<< Back
" เย็นสบายชายน้ำ วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2539 "
(น.257) รูป 234 ขั้นตอนการทำหมึก (ภาพขาดขั้นตอนที่ 6)
รูป 235 ขั้นตอนการทำหมึก (ภาพขาดขั้นตอนที่ 6)
(น.257)
6) นำเขม่าที่นึ่งแล้วนั้นมาทำเป็นแท่งยาว ๆ ตัดแบ่ง ชั่งน้ำหนัก เพื่อให้ได้ขนาดต่าง ๆ ตามที่ต้องการ
(น.257) รูป 236 ขั้นตอนทำหมึก (ภาพขาดขั้นตอนที่ 6)
รูป 237 ขั้นตอนทำหมึก (ภาพขาดขั้นตอนที่ 6)
(น.258) รูป 238 ขั้นตอนทำหมึก (ภาพขาดขั้นตอนที่ 6)
รูป 239 ขั้นตอนทำหมึก (ภาพขาดขั้นตอนที่ 6)
(น.258)
7) นำก้อนขนาดต่าง ๆ วางไว้บนแท่น แล้วทุบด้วยค้อน
8) นำก้อนหมึกที่ทุบแล้วมาวางบนโต๊ะเพื่อผสมเครื่องหอม เช่น ชะมด และเครื่องยา เช่น ชาด ไข่มุก แล้วกดทับไว้เพื่อให้เป็นรูปร่างตามความต้องการ เห็นเขามีพิมพ์ทำด้วยไม้หนานมู่
มีรูปร่างหลายอย่างและมีหลายขนาด เมื่อกดลงพิมพ์แล้วจะแกะออกเป็นก้อนหมึก
9) เมื่อได้รูปร่างแล้วจะพิมพ์รูปเข้าไป นิยมลงลายทอง หมึกที่ดี ๆ ต้องใช้ผงทองคำแท้ ๆ ติดกาวกับแท่งหมึก การติดแต่ก่อนใช้กาวจากพืชติด เดี๋ยวนี้ตามร้านมักใช้กาวเคมี บางเจ้าก็จะปิดทองคำเปลว เมื่อติดแล้วต้องเอา
นุ่นตบเบา ๆ ให้ติด เวลาใช้หมึกเขียนหนังสือ วาดภาพ ให้ฝนทองเข้าไปด้วยเลย ภาพจะดูสว่างเป็นประกาย
10) ตากแห้งโดยไม่ตากแดดประมาณวันหรือสองวัน
11) เมื่อก้อนหมึกแห้งดีแล้วให้นำมาขัดใสด้วยน้ำมันเพื่อให้เกิดเงา
(น.259) รูป 240 ขั้นตอนทำหมึก (ภาพขาดขั้นตอนที่ 6)
รูป 241 ขั้นตอนทำหมึก (ภาพขาดขั้นตอนที่ 6)
(น.259)
12) นำมาวางบนแผ่นไม้ใช้น้ำเช็ดทำความสะอาดอีกครั้ง พร้อมขายได้
ผู้สาธิตบอกว่าแท่งหมึกนี้ยิ่งเก็บไว้นานก็ยิ่งดี
หมึกที่ตั้งขายในโรงงานนี้มีแบบและสีสันสวยงาม มีลวดลายหลายอย่าง เช่น รูปคนแก่ร้อยคน (หมายความว่า อวยพรให้อายุยืน) รูปมังกร (เป็นส่วนใหญ่) ลายโซ่ว (อายุยืน) ร้อยตัว
โป๊ยเซียนข้ามสมุทร หมึกสีเบญจรงค์ สิบสองนักษัตร (สมัยราชวงศ์ชิง) รูปนักษัตรนี้น่าสนใจเพราะสัตว์ 12 ชนิดนี้มีเรื่องเล่า เช่น มะแมก็ทำเป็นรูปเรื่องซูอู่เลี้ยงแพะ
ซูอู่เป็นราชทูตจีนในสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ (ครองราชย์ก่อน ค.ศ. 140 – ก่อน ค.ศ. 86 = พ.ศ. 403 – พ.ศ. 457) ที่ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพวกฉยุงหนูที่อยู่ทางภาคเหนือและทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เป็นผู้ที่ซื่อสัตย์รักชาติยิ่งกว่าชีวิต ถูกพวก
(น.260) ฉยุงหนูจับไปเลี้ยงแพะที่ทุ่งเป่ยไห่อันหนาวเย็น แม้จะตกระกำลำบากถึงเพียงนี้ ซูอู่ก็ไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อพวกฉยุงหนู ยืนหยัดอย่างเข้มแข็งในความรักชาติและศักดิ์ศรีของราชทูตจีน
ซูอู่เลี้ยงแพะอยู่ที่ทุ่งเป่ยไห่ 19 ปี จึงได้กลับบ้านเกิดเมืองนอนในสมัยจักรพรรดิฮั่นเจาตี้ (ครองราชย์ก่อน ค.ศ. 86 – ก่อน ค.ศ. 73 = พ.ศ. 457 – พ.ศ. 470) เรื่องราวของซูอู่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อมา เพลงซูอู่เลี้ยงแพะ เป็นเพลงพื้นบ้านที่รู้จักกันแพร่หลายในหมู่ชาวจีนมาจนทุกวันนี้
นอกจากนั้นมีลายสิริมงคลต่าง ๆ ปวงเทพอวยพรอายุยืน (สมัยราชวงศ์ชิง) มรดกแห่งชาติ (สมัยราชวงศ์หมิง) พ่อแม่ลูก ลายทิวทัศน์ ลายภูเขาหวงซาน ลายราชอุทยาน เป็นต้น
หมึกสมัยใหม่ผสมสีแดงดำ ฝนออกมาจะเป็นสีน้ำตาล ลายเป็นแบบธรรมชาติสวยงาม
พวกหมึกโบราณเข้าใจว่าไม่ได้ขาย เป็นการนำมาจัดนิทรรศการให้ดู พร้อมกับของอื่น เช่น หนังสือข้อมูลจดบัญชีสมัยราชวงศ์ชิง พู่กัน ที่เมืองหวงซานนี้มีงานประจำปีเป็นเทศกาลเครื่องเขียน
ในงานนี้จะมีหมึกชุดต่าง ๆ ที่สมัยก่อนทำถวายจักรพรรดิเพื่อทรงใช้ในห้องทรงพระอักษร มีพู่กันขนาดต่าง ๆ ทำด้วยขนหมาป่า ขนหางแกะ ขนหางกระต่าย ขนแพะ
ประโยชน์ของหมึกนอกจากใช้เขียนหนังสือคือ
1. สำหรับการสะสม ทำเป็นชุดเพื่อให้คนสะสม เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง
2. สำหรับเข้าเครื่องยา ตำราโบราณกล่าวว่ายาที่ทำด้วยหมึกนั้นมีความเป็นกลาง เมื่อเข้าในหัวใจและม้าม สามารถห้ามเลือด
(น.261) ลดบวม ทำให้รอบเดือนปกติ ปัสสาวะออกสะดวก ฯลฯ แต่ต้องเป็นหมึกที่มีส่วนผสมพิเศษ เรื่องของการใช้หมึกรักษาโรคนั้น ข้าพเจ้านึกถึงคนที่เป็นคางทูม ต้องเอาหมึกจีนเขียนเสือที่แก้มจึงจะหาย
การเลือกหมึกที่ดี หมึกดีต้องมีลักษณะ
1. เนื้อละเอียด ไม่มีสิ่งสกปรกเจือปน เวลาฝนจึงจะไม่ทำลายแท่นฝนหมึก
2. กาวเบาบาง ถูกสัดส่วน ถ้ากาวหนักหมึกจะสีด้าน ถ้ากาวน้อยสีติดไม่ทน
3. สีเข้ม ต้องเป็นสีดำ การเลือกหมึกต้องฝนดู มีรอยหมึกม่วงเป็นชั้นหนึ่ง สีดำเป็นหมึกชั้นสอง สีเขียวชั้นสาม สีขาวถือว่าเป็นชั้นสี่ ถ้าไม่มีเงาก็ถือว่าใช้ไม่ได้
4. เคาะแล้วเสียงใส ฟังไพเราะ
ในห้องมีตัวอย่างลายมือคนโน้นคนนี้ให้ดู และเขาให้ข้าพเจ้าเขียนด้วย
ครูหวางได้ไปค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับการทำหมึกจากหนังสือต่าง ๆ มาให้อีกหลายอย่าง มีรายละเอียดมากเกี่ยวกับส่วนผสมหมึก คงต้องนำไปเขียนไว้ในภาคผนวก เรื่องหมึกจีนนั้นเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง มีความสำคัญมาก ดังนั้นคงจะต้องหาเวลาค้นคว้าและเขียนเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต
เมื่อดูเสร็จกลับเข้าโรงแรมหวงซาน เจ้าหน้าที่เอากระดาษอย่างดีมาให้ ข้าพเจ้าพูดไว้ว่าอยากได้กระดาษ แต่ว่ากระดาษนี้ดีไปสำหรับเขียนเล่น ไม่กล้าใช้
อาหารเย็นรับประทานกันเอง