Please wait...

<< Back

" เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2545 "


(น.145) รูป


(น.146) รูป

(น.146) serial number 15076 ของ Steinway & Son New York ค.ศ. 1864 serial number 10306 C. Bechstein Berlin ค.ศ. 1905 serial number 79702 โรงงานถูกทำลายสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เปียโนของ Bösendorfer Vienna ค.ศ. 1829 โรงงานก็ถูกทำลายเช่นกัน มี Harpsichord 2 ชั้น ค.ศ. 1906 จากมิวนิก ชั้นบนมีออร์แกน Pasquale & co. London ค.ศ. 1905 Aolian Orchestra เล่นโดยใส่แผ่นโน้ต (น.147) เครื่อง Chickeriag & Sons เป็นเครื่องใหญ่ที่สุด เสียงดังที่สุดในพิพิธภัณฑ์ ปี ค.ศ. 1866 Boston พัฒนาจากเครื่อง Clementi โรงงานนี้ใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา อีกอาคารหนึ่งเป็นอาคารที่สร้างใหม่ มีเปียโนเก่าที่สุดในบรรดาเปียโนอังกฤษ ยี่ห้อ Colard & Colard ปี ค.ศ. 1811 จากลอนดอน มีคำอธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีในการสร้างเปียโนในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชิ้นส่วนบางส่วนที่ใช้ไม้แข็งแรงไม่พอ ฝรั่งเศสมาพัฒนาใช้เหล็ก อังกฤษใช้เหล็กบางส่วน ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่เยอรมนี เครื่องภายในเปียโนใช้เหล็กหมด เครื่องที่แกะสลักสวยที่สุดเป็นของ Kirkman ค.ศ. 1862 จาก London ลวดลายได้รับอิทธิพลศิลปะจีนราชวงศ์หมิง


(น.147) รูป


(น.148) รูป

(น.148) เครื่องยี่ห้อ Beal Paten ของออสเตรเลีย ค.ศ. 1899 เมือง Sydney ลายมีลักษณะเหมือนเครื่องดนตรี Suana ของจีน เครื่อง Schiedmayer & Sohn ค.ศ. 1897 จาก Stuttgart มีที่วางโน้ตเปียโน 2 ที่ เครื่อง Blülhmer 3 ขาเป็นเครื่องใหญ่ ค.ศ. 1937 เมือง Leipzig ผู้อธิบายสาธิตเล่นให้ฟัง


(น.149) รูป

(น.149) เครื่อง K. Bord ค.ศ. 1878 มีภาพเขียนคนเล่นเปียโน 2 คนของ Renoir เปียโนในภาพเหมือนกับหลังนี้ ชั้นบนมีเครื่องคีย์บอร์ดที่ใช้ไฟฟ้า มีเครื่อง Baines Bros ของสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1928 เครื่อง Fusto ค.ศ. 1921 จาก New York เป็นต้น กลับลงไปชั้นล่าง ไกด์อธิบายว่าคนที่นี่ชอบเล่นเปียโนกัน วันเสาร์อาทิตย์จะนัดกัน มาร่วมกันเล่นและฟังเปียโน

(น.150) กลับลงไปดูสวนซูจวง ซึ่งเขาอวดว่าทิวทัศน์รอบข้างสวยงาม มีภูเขาและทะเล จะรู้สึกถึงความนิ่งในสิ่งที่เคลื่อนไหวและความเคลื่อนไหวในสิ่งที่อยู่นิ่ง ทิวทัศน์ที่สวยงาม มีศาลาเหรินซิว สะพานสี่สิบสี่ เป็นสะพานที่สร้างตอนที่เจ้าของอยู่ได้ 44 ปี หินที่ตั้งซ้อนเป็นชั้นๆ กลับขึ้นรถกอล์ฟแล่นไปรอบเกาะ ที่นี่มีถนนรอบเกาะ มีที่ว่ายน้ำฤดูร้อน ฤดูใบไม้ผลิมาชมดอกไม้ ฤดูใบไม้ร่วงมาปีนเขาชมวิว ฤดูหนาวมากินอาหารทะเล มีสิ่งน่าสนใจอื่นๆ เช่น พิพิธภัณฑ์สัตว์ทะเล ข้าม ferry กลับ แพแบบนี้มี 2-3 ลำ ชาวบ้านที่เกาะนี้ส่วนใหญ่ข้ามไปทำงานที่เซี่ยเหมิน ส่วนนักท่องเที่ยวมักจะพักที่เซี่ยเหมิน และข้ามมาเที่ยว


(น.150) รูป


(น.151) รูป

(น.151) จากนั้นรับประทานที่ภัตตาคารหวนเล่อหยวน มีอาหารแปลกๆ เช่น ปูขน กั้ง เจ้าหน้าที่ตัดปูให้ แต่ให้เราแคะเอง ต้องใช้มือและมีตะเกียบเล็กๆ สำหรับทิ่มเข้าไปในขาปู จึงมีถุงมือพลาสติกให้ใส่ หลังอาหารไปต่ออีก 3 ที่หมาย
1. วัดหนานผู่โถว อยู่ทางใต้ของเขตเมืองเก่าบนเกาะเซี่ยเหมิน สร้างสมัยราชวงศ์ถัง เปลี่ยนชื่อมาเรื่อยๆ จนมาใช้ชื่อนี้ เมื่อไปถึงมีพระมาต้อนรับ พาเข้าไปพบเจ้าอาวาส เจ้าอาวาสทำพิธีสวดอวยพร เวลาสวดมนต์ต้องปักธูปบูชาพระก่อน แล้วยืนพนมมือ เมื่อจบบทลงกราบกับพื้นแล้วยืนขึ้นมาใหม่ๆลุกๆ นั่งๆ อย่างนี้ถึง 6 ครั้ง เขาบอกว่าเจ้าอาวาสนั่งลงไปเมื่อไรก็ให้นั่งตาม ข้าพเจ้าทึ่งท่านมากว่าอายุแค่นี้ยังหัวเข่าดี แต่อีกหน่อยแก่กว่านี้จะทำอย่างไร


(น.152) รูป

(น.152) ท่านอธิบายว่าวัดนี้มีพระมาบวช 100 รูปจาก 32 มณฑล และจากต่างประเทศ เช่น เวียดนาม ไทย มีชั้นเตรียม ปริญญาตรี ปริญญาโท ทำงานวิจัย บริเวณวัดแบ่งเป็นพุทธาวาส สังฆาวาส และมีที่เรียนหนังสือ อาคารต่างๆ น่าจะเหมือนวัดทั่วไป เดินข้างหน้ารอบหนึ่งแล้วลากลับ
2. มหาวิทยาลัยเซี่ยเหมิน อาจารย์และนักศึกษาคอยต้อนรับพาขึ้นไปที่ห้องประชุม แนะนำอธิการบดีแซ่เฉิน ผู้เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย นายกสมาคมศิษย์เก่าจีนแห่งประเทศไทย

(น.153) มหาวิทยาลัยเซี่ยเหมินเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกที่เศรษฐีชาวจีนโพ้นทะเลเป็นผู้ก่อตั้งใน ค.ศ. 1921 ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยที่มีครบทุกสาขาวิชาเพียงแห่งเดียวในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 5 เขตในบริเวณนี้ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยชื่อ เฉินเจียเกิง (แซ่เฉิน ภาษาจีนแต้จิ๋วอ่านออกเสียงว่า ตั๊ง ภาษาไทยอ่านเคลื่อนเป็น ตั้ง) เขาตั้งอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยเอาไว้ว่าให้เป็นเลิศทางวิชาการ ความสำเร็จของมหาวิทยาลัยเป็นผลมาจากความพยายามของชาวจีนทุกสาขาอาชีพและชาวจีนโพ้นทะเล มีนักศึกษาเกือบ 20,000 คน เป็นคนไทย 20 กว่าคน สอนหลายสาขาวิชา เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ การบริหาร และอื่นๆ เว้นวิชาด้านเกษตรและป่าไม้ มีความผูกพันเป็นพิเศษกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย


(น.153) รูป

Next >>