Please wait...

<< Back

เซี่ยงไฮ้



(น. 236) ค.ศ. 1994 ระหว่างรองนายกรัฐมนตรีหลี่หลานชิงของจีนกับรัฐมนตรีอาวุโสลีกวนยูของสิงคโปร์ ความเหมาะสมของซูโจวคือ การอยู่ใกล้เซี่ยงไฮ้ (ข้าพเจ้ายังไม่ค่อยเข้าใจว่าตกลงการอยู่ใกล้เซี่ยงไฮ้นั้นเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี เรื่องดีคือติดต่อกับเซี่ยงไฮ้ได้ง่ายเพราะเป็นศูนย์ความเจริญของประเทศอยู่แล้ว จะได้ใช้บริการต่างๆ แต่บางคนว่าไม่ดีคือ เซี่ยงไฮ้จะแย่งการบริการต่างๆ ไปหมด) มีทะเลสาบจิงจี้ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าทะเลสาบซีหูในหังโจว ห้าปีแรกเป็นการพัฒนาด้านใต้ของเขตที่ 1 ภายใน 15 ปีจะพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง โครงการนี้รัฐบาลสนับสนุนเต็มที่ มีผู้นำมาเยี่ยมชมกว่า 40 คนแล้ว เช่น ท่านหลี่เผิง ท่านจูหรงจี ผู้นำต่างชาติก็มา นายกรัฐมนตรีโกจ๊กตงของสิงคโปร์กล่าวว่าการการพัฒนาไปได้เร็วกว่าที่คิด มีการพัฒนาด้านต่างๆ ดังนี้
๐ การวางระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด เรื่องสิทธิประโยชน์กฎหมายด้านเศรษฐกิจการค้า
๐ การวางผังเมือง
๐ การจัดการบริหาร
กฎเกณฑ์ต่างๆ นั้นตั้งขึ้นตามความเหมาะสมของประเทศจีนและของซูโจว
มีการลงทุนในอุตสาหกรรมหลายด้าน เช่น semiconductor ลงทุนไปแล้ว 250 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้านเภสัชกรรม ด้านอุตสาหกรรมอาหาร ประเทศที่มาลงทุนมาก เช่น เยอรมนี (Siemens) ญี่ปุ่น (Hitachi, Sumitomo) อังกฤษ (Wellcome)

(น. 246) ไปที่โต๊ะอาหาร นายกเทศมนตรีพูดภาษาอังกฤษได้ดี เคยเรียนทางด้านธุรกิจที่ศูนย์จีนอเมริกัน ท่านเล่าให้ฟังถึงพวกที่ทำงานปักผ้าว่า พวกนี้จะว่าเป็นพนักงานปักเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ พวกเขาเป็นจิตรกรด้วย เวลาปักตาของคนหรือสัตว์ในภาพต้องแบ่งไหมเส้นหนึ่งเป็น 24 ส่วน เขาก็ทำได้ดี หรือปักให้เห็นทั้งสองหน้า แต่เป็นคนละรูป บางรูปปักสองปีจึงเสร็จ ตลอดชีวิตคนหนึ่งๆ อาจจะมีผลงานเพียง 10 ชิ้นเท่านั้น แต่การที่จะอนุรักษ์งานศิลปะเหล่านี้ให้คงอยู่เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก เพราะสาวๆ ซูโจวเดี๋ยวนี้เขาไม่ชอบปักผ้า เขาชอบคอมพิวเตอร์มากกว่า หาคนสืบทอดวัฒนธรรมนี้ยากจริงๆ นายกเทศมนตรีบอกว่าเดี๋ยวนี้ซูโจวมีโรงแรมมาก มีโรงแรมที่อยู่ริมทะเลสาบสวยงามมาก แต่ว่าคราวนี้กำหนดการแน่นมากจึงจัดโรงแรมนี้ซึ่งอยู่ในเมืองสะดวกดี ท่านลีกวนยู ท่านหลีเสี่ยนหลง และนักธุรกิจต่างก็ชอบมาพัก ท่านนายกเทศมนตรีเล่าประวัติตนเองว่าเกิด ค.ศ. 1949 เป็นคนเซี่ยงไฮ้ คนจีนรุ่นนี้ต้องประสบความทุกข์ลำบากมาก จบชั้นมัธยมแล้วก็ต้องไปทำงานหนักที่ชนบท แล้วจึงมีโอกาสเข้ามหาวิทยาลัย จบแล้วก็ทำงานที่มณฑลเจียงซูมาตลอด เป็นเลขานุการมณฑล รับผิดชอบทั้งหยังโจวและเจิ้นเจียง 6 ปี เพิ่งมาเป็นนายกเทศมนตรี ภรรยาซึ่งเรียนทางคอมพิวเตอร์จากสหรัฐอเมริกายังอยู่ที่นานกิง พ่อแม่ พ่อตา แม่ยาย อยู่เซี่ยงไฮ้ ลูกชายคนเดียวเรียนที่มหาวิทยาลัยฝูตั้น (เซี่ยงไฮ้) นายกเทศมนตรีชอบการถ่ายรูป เป็นประธานคณะกรรมการการถ่ายภาพเผยแพร่วัฒนธรรม ปัจจุบันนี้ใช้กล้อง digital

เจียงหนานแสนงามหน้า248,266,275

(น. 248) วันเสาร์ที่ 10 เมษายน 2542
เช้าขึ้นมานึกออกว่านาฬิกาเสีย คอมพิวเตอร์มีปัญหา และสมุดที่เขียนเรื่องไว้แล้วหายไปไหนก็ไม่ทราบ สงสัยว่าจะลืมทิ้งไว้ที่เจิ้นเจียง เรื่องคอมพิวเตอร์ยังพอใช้ได้ กลับไปกรุงเทพฯ ค่อยตรวจดูว่ามีปัญหาอะไร ส่วนเรื่องนาฬิกาและสมุดที่เขียนเรื่องไว้ให้คุณพิริยะ (เจ้าหน้าที่สถานกงสุลไทยที่เซี่ยงไฮ้) ช่วยจัดการ

(น. 248) รูป 175 สวนจัวเจิ้งหยวน

(น. 266) รูป 191 ร้านขายภาพปักกำลังแสดงภาพที่ด้านหนึ่งเป็นหมา ด้านหนึ่งเป็นลิง

(น. 266) ของต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์ยังมีอีกหลายอย่าง เช่น ผ้าปักสมัยราชวงศ์หมิงเป็นรูปผู้หญิง มีไข่มุกปักไว้ด้วย รูปกวางสมัยราชวงศ์หมิง ผู้ปักเป็นช่างสำนักอาจารย์แซ่กู้ มาจากเซี่ยงไฮ้ (ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าเป็นญาติกับอาจารย์กู้หยาจ่งที่เคยสอนภาษาจีนข้าพเจ้าหรือเปล่า อาจารย์กู้มาจากเซี่ยงไฮ้เหมือนกัน) รูปปักเครื่องหมายทางราชการ ถ้าเป็นภาพสัตว์ต่างๆ เช่น สิงโต กิเลน หมายถึงข้าราชการทหาร นกชนิดต่างๆ หมายถึงข้าราชการพลเรือน

(น. 275) นอกจากหินพยักหน้าแล้ว ที่เนินเสือยังมีหินที่ชื่อว่า หินทดสอบกระบี่ หรือ ซื่อเจี้ยนสือ (ซื่อ = ทดสอบ เจี้ยน = กระบี่ สือ = หิน) ใช้ชื่อนี้เพราะเล่ากันว่า ฉินสื่อหวงตี้เคยใช้กระบี่ของพระองค์ฟันหินก้อนนี้ เพื่อทดสอบว่ากระบี่จะกล้าแข็งกว่าก้อนหินหรือไม่ ยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเนินเสืออีกมาก ขอยุติเพียงเท่านี้ บนเนินเสือมีเจดีย์ ซึ่งสร้างตั้งแต่ ค.ศ. 961 เป็นเจดีย์ 7 ชั้น 8 เหลี่ยม ดินแถวนี้ทรุดทำให้เจดีย์เอียง เขาพยายามหาวิธีที่จะพยุงเจดีย์นี้ไว้ เช่น ฝังเสาเข็มเพิ่มเติม แต่ก็ไม่สำเร็จ ขณะนี้เอียงไป 2.3 เมตรแล้ว ทำให้นึกถึงหอเอนปิซ่า ที่ข้าพเจ้าเคยขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1988 แต่ภายหลังเขาไม่อนุญาตให้ใครขึ้นแล้ว ที่นี่ก็เช่นกัน ห้ามไม่ให้ขึ้น ถ้าขึ้นได้ เมื่อไปถึงชั้นสูงสุด จะเห็นทิวทัศน์เมืองซูโจวได้อย่างดี จากนั้นไปนั่งพักดื่มน้ำชาที่สวนจิ่งซาน เรื่องดื่มน้ำชานี้สำหรับข้าพเจ้าลำบากสักหน่อยหนึ่งคือ คนจีนสามารถรับประทานอาหารร้อนๆ น้ำร้อนมากได้ เมื่อข้าพเจ้ารอให้น้ำเย็นลงสักนิดหนึ่งแล้วค่อยดื่ม เขาก็เติมน้ำร้อนไปจนดื่มไม่ได้อีก ตกลงเลยไม่ได้ดื่ม ออกไปชมสวนบอนไซ มีบอนไซกระถางเป็นร้อยๆ เมื่อกลับถึงโรงแรม คุณหวังคนขับรถ ซึ่งทำงานในมณฑลเจียงซูมา 20 ปีแล้ว ให้ข้าพเจ้าเซ็นชื่อในสมุดที่ระลึก ในสมุดเล่มนั้น คนที่เซ็นก่อนข้าพเจ้าคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช พวกข้าราชการสถานกงสุลมาจากเซี่ยงไฮ้ แต่แรกคิดว่าเขาจะมาร่วมการเลี้ยงอาหารคืนนี้ด้วย แต่ปรากฏว่าเป็นภัตตาคารเล็กเลยไปไม่ได้

เจียงหนานแสนงามหน้า284,289

(น. 284) วันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน 2542
เช้านี้อึ่งบอกว่าทางโรงแรมตกใจว่าเขาอุตส่าห์โทรมาปลุกแล้วทำไมข้าพเจ้าไม่รับโทรศัพท์ ตื่นหรือเปล่าให้ช่วยไปดู ที่จริงข้าพเจ้าลุกไปไหนๆ เสียนานแล้ว รับประทานอาหารเช้าแล้ว ไปสถานีรถไฟ ทางการจีนจัดรถไฟให้ แต่ให้ข้าพเจ้านั่งในห้องพิเศษอยู่สองคนกับท่านทูตจังเหลียน ตอนนี้ไม่ค่อยจะเดือดร้อนแล้วเรื่องนั่งกับคนจีน เพราะข้าพเจ้าพอจะพูดกับเขาเข้าใจแล้ว ท่านทูตจังเหลียนพูดภาษาอังกฤษได้ แต่ข้าพเจ้าพยายามพูดภาษาจีน ถือว่าเป็นโอกาสฝึก ตอนแรกเขาเปิดเพลงออกลำโพงดังมาก ข้าพเจ้าไม่กล้าว่าเขา แต่ท่านทูตจังเหลียนออกไปจัดการ เพลงก็หยุดไป เดี๋ยวนี้เป็นแฟชั่นว่าทุกคนต้องฟังเพลงดังๆ เมืองไทยก็เหมือนกัน ไปงานที่ไหนก็ทรมานกับเรื่องนี้ รถหยุดที่เมืองคุนซาน ชมทิวทัศน์สองข้างทางรถไฟเห็นไร่นาอุดมสมบูรณ์ดี ช่วงนี้หลังการเก็บเกี่ยวข้าว เขาปลูกผักกวางตุ้ง ผักกาด มีสวนผลไม้บ้าง หยุดที่เซี่ยงไฮ้อีกแห่ง ก่อนจะไปถึงหังโจว ในรถไฟข้าพเจ้าพยายามใช้เวลาเขียนเรื่องเกี่ยวกับการเดินทางครั้งนี้ ที่จริงก็ยากหน่อย เพราะไม่ได้เขียนมาพักใหญ่แล้ว เล่าให้ท่านทูตจังเหลียนฟังว่า การเขียนเรื่องไปเยือนต่างประเทศ แล้วพิมพ์เผยแพร่นั้น นอกจากจะเป็นการบันทึกเรื่องไว้แล้ว ยังเป็นการหาทุนสำหรับส่งนักเรียนเรียนหนังสือด้วย เรามีปัญหาที่คนยากจนไม่สามารถเรียนระดับสูงได้ ทุกคนต้องช่วยกัน มีคนเอาเงินมาให้

(น. 289) ในตู้แสดงภาพวาดและสร้างหุ่นรูปบ้านเรือนสมัยนั้นเป็นบ้านเรือนเครื่องผูก ใต้ถุนสูง แบบเดียวกับบ้านของผู้คนในสิบสองปันนา มีเครื่องมือทอผ้า เครื่องมือสานเสื่อ ฟั่นเชือก สิ่งของสมัยนั้นมีหัวไม้เท้าสลักเป็นรูปหนอนไหม นักโบราณคดีจึงสันนิษฐานว่า สมัยนั้นมีการเลี้ยงไหมแล้ว พบอุปกรณ์การทอผ้า เช่น กี่ และกระสวย พบเข็มทำด้วยกระดูก แสดงว่ามีการเย็บเสื้อผ้า พบเครื่องเขิน เศษเครื่องปั้นดินเผา มีลวดลายเป็นพืชและสัตว์ต่างๆ พบเครื่องหยกเก่าที่สุดในประวัติศาสตร์จีน งาแกะลายนก นกหวีดทำด้วยกระดูก มีการศึกษาวิจัยจากเศษพืชและกระดูกสัตว์ที่ขุดพบ แสดงว่าสมัยนั้นมีการตกปลาและเก็บพืช เช่น น้ำเต้า กระจับ ส่วนสัตว์มีช้าง แรด นกกระเรียน ซึ่งปัจจุบันมีแต่ในเขตร้อน ลิงหน้าแดง ปัจจุบันมีแต่ในสิบสองปันนาแสดงว่าสมัยก่อนอากาศอาจจะต่างจากปัจจุบัน มีรูปการขุดค้นพบเสาเรือน แสดงว่าตอนนั้นมีการปลูกเรือนโดยวิธีเข้าเดือยไม้ไม่ใช้ตาปู วัฒนธรรมหินใหม่เก่าแก่อีกแห่งที่พบคือ วัฒนธรรมหม่าเจียปัง พบทางตอนใต้ของแม่น้ำเฉียนถังเจียงในทศวรรษ 1950 พบเครื่องมือหิน ขวานหิน เครื่องปั้นดินเผา อายุประมาณ 6,000 หรือ 7,000 ปี วัฒนธรรมซงเจ๋ออยู่ใกล้เซี่ยงไฮ้ ประมาณ 5,900 ปีมาแล้ว พบเครื่องมือเกษตรที่ก้าวหน้าขึ้น แต่เครื่องปั้นยังมีลักษณะแบบโบราณ วัฒนธรรมเหลียงจู่ประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว อยู่ชานเมืองหังโจว แถบทะเลสาบไท่หู พบเมื่อ ค.ศ. 1936 มีเครื่องหยก เป็นหยกโปร่งแสงซึ่งหายาก ก่อนพบหยกในวัฒนธรรม

เจียงหนานแสนงามหน้า312,320,326,329

(น. 312) นั่งรถไปเมืองเซ่าซิง ระยะทาง 67 กิโลเมตรจากหังโจวไปทางตะวันออก สุราของเมืองนี้มีชื่อเสียงก้องโลก ผลิตมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 จนถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ จักรพรรดิซ่งเกาจงเคยมาประทับที่เมืองนี้ใน ค.ศ. 1130 เป็นเวลา 20 เดือน จึงเป็นเมืองหลวงชั่วคราวในช่วงนั้น เมืองเซ่าซิงเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมทางลำคลองในที่ราบเจ้อเจียงตอนเหนือ เสน่ห์ของเช่าซิงก็คือ คลองเล็กๆ และการนั่งเรือลอดสะพานหินโค้ง ในสมัยโบราณประมาณ 770 – 211 ปีก่อนคริสต์กาล เคยเป็นเมืองหลวงของแคว้นเย่ว์ ขณะนี้ยังเป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวมาน้อย มาดามจังเป็นคนเซ่าซิง ท่านจึงมากับข้าพเจ้า แต่ให้ข้าพเจ้านั่งรถกับมาดามเย่ว์ รถแล่นไปตามทางหลวงที่เดินทางต่อไปได้ถึงเมืองหนิงโป ผ่านสนามกีฬาที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง หอสมุดเจ้อเจียง ศูนย์การพาณิชย์ ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำเฉียนถัง มีทั้งสะพานรถแล่นและสะพานสำหรับรถไฟ โรงงานผลิตยา ผ่านภูเขาที่มีการระเบิดหินไปขายเซี่ยงไฮ้ แถวๆ เจียงซูไม่มีภูเขาหิน ต้องใช้หินแถวนี้ ในหังโจวและทางไปเซ่าซิงมีบ้านชาวนามากมาย สมัยนี้พวกเกษตรกรร่ำรวย สามารถสร้างบ้านส่วนตัวครอบครัวละหลัง ดูก็แปลกดีคือแบบเหมือนกันหมด เหมือนเป็นบ้านจัดสรร ไม่มีรั้ว ไม่มีบริเวณ มาดามเย่ว์บอกว่า เดี๋ยวนี้ชาวนาแถวนี้รวยมาก เวลาถึงฤดูทำงานไร่นาก็ไปจ้างคนอื่นทำ บ้านของเขาราคาสองแสนหยวน มี 4 ชั้น ทาสีชมพู กระจกหน้าต่างสีฟ้า หลังคาตัด แต่มีเรือนกระจกเล็กๆ ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างคลุมบันไดขึ้นดาดฟ้า บนเรือนเล็กมีหอ

(น. 320) เล่าเรื่องมาเสียยาวขอกลับเข้าเรื่องพิพิธภัณฑ์ หลู่ซวิ่นไปเป็นครูที่หังโจวใน ค.ศ. 1909 พิพิธภัณฑ์แสดงการทำภาพพืชอัดแห้ง หนังสือเรียน ค.ศ. 1912 ไปปักกิ่ง ได้พบกับอาจารย์ไช่หยวนเผยอธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่งในตอนนั้น ค.ศ. 1927 ไปกว่างโจว ในปีนั้นเจียงไคเช็กก่อการรัฐประหาร หลู่ซวิ่นไม่พอใจ เลยไปอยู่เซี่ยงไฮ้ และอยู่ที่นั่นต่อมาจนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1936 ข้าพเจ้าได้ไปบ้านหลู่ซวิ่นและพิพิธภัณฑ์หลู่ซวิ่นที่เซี่ยงไฮ้แล้ว ผู้สนใจรายละเอียดดูได้ในหนังสือ “เย็นสบายชายน้ำ” ห้องสุดท้ายของพิพิธภัณฑ์เก็บรวบรวมหนังสือต่างๆ เดินไปโรงเรียนซานเว่ย โรงเรียนนี้หลู่ซวิ่นเรียนเมื่ออายุ 12 – 17 ปี เป็นที่ปูพื้นฐานด้านภาษาจีน ซึ่งเป็นประโยชน์กับชีวิตในอนาคตมาก โรงเรียนนี้เป็นสถานศึกษาเอกชนที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในเซ่าซิงสมัยราชวงศ์ชิง ข้าพเจ้าถามผู้บรรยายว่าชื่อโรงเรียนซานเว่ยซึ่งแปลตามศัพท์ว่าโรงเรียนสามรสชาตินั้น ฟังแล้วไม่เข้าใจว่ามีความหมายอะไรอีก ผู้บรรยายอธิบายว่าแต่เดิมโรงเรียนชื่อ ซานอวี๋ ซาน แปลว่า สามอวี๋ แปลว่า เวลาว่าง เหลือ เกิน คำนี้มาจากคำกล่าวของต่งอวี้ในสมัยสามก๊กที่กล่าวว่า ตงเจ่อซุ่ยจืออวี๋ เยี่ยเจ่อรื่อจืออวี๋ อินอวี่เจ่อ ฉิงจืออวี๋ แปลว่า ฤดูหนาวเป็นเวลาว่างของปี ค่ำคืนคือเวลาว่างของวัน ช่วงฝนตกครึ้มเป็นเวลาว่างของยามอากาศสดใส จึงควรใช้เวลาว่างนี้ศึกษาหาความรู้ให้เป็นประโยชน์ คุณปู่ของอาจารย์ของหลู่ซวิ่นชอบคำกล่าวนี้ จึงตั้งชื่อโรงเรียนว่า ซานอวี๋ (สามเวลาว่าง)

(น. 326) ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 ท่านโจวเอินไหลกลับมาเยี่ยมเมืองเซ่าซิง ในครั้งนั้นได้นำให้หนุ่มสาวชาวเซ่าซิงเสียสละประโยชน์ส่วนตนในการก่อการปฏิวัติ และต่อต้านญี่ปุ่น กอบกู้ชาติ ในเรือนหลังนั้นมีห้องที่อาจจะเกี่ยวกับท่านโจวเอินไหลคือ ห้องที่ปู่เคยอยู่และเด็กๆ ลูกหลานไปเล่น และหัดเขียนตัวอักษร นอกนั้นเป็นนิทรรศการเล่าเรื่องท่านโจว และเรื่องเมืองเซ่าซิง มีรูปว่าใครเป็นใครในตระกูลของท่านโจว มีบรรพบุรุษเป็นเสนาบดี เล่าเรื่องคนที่มีชื่อเสียงในเมืองนี้ตั้งแต่จักรพรรดิอวี่ กวีลู่โหยว หลู่ซวิ่น ชิวจิ่น ไช่หยวนเผย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง มีกลอนที่ท่านโจวแต่ง คำพูดที่ว่า “ผมเป็นคนเซ่าซิง” งานอุตสาหกรรมของเซ่าซิงที่ว่าท่านโจวมาช่วยพัฒนาคือ การทำเหล้า ด้านวัฒนธรรมมีงิ้วเซ่าซิง กำหนดการเดินทางของท่านโจวตอนเดินทางมาเซ่าซิง โอวาทที่เขียนให้พวกญาติไม่ให้ลืมวีรสตรีชิวจิ่น ให้สร้างเกียรติประวัติ ภาพทะเลสาบเจี้ยนหู และภาพงานฉลอง 100 ปีท่านโจว ข้ามถนนไปอีกฟากมีรูปหล่อทองแดงท่านโจวไว้สำหรับให้คนที่นี่จัดงานรำลึกถึงท่าน ขากลับคุยกันถึงเรื่องปัญหาบ้านเมืองในปัจจุบัน ฝ่ายจีนเขาว่าข้าพเจ้าควรเรียนคำจีนเอาไว้สองคำเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์สภาพเศรษฐกิจ คือ เฟินหลิว แปลว่า ให้ออกไปเรียนหนังสือ ไปเรียนเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับงานเก่า กับ เซี่ยกั่ง แปลว่า ตกงาน เวลานี้ตามหน่วยงานต่างๆ ให้คนออกไปแยะแล้ว กงสุลและคุณโสภา ภรรยา รวมทั้งคุณพิริยะ มาลา พรุ่งนี้จะกลับเซี่ยงไฮ้แล้ว

(น. 329) ค่ำนี้รองผู้ว่าฯ เย่ว์เลี้ยงส่งที่เรือนรับรองซีหู มาดามเย่ว์ “สอบ” ทุกคนว่ามีความคิดเห็นเรื่องหังโจวอย่างไร และเล่าว่าที่นี่มีความสำคัญหลายอย่าง เกาะดอกท้อในเรื่องมังกรหยกก็ไม่ไกลจากที่นี่นัก คิสซินเจอร์กับนิกสันก็มาที่นี่ ตอนนี้มีผู้มาลงทุนมาก มาดามไปที่เมืองไทยเห็นมีนิคมอุตสาหกรรม กลับมาก็เลยผลักดันให้ที่นี่มีบ้าง แสดงว่าการออกไปศึกษาจากต่างประเทศมีประโยชน์ ตอนนี้พยายามปรับปรุงการตลาด ผลิตของให้มีคุณภาพ บริการส่งให้ถึงลูกค้า สร้างความสัมพันธ์กับมณฑลอื่น เช่น นำถ่านหินจากมณฑลส่านซี ใบยาสูบจากมณฑลยูนนาน มณฑลเจ้อเจียงผลิตชิ้นส่วนของรถยนต์ป้อนโรงงานผลิตรถยนต์ในมณฑลหูเป่ย จี๋หลินและมหานครเซี่ยงไฮ้ การติดต่อเช่นนี้กับต่างประเทศก็ทำได้เหมือนกัน เช่น สัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาในการผลิตโทรศัพท์มือถือโมโตโรลา มณฑลนี้ทรัพยากรมีไม่มากนัก ต้องรับจากมณฑลอื่น ต้องวางแผนการลงทุนในที่อื่น เช่น เมื่อที่เซี่ยงไฮ้เปิดเขตอุตสาหกรรมผู่ตง บริษัทในมณฑลเจ้อเจียงก็ไปลงทุนทำกิจการที่นั่นด้วย

เจียงหนานแสนงามหน้า340

(น. 340)
3. การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวของยูนนานอาศัยทัศนียภาพธรรมชาติที่สวยงาม โบราณสถานที่น่าสนใจ และประเพณีหลายหลากของชนกลุ่มน้อย ถือได้ว่ามีทรัพยากรท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ที่สุดมณฑลหนึ่ง เมื่อปีที่แล้วในบรรดา 31 มณฑลและนครของประเทศรวมกัน ยูนนานถือได้ว่าเป็นอันดับที่ 7 ในด้านการท่องเที่ยวและเป็นที่ 1 ในภาคตะวันตก มณฑลที่ประสบความสำเร็จทางด้านการท่องเที่ยวส่วนมากเป็นมณฑลทางทิศตะวันออก ได้แก่ มณฑลกวางตุ้ง นครปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง มณฑลฮกเกี้ยน
4. อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อัญมณี และการป่าไม้ ในสี่ปีมานี้การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้เพิ่มขึ้นมากมาย การขยายสนามบินที่คุนหมิงก็เสร็จแล้ว ยังมีสนามบินใหม่อีก 4 แห่ง คือที่ลี่เจียง ต้าหลี่ (สองแห่งนี้เปิดใช้แล้ว) อีกสอง

เจียงหนานแสนงามหน้า346,358

(น. 346) มีสวนผัก มีผักนานาชนิด สวนไม้ผล มีมะเขือ ต้นทับทิมดอกสีแดง ต้นผีผา ต้นซานจา หรือเซียงจาในภาษาจีนแต้จิ๋ว ต้นแปะก๊วย และอื่นๆ สวนบอนไซ เอาไม้ดัดกระถางมาตั้งไว้รวมกันให้คนดู บางต้นที่นำมามีอายุมากกว่า 200 ปี เช่น ต้นอวี๋มาจากเซี่ยงไฮ้ เมื่อเสร็จงานก็ต้องคืนเซี่ยงไฮ้ไป มีต้นไม้หลายชนิด เช่น สน 5 ใบ ต้นไทร ต้นหม่ายอิงซึ่งเป็นตู้จวนชนิดหนึ่ง ต้นท้อ มีรูปร่างแปลก (ที่จริงก็เป็นต้นไม้พิการ ต้นบิดเบี้ยวทำให้สวยไปอีกอย่าง) ที่เห็นนี้เป็นของชั้นรองๆ เขาว่าต้นที่ดีๆ จะนำมาวันที่ 25 ไปแล้ว มีมุมจัดแสดงไม้กลายเป็นหิน และรากไม้ตกแต่งเป็นรูปหลากหลาย เช่น รูปร่างคล้ายสิงโต มีสวนกระบองเพชรพันธุ์ต่างๆ การจัดสวนบนแผ่นหิน มีหลักกำหนดว่าสวนหนึ่งๆ จะต้องมีภูเขา สระน้ำ ต้นไม้ ดอกไม้ ทำให้มีชีวิตชีวา


(น. 346) รูป 231 สวนไม้ดัด
Bonsai Garden.


(น. 358) รูป 242 คนไทยในยูนนาน
Thai community in Yunan.

(น. 358) ข้าพเจ้าได้ดูการสัมภาษณ์ท่านทูตเดนมาร์กประจำประเทศจีนเล่าเรื่องสวนเดนมาร์กว่า เขาจัดสวนตามเรื่องของฮันส์คริสเตียน แอนเดอร์สัน มีต้นไม้ ดอกไม้ นกที่กล่าวในเรื่อง พิมพ์หนังสือนิทานแจกคนที่มางานด้วย มีส่วนหนึ่งของสวนจัดเป็นมุมเด็ก ให้เด็กมาต่อเลโก้ซึ่งถือว่าเป็นผลผลิตของเดนมาร์ก เจ้าชายเดนมาร์กและพระชายาจะเสด็จมาในงาน พระชายาเป็นชาวฮ่องกง มีบรรพบุรุษเป็นคนเซี่ยงไฮ้ จึงรู้สึกว่าสองประเทศคือ จีนกับเดนมาร์กมีความใกล้ชิดกัน

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 14,16,17


(น.14) รูป 11 บริเวณจัตุรัสเฉาเทียนเหมิน
Chao Tian Men Plaza.

(น.14) มองเห็นกระเช้าไฟฟ้า และรถไฟฟ้าสำหรับลงไปที่แม่น้ำ บริเวณจัตุรัสมีน้ำพุตามเพลง มีต้นไม้ 7 ต้นที่เก็บไว้ไม่ตัดทิ้ง ต้นไม้เหล่านี้จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของจัตุรัส บริเวณนี้เป็นที่ตั้งท่าเรือสำคัญลงไปถึงมหานครเซี่ยงไฮ้ และออกไปค้าขายถึงญี่ปุ่นด้วย จากนั้นไปที่ถนนศูนย์การค้าที่จัดเป็นถนนคนเดินไม่ให้รถเข้าไป เขาบอกว่าศูนย์การค้านี้กิจการดีมาก เก็บภาษีได้แยะ มีอนุสาวรีย์ปลดแอก สมัยก่อนเป็นสถานที่สูงที่สุดในนครฉงชิ่ง รัฐบาลสมัยก่อนมีนโยบายไม่ให้ก่อสร้างอาคารใดที่สูงกว่าอนุสาวรีย์นี้ (น.16) กลับโรงแรมเตรียมตัวเก็บของ แล้วไปรับประทานอาหารกลางวันที่สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานนี้ก็สร้างใหม่ เป็นตึกใหญ่ มีห้องสำหรับรับแขก มีพ่อครัวฝีมือดี มาดามเฉินบอกว่าคนที่ฉงชิ่งชอบ enjoy ชีวิตอยู่ดีกินดีกว่าคนที่ปักกิ่ง มาดามเฉินเล่าว่าชื่อจี้หว่า ซึ่งเป็นชื่อที่แปลกไม่มีคนเขาชื่อกัน เพราะเกิด ค.ศ. 1954 ปีนั้นนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลนำคณะไปประชุมสันติภาพที่เจนีวา เป็นเรื่องที่คนจีนตื่นเต้นกันมาก คุณพ่อจึงนำเหตุการณ์นี้มาตั้งชื่อลูก จี้ ย่อมาจาก กั๋วจี้ แปลว่า นานาชาติ ส่วน หว่า มาจากคำว่า เจนีวา มีน้องสาวฝาแฝด พ่อตั้งชื่อว่า เว่ยผิง แปลว่า พิทักษ์สันติภาพ พบนายกเทศมนตรี ท่านกล่าวต้อนรับบอกว่าคนจีนยังจำวันที่ข้าพเจ้ามาฉงชิ่งเมื่อ ค.ศ. 1996 ได้ (ที่จริงคือวันนี้เมื่อ 5 ปีก่อน) ตอนนั้นฉงชิ่งขึ้นกับมณฑลเสฉวน แต่ขณะนี้สภาพของฉงชิ่งเปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1997 สภาประชาชนแห่งชาติมีมติยกฐานะฉงชิ่งเป็นมหานคร ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง นับเป็นมหานครแห่งที่ 4 ในระบบการปกครองของจีนปัจจุบัน และเป็นแห่งแรกของพื้นที่ทางภาคตะวันตก ขณะที่อีก 3 มหานครที่มีอยู่แล้วคือ ปักกิ่ง เทียนสิน เซี่ยงไฮ้ อยู่ทางตะวันออก ความเปลี่ยนแปลงนั้นสรุปได้ว่ามีพื้นที่บริหารมากขึ้น จาก 20,000 ตารางกิโลเมตร เป็น 82,000 ตารางกิโลเมตร ประชากรในความรับผิดชอบมากขึ้นเท่าตัว จาก 15 ล้านคน เป็น 30.9 ล้านคน โครงสร้าง

(น.17) ทางเศรษฐกิจก็เปลี่ยนแปลงไป มีเอกลักษณ์พิเศษคือ มีทั้งอุตสาหกรรมหนักและการเกษตร เศรษฐกิจเมืองใหญ่ และชนบท งานโครงการเขื่อนซานเสียก็ต้องดูแล ตัวเขื่อนใหญ่จะอยู่ที่เมืองอี๋ชางในมณฑลหูเป่ย แต่ปิดเขื่อนแล้วส่วนที่เป็นอ่างเก็บน้ำจะอยู่ในฉงชิ่งเป็นส่วนใหญ่ (500 ตารางกิโลเมตร จาก 650 ตารางกิโลเมตร) ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติตามนโยบายเปิดสู่ตะวันตกของประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน ให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของแม่น้ำแยงซีตอนบน มีหน้าที่ดูแลการอพยพผู้คน คาดว่าเมื่อเขื่อนแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2009 จะต้องย้ายคนถึง 1,030,000 คน ขณะนี้น้ำยังไม่ขึ้น ได้ไปตระเตรียมสถานที่ย้ายคนเป็นอย่างดี แต่ยังไม่ได้ย้ายทั้งหมด นอกจากจะย้ายไปอยู่ตามเมืองต่างๆ ที่กะเอาไว้เดิมแล้ว ยังต้องกระจายไปตามมณฑลต่างๆ ด้วย เช่น ซานตง อานฮุย เจียงซู มหานครเซี่ยงไฮ้ (ซั่งไห่) เจ้อเจียง ฮกเกี้ยน (ฝูเจี้ยน) กวางตุ้ง (ก่วงตง) เจียงซี หูหนาน หูเป่ย เสฉวน (ซื่อชวน) ข้าพเจ้าถามถึงสวนส้มริมฝั่งน้ำ ท่านนายกเทศมนตรีรับรองว่า สวนที่ย้ายไปสร้างใหม่จะมีปริมาณมากขึ้นและรสอร่อยขึ้น เพราะว่ามีเทคโนโลยีดีขึ้น ฉงชิ่งยินดีรับนักลงทุนต่างประเทศ

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 123

(น.123) มณฑลตะวันตกอื่นๆ ก็มีการช่วยเหลือเหมือนกันแต่ทิเบตได้มากสุด เท่าที่ปฏิบัติมา นครปักกิ่งกับมณฑลเจียงซูช่วยลาซา ซานตงและเซี่ยงไฮ้ช่วยรื่อคาเจ๋อ หูหนานกับหูเป่ยช่วยซานหนาน ฮ่องกงก็สนใจที่จะช่วย แต่ยังไม่ได้กำหนดว่าจะมีบทบาทอย่างไร เมื่อมีการประชุมที่ฮ่องกง ต่งเจี้ยนหัว ผู้นำฮ่องกงกล่าวว่าฮ่องกงพร้อมที่จะร่วมนโยบายพัฒนาภาคตะวันตกของจีน เร็วๆ นี้มีพ่อค้าฮ่องกง 100 กว่าคนมาดูงาน วันนี้พยายามไม่ดื่ม แต่คณะทิเบตชวน ไม่เป็นอะไร

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 211,220

(น.211) ต่างประเทศ แต่เป็นฝ่ายพูดภาษาอังกฤษ (ครูจี้พูดภาษาฝรั่งเศส) และมีน้องสาวของท่านทูตเหลียงเฟิงอีกคนหนึ่ง ครูจี้หนานเซิงไม่ได้ทำกับข้าว เอาแต่ไปสั่งที่ร้านอาหารต่างๆ หลายร้าน มีทั้งอาหารเสฉวน อาหารเซี่ยงไฮ้ (ครูจี้หนานเซิงเป็นคนเซี่ยงไฮ้) มีขนมกวางตุ้งเพราะท่านทูตเหลียงเฟิงเป็นคนกวางตุ้ง มีผลไม้พีชกับองุ่น เมื่อรับประทานอาหารแล้วคุยกันพักหนึ่ง ข้าพเจ้ากลับไปที่มหาศาลาประชาชน เพื่อไปรับรางวัลวรรณกรรมเพื่อความเข้าใจและมิตรภาพระหว่างประเทศ (International Literary Prize for Understanding and Friendship) อุปนายกสมาคมนักเขียนที่ข้าพเจ้าเคยพบที่บ้านหวังเหมิ่ง พาไปนั่งในห้องมีใครต่อใครมากันหลายคน ทั้งนักเขียน เช่น หวังเหมิ่ง ฟังฟัง และผู้ที่เกี่ยวข้อง ประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิวรรณกรรมแห่งชาติจีนชื่อ ท่านว่านหลี่ อายุ 85 ปี ยังแข็งแรง ตีเทนนิสได้ แต่ว่าหูตึง ข้าพเจ้าจะคุยด้วยต้องให้หลานของท่านเป็นล่ามหรือเป็นเครื่องขยายเสียงให้ อาจารย์มหาวิทยาลัยปักกิ่งมากันหลายคน เมื่อมาพร้อมกันแล้ว เข้าไปในห้องทำพิธี มีคนประมาณ 200 กว่าคน

(น.220) ที่กล่าวถึงสายแพรยาวเปรียบเทียบกับสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ส่งทหารไปจับหนานเยว่หวัง (กษัตริย์แห่งหนานเยว่) ก่อนที่จะเดินทางไป นายพลทูลขอสายแพรยาวจากฮั่นอู่ตี้ เพื่อที่จะมัดหนานเยว่หวังกลับมา มังกรดำ หรือชังหลง เป็นกลุ่มดาวฤกษ์ทิศตะวันออก มี 7 ดวง รวมกันเรียกว่า ชังหลง มีความหมายว่า มังกรเขียวหรือน้ำเงินอมดำ ตามคติความเชื่อของจีน ทิศหนึ่งมีดาว 7 ดวง 4 ทิศ รวม 28 ดวง ดาวเหล่านี้ใช้ในการผูกดวง ดูดวงชะตาด้วย ทิศตะวันออกในบทกวีสื่อความถึงทิศทางที่ไปนครหนานจิง ซ่างไห่ (เซี่ยงไฮ้) “จะมัดมังกรทิศตะวันออกเมื่อไร” ให้นัยว่า จะไปปราบเจียงไคเช็ค ศัตรูซึ่งอยู่ทางตะวันออกเมื่อไร เป็นคำถามที่แสดงถึงความมุ่งมั่นอยากไปให้ถึงจุดมุ่งหมายโดยเร็ว ท่านรองนายกฯ เล่าให้ฟังว่าท่านเป็นคนดูแลเรื่องเศรษฐกิจและชลประทาน มีปัญหาเรื่องน้ำแล้งและน้ำท่วม เช่น เมื่อ ค.ศ. 1998 ต้องเกณฑ์ทหาร 300,000 นาย ยิ่งกว่าต่อสู้ศัตรูที่เป็นคน เรื่องชลประทานถือว่าเป็นหัวใจ ความรุ่งเรืองความเสื่อมของประเทศขึ้นกับชลประทาน ตอนนี้กำลังทำโครงการแม่น้ำโขง ศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาด้านต่างๆ เช่น คมนาคม อุทกวิทยา

กลับที่พัก
มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 13

(น.13) อาทิตย์ที่ 8 เมษายน 2533
เช้านี้อากาศเย็นตามเคย ก่อนอาหารเช้าออกไปเดินเล่น หมอเชิดชัยกับอาจารย์สารสินไปวิ่งออกกำลังกายมารอบหนึ่งแล้ว ที่นี่สวนสวย แปลกที่คราวก่อนข้าพเจ้าไม่ยักคิดออกมาเดินเล่น เห็นถังขยะทำเป็นรูปสิงโต ช้าง หมีแพนด้า กบ เลยถ่ายรูปไว้ ในสวนมีหงส์กับนกยูงด้วย แต่ก่อนเราอยู่ตึก 2 07.30 น. กลับบ้านไปรับประทานอาหาร มีข้าวต้ม 2 ชนิด คือ ข้าวต้มข้าวฟ่าง กับข้าวต้มใส่ถั่วเขียว กับข้าวมี เต้าหู้ ไก่ผัดแตง ซีเซ็กฉ่าย ดอกไม้เหลือง ของหวานมีโรตีกับพุทราทอด ข้าพเจ้าถามท่านทูตถึงเช่าซิง ที่ว่าเป็นบ้านเกิดของหลู่ซุ่น ท่านทูตเล่าว่าอยู่ใกล้ ๆ กับเซี่ยงไฮ้ ยังมีบ้านหลู่ซุ่นตั้งโต๊ะตัวเดิมเอาไว้ มีโรงเรียนเก่าของหลู่ซุ่น ร้านขายสุราร้านเดิมที่หลู่ซุ่นเคยเขียนถึง มีโรงงานทำเหล้าเหลือง พูดถึงเหล้าข้าพเจ้าสงสัยว่ามาคราวนี้ไม่เห็นมีเหมาไถ ท่านทูตว่าทั่ว ๆ ไปในพิธีการเขาก็ไม่ค่อยใช้เหมาไถกันแล้ว เพราะว่าเปลืองรับประทานแล้วเมากันมาก ท่านทูตเล่าต่อไปถึงวนอุทยานเซียงซานที่จะไปเที่ยวกันเช้านี้ว่า แต่ก่อนนี้แถว ๆ เซียงซานยังไม่เปิดให้ชม ทางจีนเขาค่อย ๆ บูรณะ และเปิด

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 181

(น.181) กัน สัญญาณที่จุดติดต่อจะต้องนัดกันไว้ก่อนว่าสัญญาณแบบไหนแปลว่าอะไร ที่ปรึกษาเช่าอธิบายว่าสมัยโบราณไม่มีโทรศัพท์หรือเทเล็กซ์ก็ต้องทำแบบนี้แหละ เครื่องมือส่งสัญญาณคือต้นกกแห้งมัดเป็นฟ่อนและจุดไฟให้มีควันเห็นไปได้ไกล เมืองนี้แต่เดิมไม่มีอะไรเลยไม่เป็นเมืองเสียด้วยซ้ำไป เป็นแต่ด่าน เมื่อมีการพัฒนาอุตสาหกรรมถลุงเหล็กก็เลยตั้งเป็นเมืองเมื่อ ค.ศ. 1958 เอาคนมาจากภาคอีสานเป็นส่วนใหญ่ สังเกตดูคนแถวนี้จะพูดภาษาอีสาน เด็กเกิดใหม่ก็พูดอีสาน ตัว (รอง) นายกเทศมนตรีก็มาจากมณฑลเหอเป่ย เป็นสถาปนิกจบจากมหาวิทยาลัยชิงหัวที่ปักกิ่ง อยู่ในตำแหน่งมา 2 สมัยแล้ว แต่แรกมีแผนว่าจะทำเมืองนี้ให้เป็นเมืองเซี่ยงไฮ้ กะว่าจะให้มีพลเมืองสองล้านคน แต่ผิดแผนก็เลยมีคนไม่มาก เขาอธิบายว่าตั้งแต่เปิดโรงแรมมาข้าพเจ้าเป็นแขกมีเกียรติ ใหญ่โตที่สุด ทางโรงแรมก็เลยปักธงให้เยอะแยะ แบ่งเป็นธงใหญ่ 360 ผืน ธงเล็ก 720 ผืน รวมเป็น 1,080 ผืน เป็นเลขมงคล รู้สึกเขาจัดเตรียมต้อนรับถี่ถ้วนมาก มีของขวัญให้หลายอย่าง เช่น เหรียญที่ระลึก หินจากทะเลทรายโกบีมาประดิษฐ์เป็นรูปตุ๊กตา ที่น่าดูที่สุดเห็นจะเป็นภาพเขียนแบบจีนแต่มีขนาดเล็ก ยาวเหยียด ไม่เคยเห็นที่ไหนเลย ได้ความว่าจิตรกรวาดให้เป็นพิเศษ เป็นภาพกำแพงเมืองจีน ป้อมเจียยู่กวน ภูเขาฉีเหลียน และภูเขาเฮย (เฮย – ดำ) รับประทานเสร็จแล้วค่อนข้างจะดึก เพราะอาหารมากกินช้า ข้าพเจ้าขึ้นมาเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ซุปมาช่วยอ่านเรื่อง และคุยกันถึงทฤษฎีต่าง ๆ เรื่องคนกลุ่มน้อยใครเป็นเผ่าไหนเป็นเรื่องยุ่งมาก เราคงจะต้องยึดตำราสักเล่มหนึ่งแล้วลองสอบเทียบดู

Next >>