Please wait...

<< Back

สถาบันพฤกษศาสตร์คุนหมิง

จากหนังสือ

ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 160-171

(น.160) วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2538
(น.160) รูป 177 สถาบันพฤกษศาสตร์คุนหมิง
(น.160) เช้าวันนี้เราไปที่สถาบันวิชาการพฤกษศาสตร์นครคุนหมิง ศาสตราจารย์สี่วไจ้ฟู่ ผู้อำนวยการสถาบันต้อนรับและพาเข้าไปห้องบรรยายสรุปถึงกิจการของสถาบันว่าสถาบันนี้เป็นหน่วยงานขึ้นกับสภาวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน (Academia Sinica) ท่านผู้อำนวยการได้เป็นผู้อำนวยการของสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนที่สิบสองปันนาด้วย สถาบันนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1938 นับเป็นเวลา 50 กว่าปีมาแล้ว มีพนักงานด้านเทคโนโลยี 650 คน ระดับศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มีอยู่ 20% ของพนักงาน สถาบันวิจัยนี้ศึกษาพรรณพฤกษชาติทั้งใน
(น.161) รูป 178 ผู้อำนวยการสถาบันบรรยายกิจการสถาบัน
(น.161) ประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคอื่นๆ ของเอเชีย ส่วนใหญ่เป็นพืชแถบร้อนและเขตอบอุ่น นอกจากเก็บพันธุ์ไม้เอาไว้แล้วยังมีงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ การจำแนกประเภทพันธุ์ไม้ การศึกษา สรีรศาสตร์ของพันธุ์ไม้ การศึกษาพฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์ หรือพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน (Ethnobotany) มีสวนพฤกษศาสตร์ 2 แห่ง คือที่คุนหมิงและที่สิบสองปันนา มีการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้นมีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์หลายห้อง
(น.162) รูป 179 พืชต่างๆ ที่ดองเก็บไว้
(น.162) มณฑลยูนนานมีสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศที่พิเศษกว่าที่อื่น มีสภาพที่ทำให้มีทรัพยากรพืชจำนวนมากกว่า 15,000 ชนิด ประมาณครึ่งหนึ่งของพืชพรรณที่มีอยู่ทั่วประเทศ ฉะนั้นเรียกได้ว่าเป็นอาณาจักรแห่งพฤกษศาสตร์ มีชนชาติส่วนน้อยมากกว่า 20 ชนชาติ การพัฒนามณฑลต้องถือเรื่องพืชพรรณและป่าไม้เป็นสำคัญ ทั้งต้องค้นคว้าสภาพภูมิประเทศทุกแง่ให้ดีด้วย 50 กว่าปีที่ผ่านมานี้นักพฤกษศาสตร์ของสถาบันประสบความสำเร็จในการค้นพบพืชพรรณพันธุ์ใหม่พันกว่าชนิด ได้วิจัยค้นหาสารเคมีหลายอย่าง สถาบันเก็บพันธุ์ไม้ไว้ได้กว่าล้านตัวอย่าง ทั้งในหอพรรณไม้
(น.163) และในสวนพฤกษศาสตร์ การศึกษาของสถาบันยังเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจ เช่น ยาสูบและยางพารา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมามีการวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) และการดำรงความยั่งยืน (sustainability) หมายถึงความพยายามรักษาวัฒนธรรม พร้อมกับพัฒนาเศรษฐกิจและรักษาธรรมชาติเอาไว้ เขาเชื่อว่าการวิจัยค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับพืชมีประโยชน์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยังมีการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมของชนชาติต่างๆ กับพืชพรรณ สถาบันนี้สามารถรับนักศึกษาระดับปริญญาเอกมาทำวิจัยและให้ปริญญาได้ รวมทั้งการศึกษาขั้นปริญญาหลังดุษฎีบัณฑิต (post doctorate degree) ได้ด้วย มีการแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยในต่างประเทศ รวมทั้งบริษัทเอกชนอีกหลายสิบแห่ง ประเทศไทยมีภูมิประเทศและชนชาติคล้ายคลึงกัน หลายปีมานี้เศรษฐกิจและเทคโนโลยีของไทยพัฒนาเร็วมาก ทางสถาบันมีความสัมพันธ์ร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานของไทยที่มีภารกิจคล้ายคลึงกัน เช่น มีการแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์และร่วมมือกันวิจัยพันธุ์ไม้กับหอพรรณไม้กรมป่าไม้ของไทย ทำมาได้ 4 ปีแล้ว จัดการประชุมร่วมกับไทยในหัวข้อซึ่งเป็นที่น่าสนใจของโลกยุคปัจจุบันหลายหัวข้อ เช่น เรื่องผลผลิตธรรมชาติ (natural products) ป่าไม้เศรษฐกิจ (economical forestry) การจัดการความหลากหลายของทางชีวภาพ (biodiversity management) ล่าสุดมีการประชุมเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ที่กรุงเทพฯ เรื่องรายงานสภาพความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย นอกจากนั้นยังได้ร่วมมือกับโครงการพัฒนาในประเทศไทย เช่น บางส่วนของโครงการหลวง
(น.164) โครงการสวนพฤกษศาสตร์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถที่เชียงใหม่ (Queen Sirikit Botanical Garden) ต่อไปคงจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการดูงานระหว่างสถาบันกับประเทศไทยมากขึ้น หลังจากนั้นท่านแนะนำอาจารย์อีกหลายท่าน เช่น ศาสตราจารย์เหาเสี่ยวเจียง รองผู้อำนวยการ รองศาสตราจารย์ก่วนไค้หยุน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ดูห้องแสดงนิทรรศการ แสดงพืชต่างๆ ที่ดองเอาไว้ เช่น Camellia มีตั้ง 40-50 species มี 100 cultivars แผนที่มณฑลยูนนานแสดงเขตป่าแบบต่างๆ บอกระดับความสูง ข้าพเจ้าถามเขาว่าข้าพเจ้าเคยไปสวนพฤกษศาสตร์ที่เอดินเบอระเห็นมีพืชจากแถบนี้มาก ส่วนมากจะเป็นของที่นักพฤกษศาสตร์ชื่อ George Forrest เป็นผู้มาเก็บ ปัจจุบันมีการศึกษาร่วมกันหรือไม่ เขาบอกว่าที่นั่นกับที่คุนหมิง ถือว่าเป็น sister institutes ทำงานร่วมกัน พืชอื่นๆ มี Magnolia delavayi, Primrose, Camellia, Rhododendron พันธุ์ต่างๆ Gentian และ Lily เขาแสดงรูปเก่าๆ อันเป็นประวัติของสถาบัน ไปดูแผนก Ethnobotany เขาศึกษาว่าแต่ละเผ่าแต่ละท้องถิ่นใช้ต้นไม้หรือพืชชนิดต่างๆ เป็นประโยชน์อย่างไรบ้าง ข้าพเจ้าเคยไปดูที่กรมป่าไม้ของบ้านเราก็มีงานในลักษณะนี้ ที่นี่เขายกตัวอย่างเช่น ชาวไทลื้อหรือจีนที่เรียกว่าไต่ ในสิบสองปันนาใช้กิ่งขี้เหล็กเป็นเชื้อเพลิง หรือชาวไทลื้อที่นับถือพุทธศาสนาถือว่าต้นโพธิ์สำคัญ เพราะเชื่อกันว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ หวายใช้ประโยชน์หลายอย่าง ใช้ทำเครื่องหวาย เช่น เก้าอี้ โต๊ะ ลูกหวายกินได้ ไผ่ใช้สร้างบ้านเรือน ทำสิ่งของ
(น.165) รูป 180 ในห้องปฏิบัติการ มีนักวิจัยศึกษาพืชแต่ละชนิด
(น.165) ต่างๆ ไผ่ใหญ่ๆ ทำหม้อใส่ข้าว ชนชาติเผ่าหนึ่งใช้ไม้ไผ่ (พันธุ์อะไรก็ไม่ทราบ) ปักเท้า เชื่อว่าเป็นการดูดพิษ พืชที่เป็นยารักษาโรค สมุนไพร พืชหลายอย่างที่ใช้ทั้งผล เปลือก ใบ ดอก ฯลฯ ทำอาหาร เส้นใยทำกระดาษ ทำของเล่น (สะบ้า ของเล่นเด็ก) ยาพิษ เช่น ยางน่อง เขามีแบบฟอร์มติดกับสิ่งของที่เก็บมาดังนี้ ชื่อจีน ชื่อ (วิทยาศาสตร์) สถานที่พบพืชนั้น การกระจายของพืช ชื่อเผ่า (น.166) รูป 181 ดูพืชในสวนพฤกษศาสตร์
(น.166) นอกจากนั้นมี
1. โครงการทางการเกษตร เหมือนกับเป็นกรมป่าไม้ปนกรมส่งเสริมการเกษตรไปในตัว เช่น โครงการวนเกษตรและการจัดการป่าไม้ โดยผ่านสถาบันในเขตหิมาลัยตะวันออก โครงการนี้จัดระบบการบริหารตั้งแต่ระดับมณฑลลงมาจนถึงชุมชนหมู่บ้านและครัวเรือน เพื่อจัดการที่ดินในที่สูงให้ทำกินได้ แนะนำให้ทำนาขั้นบันได ไม่ให้เผาป่า ใช้พืชยึดดินไม่ให้ถูกชะพังทลาย พืชชนิดหนึ่งที่แนะนำคือหญ้าแฝกแบบที่ใช้กันในเมืองไทย ดร.ธวัชชัยบอกว่าคล้ายๆ กับโครงการของกรมป่าไม้ที่เราไปดูกันที่จังหวัดเชียงราย หมู่บ้านจะจ๋อ (ตอนที่เราไปตั้งแคมป์ที่หน่วยจัดการต้นน้ำ แล้วเดินไปดูหมู่บ้าน เขาอบรมให้ชาวบ้าน (มูเซอร์) ให้รวมตัวกันทำมาหากิน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา โดยไม่ทำลายป่าไม้) (น.167)
2. โครงการเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพในยูนนานและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขาปฏิบัติการในเขตที่มีการทำไร่เลื่อนลอย ข้อนี้ถือเป็นความบกพร่องของข้าพเจ้าที่ไม่ได้ถามถึงวิธีดำเนินโครงการให้เข้าใจ 3. โครงการฟื้นฟูที่ดินที่เสื่อมโทรมในระบบนิเวศภูเขา มีการปลูกป่าที่ถูกตัดจนโล้นกับลูกใหม่ เป็นโครงการร่วมมือกันระหว่างสถาบันนิเวศวิทยาคุนหมิง สถาบันชีววิทยาเฉิงตู เทศบาลเป่าซา เขาปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ไม้ผล ทับทิมหรือพืชไม้โตเร็ว และพืชตระกูลถั่ว (Nitrogen fixing legume species) 15 ชนิด 4. โครงการแนะนำการจัดการพื้นที่สูงยูนนาน เป็นโครงการสาธิต เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชน ตำบลหมิงจื้อหยาน มีการปลูกพืชชนิดต่างๆ รวมทั้งพืชอาหารสัตว์โปรตีนสูง ที่จริงโครงการเหล่านี้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เพียงแต่อยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงานต่างๆ กัน มีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการต่างๆ ที่เราทำกันในประเทศไทยหลายโครงการ แผนกพฤกษเคมี (Phytochemistry) เป็นแผนกที่วิจัยการใช้พืช เพื่อมาสกัดตัวยาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น เป็นเครื่องหอมอาหารและยา รวมทั้งบุหรี่และเหล้าเหมาไถ ขณะนี้ผลิตยากันยุงชนิดใหม่ นอกจากป้องกันยุงและแมลงวันแล้ว ยังช่วยบรรเทาพิษอักเสบที่เกิดจากยุงและแมลงกัดต่อยไปได้บ้าง พวกเราเลยชื้อยากันยุงนี้เตรียมไว้ว่าจะทดลองกับแมลงและทากที่เขาสอยดาว ต้องดูก่อนว่าได้ผลไหม
(น.168) มีการวิจัยการสกัดสารต้านมะเร็ง เป็นผลงานของ Professor Sun Han Ging และคณะค้นหา High Anticancer Active Taxane Alkaloids จาก Taxas yunnanensis ยานี้มีฤทธิ์ต้านมะเร็งทรวงอกและมะเร็งปอด ในห้องปฏิบัติการยังมีนักวิจัยระดับปริญญาเอกและหลังปริญญาเอกอีกหลายรายส่วนมากเขาใช้วิธีเอาตัวยาจากตำราจีนโบราณมาวิเคราะห์ เช่น ยารักษามะเร็งเม็ดเลือด จาก Laggera pterodonta (หน้า 145) ยาแก้พิษร้อนใน แก้เจ็บคอ แก้หอบ โรคกระเพาะจาก Bidens pilosa ไปที่สวนสมุนไพร (นั่งรถไป) ผู้อำนวยการสวนชื่อ Professor Liu Xian Zhang ต้อนรับ สวนสมุนไพรแห่งนี้มีจุดมุ่งหมายในการรวบรวมพืชต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชที่หายาก เอาไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ไปและค้นคว้าเกี่ยวกับพืชเหล่านั้น การจัดพืชเป็นกลุ่มเป็นระเบียบ และตกแต่งให้สวยงามด้วย มีกล้วยป่าชนิดหนึ่งมีมากในแถบยูนนาน เรียกว่า Musella lasiocarpa แต่ไม่พบในประเทศไทย จึงขอหน่อเขามา Musella lasiocarpa อยู่ในวงศ์ Musaceae คือ “กล้วยดารารัศมี” เป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่น (endemic species) ของมณฑลยูนนานบนพื้นที่ราบสูงประมาณ 1,950 เมตร ชอบดินร่วนปนอินทรีย์วัตถุระบายน้ำได้ดี ชอบอากาศหนาวเย็น ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร เมื่อเจริญเต็มที่แล้วออกปลีสีเหลืองที่ยอก กาบปลีบานแผ่ออกเป็นรัศมี ต่อจากนั้นหน่อใหม่ข้างลำต้นเดิมจะเจริญขึ้นมา พืชที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือพืชฆ่าแมลง ของเขาเก็บสะสมไว้หลายชนิด ข้าพเจ้าซักถามเขา เขาบอกว่ามีเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นพิเศษจะหาให้ ชนิดที่เขาชี้ให้ดูคือ Euonymus acanthocarpus อยู่หน้า 106 ของหนังสือ List of Cultivated Plants in Kumming Botanical
(น.169) รูป 182 สวนสมุนไพร
(น.169)Garden (edited by the Botanical Garden, Kumming Institute of Botany Academia Sinica) ผู้พิมพ์คือ Yunnan Science and Technology Press พิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1988 นอกจากนั้นมี Pyrethrum cineraxiifolium อยู่หน้า 145 พืชประเภทมีกลิ่นหอมก็มีหลายอย่าง เช่น Pelargonium graveolens อยู่หน้า 41 นอกจากนั้นยังมีอีกหลายชนิด เช่น พวกไผ่ต่างๆ เป็นต้นว่า Sinocalamus affinis หน้า 198 เป็นไผ่จีน นิยมใช้ทำคันเบ็ดตกปลาแต่ก็มีคุณสมบัติในด้านเป็นยา คือใบและเปลือกแก้ร้อนใน ไผ่สีดำ (Phyllostachys nigra) อยู่หน้า 198
(น.170) รูป 183 หน้าต้นอากาเว่ (Agave) ในสวนสมุนไพร สถาบันพฤกษศาสตร์คุนหมิง (
น.170) พวกต้นอากาเว่ (Agave Americana var. marginata) หน้า 177 สกัดทำยาคุมกำเนิดได้ ปรงเขา (Cycas pectinata) พืชพวกนี้บางคนบอกว่าเป็น living fossil หรือพืชหลงยุค อยู่มาตั้งแต่สมัยที่ยังมีไดโนเสาร์ (ไดโนเสาร์ชอบกิน) ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปนานแล้ว ต้นไม้นี้ยังคงสืบพันธุ์ออกลูกหลานมาไม่ขาดตระกูล (Cyca dadeae) Tripterygium hypoglaucum หน้า 107 เขาว่าสกัดยาคุมกำเนิดของผู้ชาย
Lycium chinensis หน้า 150 เมล็ดสีแดงๆ เป็นเครื่องตุ๋นยาจีนที่เรียกว่า โกวจี๊

(น.171) รูป 184 ดอก Magnolia หรือมณฑาชนิดหนึ่ง ในสวนสมุนไร สถาบันพฤกษศาสตร์คุนหมิง
(น.171) Trichosanthes kirilowii หน้า 47 เป็นไม้เถานักวิชาการกำลังสกัดตัวยารักษาโรคเอดส์ ต้นไม้ชนิดหนึ่งมีลักษณะแปลกคืออยู่ในน้ำเป็นไม้ยืนต้น มีรากหายใจ ได้ความว่าในจีนมีต้นไม้เพียง 2-3 ชนิดที่ขึ้นในน้ำได้ มีรากหายใจขึ้นมา ชนิดที่เราเห็นเป็นพืชจำพวกสนเขาเรียกว่า Taxodium ต้นไม้อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า Helwingia มีอยู่ 3 ชนิด (หน้า 116) คือ Helwingia chinensis, Helwingia himalaica และ Helwingia japonica เขาเล่าว่าออกดอกจากใบแทนที่จะออกจากกิ่งเป็นยาแก้โรคกระดูก แก้ร้อนใน ต้นปรงเขา ทำยา ดอกแก้ตับอักเสบ ยังมีอีกหลายอย่างแต่ไม่มีเวลาดู อยากดูหอพรรณไม้ของเขาซึ่งได้ยินว่าใหญ่โตมาก เจ้าหน้าที่เขาไม่ได้เตรียมไว้ พอดีวันนี้วันอาทิตย์ไม่มีคนมาทำงาน
ขากลับมาดามเฉินเล่าว่ายูนนานมีโครงการพัฒนาทางวิชาการที่สำคัญ 4 โครงการ
1. หั่วจู้ (คบเพลิง) เป็นการส่งเสริมเผยแพร่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูงให้กว้างขวางขึ้น 2. ซิงหั่ว เป็นโครงการเทคโนโลยีชนบทเพื่อให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้ถูกต้อง ใช้เทคโนโลยีเหมาะสม (Appropriated Technology)

จัดหมวดหมู่สารสนเทศ

สถาบันพฤกษศาสตร์คุนหมิง

เช้าวันนี้เราไปที่สถาบันวิชาการพฤกษศาสตร์นครคุนหมิง ศาสตราจารย์สี่วไจ้ฟู่ ผู้อำนวยการสถาบันต้อนรับและพาเข้าไปห้องบรรยายสรุปถึงกิจการของสถาบันว่า สถาบันนี้เป็นหน่วยงานขึ้นกับสภาวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน (Academia Sinica) ท่านผู้อำนวยการได้เป็นผู้อำนวยการของสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนที่สิบสองปันนาด้วย สถาบันนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1938 นับเป็นเวลา 50 กว่าปีมาแล้ว มีพนักงานด้านเทคโนโลยี 650 คน ระดับศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มีอยู่ 20% ของพนักงาน[1]

บทบาทหน้าที่ของสถาบัน

สถาบันวิจัยนี้ศึกษาพรรณพฤกษชาติทั้งในประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคอื่นๆ ของเอเชีย ส่วนใหญ่เป็นพืชแถบร้อนและเขตอบอุ่น นอกจากเก็บพันธุ์ไม้เอาไว้แล้วยังมีงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ การจำแนกประเภทพันธุ์ไม้ การศึกษาสรีรศาสตร์ของพันธุ์ไม้ การศึกษาพฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์ หรือพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน (Ethnobotany) มีสวนพฤกษศาสตร์ 2 แห่ง คือที่คุนหมิงและที่สิบสองปันนา มีการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้นมีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์หลายห้อง 50 กว่าปีที่ผ่านมานี้นักพฤกษศาสตร์ของสถาบันประสบความสำเร็จในการค้นพบพืชพรรณพันธุ์ใหม่พันกว่าชนิด ได้วิจัยค้นหาสารเคมีหลายอย่าง สถาบันเก็บพันธุ์ไม้ไว้ได้กว่าล้านตัวอย่าง ทั้งในหอพรรณไม้ และในสวนพฤกษศาสตร์ การศึกษาของสถาบันยังเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจ เช่น ยาสูบและยางพารา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมามีการวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) และการดำรงความยั่งยืน (sustainability) หมายถึงความพยายามรักษาวัฒนธรรม พร้อมกับพัฒนาเศรษฐกิจและรักษาธรรมชาติเอาไว้ เขาเชื่อว่าการวิจัยค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับพืชมีประโยชน์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยังมีการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมของชนชาติต่างๆ กับพืชพรรณ สถาบันนี้สามารถรับนักศึกษาระดับปริญญาเอกมาทำวิจัยและให้ปริญญาได้ รวมทั้งการศึกษาขั้นปริญญาหลังดุษฎีบัณฑิต (post doctorate degree) ได้ด้วย มีการแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยในต่างประเทศ รวมทั้งบริษัทเอกชนอีกหลายสิบแห่ง[2]

ความร่วมมือทางด้านวิชาการและโครงการพัฒนาด้านพฤกษศาสตร์กับประเทศไทย

ประเทศไทยมีภูมิประเทศและชนชาติคล้ายคลึงกัน หลายปีมานี้เศรษฐกิจและเทคโนโลยีของไทยพัฒนาเร็วมาก ทางสถาบันมีความสัมพันธ์ร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานของไทยที่มีภารกิจคล้ายคลึงกัน เช่น มีการแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์และร่วมมือกันวิจัยพันธุ์ไม้กับหอพรรณไม้กรมป่าไม้ของไทย ทำมาได้ 4 ปีแล้ว จัดการประชุมร่วมกับไทยในหัวข้อซึ่งเป็นที่น่าสนใจของโลกยุคปัจจุบันหลายหัวข้อ เช่น เรื่องผลผลิตธรรมชาติ (natural products) ป่าไม้เศรษฐกิจ (economical forestry) การจัดการความหลากหลายของทางชีวภาพ (biodiversity management) ล่าสุดมีการประชุมเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ที่กรุงเทพฯ เรื่องรายงานสภาพความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย นอกจากนั้นยังได้ร่วมมือกับโครงการพัฒนาในประเทศไทย เช่น บางส่วนของโครงการหลวง โครงการสวนพฤกษศาสตร์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถที่เชียงใหม่ (Queen Sirikit Botanical Garden) ต่อไปคงจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการดูงานระหว่างสถาบันกับประเทศไทยมากขึ้น[3]

ผลงานของสถาบัน

หลังจากนั้น ดูห้องแสดงนิทรรศการ แสดงพืชต่างๆ ที่ดองเอาไว้ เช่น Camellia มีตั้ง 40-50 species มี 100 cultivars แผนที่มณฑลยูนนานแสดงเขตป่าแบบต่างๆ บอกระดับความสูง ข้าพเจ้าถามเขาว่าข้าพเจ้าเคยไปสวนพฤกษศาสตร์ที่เอดินเบอระเห็นมีพืชจากแถบนี้มาก ส่วนมากจะเป็นของที่นักพฤกษศาสตร์ชื่อ George Forrest เป็นผู้มาเก็บ ปัจจุบันมีการศึกษาร่วมกันหรือไม่ เขาบอกว่าที่นั่นกับที่คุนหมิง ถือว่าเป็น sister institutes ทำงานร่วมกัน พืชอื่นๆ มี Magnolia delavayi, Primrose, Camellia, Rhododendron พันธุ์ต่างๆ Gentian และ Lily เขาแสดงรูปเก่าๆ อันเป็นประวัติของสถาบัน ไปดูแผนก Ethnobotany เขาศึกษาว่าแต่ละเผ่าแต่ละท้องถิ่นใช้ต้นไม้หรือพืชชนิดต่างๆ เป็นประโยชน์อย่างไรบ้าง ข้าพเจ้าเคยไปดูที่กรมป่าไม้ของบ้านเราก็มีงานในลักษณะนี้ ที่นี่เขายกตัวอย่างเช่น ชาวไทลื้อหรือจีนที่เรียกว่าไต่ ในสิบสองปันนาใช้กิ่งขี้เหล็กเป็นเชื้อเพลิง หรือชาวไทลื้อที่นับถือพุทธศาสนาถือว่าต้นโพธิ์สำคัญ เพราะเชื่อกันว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ หวายใช้ประโยชน์หลายอย่าง ใช้ทำเครื่องหวาย เช่น เก้าอี้ โต๊ะ ลูกหวายกินได้ ไผ่ใช้สร้างบ้านเรือน ทำสิ่งของต่างๆ ไผ่ใหญ่ๆ ทำหม้อใส่ข้าว ชนชาติเผ่าหนึ่งใช้ไม้ไผ่ (พันธุ์อะไรก็ไม่ทราบ) ปักเท้า เชื่อว่าเป็นการดูดพิษ พืชที่เป็นยารักษาโรค สมุนไพร พืชหลายอย่างที่ใช้ทั้งผล เปลือก ใบ ดอก ฯลฯ ทำอาหาร เส้นใยทำกระดาษ ทำของเล่น (สะบ้า ของเล่นเด็ก) ยาพิษ เช่น ยางน่อง เขามีแบบฟอร์มติดกับสิ่งของที่เก็บมาดังนี้
ชื่อจีน
ชื่อ (วิทยาศาสตร์)
สถานที่พบพืชนั้น
การกระจายของพืช
ชื่อเผ่า

นอกจากนั้นมี
1. โครงการทางการเกษตร เหมือนกับเป็นกรมป่าไม้ปนกรมส่งเสริมการเกษตรไปในตัว เช่น โครงการวนเกษตรและการจัดการป่าไม้ โดยผ่านสถาบันในเขตหิมาลัยตะวันออก โครงการนี้จัดระบบการบริหารตั้งแต่ระดับมณฑลลงมาจนถึงชุมชนหมู่บ้านและครัวเรือน เพื่อจัดการที่ดินในที่สูงให้ทำกินได้ แนะนำให้ทำนาขั้นบันได ไม่ให้เผาป่า ใช้พืชยึดดินไม่ให้ถูกชะพังทลาย พืชชนิดหนึ่งที่แนะนำคือหญ้าแฝกแบบที่ใช้กันในเมืองไทย ดร.ธวัชชัยบอกว่าคล้ายๆ กับโครงการของกรมป่าไม้ที่เราไปดูกันที่จังหวัดเชียงราย หมู่บ้านจะจ๋อ (ตอนที่เราไปตั้งแคมป์ที่หน่วยจัดการต้นน้ำ แล้วเดินไปดูหมู่บ้าน เขาอบรมให้ชาวบ้าน (มูเซอร์) ให้รวมตัวกันทำมาหากิน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา โดยไม่ทำลายป่าไม้)
2. โครงการเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพในยูนนานและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขาปฏิบัติการในเขตที่มีการทำไร่เลื่อนลอย ข้อนี้ถือเป็นความบกพร่องของข้าพเจ้าที่ไม่ได้ถามถึงวิธีดำเนินโครงการให้เข้าใจ
3. โครงการฟื้นฟูที่ดินที่เสื่อมโทรมในระบบนิเวศภูเขา มีการปลูกป่าที่ถูกตัดจนโล้นกับลูกใหม่ เป็นโครงการร่วมมือกันระหว่างสถาบันนิเวศวิทยาคุนหมิง สถาบันชีววิทยาเฉิงตู เทศบาลเป่าซา เขาปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ไม้ผล ทับทิมหรือพืชไม้โตเร็ว และพืชตระกูลถั่ว (Nitrogen fixing legume species) 15 ชนิด
4. โครงการแนะนำการจัดการพื้นที่สูงยูนนาน เป็นโครงการสาธิต เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชน ตำบลหมิงจื้อหยาน มีการปลูกพืชชนิดต่างๆ รวมทั้งพืชอาหารสัตว์โปรตีนสูง
ที่จริงโครงการเหล่านี้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เพียงแต่อยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงานต่างๆ กัน มีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการต่างๆ ที่เราทำกันในประเทศไทยหลายโครงการ แผนกพฤกษเคมี (Phytochemistry) เป็นแผนกที่วิจัยการใช้พืช เพื่อมาสกัดตัวยาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น เป็นเครื่องหอมอาหารและยา รวมทั้งบุหรี่และเหล้าเหมาไถ ขณะนี้ผลิตยากันยุงชนิดใหม่ นอกจากป้องกันยุงและแมลงวันแล้ว ยังช่วยบรรเทาพิษอักเสบที่เกิดจากยุงและแมลงกัดต่อยไปได้บ้าง พวกเราเลยชื้อยากันยุงนี้เตรียมไว้ว่าจะทดลองกับแมลงและทากที่เขาสอยดาว ต้องดูก่อนว่าได้ผลไหม มีการวิจัยการสกัดสารต้านมะเร็ง เป็นผลงานของ Professor Sun Han Ging และคณะค้นหา High Anticancer Active Taxane Alkaloids จาก Taxas yunnanensis ยานี้มีฤทธิ์ต้านมะเร็งทรวงอกและมะเร็งปอด ในห้องปฏิบัติการยังมีนักวิจัยระดับปริญญาเอกและหลังปริญญาเอกอีกหลายรายส่วนมากเขาใช้วิธีเอาตัวยาจากตำราจีนโบราณมาวิเคราะห์ เช่น ยารักษามะเร็งเม็ดเลือด จาก Laggera pterodonta ยาแก้พิษร้อนใน แก้เจ็บคอ แก้หอบ โรคกระเพาะจาก Bidens pilosa[4]

สวนสมุนไพร

สวนสมุนไพรแห่งนี้มีจุดมุ่งหมายในการรวบรวมพืชต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชที่หายาก เอาไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ไปและค้นคว้าเกี่ยวกับพืชเหล่านั้น การจัดพืชเป็นกลุ่มเป็นระเบียบ และตกแต่งให้สวยงามด้วย

พันธุ์พืชสมุนไพรที่น่าสนใจ

มีกล้วยป่าชนิดหนึ่งมีมากในแถบยูนนาน เรียกว่า Musella lasiocarpa แต่ไม่พบในประเทศไทย จึงขอหน่อเขามา Musella lasiocarpa อยู่ในวงศ์ Musaceae คือ “กล้วยดารารัศมี” เป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่น (endemic species) ของมณฑลยูนนานบนพื้นที่ราบสูงประมาณ 1,950 เมตร ชอบดินร่วนปนอินทรีย์วัตถุระบายน้ำได้ดี ชอบอากาศหนาวเย็น ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร เมื่อเจริญเต็มที่แล้วออกปลีสีเหลืองที่ยอด กาบปลีบานแผ่ออกเป็นรัศมี ต่อจากนั้นหน่อใหม่ข้างลำต้นเดิมจะเจริญขึ้นมา

พืชที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือพืชฆ่าแมลง ของเขาเก็บสะสมไว้หลายชนิด ข้าพเจ้าซักถามเขา เขาบอกว่ามีเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นพิเศษจะหาให้ ชนิดที่เขาชี้ให้ดูคือ Euonymus acanthocarpus อยู่หน้า 106 ของหนังสือ List of Cultivated Plants in Kumming Botanical Garden (edited by the Botanical Garden, Kumming Institute of Botany Academia Sinica) ผู้พิมพ์คือ Yunnan Science and Technology Press พิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1988 นอกจากนั้นมี Pyrethrum cineraxiifolium อยู่หน้า 145 พืชประเภทมีกลิ่นหอมก็มีหลายอย่าง เช่น Pelargonium graveolens อยู่หน้า 41 นอกจากนั้นยังมีอีกหลายชนิด เช่น พวกไผ่ต่างๆ เป็นต้นว่า Sinocalamus affinis หน้า 198 เป็นไผ่จีน นิยมใช้ทำคันเบ็ดตกปลาแต่ก็มีคุณสมบัติในด้านเป็นยา คือใบและเปลือกแก้ร้อนใน ไผ่สีดำ (Phyllostachys nigra) อยู่หน้า 198 พวกต้นอากาเว่ (Agave Americana var. marginata) หน้า 177 สกัดทำยาคุมกำเนิดได้ ปรงเขา (Cycas pectinata) พืชพวกนี้บางคนบอกว่าเป็น living fossil หรือพืชหลงยุค อยู่มาตั้งแต่สมัยที่ยังมีไดโนเสาร์ (ไดโนเสาร์ชอบกิน) ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปนานแล้ว ต้นไม้นี้ยังคงสืบพันธุ์ออกลูกหลานมาไม่ขาดตระกูล (Cyca dadeae) Tripterygium hypoglaucum หน้า 107 เขาว่าสกัดยาคุมกำเนิดของผู้ชาย Lycium chinensis หน้า 150 เมล็ดสีแดงๆ เป็นเครื่องตุ๋นยาจีนที่เรียกว่า โกวจี๊ ดอก Magnolia หรือมณฑาชนิดหนึ่ง ในสวนสมุนไพร สถาบันพฤกษศาสตร์คุนหมิง Trichosanthes kirilowii หน้า 47 เป็นไม้เถานักวิชาการกำลังสกัดตัวยารักษาโรคเอดส์ ต้นไม้ชนิดหนึ่งมีลักษณะแปลกคืออยู่ในน้ำเป็นไม้ยืนต้น มีรากหายใจ ได้ความว่าในจีนมีต้นไม้เพียง 2-3 ชนิดที่ขึ้นในน้ำได้ มีรากหายใจขึ้นมา ชนิดที่เราเห็นเป็นพืชจำพวกสนเขาเรียกว่า Taxodium ต้นไม้อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า Helwingia มีอยู่ 3 ชนิด (หน้า 116) คือ Helwingia chinensis, Helwingia himalaica และ Helwingia japonica เขาเล่าว่าออกดอกจากใบแทนที่จะออกจากกิ่งเป็นยาแก้โรคกระดูก แก้ร้อนใน ต้นปรงเขา ทำยา ดอกแก้ตับอักเสบ ยังมีอีกหลายอย่างแต่ไม่มีเวลาดู อยากดูหอพรรณไม้ของเขาซึ่งได้ยินว่าใหญ่โตมาก เจ้าหน้าที่เขาไม่ได้เตรียมไว้ พอดีวันนี้วันอาทิตย์ไม่มีคนมาทำงาน [5]


อ้างอิง

1. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 160
2. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 161-163
3. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 163-164
4. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 164-168
5. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 168-171