<< Back
" มุ่งไกลในรอยทราย วันเสาร์ที่ 14 เมษายน 2533 "
(น.193) รูป 125. ไปดูสุสานสมัยจิ้น เว่ย
On the way to visit Qin and Wei tombs.
(น.193) ส่วนราชวงศ์จิ้นก็น่าจะเป็นจิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317 – 420) ซึ่งสืบมาจากราชวงศ์จิ้นตะวันตก ในค.ศ. 317 อพยพหนีการรุกรานของพวกชนกลุ่มน้อย 5 เผ่ามาอยู่ทางใต้ ตั้งเมืองหลวงที่หนานจิง
ข้าพเจ้าสงสัยว่าทำไมต้องพูดถึงราชวงศ์จิ้นด้วย จิ้นอยู่ทางใต้ไม่น่าจะเกี่ยวข้อง อาจารย์สารสินบอกว่าเขาเรียกรวม ๆ กันหมายถึงช่วงเวลานี้ (หนานเป่ยเฉา)
(น.194) หลุมที่เขาบูรณะแล้วมีอยู่ 13 หลุม พบในช่วง ค.ศ. 1972 – 1979 เป็นสุสานของพวกทหาร ขุนนางท้องถิ่น หรือเจ้าของที่ดินผู้มีอิทธิพล บางหลุมเป็นสุสานรวมครอบครัวคือมีหลาย ๆ
ศพอยู่ด้วยกัน ฝังลึกประมาณ 7 – 11 เมตร สร้างด้วยอิฐและหิน มีเพียง 9 แห่งที่พบภาพเขียนฝาผนังรูปหนู และนกกระจอกเทศแดง ข้างในเป็นที่เก็บสมบัติ ภาพผนังมีภาพแสดงชีวิตประจำวัน ยิงธนู
เก็บหม่อน ฆ่าหมู ฆ่าวัว โดยทุบหัว ล่าสัตว์ทำเนื้อตากแห้ง สุนัขเฝ้าประตู ปิ้งแกะทั้งตัว คนใช้ ไถนา (ด้วยไถ) คราดนา (ด้วยคราด) คนขี่ม้า นึ่งหม่านโถว ภาพคนเป่าขลุ่ย เล่นเครื่องสาย
ตรงมุมห้องมีรูปคนแบกหลังคาไว้ ภาพวาดเหล่านี้เขียนด้วยสีดำและแดง เส้นหนา ดูกล้า หนักแน่น มีพลัง ห้องในสุดเป็นที่ไว้โลงศพ มีรูปหีบเครื่องประดับ กระเบื้อง พื้นเป็นลายน้ำและไฟ
จากหลุม 6 เราไปหลุม 7 ลึกถึง 11.7 ม. เขาบอกว่าปกติไม่ค่อยจะเปิดหลุมนี้ มี 3 ห้องคล้ายหลุมที่ 6 ห้องที่ 1 มีภาพงานเลี้ยง ภาพขบวนน่าจะเป็นรูปขบวนไปตรวจราชการ คงเป็นหลุมศพของขุนนาง
ข้าพเจ้าชอบใจว่าเขาเขียนรูปม้าสวยมาก พวกนักรบในขบวนถืออาวุธ 2 ง่าม มีพู่ ขั้นต่อไปเป็นขบวนรถ มีรถหลายอย่าง ทั้งมีเก๋งและไม่มีเก๋ง ผนังอีกด้านมีรูปกินเลี้ยง
ขบวนทหารขี่ม้า ขบวนรถม้าไม่มีคนขี่ แพะ อีกด้านมีภาพกินเลี้ยง เก็บหม่อน ล่าสัตว์ ไถและคราดนา ขุดดิน ให้คนใช้ไปตักน้ำใช้เหยี่ยวล่ากระต่าย สุนัขล่าสัตว์
ห้องกลางมีภาพนึ่งหม่านโถว ทำโรตี กระทะทอดโรตี ฆ่าหมู (หน้าตาเหมือนหมูป่า) เนื้อวัวตากแห้ง ฆ่าแพะ การกินเลี้ยงด้วยตะเกียบ เล่นหมากรุก
(น.195) รูป 126. พิพิธภัณฑ์กำแพงเมืองจีน
Museum of the Great Wall.
(น.195) ข้างในสุดเป็นที่ตั้งโลงศพ กว้างกว่าหลุมที่แล้ว มีรูปแพรไหม หีบสมบัติ ท่านทูตเตชสรุปว่ารู้สึกว่าดี คือไปเที่ยวล่าสัตว์ เล่นสนุกเสียก่อนกินข้าวจนอิ่ม แล้วจึงมานอนกอดสมบัติ !
ที่คิดว่าแปลกคืออยู่ลึกตั้ง 11 เมตรยังมีอากาศหายใจ ไม่เหม็นอับไม่มีกลิ่นค้างคาว
สรุปว่า
หลุม 6 มีอิฐ 114 แผ่น มี 3 ห้อง
หลุม 7 มีอิฐ 115 แผ่น มี 3 ห้อง
(น.196)
หลุม 12 มีอิฐ 54 แผ่น มี 2 ห้อง
หลุม 13 มีอิฐ 54 แผ่น มี 2 ห้อง
ดูแค่นี้ก็พอจะยืนยันว่าคงเป็นเชื้อสายคนกลุ่มน้อย ราชวงศ์เว่ยภาคเหนือ อย่างที่สันนิษฐานในตอนต้นเพราะธรรมเนียมในชีวิตประจำวันเหมือนคนมองโกลมากกว่าคนอื่น เช่น ล่าสัตว์ ย่างแพะ ทอดโรตี
ข้าพเจ้าตัดสินใจไม่ดูหลุม 12 – 13 คิดว่าก็คงคล้าย ๆ กัน เลยไปดูพิพิธภัณฑ์กำแพงเมืองจีนของท่านผู้อำนวยการเกา พวกเราแบ่งกันไว้เป็น 3 กลุ่ม ฉะนั้นกว่าจะเปลี่ยนแผนเรียกประชุมรวมกันก็ใช้เวลานิดหน่อย
ตัวพิพิธภัณฑ์เองก็ทำเป็นรูปกำแพงเมืองจีน ข้างในมีรูปกำแพงเมืองจีนในสถานที่และสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่ที่แรกทางตะวันตกไปจนออกทะเลทางตะวันออก มีคำอธิบายไว้ด้วยว่าด่านไหนอยู่ที่ไหน และเป็นการก่อสร้างของสมัยใด ดูแผนที่รูปกำแพงเมืองจีน
มีไฟฟ้าติดแสดงเส้นทางของกำแพงเมืองจีนในแต่ละสมัย ทำให้ทราบถึงวิวัฒนาการของกำแพงเมืองจีน ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยชุนชิว จ้านกว๋อ สมัยราชวงศ์ฉิน สมัยราชวงศ์ฮั่น และสมัยราชวงศ์หมิง รวมกันแล้วกำแพงเมืองมีความยาว 5,000 กิโลเมตร
ดูไปได้แค่นี้เขาเรียกให้ไปดื่มชากับน้ำส้ม และเตรียมพู่กันไว้ให้เขียนตัวหนังสือ ครูกู้แนะนำว่าเขียน จุง – ไทย โหย่วเห่า มิตรภาพไทยจีนก็แล้วกัน ข้าพเจ้าก็เลยเขียน ลายมือค่อนข้างจะแย่ มีคำอธิบายแก้ตัวว่าอ่อนซ้อมไปหน่อย
กลับไปดูนิทรรศการ เขามีแผนที่แยกกำแพงเมืองจีนเป็นแต่ละราชวงศ์มีภาพติด ในตู้มีของต่าง ๆ เช่น กระเบื้องสมัยราชวงศ์ฉิน รูปฐานของป้อมไฟ (ว่าก่อสร้างอย่างไร) ข้างในเป็นกรวดกั้นด้วยแผ่นหิน มงกุฎของ
(น.197) รูป 127. แผนที่แสดงกำแพงเมืองจีนสมัยต่าง ๆ
Maps showing the Great Wall in different periods.
(น.197) พวกฉยุงหนู (เป็นของจำลอง) ท่อระบายน้ำ กระเบื้องที่ป้อมไฟ มีรูปด่านซานไห่กวน มีประวัติเรื่องนางเมิ่งเจียหนี่ แถวนั้นมีศาลเจ้าเมิ่งเจียหนี่ซึ่งมีตำนานเกี่ยวพันกับกำแพงเมืองจีน
สรุปได้ความว่าสามีของนางเมิ่งเจียหนี่ถูกเกณฑ์ไปสร้างกำแพงเมืองจีน นางได้เดินทางไปตามหาสามี แต่สามีของนางตายไปแล้ว นางจึงนั่งร้องไห้ที่กำแพงจนกำแพงหัก นอกจากนั้นเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างกำแพงเมืองจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น พบที่มณฑล
(น.198) รูป 128. เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ขอให้เขียนตัวอักษรไว้เป็นที่ระลึก
Doing Chinese calligraphy upon the request of the curator.
(น.199) รูป 129. สิ่งของต่าง ๆ ที่พบบริเวณกำแพงเมืองจีน
Objects found in the vicinity of the Great Wall.
(น.199) กานซู สิ่งของในสมัยราชวงศ์ฮั่นยังมีรองเท้าทำด้วยใยปอ ถุงเท้าของทหารรักษาชายแดน ฟุตบอลเก่าแก่ที่สุดของจีน ทำด้วยหนังแพะ เขาว่าเล่นกันในวัง ข้าพเจ้าดูแล้วเห็นว่าคงจะเล่นไม่ไหว ฟุตบอลนี้ลูกเท่าลูกเทนนิสเท่านั้น เล่นจริง ๆ เห็นจะ “ถึงลูกถึงคน” โดยไม่ได้เจตนา
นิทรรศการยังแสดงให้เห็นถึงการก่อสร้าง คือแต่ละชั้นที่เรียงอิฐจะใช้ฟางแทรกทำให้แข็งแรงขึ้น อีกอย่างที่แสดงไว้คือฟางต้นกกที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดสัญญาณ หนังสือไม้ไผ่สมัยราชวงศ์ฮั่น ชิ้นที่มาแสดงเป็นการสั่งการว่า ถ้าฉยุงหนูเข้ามาด้านเหนือให้จุดคบเพลิงเป็นสัญญาณ 2 ครั้ง ส่วน
(น.200) รูป 130. หลังอาหารเย็นไปซื้อของในโรงแรม
After dinner, shopping in the hotel.
(น.201) ที่ไม่มีกำแพงเมืองจีนจะโรยทรายไว้ ถ้าฉยุงหนูมาจะเห็นรอยเท้า มีแผนที่เส้นทางไปฉนวนเหอซี ข้าพเจ้าจดเอาไว้เพื่อจะใช้เทียบหาเส้นทางแพรไหม
ใกล้ตุนหวงสมัยฮั่นมีฉางข้าวใหญ่ที่สุด มีคลังเสบียงอาหาร มีตราสำหรับเบิกข้าวจากโกดัง ภาพแสดงการชลประทานในสมัยฮั่นเช่นเดียวกัน เป็นแผนที่ซึ่งทำจากภาพถ่ายทางอากาศ แสดงเขตที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์
เขตที่มีทางน้ำธรรมชาติและคลองชลประทาน เขาอธิบายว่า การรบในสมัยการรบของไทย สุดท้ายเราดูเรื่องสมัยราชวงศ์ถัง คืนนี้รับประทานอาหารแบบกันเอง
พอรับประทานเสร็จไปดูร้านขายของในโรงแรม มีแท่งหมึกจีนรูปร่างแปลก ๆ เช่น รูปเจ้าแม่กวนอิม รูปเต่า รูปดาบ ซื้อมีดคูเชอ เสื้อยืดที่ระลึกตุนหวง ข้างหลังเป็นแผนที่เส้นทางแพรไหม
ซื้อของเสร็จขึ้นมาเขียนหนังสือต่อที่ห้อง สักประเดี๋ยวอาจารย์สารสินขึ้นมาอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ให้ฟัง
พักหนึ่งซุปเข้ามาอีกคน ตื่นเต้นว่าแผนที่ในเสื้อยืด รู้สึกจะมีประโยชน์มาก ซื้อเสื้อยืด 15 หยวนคุ้มค่า เลยขอให้อาจารย์ช่วยอ่านและเทียบกับแผนที่ปัจจุบันที่มีอยู่