<< Back
เส้นทางเชียงรุ้ง-อำเภอเมืองลุน
จากหนังสือ
ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 239
(น.239) เส้นทางเชียงรุ้ง-อำเภอเมืองลุน จังหวัดปกครองตนเองสิบสองปันนา
เมื่อระดับน้ำในน้ำในแม่น้ำล้านช้าง (แม่น้ำโขง) ลดลง เป็นทรายที่เคยถูกน้ำท่วมก็กลายเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชสวนครัวของชาวบ้าน ตามหมู่บ้านไตลื้อบนตลิ่งสูงขึ้นไปปลูกไม้ผลและไม้ใช้สอยเขตร้อน เช่น หมาก มะพร้าว มะม่วง ส้ม ชมพู่ ฝรั่ง กล้วย ฯลฯ ที่ขาดไม่ได้ก็คือต้นขี้เหล็ก สำหรับไว้ใช้เป็นเชื้อเพลิง
ริมฝั่งแม่น้ำล้านช้าง พบต้นสนุ่นหรือไคร้น้ำ (Salix tetrasperma) ขึ้นทั่วไป บางตอนที่เป็นแก่งหินจะพบปาล์มสิบสองปันนา (Phoenix roebelinii) ขึ้นเป็นกลุ่มๆ ตามธรรมชาติ แหล่งพันธุ์ของปาล์มชนิดนี้พบตามฝั่งแม่น้ำโขงในจังหวัดปกครองตนเองสิบสอง ปันนา ลงไปจนถึงหลวงพระบาง-เวียงจันทน์
พื้นที่บนภูเขาส่วนใหญ่ถูกแผ้วถาง สภาพป่าดั้งเดิมเป็นป่าดิบแล้ง (Seasonal rain forest) พื้นที่เนินเขาลุ่มๆ ดอนๆ และพื้นที่ไหล่เขาที่ไม่ลาดชันมากนัก ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นสวนยางพารา ซึ่งกลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมากชนิดหนึ่งของจังหวัดปกครองตนเองสิบสอง ปันนา
พื้นที่ภูเขาที่ถูกร้างมีไฟรบกวนในฤดูแล้ง ไผ่ซาง (Dendrocalamus spp.) จะขึ้นปกคลุมหนาแน่น ชาวบ้านสามารถตัดนำไปใช้ประโยชน์เฉพาะในครัวเรือนได้ ตามป่าไผ่พบเสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegata) ออกดอกบานสะพรั่งเต็มต้น กระจัดกระจายทั่วไปบนไหล่เขา
จัดหมวดหมู่สารสนเทศ
เส้นทางเชียงรุ้ง-อำเภอเมืองลุน
สภาพบริเวณโดยรอบเส้นทาง
เส้นทางเชียงรุ้ง-อำเภอเมืองลุน จังหวัดปกครองตนเองสิบสองปันนา
- เมื่อระดับน้ำในน้ำในแม่น้ำล้านช้าง (แม่น้ำโขง) ลดลง เป็นทรายที่เคยถูกน้ำท่วมก็กลายเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชสวนครัวของชาวบ้าน ตามหมู่บ้านไตลื้อบนตลิ่งสูงขึ้นไปปลูกไม้ผลและไม้ใช้สอยเขตร้อน เช่น หมาก มะพร้าว มะม่วง ส้ม ชมพู่ ฝรั่ง กล้วย ฯลฯ ที่ขาดไม่ได้ก็คือต้นขี้เหล็ก สำหรับไว้ใช้เป็นเชื้อเพลิง
- ริมฝั่งแม่น้ำล้านช้าง พบต้นสนุ่นหรือไคร้น้ำ (Salix tetrasperma) ขึ้นทั่วไป บางตอนที่เป็นแก่งหินจะพบปาล์มสิบสองปันนา (Phoenix roebelinii) ขึ้นเป็นกลุ่มๆ ตามธรรมชาติ แหล่งพันธุ์ของปาล์มชนิดนี้พบตามฝั่งแม่น้ำโขงในจังหวัดปกครองตนเองสิบสองปันนา ลงไปจนถึงหลวงพระบาง-เวียงจันทน์
- พื้นที่บนภูเขาส่วนใหญ่ถูกแผ้วถาง สภาพป่าดั้งเดิมเป็นป่าดิบแล้ง (Seasonal rain forest) พื้นที่เนินเขาลุ่มๆ ดอนๆ และพื้นที่ไหล่เขาที่ไม่ลาดชันมากนัก ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นสวนยางพารา ซึ่งกลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมากชนิดหนึ่งของจังหวัดปกครองตนเองสิบสองปันนา
- พื้นที่ภูเขาที่ถูกร้างมีไฟรบกวนในฤดูแล้ง ไผ่ซาง (Dendrocalamus spp.) จะขึ้นปกคลุมหนาแน่น ชาวบ้านสามารถตัดนำไปใช้ประโยชน์เฉพาะในครัวเรือนได้ ตามป่าไผ่พบเสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegata) ออกดอกบานสะพรั่งเต็มต้น กระจัดกระจายทั่วไปบนไหล่เขา[1]
อ้างอิง
1. ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 239