<< Back
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 2 เหลียวหนิง วันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2537
(น.41) รูป 56 ส่วนหนึ่งของของพิเศษที่เขาเอามาให้ดู
รูป 57 ส่วนหนึ่งของของพิเศษที่เขาเอามาให้ดู
(น.41) ที่มีพระปรีชาสามารถค่อนข้างน้อย สมัยของพระองค์พวกจินหรือกิมก๊กในหนังกำลังภายในจีนบุกโจมตีภาคเหนือของจีน
8. ภาพเขียนของภิกษุชาวอินเดีย ผู้เขียนเป็นจิตรกรสมัยราชวงศ์หยวนชื่อ เจ้าเมิ่งฝู่ มีลายพระหัตถ์พระเจ้าเฉียนหลงซึ่งเขียนที่ด้านหลัง มีรอยตราประทับเยอะแยะ แปลว่าเป็นภาพที่มีชื่อเสียง มีคนเอาเป็นเจ้าของมาก
(น.42) รูป 58 ลงชื่อเป็นที่ระลึก
(น.42)
9. ภาพทิวทัศน์ในเทศกาลเช็งเม้ง ของเดิมเขียนในสมัยราชวงศ์ซ้อง แต่ภาพนี้สมัยราชวงศ์หมิง(เป็นภาพที่มีชื่อเสียงมากคนรุ่นหลังเขียนตามแบบ)
ยาว 9.8 เมตร ทิวทัศน์ของเมืองซูโจวแสดงชีวิตของคนในสมัยนั้น เขียนได้ละเอียดมาก เริ่มต้นด้วยทิวทัศน์ในชนบทแล้วค่อยๆเข้าไปในเมืองซูโจว
รายละเอียดมีร้านต่างๆ ขายผ้า ขายตะกร้า ขายตุ๊กตา ขายหนังสือ เครื่องโลหะ เครื่องยาจีน มีจนกระทั่งหาบเร่ และร้านโคมเขียว รายละเอียดมีมากอย่างนี้ จึงทำให้มีผู้เขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆบรรยายเรื่องนี้ ภาพนี้มีชื่อว่า ชิงหมิงซ่างเหอถู ผู้เขียนคือฉิวอิง
10. ผ้าไหม ปักอย่างละเอียดมาก สมัยราชวงศ์หมิง
(น.43) รูป 59 ลงชื่อเป็นที่ระลึก
(น.43) ใช้ไหมซูโจวชนิดที่ดีที่สุดปัก เส้นละเอียด เป็นรูปพระไมเตรย ของเหล่านี้เขาเล่าว่าพระเจ้าผู่หยีทรงนำมาตอนที่ปกครองแมนจูเรีย พอญี่ปุ่นหมดอำนาจของก็เลยตกค้างอยู่ที่นี่
11. ของที่เขาว่าเป็นของไทย คล้ายๆเป็นเจดีย์ใส่กระดูกหรือใส่พระธาตุ
(น.44) รูป 60 ลงชื่อเป็นที่ระลึก
(น.44)
12. พระนอน หรือพระทางเหนือหรือพม่า
มาวันนี้ได้ความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นราชวงศ์เหลียวมากขึ้น ดูเสร็จแล้วกลับมารับประทานอาหารกลาง วันที่เรือนรับรอง ได้พักผ่อนนิดหน่อย ตอนบ่ายเดินทางไปสุสานตงหลิง
คำว่า “ตงหลิง” แปลว่า “สุสานตะวันออก” มีสุสานที่ใช้ชื่อว่า “ตงหลิง” อยู่ 2 แห่ง แห่งหนึ่งคือสุสาน ตงหลิงที่อำเภอจุนฮว้า ในมณฑลเหอเป่ย
อยู่นอกเมืองปักกิ่งไปทางตะวันออก อีกแห่งหนึ่งคือสุสานตงหลิงที่อยู่ใกล้ๆเมืองเสิ่นหยางอันเป็นสุสานที่ข้าพเจ้าจะไปเยี่ยมชม ข้าพเจ้ารู้สึกสับสนเรื่องสุสานของพระจักรพรรดิและจักรพรรดินีของราชวงศ์ชิง กลับมาเมืองไทยแล้วจึงได้ศึกษาเพิ่มเติม และเรียบเรียงไว้ในภาคผนวก ค
(น.45) รูป 62 ออกจากพิพิธภัณฑ์เพื่อเดินทางต่อไป
รูป 61 เหรียญที่ระลึกของพิพิธภัณฑ์
(น.45) ข้าพเจ้าสงสัยคำว่า “หลิง” ก็แปลว่า “สุสาน” คำว่า “มู่” ก็แปลว่า “สุสาน” ต่างกันตรงไหน
ท่านทูตจางเหลียนบอกว่า หลิง ใช้เฉพาะสุสานของเชื้อพระวงศ์ แต่ มู่ เป็นคำกลางๆ ใช้กับใครก็ได้ มาในยุคหลังสุสานคนสำคัญเช่นท่านซุนยัดเซ็นก็เรียกว่าหลิงเช่นกัน สุสานของท่านเรียกว่า จงซานหลิง
(น.46) รูป 63 สุสานตงหลิง
(น.46) ระหว่างเดินทางได้ความรู้ว่าที่ฟูซุ่นมีเหมืองถ่านหินใหญ่ โดยปกติคนที่ทำงานเหมืองต้องลงไปอยู่ใต้ดิน แต่เหมืองที่ฟูซุ่นนี้ตักเอาข้างบนได้
บ้านที่ผ่านไปข้างทาง ถ้าเป็นตึกใหญ่ก็ไม่มีปล่องไฟ แต่ถ้าเป็นบ้างหลังเล็กๆต้องมีปล่องไฟ ตามตึกใช้ central heating
บ้านเล็กๆต้องมีเตาผิงใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ถ้าเห็นบ้านไหนมีปล่องไฟสองปล่องหมายถึงมี 2 ครอบครัว อยู่ในบ้านหลังเดียวกัน นี่เป็นความรู้จากคนขับรถ
นอกจากบ้านเรือนธรรมดาแล้ว สถานที่ปล่อยควันที่ใหญ่โตของเมืองเสิ่นหยางก็คือโรงงานจ่ายไฟฟ้าด้วยพลังความร้อนที่เรียกว่า เรื่อ (คนเมืองนี้ออกเสียงเป็น แหย)
เตี้ยนฉ่าง แต่ถ้าคิดรวมๆแล้วก็ยังน้อยกว่าบ้านเรือน เป็นการลดมลพิษ
(น.47) รูป 64 สุสานตงหลิง
(น.47) สุสานตงหลิงที่เสิ่นหยางนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่าฝูหลิงฝู แปลว่าโชคดี หรือความสุข เป็นสุสานของพระเจ้าหนูเอ่อร์ฮาชื่อ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
และพระมเหสีในราชนิกูลเย่เฮ้อนาลาซื่อ สร้างใน ค.ศ. 1629 เสร็จในปีค.ศ. 1651 บ่ายนี้คุณก่วนมู่ไม่แปล ให้คุณชัยรัตน์แปล เข้าถึงประตูหน้าเจิ้งหงเหมิน
เขาอธิบายว่าสมัยก่อนต้องเป็นจักรพรรดิจีนจึงเข้าประตูกลางได้ อีกสองประตูสำหรับขุนนาง ทั้งฝ่ายบู๊และบุ๋น (คนอื่นจะต้องอ้อมไปทางไหนไม่ทราบ)
เมื่อพ้นประตูนี้เข้าไปมีถนนซึ่งเรียกว่า เสินเต้า แปลว่า ทางสำหรับเทวดา เฉพาะจักรพรรดิจึงเสด็จพระราชดำเนินตามทางนี้ได้ อันที่จริงแล้วจักรพรรดิองค์อื่นๆนอกจากองค์แรกก็ไม่กล้าเสด็จพระราชดำเนิน
Next >>