Please wait...

<< Back

เสฉวน

ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 145

(น.145) จากนั้นเดินทางทางรถยนต์เพื่อไปสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนา มาดามเฉินเล่าว่าคนที่เริ่มต้นทำสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ เมื่อประมาณ 60 ปีมาแล้วชื่อนายไช่ซีเถา เดินเท้ามาจากมณฑลเสฉวน การสร้างสวนพฤกษศาสตร์เช่นนี้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนชาวยูนนานเป็นอย่างมาก แถวๆ นี้มีพื้นที่มาก ประชากรน้อย ต้องหาอาชีพต่างๆ ให้โดยการนำเอาพืชจากประเทศต่างๆ มาปลูก ยาสูบซึ่งปัจจุบันเป็นรายได้หลักของมณฑลก็ได้นำพันธุ์ดีจากสหรัฐฯ มาปลูก ชาวไต่หรือชาวไทลื้อนี้ มาดามบอกว่าผู้หญิงทำงานมากกว่าผู้ชาย ภรรยาเห็นสามีทำงานหนักมากก็รู้สึกไม่สบายใจ ต้องแบ่งมาทำมากกว่าแบบนี้ไม่ทราบตีความว่าผู้หญิงถูกกดขี่ หรือผู้หญิงมีค่าต่อสังคมมากกว่าผู้ชาย สิ่งที่พัฒนายากที่สุดคือเรื่องการศึกษาเป็นงานที่ใช้เงินมาก งบประมาณ 3,000 ล้านหยวนก็ยังไม่พอ มีทางที่จะช่วยเหลือตั้งเป็นโครงการ “ความหวัง” ซี ว่าง กง เชอ เปิดโอกาสให้ประชาชน บริษัทองค์กรต่างๆ บริจาคช่วยเด็ก ให้ค่าหนังสือเรียนคนละ 60 หยวน/ปี เด็กพวกนี้ไม่ต้องเสียค่าอาหาร ช่วยให้มีรายได้ระหว่างเรียนการขายพืชต่างๆ ยังยากเพราะถนนยังไม่ดีทั่วถึง เช่น แตงโมที่นี่ขายราคาถูกมากแต่ปักกิ่งแพงมาก

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 8

(น.8) นั่งเครื่องบินชั่วโมงกว่าไปฉงชิ่ง (คนไทยเรียกเคลื่อนไปเป็นจุงกิง) กว่าจะถึงก็ดึกแล้ว ที่ฉงชิ่งมีรองกงสุล (คุณชฤต) คอยรับ ฝ่ายจีนมีหัวหน้าฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ของฉงชิ่ง ซึ่งเคยรับข้าพเจ้าเมื่อ 5 ปีมาแล้ว (ค.ศ. 1996) คนอื่นๆ ที่เคยรู้จักย้ายไปทำงานที่อื่นกันหมดแล้ว ค.ศ. 1997 รัฐบาลกลางยกฐานะฉงชิ่งเป็นมหานคร แยกออกจากมณฑลเสฉวน เป็นมหานครที่ขึ้นตรงกับรัฐบาลกลางเพียงมหานครเดียวที่อยู่ทางทิศตะวันตก และเป็นมหานครที่มีคนอยู่ในชนบทมากกว่าอยู่ในเมือง ขณะที่มหานครอื่นๆ มีคนอยู่ในเมืองมากกว่า มีผู้ถามว่าเหตุใดรัฐบาลจึงไม่แยกฉงชิ่งออกเป็นมณฑลอีกมณฑลเพราะมีประชากรมาก อธิบายว่าขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาภาคตะวันตก ต้องการให้ฉงชิ่งเป็นผู้นำการพัฒนา การเป็นมหานครขึ้นตรงกับรัฐบาลกลางดูแลง่ายกว่า ฉงชิ่งจะต้องดูแลโครงการเขื่อนซานเสีย ดูแลการอพยพประชาชนให้สำเร็จเรียบร้อยก่อน ค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นปีที่กำหนดให้เดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชุดแรก ใน ค.ศ. 2009 โครงการซานเสียจะสำเร็จบริบูรณ์ บริเวณที่เป็นผืนน้ำจะกว้างถึง 600 ตารางกิโลเมตร การกั้นน้ำทำให้น้ำไหลช้าลง

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 16-17

(น.16) มาดามเฉินเล่าว่าชื่อจี้หว่า ซึ่งเป็นชื่อที่แปลกไม่มีคนเขาชื่อกัน เพราะเกิด ค.ศ. 1954 ปีนั้นนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลนำคณะไปประชุมสันติภาพที่เจนีวา เป็นเรื่องที่คนจีนตื่นเต้นกันมาก คุณพ่อจึงนำเหตุการณ์นี้มาตั้งชื่อลูก จี้ ย่อมาจาก กั๋วจี้ แปลว่า นานาชาติ ส่วน หว่า มาจากคำว่า เจนีวา มีน้องสาวฝาแฝด พ่อตั้งชื่อว่า เว่ยผิง แปลว่า พิทักษ์สันติภาพ พบนายกเทศมนตรี ท่านกล่าวต้อนรับบอกว่าคนจีนยังจำวันที่ข้าพเจ้ามาฉงชิ่งเมื่อ ค.ศ. 1996 ได้ (ที่จริงคือวันนี้เมื่อ 5 ปีก่อน) ตอนนั้นฉงชิ่งขึ้นกับมณฑลเสฉวน แต่ขณะนี้สภาพของฉงชิ่งเปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1997 สภาประชาชนแห่งชาติมีมติยกฐานะฉงชิ่งเป็นมหานคร ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง นับเป็นมหานครแห่งที่ 4 ในระบบการปกครองของจีนปัจจุบัน และเป็นแห่งแรกของพื้นที่ทางภาคตะวันตก ขณะที่อีก 3 มหานครที่มีอยู่แล้วคือ ปักกิ่ง เทียนสิน เซี่ยงไฮ้ อยู่ทางตะวันออก ความเปลี่ยนแปลงนั้นสรุปได้ว่ามีพื้นที่บริหารมากขึ้น จาก 20,000 ตารางกิโลเมตร เป็น 82,000 ตารางกิโลเมตร ประชากรในความรับผิดชอบมากขึ้นเท่าตัว จาก 15 ล้านคน เป็น 30.9 ล้านคน โครงสร้าง

(น.17) ทางเศรษฐกิจก็เปลี่ยนแปลงไป มีเอกลักษณ์พิเศษคือ มีทั้งอุตสาหกรรมหนักและการเกษตร เศรษฐกิจเมืองใหญ่ และชนบท งานโครงการเขื่อนซานเสียก็ต้องดูแล ตัวเขื่อนใหญ่จะอยู่ที่เมืองอี๋ชางในมณฑลหูเป่ย แต่ปิดเขื่อนแล้วส่วนที่เป็นอ่างเก็บน้ำจะอยู่ในฉงชิ่งเป็นส่วนใหญ่ (500 ตารางกิโลเมตร จาก 650 ตารางกิโลเมตร) ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติตามนโยบายเปิดสู่ตะวันตกของประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน ให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของแม่น้ำแยงซีตอนบน มีหน้าที่ดูแลการอพยพผู้คน คาดว่าเมื่อเขื่อนแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2009 จะต้องย้ายคนถึง 1,030,000 คน ขณะนี้น้ำยังไม่ขึ้น ได้ไปตระเตรียมสถานที่ย้ายคนเป็นอย่างดี แต่ยังไม่ได้ย้ายทั้งหมด นอกจากจะย้ายไปอยู่ตามเมืองต่างๆ ที่กะเอาไว้เดิมแล้ว ยังต้องกระจายไปตามมณฑลต่างๆ ด้วย เช่น ซานตง อานฮุย เจียงซู มหานครเซี่ยงไฮ้ (ซั่งไห่) เจ้อเจียง ฮกเกี้ยน (ฝูเจี้ยน) กวางตุ้ง (ก่วงตง) เจียงซี หูหนาน หูเป่ย เสฉวน (ซื่อชวน) ข้าพเจ้าถามถึงสวนส้มริมฝั่งน้ำ ท่านนายกเทศมนตรีรับรองว่า สวนที่ย้ายไปสร้างใหม่จะมีปริมาณมากขึ้นและรสอร่อยขึ้น เพราะว่ามีเทคโนโลยีดีขึ้น ฉงชิ่งยินดีรับนักลงทุนต่างประเทศ

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 35

(น.35) ข้าพเจ้าเคยไปเล่นไถลลงมาจากเนินทรายที่หมิงซาซาน แต่ที่ซาปอติ่งใหญ่กว่าและชันกว่า ไม่เคยเห็นเนินทรายใหญ่อย่างนี้เลย เลยไม่กล้าลองเพราะเดี๋ยวไม่สบายจะอดเดินทางต่อ ทิวทัศน์ก็สวยงาม มองเห็นภูเขาเซียงซานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาฉีเหลียนซาน โค้งแม่น้ำหวงเหอตรงนี้ก็เป็นโค้งใหญ่ มองไปไกลลิบๆ อีกฟากของแม่น้ำมีศาลาเล็กๆ เรียกว่า ศาลาชมแม่น้ำ ตรงกลางมีแนวกั้นน้ำ ไกด์บอกว่าเสมือนดั่ง “ตูเจียงเอี้ยน” ของหนิงเซี่ย (ตูเจียงเอี้ยน เป็นโครงการชลประทานโบราณอยู่ที่เสฉวน) โครงการที่เห็นนี้ผันน้ำจากแม่น้ำหวงเหอ ไปใช้ในอำเภอจงเว่ยและอำเภอจงหนิง ทำให้อำเภอจงเว่ยเป็นอำเภอหนึ่งที่ดีที่สุดในหนิงเซี่ย

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 56

(น.56) วิหารพระไมเตรยะ เมื่อเราเข้าไปเห็นพระกำลังสวดมนต์ วิหารหลังนี้สร้างใน ค.ศ. 1577 เดิมสร้างเป็นเจดีย์ ข้างในมีรูปพระอวโลกิเตศวร (พระกวนอิม) พระมัญชุศรี (พระเหวินซู) และพระวัชรปาณี (จินกัง) มีเสาไม้เก่าแก่เคยเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตรงนี้มาก่อน ถือว่าเป็นเสาศักดิ์สิทธิ์ มีรูปพระไมเตรยะ ซึ่งบรรจุเกศาของพระอาจารย์จงคาปา ขอเขาเข้าไปดูโรงพิมพ์โบราณของวัดที่พิมพ์พระไตรปิฎก และคัมภีร์ทิเบตต่างๆ แม่พิมพ์ไม้เก็บไว้อย่างดีในชั้น เป็นของโบราณ (ราชวงศ์หมิง ?) แต่ถ้าแผ่นไหนชำรุดก็ซ่อมแซม ตัวอาคารสร้าง ค.ศ. 1827 ซ่อมแซมใน ค.ศ. 1997 มีห้องแกะสลักแม่พิมพ์ ห้องพิมพ์ เก็บกระดาษที่ล้างแม่พิมพ์ ห้องเย็บเล่ม และเก็บไว้ งานพิมพ์หนังสือเป็นงานละเอียด ต้องตรวจทานอย่างดี งานที่พิมพ์ไม่ได้มีเฉพาะข้อเขียนทางศาสนา ยังมีงานด้านการแพทย์ วรรณคดี ดนตรี ดาราศาสตร์ มีผู้ใช้หนังสือเหล่านี้มากไม่เฉพาะแต่ในมณฑลชิงไห่ พระในทิเบต กานซู่ เสฉวน มองโกเลีย ก็ได้ศึกษาด้วย นับเป็นคุณูปการต่อการศึกษาอย่างยิ่ง โรงพิมพ์นี้ไม่ได้อยู่ในเส้นทางที่กำหนดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม แต่ถ้าใครสนใจขอเขาดู เขาก็เปิดให้

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 189

(น.189) จักรพรรดิกวงสวี่ตั้งดาไลลามะองค์ที่ 13 พอตั้งไม่นานก็เปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลจีนเลยให้การรับรอง ป้ายที่จักรพรรดิเฉียนหลงเขียนให้วังโปตาลา แต่เขาอวดว่าที่ในหอจดหมายเหตุเป็นของแท้ เขียนเมื่อ ค.ศ. 1760 เป็นปีที่ 25 ในรัชกาล หนังสือรายงาน (เขียนบนกระดาษ) ว่าทหารเนปาลโจมตีถึงทิเบตแล้ว ให้ทหารจีนไปปราบให้ได้ เอานายพล 2 ท่านจากเสฉวนมาประจำการที่เมืองลาซา และภาคส่วนหลังของทิเบต บันทึกเสนาบดีทิเบตร่วมกับพระปันฉานลามะรายงานจักรพรรดิเต้ากวง ขอให้ปรับปรุงกฎหมายทิเบต 29 ข้อ บันทึกประวัติที่อังกฤษเข้ามารุกรานทิเบต ฆ่าคนตายไป 3,000 คน ชิงทรัพย์สินชาวบ้าน ทำลายวัด สมัยสาธารณรัฐ มีโทรเลขของยวนซีไขถึงดาไลลามะองค์ที่ 13 ลายมือเจียงไคเช็คถึงดาไลลามะองค์ที่ 13 ให้เข้าข้างรัฐบาลกลางของจีน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ดาไลลามะองค์นี้มรณภาพใน ค.ศ. 1933 ในปี ค.ศ. 1940 ตั้งองค์ที่ 14 โทรเลขประธานกิจการมองโกล ทิเบต หวงมู่ซง หลังจาก ค.ศ. 1959 มีลายมือประธานเหมาและหลิวเซ่าฉีถึงดาไลลามะ จดหมายหลิวเซ่าฉี จดหมายโจวเอินไหลถึงดาไลลามะ ลายมือเติ้งเสี่ยวผิงและเจียงเจ๋อหมิน

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 21-23

(น. 21) หลังอาหารเช้าไปพิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติกรุงปักกิ่ง รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ชื่อ ไอ้ฉุนชู ต้อนรับ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์พาชม นิทรรศการรอยเท้าของชีวิตก่อนประวัติศาสตร์ มีตารางบอกเวลาทางธรณีวิทยาและมีรูปว่ามีต้นไม้และสัตว์อะไรบ้างในแต่ละช่วงเวลา นิทรรศการแสดงซากสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์และเรื่องต่างๆ มีกระดูกไดโนเสาร์ Mamenchisaurus hechuanensis พบที่เหอฉวน มณฑลเสฉวน เมื่อ ค.ศ. 1957 ที่แปลกคือคอมันยาวถึง 11 เมตร เป็นพวกไดโนเสาร์กินพืช กะว่าตอนมีชีวิตอยู่น้ำหนักคงจะถึง 40-50 ตัน (ข้าพเจ้าว่าน่าจะมากกว่านี้) กินพืชวันละ 300 กิโลกรัม เกิดและอยู่ปลายยุคจูราสสิก ประมาณ 130-140 ล้านปีมาแล้ว ถ้าหากว่าสมัยนี้ไปเที่ยวเดินป่าแล้วเจอตัวแบบนี้กลางทางเห็นจะแย่

(น. 22) เห็นไข่ไดโนเสาร์อยู่ในรังยุคครีเตเชียส (Cretaceous) ตอนปลาย ประมาณ 65-95 ล้านปีมาแล้ว พบที่อำเภอหนานสง มณฑลกวางตุ้ง ขณะนี้ถือว่าเป็นรังไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก มีอยู่ 2 รัง 2 ชนิด คือ Golithes Nyustus และ Golithes Elongatus ในรังที่สองมีไข่ 29 ฟองเรียงกัน 3 ชั้น ไข่ฟองโตที่สุดยาว 22 เซนติเมตร มีคนมาขอซื้อไข่ฟองละ 6 แสนเหรียญสหรัฐ ทั้งรังมีมูลค่า 10 กว่าล้านเหรียญ มีหัวไดโนเสาร์ T-Rex มาจากรัฐมอนตานา สหรัฐอเมริกา วางไว้สำหรับเปรียบเทียบกับไดโนเสาร์ของจีน Tsintaosaurus spinorhinus มีเขาขึ้นมาที่จมูก อายุปลายยุคครีเตเชียส ระหว่าง 65-95 ล้านปี เป็นสัตว์กินพืช พบที่อำเภอไหลหยัง มณฑลซานตง ยาว 7 เมตร สูง 5.5 เมตร Tuojiangosaurus เป็นพวก stegosaurus เป็นไดโนเสาร์กินพืช อยู่ยุคจูราสสิก (Jurassic) ตอนปลาย (140 ล้านปี) บนหลังมีแผ่นกระดูกแหลมๆ (สามเหลี่ยม 15 คู่) นักวิชาการบางคนก็ว่าใช้สำหรับป้องกันตัวจากไดโนเสาร์กินเนื้อ แต่บางคนคิดว่าสำหรับระบายอากาศ เพราะปิดเปิดได้ และมีหลอดเลือดอยู่ตามแนวหลัง พบที่เมืองซิกง มณฑลเสฉวน เป็นฟอสซิลที่สมบูรณ์ที่สุดในเอเชีย


(น. 22) รูป 11 หัวไดโนเสาร์ T-Rex จากสหรัฐอเมริกา
T-Rex head from the USA.


(น. 23) รูป 12 ลูกไดโนเสาร์
Baby dinosaur.

(น. 23) Mamenchisaurus constructus ขุดพบใน ค.ศ. 1952 ขณะสร้างถนนที่หม่าเหมินซี มณฑลเสฉวน เป็นยุคจูราสสิกตอนปลาย (140 ล้านปี) ต่อมาผู้บรรยายไปขุดเจอกระดูกเมื่อ ค.ศ. 1995 กำลังวิจัยกระดูกนี้ว่ารูปร่างเปลี่ยนไปจากกระดูกไดโนเสาร์ทั่วๆไปหรือไม่ จะเป็นเพราะการทับถมของดินหรือเพราะเหตุอื่นใดก็ไม่มีใครทราบ

เจียงหนานแสนงาม หน้า 231,243-244


(น. 231) รูป 170 หุ่นเรื่องสามก๊ก ตอนเล่าปี่แต่งงานกับน้องสาวซุนกวน
Models of an episode from the Romance of the Three Kingdoms : the marriage between Liu Bei and Liu Bei and Sun Quan's sister.

(น. 231) หุ่นพวกนี้มีลักษณะเหมือนหุ่นที่ไป๋ตี้เฉิง เมืองวั่นเซี่ยน มณฑลเสฉวน (ที่ข้าพเจ้าล่าไว้ในหนังสือเย็นสบายชายน้ำ) เรื่องโดยละเอียดของตอนนี้อยู่ในตอนที่ 45 ของสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)

(น. 243)ผ้าปักด้วยไหมของเมืองซูโจวก็มีชื่อเสียงเช่นกัน เป็น 1 ใน 4 ของการปักไหมอันลือชื่อของจีน เรามีพิพิธภัณฑ์ผ้าปัก สถาบันวิจัย

(น. 244) และฝึกสอนการปักผ้า จะได้เห็นพรุ่งนี้ (อีก 3 แห่งคือ กวางโจวในมณฑลกวางตุ้ง ฉังซาในมณฑลหูหนาน และเฉิงตูในมณฑลเสฉวน)

เจียงหนานแสนงาม หน้า 262,264


(น. 262) รูป 183 พิพิธภัณฑ์ศิลปะไหมปัก
Suzhou Embroidery Art Museum.
v (น. 262) ตอนบ่ายไปที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะไหมปักและสถาบันวิจัยการปักผ้าไหม การปักผ้าไหมเป็นงานศิลปะที่มีชื่อเสียงของจีน และมีมานานแล้ว ได้พบผ้าปักไหมในเจดีย์และในสุสานสมัยราชวงศ์ซ่ง การปักผ้าไหมส่วนใหญ่จะอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ที่มีชื่อเสียงมากมี 4 เมือง คือ ซูโจว มณฑลเจียงซู กวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ฉังซา มณฑลหูหนาน และเฉิงตู มณฑลเสฉวน จนเรียกขานกันว่า ซื่อต้าหมิงซิ่ว หรือ สี่ศิลปะปักอันเลื่องชื่อ เมื่อหลายปีก่อน สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันจัดนิทรรศการศิลปะปักผ้าไหมจากมณฑลหูหนาน ตั้งชื่อว่า วิจิตรบรรจงปัก ไหมเลิศลักษณ์จากหูหนาน ได้เชิญข้าพเจ้าไปเปิดงาน ครั้งนั้นได้เห็นงานงดงามจำนวนมาก ครั้งนี้ได้เห็นที่ซูโจว ซึ่งมีฝีมืองามยิ่งไม่แพ้กันเลย

(น. 264) มีผ้าปักลายมือของของจังต้าเชียน (ค.ศ. 1899 – 1983) ซึ่งเป็นนักปราชญ์สมัยสาธารณรัฐจีน ท่านผู้นี้เป็นชาวเสฉวน เก่งวาดภาพและการเขียนตัวหนังสือจีน ได้ไปดูศิลปะที่ตุนหวง แล้ววาดภาพตามที่ได้เห็น (copy) จังต้าเชียนเสียชีวิตที่ไต้หวัน นอกจากนั้นยังมีผ้าปักลายมือของถังอิน ผู้ที่ปักลายมือถือว่าเป็นพวกอาจารย์เหมือนกัน เพราะปักยากมาก เส้นไหมต้องแยกเป็นเส้นเล็กๆ เล็กกว่าเส้นผม ปักได้เหมือนเส้นหมึกที่เขียนจากพู่กัน สามารถสื่อให้เกิดความหนักเบา มองแทบไม่ออกว่าไม่ใช่เส้นหมึกที่เขียนบนแผ่นกระดาษ ปักได้ดีและงามจริงๆ

เจียงหนานแสนงาม หน้า 345

(น. 345) บนภูเขามีไผ่ 250 พันธุ์ ปลูกในเนื้อที่ 17,000 ตารางเมตร การปลูกไผ่ทำได้ยากเพราะไผ่แต่ละชนิดขึ้นในระบบนิเวศน์ต่างๆ กัน เอามาปลูกรวมกันแบบนี้ไม่เป็นไปตามสภาพธรรมชาติ ขณะนี้ตายไปเกือบสิบชนิด เสียดายไม่มีเวลาขึ้นไปดู สองข้างทางเดินปลูกไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ เช่น ตู้จวน สีสันสวยงาม แต่ส่วนมากยังไม่ออกดอก เพราะเขากะให้ออกตอนเริ่มงานแล้ว มีต้นหัวป่ากั้ว ออกผลเล็กๆ สีแดง มีสรรพคุณแก้กระหายน้ำได้ พบมากในมณฑลยูนนาน กุ้ยโจว และเสฉวน

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 52

(น.52) เขาคุยว่าเมืองนี้ค้าขายกับต่างประเทศมาก มูลค่าส่งออกมากกว่านำเข้า สินค้าสำคัญ ได้แก่ อาหารแปรรูป (ขายปลาไหลได้มาก) เครื่องเย็บปักเสื้อและผ้า มีชื่อแห่งหนึ่งใน 4 แห่งคือ ปักกิ่ง ซูโจว เสฉวน และที่นี่ เครื่องปั้นดินเผาแต้จิ๋ว มีศิลปะดี เขาบอกว่าของขวัญที่เติ้งเสี่ยวผิงให้กิมอิลซุง อดีตผู้นำเกาหลีเหนือก็ทำที่แต้จิ๋ว แหล่งเครื่องปั้นที่มีชื่อเสียงอื่นๆ เช่น ชานตุง เจียงซู เจียงซี (กังไส) กวางตุ้งที่โฝซาน เซรามิกที่ใช้ในเครื่องอิเล็คโทรนิคส่งขายญี่ปุ่น นอกจากนี้มียาสมุนไพร

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 128-129

(น.128) พูดถึงเมืองเสิ่นเจิ้นนี้เขาบอกว่ามี กฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด คนที่จะมาทำงานได้จะต้องตรวจสอบว่าเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถพอสมควร แม้แต่คนงานก็ต้องมีความรู้ถึงชั้นมัธยมศึกษา มาอยู่ที่นี่ก็เป็นโอกาสให้

(น.129) ก้าวหน้า เช่น คนมาจาก เสฉวน มาเป็นคนงานกลับเสฉวนไปเป็นนายห้างได้ คนต่างประเทศมาลงทุนก็มาก แต่ที่จริงแล้ว 60% เป็นคนฮ่องกง นักธุรกิจใช้เมืองเสิ่นเจิ้นนี้เป็นสะพานที่จะไปลงทุนในแผ่นดินใหญ่ คนไต้หวันชอบลงทุนในแผ่นดินใหญ่เพราะว่าสภาพการลงทุนดี ใช้ภาษาเดียวกัน และนับว่ามีเสถียรภาพดี คนที่มามีทั้งวิศวกร นักกฎหมาย

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 36

(น.36) พระไตรปิฎกสมัยราชวงศ์ซ้อง เป็นพระไตรปิฎกจีนสำนวนแรกที่ตีพิมพ์ขึ้น ก่อนหน้านี้เป็นฉบับตัวเขียน เพิ่งมารวบรวมตีพิมพ์ในสมัยราชวงศ์ซ้อง เริ่มแกะแม่พิมพ์ไม้เมื่อ ค.ศ. 972 ที่เมืองเฉิงตู แคว้นเสฉวน การแกะแม่พิมพ์สำเร็จเมื่อ ค.ศ. 983 จำนวนแม่พิมพ์ไม้พระไตรปิฎก 130,000 เล่ม เทียบกับฉบับตัวเขียนประมาณ 5,000 ผูก (ม้วน) พระไตรปิฎกฉบับราชวงศ์ซ้องนี้มักเรียกชื่อว่า สำนวน Kai bao เป็นต้นฉบับของพระไตรปิฎกจีนที่ตรวจชำระและที่พิมพ์ในเกาหลีในคริสต์ศตวรรษที่ 13

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 2 เหลียวหนิง หน้า 111

(น.111) ถึงห้องยาเขาบอกว่ามียาอีกอย่างให้ ดีกว่ายาเก่าปรากฏว่าเป็นยาชวนเป้ยจื่อเขอเอี้ยว ที่คนไทยรู้จักดีว่า ยาชวนป๋วย แต่ไม่ใช่ชวนป๋วยปี่แป่กอ ซึ่งเหนียวกว่า ปี่แป่ คือ ฝีผาเป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง กอ แปลว่า เหนียว (กอเอี๊ยะ) ส่วนคำว่า ชวนเป้ย ในภาษาจีนกลางที่แต้จิ๋วเรียก ชวนป๋วย เป็นยาสมุนไพรชนิดหนึ่ง มีในมณฑลเสฉวน เป็นยาสำหรับขับเสมหะและแก้ไอ ข้างนอกเป็นยาสมุนไพรที่ยังไม่ได้ทำเป็นรูปยาปัจจุบัน ชาวบ้านมาเจียดตัวยาไปได้เหมือนร้านเจ้ากรมเป๋อ เขาให้กอเอี๊ยะแปะแก้ปวดขามาด้วย ได้อุปกรณ์ฝังเข็มและตำราการแพทย์ต่างๆ

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 240

(น.240) เขาเอ๋อเหมยซาน (ง้อไบ๊) อยู่เสฉวน เป็นที่เทศน์ของพระโพธิสัตว์ผู่เสียน (พระสมันตภัทร) เขาจิ่วหัวซาน ประดิษฐานพระโพธิสัตว์ตี้จ้าง (พระกษิติครรภ) อยู่เหอเป่ย คุยกันเรื่องการช่วยคนพิการ รองผู้ว่าฯ เป็นประธานกาชาดมณฑลจี๋หลิน บอกว่าแต่ก่อนมีกองทุนให้คนพิการ แต่สมัยนี้มีงานให้คนพิการทำ ตั้งโรงงานให้คนพิการมีความภูมิใจในตนเอง ทำงานได้มีเงินเดือน ท่านทำงานกาชาดนี้รู้สึกว่าดี เรื่องของการเมืองอาจแตกต่างกัน แต่เรื่องกาชาดทำด้วยกันได้ เช่น กาชาดแผ่นดินใหญ่กับไต้หวันก็ติดต่อกันมาตลอด กาชาดของมณฑลอบรมคนขับรถให้มีความรู้ในด้านการปฐมพยาบาลคนไข้ เมื่อเห็นใครมีอาการฉับพลันก็รู้วิธีช่วยผู้ป่วย มีตัวอย่างคือ ศาสตราจารย์ผู้หนึ่งเป็นโรคหัวใจกำเริบขณะที่นั่งรถ คนขับรถเคยอบรมมา จึงช่วยชีวิตไว้ได้

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 5 ภาคผนวก หน้า 7

(น.7) ราชวงศ์เหนือ
แคว้นทั้ง 16 ของอนารยชน 5 เผ่า ค.ศ. 304 – 439
แคว้น เชื้อชาติ มณฑล ระยะเวลา (ค.ศ.)
ราชวงศ์จ้าวภาคต้น ฉยุงหนู  ซานซี  304 – 329
ราชวงศ์เฉิงฮั่น ตี  เสฉวน  304 – 347
ราชวงศ์จ้าวภาคปลาย เจี๋ย  เหอเป่ย  319 – 351
ราชวงศ์เหลียงภาคต้น ฮั่น (จีน)  กานซู  314 – 376
ราชวงศ์เหยียนภาคต้น เซียนเปย  เหอเป่ย  349 – 370