Please wait...

<< Back

หงซาน

จากหนังสือ

ประเภทคำ

ชื่อเมือง,ประวัติศาสตร์จีน,โบราณคดี
คำอธิบายเพิ่มเติม
วัฒนธรรม

จากหนังสือ

เกล็ดหิมะฯ1
เกล็ดหิมะฯ1 หน้า 112

(น.112) ท่านรองฯเล่าว่าเมืองนี้เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของมณฑลมีคนประมาณ 4 ล้าน ถ้ารวมเมืองรอบนอกก็ราว 7 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมือง สนามบินเถาเซียนอยู่ทางใต้ห่างเมือง 30 กิโลเมตร (เรือนรับรองอยู่ทางเหนือ) มณฑลนี้มีทั้งเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ทั้งเหล็กกล้า น้ำมัน พบแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ที่หงซาน แต่ฤดูนี้ไปดูไม่สะดวก อยู่ไม่ไกลจากซานไห่กวาน มณฑลเหอเป่ย ซึ่งเขาเพิ่งขุดพบวังใต้ดินของ

เกล็ดหิมะฯ2
เกล็ดหิมะฯ2 หน้า 18,37

(น.18) วัฒนธรรมหงซานสมัยเดียวกับหย่างเซ่า ไม่พบบ้านเรือนที่อยู่ พบแต่สถานที่บูชาเทวดา เขาทำรูปจำลองบริเวณที่ขุดค้นให้ดู มีที่บูชาเทพมารดา พบรูปเคารพหนู่เสิน (เป็นผู้หญิงอ้วนๆแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ คติเช่น นี้มีมากในสังคมโบราณโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมเกษตรกรรม เมื่อมีศาสนาอื่นเข้ามาก็มักปะปนกับเทพเจ้าอื่น) ที่นี่พบแท่นบูชาเทวดา พบหลุมศพในหลุมมีเครื่องประดับทำด้วยหยก รูปมังกรหัวหมูที่ติดไว้หน้าห้องก็มาจากหลุมนี้ อายุก็ประมาณ 5,500 ปี นอกจากนั้นมีขวานหิน พลั่วหิน คันไถ (หย่างเซ่าไม่มี) เครื่องบูชา รูปหนู่เสินนั่งไขว่ขาประสานมือ ภาชนะเขียนสี เครื่องประดับรูปเต่า นก ปลา 4,000-5,000 ปี สมัยหินใหม่ (หินขัด)

(น.37) 1.มังกรทำด้วยหยก ศิลปะของวัฒนธรรมหงซาน 5,500 ปีมาแล้ว ที่เป็นสัญลักษณ์ของห้องที่ 2 เข้าใจว่าเป็นเครื่องประดับ เหมืองหยกนี้อยู่ที่ไหนไม่ทราบ หยกที่เหลียวหนิงก็มีแต่ก็ไม่เหมือนกับหยกชิ้นนี้ซึ่งแข็งมาก อาจจะมาจากซินเกียง หรือรัสเซีย 2. หยกรูปสี่เหลี่ยมมีรูตรงกลาง เรียกว่าปี้ 3. หยกรูปกระบอก ไม่ทราบว่าสำหรับทำอะไร อาจเป็นเครื่องประดับผม หรือประดับศีรษะ เพราะพบวางอยู่ใกล้ศีรษะคนตายในหลุมศพ ของลักษณะนี้มีในพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (ผู้บรรยายเขาว่าข้าพเจ้ายังไม่เคยไปดู) ที่ออสเตรเลียก็มี

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 29

(น. 29) มนุษย์ยุคหินกลางและหินใหม่ในจีนพบทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมหงซาน ซึ่งทำแท่นบูชาบวงสรวง มีรูปกลมรูปเหลี่ยม (อาจจะเป็นฟ้า-ดิน) มีมังกรทำด้วยหยก เรื่องกำเนิดคนญี่ปุ่น เป็นหัวข้อที่มีการค้นคว้ามานานแล้ว มีหลายทฤษฎีดังนี้ - สมัยก่อนแผ่นดินทวีปเอเชียกับเกาะญี่ปุ่นมีสะพานน้ำแข็งเชื่อมกัน คนเดินข้ามไปได้ - คนอพยพมาจากเกาะต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเดินทางทางเรือ - คนญี่ปุ่นเกิดในญี่ปุ่น

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 72

(น. 72) 1. ห้องแรก แสดงโบราณวัตถุที่อาจารย์และนักศึกษาคณะโบราณคดีของมหาวิทยาลัยขุดค้นในการศึกษาภาคปฏิบัติที่เขาจินหนิว มณฑลเหลียวหนิง เรียกว่า วัฒนธรรมหงซาน พบซากโครงกระดูกคนและสัตว์ต่างๆ อายุประมาณ 280,000 ปี 2. วัฒนธรรมยุคหินใหม่ พบเครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับหินขัดของไทย แต่จะใช้ทำอะไรเราก็ไม่ทราบ พบกระดูกที่ใช้ในการเสี่ยงทาย (ตรงทางเดินมีแจกันใบใหญ่ปากกว้างที่มีตัวอักษรจีนเขียนไว้) 3. วัฒนธรรมยุคหินใหม่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน (Neolithic in North West China) ลุ่มแม่น้ำฉังเจียง แสดงเครื่องมือเครื่องใช้ หม้อต่างๆ ที่ใช้ในพิธีกรรม 4. วัฒนธรรมหินใหม่ในมณฑลซานตง (Neolithic in Shandong) มีภาชนะ 3 ขา และถ้วยเหล้าดินเผาทำได้บางมาก ความสูง 20 เซนติเมตร หนักเพียง 40 กรัมเท่านั้น ทำเมื่อ 2,500-200 ปีก่อนคริสตกาล

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 128

(น. 128) ต้นไม้ใหญ่ๆ มีหลายต้น เช่น ต้นหงซานหรือ Redwood ต้นพันธุ์ประธานาธิบดีนิกสันนำมาให้นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล ปลูกเอาไว้ที่หังโจว ต้นนี้ขยายพันธุ์มาปลูก พืชนี้อายุยืนมาก อาจอยู่ได้ 1,000 กว่าปี ที่สหรัฐอเมริกาโตแล้วตายเป็นรูให้รถยนต์แล่นผ่านได้ นอกจากนั้น มีต้นสุ่ยซาน มีแต่ในประเทศจีน นั่งรถแล่นไปอีกบริเวณหนึ่ง เป็นสวนขนาดเล็ก ขนาด 6 เฮกตาร์ สะสมพืชชนิดต่างๆ เป็นที่สอนนักเรียน ให้นักศึกษามาฝึกงาน เมื่อเข้าไปถึงเห็นเจ้าบ่าวเจ้าสาวมาถ่ายรูปกันในสวนนี้ ช่วงนี้มีดอกแดฟโฟดิลออก ก็ดูสวยดี ในสวนนี้นอกจากมีทิวลิปแล้ว ยังทำกังหันจำลองเพื่อให้ได้บรรยากาศประเทศฮอลแลนด์ มีต้นไม้อื่นๆ เช่น เหมาอวี้หลานจากญี่ปุ่น ต้นหม่ากั้วหรือต้นเสื้อขุนนาง ต้นกุ้ยฮวา ต้นลั่วอวี่ซาน ขึ้นอยู่บริเวณที่น้ำใต้ดินสูง จึงต้องมีรากขึ้นมาหายใจเอาอากาศ ต้น Taxus chinensis เป็นต้นไม้ที่มีศักยภาพว่าจะสามารถรักษาโรคมะเร็งได้




จัดหมวดหมู่สารสนเทศ

หงซาน

เมือง

เมืองนี้เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของมณฑลมีคนประมาณ 4 ล้าน ถ้ารวมเมืองรอบนอกก็ราว 7 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมือง สนามบินเถาเซียนอยู่ทางใต้ห่างเมือง 30 กิโลเมตร (เรือนรับรองอยู่ทางเหนือ) มณฑลนี้มีทั้งเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ทั้งเหล็กกล้า น้ำมัน พบแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ที่หงซาน แต่ฤดูนี้ไปดูไม่สะดวก อยู่ไม่ไกลจากซานไห่กวาน มณฑลเหอเป่ย ซึ่งเขาเพิ่งขุดพบวังใต้ดินของ[1]

วัฒนธรรม

วัฒนธรรมหงซานสมัยเดียวกับหย่างเซ่า ไม่พบบ้านเรือนที่อยู่ พบแต่สถานที่บูชาเทวดา เขาทำรูปจำลองบริเวณที่ขุดค้นให้ดู มีที่บูชาเทพมารดา พบรูปเคารพหนู่เสิน (เป็นผู้หญิงอ้วนๆแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ คติเช่น นี้มีมากในสังคมโบราณโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมเกษตรกรรม เมื่อมีศาสนาอื่นเข้ามาก็มักปะปนกับเทพเจ้าอื่น) ที่นี่พบแท่นบูชาเทวดา พบหลุมศพในหลุมมีเครื่องประดับทำด้วยหยก รูปมังกรหัวหมูที่ติดไว้หน้าห้องก็มาจากหลุมนี้ อายุก็ประมาณ 5,500 ปี นอกจากนั้นมีขวานหิน พลั่วหิน คันไถ (หย่างเซ่าไม่มี) เครื่องบูชา รูปหนู่เสินนั่งไขว่ขาประสานมือ ภาชนะเขียนสี เครื่องประดับรูปเต่า นก ปลา 4,000-5,000 ปี สมัยหินใหม่ (หินขัด)[2]
มนุษย์ยุคหินกลางและหินใหม่ในจีนพบทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมหงซาน ซึ่งทำแท่นบูชาบวงสรวง มีรูปกลมรูปเหลี่ยม (อาจจะเป็นฟ้า-ดิน) มีมังกรทำด้วยหยก เรื่องกำเนิดคนญี่ปุ่น เป็นหัวข้อที่มีการค้นคว้ามานานแล้ว มีหลายทฤษฎีดังนี้ - สมัยก่อนแผ่นดินทวีปเอเชียกับเกาะญี่ปุ่นมีสะพานน้ำแข็งเชื่อมกัน คนเดินข้ามไปได้ - คนอพยพมาจากเกาะต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเดินทางทางเรือ - คนญี่ปุ่นเกิดในญี่ปุ่น[3]
โบราณวัตถุที่อาจารย์และนักศึกษาคณะโบราณคดีของมหาวิทยาลัยขุดค้นในการศึกษาภาคปฏิบัติที่เขาจินหนิว มณฑลเหลียวหนิง เรียกว่า วัฒนธรรมหงซาน พบซากโครงกระดูกคนและสัตว์ต่างๆ อายุประมาณ 280,000 ปี[4]

ต้นไม้

ต้นไม้ใหญ่ๆ มีหลายต้น เช่น ต้นหงซานหรือ Redwood ต้นพันธุ์ประธานาธิบดีนิกสันนำมาให้นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล ปลูกเอาไว้ที่หังโจว ต้นนี้ขยายพันธุ์มาปลูก พืชนี้อายุยืนมาก อาจอยู่ได้ 1,000 กว่าปี ที่สหรัฐอเมริกาโตแล้วตายเป็นรูให้รถยนต์แล่นผ่านได้ นอกจากนั้น มีต้นสุ่ยซาน มีแต่ในประเทศจีน[5]

อ้างอิง

1. เกล็ดหิมะฯ1 หน้า 112
2. เกล็ดหิมะฯ2 หน้า 18,37
3. เจียงหนานแสนงาม หน้า 29
4. เจียงหนานแสนงาม หน้า 72
5. เจียงหนานแสนงาม หน้า 128