว่าจะไปเซี่ยงไฮ้ ซูโจวหางโจว ก็ควรจะไป มีอุตสาหกรรม ฉะนั้นมาอีก 5 ครั้งก็ไม่เป็นอะไร ตามภาษิตว่าบนฟ้ามีสวรรค์ ในหล้ามีซูโจวหางโจวอันเป็นแหล่งผลิตไหม ฉะนั้น

(น.24) เล่ามาถึงตอนนี้พอดีกรมพิธีการทูตส่งสัญญาณว่าหมดเวลา ข้าพเจ้าจึงต้องอำลาท่านหยางช่างคุนเพื่อเดินทางต่อไปนครเทียนสิน มาดามเซี่ยนั่งในรถด้วย มาดามเล่าว่าในเมืองจีนมีนครปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ และนครเทียนสินเท่านั้นที่มีการปกครองเป็นเอกเทศไม่ต้องขึ้นกับมณฑลใด เมื่อออกนอกเมืองเห็นทุ่งนา ขณะนี้ชาวนาเริ่มเก็บเกี่ยวแล้ว ตามทุ่งเขาปลูกต้นหยางไว้เป็นแนวป้องกันลม ไม่ให้พัดต้นข้าวโพดและข้าวฟ่างล้ม เห็นมีไร่ทานตะวันด้วย รถตำรวจเมืองเทียนสินมารับช่วงนำทางจากตำรวจปักกิ่ง นำเข้าเมือง ข้ามแม่น้ำไห่เหอไปที่โรงแรมไฮแอต นั่งรออยู่ที่ห้องก่อน จนอาหารพร้อมจึงลงไปรับประทานที่ห้องอาหาร ตอนบ่ายหัวหน้าฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ของเมืองเทียนสินมานั่งรถด้วย เล่าถึงเมืองเทียนสินว่าเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของจีน เมืองเทียนสินเองเป็นเมืองอุตสาหกรรม มีทั้งอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเบา ไปถึงพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เทียนสิน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นในปี 1952 เป็นที่เก็บโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่น จารึกบนกระดูกที่ใช้ในการพยากรณ์ (Oracle Bone) เหรียญเงิน เครื่องถ้วย เครื่องลายคราม เครื่องสำริด เครื่องหยก ศิลาจารึก แสตมป์ ภาพเขียน ภาพคัดลายมือและสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิวัติ นิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑ์คือนิทรรศการประวัติศาสตร์นครเทียนสิน นิทรรศการเรื่องประเพณีพื้นบ้านของเทียนสินในปัจจุบัน