Please wait...

<< Back

นานกิง


(น. 140) รูป 115 เดินดูในศาลเจ้าขงจื๊อ
Touring the ground of the Shrine.

(น. 140) ยาว 7 กิโลเมตรจากตะวันออกไปตะวันตก แลดูเหมือนหนึ่งมังกรมหึมานอนขดอยู่กับที่ ส่วนทางตะวันตกมีภูเขาชิงเหลียงซาน แลดูเหมือนเสือดุร้ายหมอบอยู่ ในต้นราชวงศ์หมิงซึ่งตั้งเมืองหลวงอยู่ที่นานกิง จักรพรรดิหงอู่ (ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1398) โปรดให้สร้างกำแพงเมืองยาวถึง 34 กิโลเมตร ความสูงโดยเฉลี่ย 12 เมตร มีป้อมน้อยใหญ่รวม 10,000 กว่าป้อม และค่ายทหารขนาดเล็กอีก 200 ค่าย นับเป็นกำแพงเมืองหลวงที่ใหญ่โตที่สุด ยาวที่สุด และสูงที่สุดในโลก ปัจจุบัน เมืองนานกิงเป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู และเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของมณฑลนี้

เจียงหนานแสนงามหน้า 154,158,159

(น. 154) ประวัติของมหาวิทยาลัยนี้คือ เมื่อ ค.ศ. 1915 ตั้งขึ้นเป็น Hohai Civil Engineering School ต่อมารวมกับมหาวิทยาลัยนานกิง ถึง ค.ศ. 1952 ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากรน้ำของมหาวิทยาลัยสำคัญๆ เช่น มหาวิทยาลัยจินทง มหาวิทยาลัยนานกิง มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง ฯลฯ รวมกันเป็น East China Technical University of Water Resources ใน ค.ศ. 1985 จึงกลับไปใช้ชื่อว่า โหไห่ อย่างเดิม มีลายมือของท่านเติ้งเสี่ยวผิงเขียนชื่อมหาวิทยาลัยให้ มหาวิทยาลัยมีหลายวิทยาเขตเช่นที่ ฉังโจว อูรุมฉี หวงซาน มีที่ฝึกงานในนานกิงที่เถี่ยซิงเฉียว มีวิทยาเขตใหม่ที่อำเภอเจียงหนิง เนื้อที่ 60 เฮกตาร์ มีคณะวิชาต่างๆ ได้แก่
College of Civil Engineering
College of Water Resources
College of Water Conservancy and Hydropower
College of Computer and Informatic Engineering
College of Technical Economics
College of Humanities
Department of Mathematics and Physics
Department of Physical Education
มีห้องปฏิบัติการมากกว่า 60 ห้อง ห้องสมุดมีหนังสือมากกว่าล้านเล่ม มีเครือข่ายอินเตอร์เนตใช้ได้ทั่วมหาวิทยาลัย

(น. 158) มณฑลนี้นอกจากแก้ปัญหาปากท้องได้แล้วยังเลี้ยงที่อื่นได้ด้วย พื้นที่น้อยแต่ปริมาณผลผลิตต่อหัวสูง ขณะนี้กำลังปรับปรุงวิสาหกิจให้เป็นไปตามกลไกตลาดแบบสังคมนิยม เพื่อช่วยผลักดันการพัฒนากำลังการผลิต ที่นี่มีชาวต่างชาติมาลงทุนมาก แต่ช่องว่างระหว่างเจียงซูกับประเทศที่พัฒนาแล้วก็มีมาก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูง ความเป็นอยู่ของประชาชนยังต่ำกว่าเขา เมืองไทยเป็นประเทศที่สวยงาม แต่ไม่เคยไป เคยแต่มองจากมาเลเซีย และมีเพื่อนเป็นคนไทย ทั้งสองประเทศควรร่วมมือกันทุกด้าน ทั้งด้านการค้า เศรษฐกิจ การศึกษาและวัฒนธรรม ด้านการท่องเที่ยวนั้น คนจีนเที่ยวไทย คนไทยเที่ยวจีน การเดินทางมีมากในช่วงตรุษจีน แต่ก่อนกิจการโรงแรมในไทยดี มีวิกฤติการณ์คงถูกกระทบบ้าง ประเทศเราอยู่ใกล้กัน ถ้าเปิดเส้นทางบินระหว่างกัน จะได้ไปมาหาสู่ทั้งไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ได้สะดวกยิ่งขึ้น ข้าพเจ้ากล่าวว่าตอนนี้การท่องเที่ยวของไทยและกิจการโรงแรมก็ยังดีอยู่ ฉะนั้นเชิญมาเที่ยวได้ (เรื่องให้สายการบินข้าพเจ้าคิดว่ายากเพราะเศรษฐกิจตอนนี้เห็นจะเพิ่มเส้นทางบินไม่ง่ายนัก แถมนานกิงก็ไม่ไกลจากเซี่ยงไฮ้ นั่งรถไฟ 3 ชั่วโมงก็ถึง อาจจะหาลูกค้าได้ไม่มาก) ข้าพเจ้าเองอยากมาที่มณฑลนี้เพราะว่าจะดูงานด้านศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรือง ขณะที่เทคโนโลยีก็ก้าวหน้า จะไปดูโครงการลุงทุนร่วมระหว่างจีนและสิงคโปร์ ท่านเลขาธิการให้ผ้าไหมข้าพเจ้าผืนหนึ่ง และบอกว่าข้าพเจ้าตัดเสื้อด้วยผ้าผืนนี้สวมแล้วจะสวยมาก กลับมาเมืองไทยเปิดดูสีก็ถูกใจ กำลังให้คนตัด

(น. 159) ที่เมืองนานกิงนี้มีอีกแห่งที่เคยตั้งใจไปดูแต่ก็ไม่ได้ไป คือ สถานทูตไทยเก่าสมัยสาธารณรัฐจีนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อจีนคณะชาติย้ายเมืองหลวงจากฉงชิ่งหรือจุงกิงกลับมาที่นี่ ข้าพเจ้าสนใจเพราะได้อ่านหนังสือเรื่อง “รายงานเกี่ยวด้วยสถานการณ์บางประการในกรุงนานกิง ของ พระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค) เอกอัครราชทูต ณ กรุงนานกิง พ.ศ. 2492” ปัจจุบันได้ความว่ารื้ออาคารไปแล้ว กลายเป็นถนนเรียกว่าหม่าเจียลู่ แปลว่า ถนนบ้านตระกูลหม่า กลับไปโรงแรม รับประทานอาหารกลางวันเสร็จแล้ว ยังไม่ถึงเวลาเดินทางก็เลยเดินลงไปข้างล่างดูร้านรวงต่างๆ มีร้านขายของจีน เช่น แท่นฝนหมึกและหยกต่างๆ ไปซื้อของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ ไว้ฝากใครๆ คนขับรถ (คุณหวัง) ทำหน้าที่เป็นไกด์ไปตลอดทาง เราข้ามแม่น้ำฉังเจียง มีสะพานทั้งที่สำหรับรถยนต์แล่นและรถไฟ ผ่านโรงงานทอผ้าใยสังเคราะห์ นิคมอุตสาหกรรมของนานกิง ส่วนพื้นที่ที่เป็นนา ตอนนี้ปลูกผักกวางตุ้ง ออกดอกเหลืองเต็มไปหมด รถแล่นเข้าเขตจังหวัดหยังโจว ดูเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ดี เห็นสวนท้อ ทุ่งผักกวางตุ้ง คุณหวังบอกว่าแถวนี้ปลูกกกชนิดหนึ่งที่ใช้ทำเสื่อตาตามิของญี่ปุ่น รถเข้าไปถึงเรือนรับรอง เป็นสถานที่สวยงามมาก อาคารเป็นแบบจีนประยุกต์ ข้างนอกเป็นสนามหญ้า มีต้นไม้ออกดอกแล้ว พวกเจ้าหน้าที่ของเมืองนี้และเด็กนักเรียนยืนต้อนรับอยู่หน้าตึก

เจียงหนานแสนงามหน้า 174,175,199

(น. 174) “วิหาร” หลังใหญ่เป็นที่เก็บโบราณวัตถุที่พบในเมืองหยังโจว เมืองนี้มีประวัติมายาวนานมาก มี 3 ช่วงที่เจริญรุ่งเรืองยิ่งคือสมัยราชวงศ์ฮั่น ถัง และชิง จึงเป็นเมืองหนึ่งใน 24 เมืองที่รัฐบาลประกาศเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้ดูของต่างๆ ที่จัดแสดงไว้ตามลำดับเวลาดังนี้ สมัยราชวงศ์ฮั่น หยังโจวมีฐานะเป็นแคว้นชื่อว่า ก่วงหลิง ขุดพบสิ่งของในสุสานของหลิวลี่หวัง อยู่บนเขาเกาฉวน ของที่พบมีกระเบื้อง เครื่องใช้ในสุสาน ตราลัญจกรรูปเต่า เครื่องประดับทองคำและอาวุธ สมัยนั้นมีการขุดบ่อน้ำ มีการใช้วงท่อคล้ายๆ กับที่เราใช้กรุบ่อน้ำสมัยนี้ นอกจากนั้นมีเครื่องสำริด เครื่องเขินสีแดง (เวลาจัดแสดงต้องแช่น้ำเพื่อกันเสีย) เครื่องปั้นดินเผาสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ทำเป็นรูปเล้าหมู เสื้อสำหรับสวมให้ศพราวๆ สมัยกลางราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ทำด้วยกระจกเคลือบ (ไม่ได้ทำด้วยหยก) กระจกพวกนี้ผู้บรรยายว่านำเข้าจากโรม บางส่วนทำเองในประเทศจีนสีเหมือนหยก ทำลวดลายมังกร เครื่องไม้ต่างๆ ก็ต้องแช่น้ำกันเสียเช่นเดียวกับเครื่องเขิน สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265 – 317) มีคัมภีร์ทางพุทธศาสนา (อวตังสกสูตร) สมัยหกราชวงศ์ มีเครื่องปั้นดินเผาโบราณ ที่เรียกว่า หกราชวงศ์ นั้น หมายถึง ราชวงศ์ทางใต้ห้าราชวงศ์ (จิ้นตะวันออก หลิวซ่ง ฉีใต้ เหลียง และเฉิน) ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ซึ่งอยู่ในช่วง ค.ศ. 317 – 589 ทั้ง 5 ราชวงศ์นี้ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่หนานจิงหรือนานกิง เมื่อรวมกับราชวงศ์อู๋ (ค.ศ. 222 – 280) ของซุนกวน


(น. 175) รูป 135 ดูเสื้อหยกสำหรับสวมให้ศพ
Jade funeral suit.

(น. 175) ในสมัยสามก๊ก ซึ่งตั้งเมืองหลวงที่นานกิงเหมือนกัน จึงเป็นหกราชวงศ์ บางครั้งจึงเรียกราชวงศ์ทางภาคใต้ว่า หกราชวงศ์ ราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581 - 618) ซึ่งเป็นสมัยที่ขุดคลองใหญ่จากทางเหนือลงมาทางใต้ ทำให้เมืองหยังโจวเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำ พบเรือขุดที่บริเวณคลองใหญ่ ทำจากไม้หนานมู่ขนาดใหญ่ต้นเดียว มีผู้กล่าวว่าสุสานของจักรพรรดิสุยหยังตี้ก็อยู่ในเมืองนี้ ของที่พบมีแท่นฝนหมึกรูปกลม เครื่องกระเบื้อง กระเบื้องมุงหลังคา แสดงว่าบริเวณนี้มีการสร้างวัดกันมาก

(น. 199) ฉังเจียงตรงนี้กว้างมาก ได้ยินว่าจะสร้างสะพาน ข้าพเจ้ายังไม่เข้าใจว่าจะสร้างไปได้อย่างไร มีผู้อธิบายให้ว่า บริเวณที่สร้างสะพานมีเกาะอยู่ตรงกลาง ฝั่งที่เราลงแพสมัยก่อนเรียกว่า กวาโจว มีบทกวีของหวังอานสือ เขียนไว้ว่า
จิงโข่ว กวาโจวเพียงสายน้ำคั่น
จงซานห่างเพียงเขาไม่กี่ลูก
ลมชุนเทียนทำให้ฝั่งเจียงหนานเขียวอีกครั้ง
เมื่อใดจันทร์กระจ่างจะส่องทางให้ข้ากลับ บทกวีนี้มีชื่อว่า ปั๋วฉวนกวาโจว หรือ จอดเรือที่กวาโจว หวังอานสือ (ค.ศ. 1021 – 1086) กวีเอกและขุนนางผู้ใหญ่ในสมัยราชวงศ์ซ่งเป็นผู้ประพันธ์ หวังอานสือเป็นคนสติปัญญาดี เมื่ออายุ 21 ปีก็สอบได้จิ้นซื่อ ชอบรับราชการในหัวเมืองมากกว่าเมืองหลวง เพราะต้องการสร้างความเจริญให้ท้องถิ่น ทำงานอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ 20 กว่าปี ใน ค.ศ. 1069 จักรพรรดิเสินจง (ค.ศ. 1068 – 1085) ทรงแต่งตั้งให้เป็นรองอัครเสนาบดี ปีรุ่งขึ้นได้เป็นอัครเสนาบดี ใน ค.ศ. 1069 หวังอานสือได้เริ่มการปฏิรูปการเมืองการปกครอง เรียกกันในประวัติศาสตร์ว่า การปฏิรูปของหวังอานสือ พวกขุนนางหัวเก่าต่อต้านการปฏิรูป หวังอานสือเป็นคนเชื่อมั่นสูงในความคิดของตนเอง จึงลาออกจากราชการใน ค.ศ. 1074 รวมแล้วเคยลาออก 6 ครั้ง ใน ค.ศ. 1075 จักรพรรดิเสินจงทรงแต่งตั้งให้มารับตำแหน่งใหม่ บทกวีนี้เขียนระหว่างการเดินทางมารับตำแหน่งเป็นครั้งที่ 2 จิตใจดีขึ้น อยากเห็นบ้านเมืองดี แต่ก็คิดถึงบ้านเมืองที่เจียงหนิง (นานกิง) เพราะพื้นเพนิสัยเป็นคนรักสงบ หวังอานสือไมใช่ชาวเมืองเจียงหนิง แต่ก็รักและผูกพันกับที่นี่

เจียงหนานแสนงามหน้า 246

(น. 246) ไปที่โต๊ะอาหาร นายกเทศมนตรีพูดภาษาอังกฤษได้ดี เคยเรียนทางด้านธุรกิจที่ศูนย์จีนอเมริกัน ท่านเล่าให้ฟังถึงพวกที่ทำงานปักผ้าว่า พวกนี้จะว่าเป็นพนักงานปักเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ พวกเขาเป็นจิตรกรด้วย เวลาปักตาของคนหรือสัตว์ในภาพต้องแบ่งไหมเส้นหนึ่งเป็น 24 ส่วน เขาก็ทำได้ดี หรือปักให้เห็นทั้งสองหน้า แต่เป็นคนละรูป บางรูปปักสองปีจึงเสร็จ ตลอดชีวิตคนหนึ่งๆ อาจจะมีผลงานเพียง 10 ชิ้นเท่านั้น แต่การที่จะอนุรักษ์งานศิลปะเหล่านี้ให้คงอยู่เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก เพราะสาวๆ ซูโจวเดี๋ยวนี้เขาไม่ชอบปักผ้า เขาชอบคอมพิวเตอร์มากกว่า หาคนสืบทอดวัฒนธรรมนี้ยากจริงๆ นายกเทศมนตรีบอกว่าเดี๋ยวนี้ซูโจวมีโรงแรมมาก มีโรงแรมที่อยู่ริมทะเลสาบสวยงามมาก แต่ว่าคราวนี้กำหนดการแน่นมากจึงจัดโรงแรมนี้ซึ่งอยู่ในเมืองสะดวกดี ท่านลีกวนยู ท่านหลีเสี่ยนหลง และนักธุรกิจต่างก็ชอบมาพัก ท่านนายกเทศมนตรีเล่าประวัติตนเองว่าเกิด ค.ศ. 1949 เป็นคนเซี่ยงไฮ้ คนจีนรุ่นนี้ต้องประสบความทุกข์ลำบากมาก จบชั้นมัธยมแล้วก็ต้องไปทำงานหนักที่ชนบท แล้วจึงมีโอกาสเข้ามหาวิทยาลัย จบแล้วก็ทำงานที่มณฑลเจียงซูมาตลอด เป็นเลขานุการมณฑล รับผิดชอบทั้งหยังโจวและเจิ้นเจียง 6 ปี เพิ่งมาเป็นนายกเทศมนตรี ภรรยาซึ่งเรียนทางคอมพิวเตอร์จากสหรัฐอเมริกายังอยู่ที่นานกิง พ่อแม่ พ่อตา แม่ยาย อยู่เซี่ยงไฮ้ ลูกชายคนเดียวเรียนที่มหาวิทยาลัยฝูตั้น (เซี่ยงไฮ้) นายกเทศมนตรีชอบการถ่ายรูป เป็นประธานคณะกรรมการการถ่ายภาพเผยแพร่วัฒนธรรม ปัจจุบันนี้ใช้กล้อง digital

เจียงหนานแสนงามหน้า 258,263

(น. 258) ในสมัยราชวงศ์ชิงระหว่าง ค.ศ. 1850 – 1864 พวกกบฏเริ่มก่อการในอำเภอกุ้ยผิง ภูมิภาคปกครองตนเองก่วงซี (กวางสี) แล้วเข้ายึดครองพื้นที่อีกหลายมณฑล พวกกบฏตั้งเมืองหลวงที่นานกิง และมีอุดมการณ์ว่าจะตั้งประเทศสวรรค์เปี่ยมสันติ (ไท่ผิงเทียนกั๋ว) สถานที่ที่เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองซูโจวในปัจจุบันจึงมีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์จีนในศตวรรษที่ 19 ที่นี่เขาไม่ได้ให้ดูข้าวของต่างๆ ที่จัดแสดงไว้เพราะมีเวลาจำกัด แต่เอาของชิ้นเอกออกมาให้ชมเลย
1. คัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร สมัยราชวงศ์ถัง เขียนตัวทอง มี 7 ม้วน พบในเจดีย์เมื่อ ค.ศ. 1976
2. คัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร สมัยราชวงศ์ซ่ง
3. เครื่องถ้วยลายดอกบัว พบที่เนินเสือ เป็นสีเขียวไข่กา จากเตาเผาเย่ว์ ของมณฑลเจ้อเจียง สมัยราชวงศ์เหนือใต้ ใช้อุณหภูมิ 1,000 กว่าองศาในการเผา และจะต้องเผาในสูญญากาศจึงจะออกมาเป็นสีเขียว ถ้าอากาศเข้าจะกลายเป็นสีน้ำตาล กลายเป็นของไม่มีค่า
4. หยกสมัยราชวงศ์ชิง รัชกาลจักรพรรดิเฉียนหลง มาจากเมืองเหอเถียนหรือเมืองโคทาน ในภูมิภาคปกครองตนเองซินเจียง สลักเป็นตัวหนังสือว่า กั๋วไท่หมินอาน แปลว่า ชาติร่มเย็น ประชาเป็นสุข และ ไท่ผิงอู๋เซี่ยง แปลว่า ไม่มีเหตุ ประเทศสงบ หยกสีอย่างนี้หายาก
5. เครื่องปั้นดินเผาสีม่วงแดงรูปพระ เป็นของเมืองซูโจว สมัยราชวงศ์หมิง

(น. 263) พิพิธภัณฑ์แห่งนี้แสดงผ้าไหมปักต่างๆ ไว้ในตู้ ส่วนมากเป็นของสมัยราชวงศ์หมิงและชิง เป็นของที่ใช้ในพระราชสำนัก เช่น ฉลองพระองค์ (จำลอง) ของจักรพรรดิเฉียนหลง ผู้ปักใช้เวลาปักปีหนึ่ง มังกรที่ฉลองพระองค์นี้ปักด้วยเส้นทอง (เส้นทองใช้ทองแท้ทำเป็นเส้น ซื้อที่นานกิง) ฉลองพระองค์ (จำลอง) ของจักรพรรดิว่านลี่ (ค.ศ. 1573 – 1620) แห่งราชวงศ์หมิง ของจริงเสียไปแล้ว ฉลองพระองค์นี้ใช้ขนนกยูงปัก เป็นรูปพระอาทิตย์ พระจันทร์ ลายมงคลต่างๆ ซึ่งมีหลายลาย เช่น ลายที่หมายถึง พระบารมี ที่หมายถึง การบูชาบรรพบุรุษ ใบไม้ แปลว่า ความสะอาด ไฟ แปลว่า ความสว่าง ข้าวสาร แปลว่า การมีพอกิน ขวาน แปลว่า การตัดสินใจถูกต้อง และยังมีลายอื่นๆ ด้วย นอกจากนั้นมีเสื้อของขุนนางผู้ใหญ่ เสื้อผ้าที่ใช้ในงานแต่งงาน มีชุดที่มารดาของมาดามซ่งชิ่งหลิงให้ลูกสาวในวันสมรส เครื่องแต่งกายที่ใช้ในพิธีศาสนา ของใช้ต่างๆ อาทิ ปลอกใส่คันฉ่อง กระเป๋าเล็กๆ สำหรับแขวนเอว ลายที่ปักมีรูป 12 นักษัตร รูปหมู กระต่าย เสือ มังกร (น. 263) รูป 184 ฉลองพระองค์จักรพรรดิ (จำลอง)

เจียงหนานแสนงามหน้า 318


(น. 318) รูป 219 พิพิธภัณฑ์หลู่ซวิ่น
Luxun Museum.

(น. 318) เราเดินจากบ้านเกิดหลู่ซวิ่นไปที่พิพิธภัณฑ์ ตอนดูพิพิธภัณฑ์นี้ ดูอย่างคร่าวๆ มาก เพราะมีเวลาจำกัด สังเกตได้แต่ว่า เขาจัดรูปและสิ่งของต่างๆ เป็นระยะๆ เช่น ในสมัยที่หลู่ซวิ่นยังอยู่ที่เซ่าซิง เรื่องบ้าน เรื่องโรงเรียนประถมศึกษาที่เขาเรียน รูปคุณแม่ ชีวิตในวัยเด็ก เขามีโอกาสได้อยู่ในชนบท (แสดงที่ที่เขาเคยไป) ได้รู้จักชาวนา เล่นเก็บขนนก หอย เพรียง แสดงของเล่นต่างๆ ชนิดที่เขาเคยเล่น เรื่องที่ครอบครัวยากจนลงไป ชีวิตตอนที่ไปนานกิง แล้วไปศึกษาต่อที่ญี่ปุ่น มีรูปเรือที่เขาโดยสารไปญี่ปุ่น มีรูปนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส Victor HUGO ซึ่งเขาสนใจอ่าน และรูปอาจารย์เถิงเหยี่ย เรื่องอาจารย์เถิงเหยี่ยนี้ข้าพเจ้าสนใจ เพราะเคยเรียนเรื่องของหลู่ซวิ่นว่าเขาเข้าเรียนแพทย์ เมื่อ ค.ศ. 1904 อาจารย์สอนวิชากายวิภาคชื่ออาจารย์เถิงเหยี่ย (ภาษาญี่ปุ่นว่า Mr. Fujino) เป็นคนสอนหนังสือสนุก ใจดี หลู่ซวิ่นรักและเคารพอาจารย์ท่านนี้มาก ช่วยตรวจสมุดจดงานของหลู่ซวิ่นให้เป็นพิเศษ เพราะเห็นเป็นชาวต่างชาติ ถามทุกข์สุขอยู่เสมอ ทำให้หลู่ซวิ่นเกรงใจและพยายามศึกษาอย่างขยันขันแข็ง อยู่มาวันหนึ่งเกิดมีการฉายหนังสารคดีเรื่องคนจีนมุงดูทหารญี่ปุ่นยิงเป้าคนจีนที่เป็นสายลับให้รัสเซีย ดูแล้วนักเรียนญี่ปุ่นตะโกนว่า “บันไซ” เป็นการทำร้ายจิตใจหลู่ซวิ่นมาก เขาคิดจะปลุกสำนึกของชาวจีน จึงเลิกเรียนแพทย์หันไปเรียนทาง

ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 106


(น.106) รูป 116 อาจารย์บุญรักษาอธิบายเรื่องดาวอังคาร

(น.106)
4. วิชาการดาราศาสตร์ วัดตำแหน่งดาว ดูแลเวลามาตรฐานของโลก มีกลุ่มพัฒนาอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ เช่น ทำกล้องดูดาวโรงงานใหญ่อยู่นานกิง ทำได้ทั้ง Photometer และ CCD มีโครงการตั้งกล้อง 4 เมตร แต่ยังเป็นโครงการในแผ่นกระดาษ แต่ก็หาพื้นที่ตั้งกล้องเอาไว้แล้วที่ภาคตะวันตกยูนนาน จังหวัดลี่เจียง เป็นพื้นที่สูง 3,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง วันนี้เองผู้อำนวยการของหอดูดาวในประเทศชิลีที่มาร่วมวิจัยที่นี่เพิ่งไปดูที่ลี่เจียง ไปดูโครงการที่หอดูดาวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทำวิจัยร่วมกับหอดูดาวปักกิ่งและยูนนาน คือโครงการศึกษาดาวคู่ ศึกษาความแตกต่างในด้านความสว่างในเวลาต่างๆ กัน โดยมีดาวมาตรฐาน (comparison star) ดวงหนึ่ง ส่ง diskette ให้กันได้

ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 242

(น.242) ภาคผนวก ค ดาราศาสตร์ ณ หอดูดาวยูนนาน
หอดูดาวยูนนาน (Yunnan Observatory) เป็นหอดูดาวขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในบรรดาหอดูดาวขนาดใหญ่หลายแห่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน หอดูดาวแห่งนี้ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2515 ภายใต้การดูแลของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Science) ในช่วงแรกมีชื่อเรียกว่า “สถานีคุนหมิง (Kunming Station)” ซึ่งเป็นสาขาแห่งหนึ่งของหอดูดาวเพอร์เพิลมาวน์เทน (Purple Mountain Observatory) นครนานกิง
หอดูดาวยูนนาน ตั้งอยู่บนยอดเขาฟินิกซ์ (Phoenix Hill) ชานเมืองด้านตะวันออกของนครคุนหมิง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 เมตร ณ ความสูงระดับนี้สภาพอากาศจะเอื้ออำนวยให้มีทัศนวิสัยดีเยี่ยม เหมาะแก่การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ แม้ว่าหอดูดาวยูนนานจะเป็นหอดูดาวที่ค่อนข้างใหม่เมื่อเทียบกับหอดูดาวอื่นๆ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เช่น หอดูดาวปักกิ่ง หอดูดาวเพอร์เพิลมาวน์เทิน เป็นต้น แต่ก็ถือว่าเป็นหอดูดาวที่มีความสำคัญที่ใช้เป็นฐานในการสังเกตการณ์และการวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ของประเทศจีนทางตอนใต้ และด้วยเครื่องมือทันสมัย ตลอดจนสภาพอากาศที่แจ่มใสเกือบตลอดปี นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวหลายแห่งทั่วโลกได้เดินทางมาที่หอดูดาวแห่งนี้ เพื่อร่วมมือในการสังเกตการณ์และวิจัยทางด้านดาราศาสตร์

มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 30

(น.30) เมษายน ประกาศใช้นโยบายนี้ในวันที่ 6 เมษายน ที่ประชุมคือที่มหาศาลาประชาชน ท่านนายกว่าถ้าสนใจก็ไปดูได้ เขามีห้องของแต่ละมณฑล ซึ่งจะนำของจากมณฑลนั้น ๆ มาตกแต่ง พูดถึงชนกลุ่มน้อยที่มีมากที่สุดคือพวกจ้วง รองลงมาได้แก่พวกเววูเอ๋อร์ซึ่งมีมากในซินเกียง ที่เป็นมณฑลปกครองตนเอง มีคนเววูเอ๋อร์ถึง 6 ล้านคน ชาวฮั่น 5 ล้านคน คาซัก (เป็นพวกเชื้อสายรัสเซีย) ประมาณ 1ล้านคน พวกแมนจูเคยมาปกครองจีนอยู่นาน โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ปักกิ่งนี้ย้อนไปพูดถึงราชวงศ์หมิง ซึ่งแต่แรกตั้งเมืองหลวงอยู่ที่นานกิง หย่งเล่อ เคยมาปกครองปักกิ่ง เมื่อได้ราชสมบัติจึงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองนี้ หย่งเล่อได้ทำประโยชน์แก่จีนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำพจนานุกรมหย่งเล่อต้าเตี่ยน ประวัติศาสตร์จีนมีความแน่นอน เพราะแต่ละราชวงศ์จะมีพนักงานจดบันทึกเหตุการณ์ไว้ พนักงานเหล่านี้มักจะเป็นผู้มีใจเป็นธรรม คือจดตามความเป็นจริง กษัตริย์ทำไม่ดีก็จดไว้ ขณะนี้เรียบเรียงไว้เป็น 24 เล่ม ยังไม่รวมประวัติราชวงศ์ชิง และกล่าวถึงการแบ่งหน่วยราชการกระทรวงของจีน เมื่อรับประทานอาหารเสร็จพักผ่อนระยะหนึ่ง บ่ายสองโมงออกไปวัดลามะหย่งเหอกง พระที่มารับเป็นคนมองโกล อธิบายว่าที่นี่สร้างขึ้นในค.ศ.1694 ซึ่งเป็นปีที่ 33 ในรัชกาลพระเจ้าคังซี เคยเป็นตำหนักของพระราชโอรสองค์ที่ 4 (องค์ชาย 4 ในภาพยนตร์ทีวีเรื่องศึกสายเลือด) ต่อมาองค์ชาย 4 ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหย่งเจิ้งอยู่ 13 ปีก็สวรรคต (ค.ศ. 1723-1736)

เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 17

(น.17) วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2539
ตื่นขึ้นมาแต่ตีห้าแล้วเขียนต่อ พี่หวานเขียนข้อมูลเพิ่มมาให้ 06.30 น. ลงไปรับประทานอาหารเช้าที่ห้อง Sunset Grill พูดกันถึงเรื่องนครฉงชิ่งว่า เคยเป็นเมืองหลวงสำรอง เราเคยตั้งสถานทูตที่นานกิง ท่านทูตเคยไปสืบหาสถานทูตที่นานกิง ยังไม่พบ
07.30 น. ออกเดินทางไปเป๋าติ่งซาน อำเภอต้าจู๋ เพื่อไปดูภาพหินสลัก ภาพหินสลักถ้ำของจีนนั้นมีสกุลช่างสองสกุล คือ สกุลช่างทางเหนือและสกุลช่างทางใต้ หินสลักทางเหนือฝีมือละเอียด เส้นคมชัดเจน หากเป็นภาพบุคคลจะค่อนข้างท้วม ภาพสลักทางใต้นั้นเส้นไม่คมชัดนัก ฝีมือหยาบกว่า หินสลักบุคคลจะค่อนข้างผอม ที่ต้าจู๋เป็นสกุลช่างทางใต้ คณะนักธุรกิจที่มางานเลี้ยงเมื่อคืนมาส่งข้าพเจ้าไปต้าจู๋ พวกเขาก็ต้องเดินทางกลับเฉิงตู ข้าพเจ้านั่งรถคนเดียวก็ดีเหมือนกันได้เขียนหนังสือ แต่ก็เขียนลำบากเพราะทางไม่ดี เดินทางรถทำให้เข้าใจได้ชัดเจนว่าฉงชิ่งเป็นเมืองภูเขา สองข้างทางเป็นเนินเขา ต้องเข้าอุโมงค์บ่อย แต่ละอุโมงค์ยาวเป็นกิโล ๆ

Next >>