Please wait...

<< Back

" แกะรอยโสม วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2534 "

(น.85) วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2534
ตื่นมาตอนเช้าก็ออกไปเดินเล่นในสวนตามเคย คราวนี้เรามาเร็วกว่าคราวก่อน ฉะนั้นต้นไม้ที่คราวก่อนเริ่มผลิดอกแล้วคราวนี้ยังมีแต่กิ่ง ข้าพเจ้าจึงถ่ายรูปหมู่เอาไว้ที่เดียวกันเพื่อเป็นการเปรียบเทียบ หมอเชิดชัยออกไปวิ่งมาแล้วรอบหนึ่ง คราวนี้วิ่งคนเดียว ไม่มีอาจารย์สารสินวิ่งเป็นเพื่อน เดินผ่านอาคารหลังที่เคยอยู่เมื่อมาที่เมืองจีนครั้งแรก (ตึก 2) และอาคารธนาคารโลก ซึ่งธนาคารโลกมาเช่าไว้เป็นที่ทำการในจีน รับประทานอาหารเช้า มีหลายอย่างตามเคยเช่น น้ำกะทิปนน้ำมะพร้าว รสชาติคล้ายๆ ไอศกรีมกะทิ ข้าพเจ้าก็เลยลองซื้อเอาไปเพื่อลองปั่นไอศกรีม น้ำเต้าหู้ กาแฟ ปาท่องโก๋คู่ยักษ์ กาแฟ ข้าวต้ม (กับ)หม่านโถว ศาสตรจารย์หวางหยางมารับถึงที่ตึก 7 นั่งรถไปด้วย อาจารย์หวางเป็นรองผู้อำนวยการในศูนย์รีโมทเซนซิ่ง ขึ้นกับสภาวิทยาศาสตร์แห่งจีน (Chinese Academy of Sciences หรือ Academia Sinica) อาจารย์พูดภาษาไทยได้คล่อง เพราะว่าเกิดที่เมืองไทย ข้าพเจ้ารู้จักอาจารย์ที่กรุงเทพฯ เป็นคนแนะนำสถานที่หลายแห่งที่ข้าพเจ้ามาเยี่ยมชมคราวนี้ รายการที่เคยกะไว้ ต้องเปลี่ยนไปบ้าง แต่แรกคิดจะไปเยี่ยมที่ทำงาน และห้องปฏิบัติการระบบข้อสนเทศภูมิศาสตร์ของศาสตราจารย์เฉินชูเผิง ซึ่งก็เป็นคนที่


(น.86) รูป 87 ถ่ายรูปหมู่
H.R.H.graciously had a photograph taken with her party and the Chinese officials attached to her.


(น.87) รูป 88 ศาสตราจารย์เฉินบอกว่าถ้าไปที่สำนักงานของท่าน ก็จะเห็นงานส่วนเดียว มาเช่นนี้จะได้เห็นงานทุกด้าน ทั้งฝ่ายพลเรือนและทหาร
Professor Chen explained that at this exhibition H.R.H. would see every aspect of the work, both from the civil and military offices.

(น.87) ข้าพเจ้ารู้จักที่กรุงเทพฯ เช่นเดียวกัน ในการประชุมด้านรีโมทเซนซิ่ง แต่ก็เปลี่ยนมาเป็นที่หอสมุดแห่งปักกิ่ง ซึ่งทางศูนย์มาจัดนิทรรศการหลายๆ อย่างเพื่อเป็นการสรุปผลงานในแผน 7 เพื่อเสนอแนะแผน 8 ในสายงานนี้แก่รัฐบาล และประชาชนก็จะได้ดูด้วย ผู้ที่มาต้อนรับมีศาสตราจารย์เฉินชูผิง สถาบันวิจัยรีโมทเซนซิ่ง ศาสตราจารย์หวาง ผู้อำนวยการสถานีรับสัญญาณดาวเทียม ศาสตราจารย์ถงชิงซี สถาบันรีโมทเซนซิ่ง และศูนย์การใช้รีโมทเซนซิ่งทางอากาศ และศาสตราจารย์หวางหยาง คุยกันเรื่องสถานีรับสัญญาณดาวเทียมของจีน ตอนนี้ยังรับแต่ TM ยังไม่ได้รับ SPOT และ MOS กำลังติดต่อกับ ESA เพื่อรับ ERS 1 นอกจากนี้จีนยังสร้างดาวเทียมอุตุนิยมของจีนเอง เรียกว่าฟงหยุน 1 ซึ่งมีคุณสมบัติ



(น.88) รูป 89 นิทรรศการโครงการต่างๆ ที่ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม จากเรด้าและภาพถ่ายทางอากาศ

Projects shown in the Exhibition are those that obtain the data and grounds through Satellites, radar and aerial photograph.

(น.89) คล้ายกับ NOAA ที่สถาบันมีงานวิจัยภายในประเทศ 10 โครงการ ที่ทำร่วมกับต่างประเทศ 80 โครงการ มีทั้งผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์ และนักศึกษาปริญญาโทและเอกร่วมวิจัย จากนั้นไปดูนิทรรศการ ส่วนมากพวกอาจารย์อธิบายเป็นภาษาอังกฤษมีหลายหัวข้อ ในที่นี้ข้าพเจ้าจะขอกล่าวแต่เพียงย่นย่อว่าช่วงแรกของนิทรรศการเป็นเรื่องของ High Altitude Airborne Remote Sensing Operation System คือการใช้ Airborne Scanner มีช่วงคลื่นหลายๆ ช่วง บันทึกข้อมูลใน Optical Disk นำมาวิเคราะห์เพื่อประโยชน์ทางด้านธรณีวิทยา การสำรวจแหล่งถ่านหิน การพิสูจน์ทราบในเรื่องมลภาวะที่เกิดจากคราบน้ำมัน ประเมินผลการเพาะปลูกข้าวการสำรวจสมุทรศาสตร์ เป็นต้น คลื่นที่กำลังศึกษากันมาก คือ Microwave ซึ่งมีประโยชน์มากในการติดตามเฝ้าระวังภัยพิบัติ อุทกภัยที่เกิดขึ้นบริเวณแม่น้ำใหญ่ๆ เป็นต้นว่าแม่น้ำหวงเหอ ฉางเจียง และส่งภาพมาที่ปักกิ่งได้ทันที ที่ใช้ได้ดีเป็นเพราะในช่วงที่น้ำท่วมอากาศมักจะไม่ดี มีเมฆมาก หรือฝนตก สัญญาณในช่วงคลื่นนี้สามารถทะลุเมฆได้ ถือว่าใช้ได้ทุกภูมิอากาศ (เป็น All Weather Sensor) เรื่องที่ 2 คือการใช้รีโมทเซนซิ่งในการประเมินผล การปลูกป่าในเขตภาค “เหนือ 3 แห่ง” ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือ ใน 12 มณฑล เนื้อที่ประมาณ 4 ล้านตารางกิโลเมตร เรื่องนี้มีประวัติความเป็นมาอยู่ว่า ป่าในแถบที่ว่านี้ถูกทำลายไปเป็นอันมาก พื้นที่แห้งแล้ง พืชพันธุ์ธรรมชาติก็มีน้อยอยู่แล้ว ผลปรากฏว่าลมแรงพัดฝุ่นทะเลทรายเข้ามาในกรุงปักกิ่งและปริมณฑลเสียหายต่อสุขภาพของคน รัฐบาลเริ่มต้นแก้ไขด้วยการปลูกป่าตั้งแต่ ค.ศ. 1950 มาปีหลังๆ นี้ดูจะได้ผล เพราะฝุ่นทะเลทรายซึ่งเคยมีทุกปีก็มีน้อยลง (เผอิญข้าพเจ้ามาปี


(น.90) รูป 90 ถ่ายรูปหน้าแผนที่ประเทศจีน ที่รวบรวมข้อมูลจากดาวเทียมแลนแซต และดาวเทียมสปอตมา 10 ปีแล้ว
H.R.H. posed for a photograph in front of the map of China that was made with the data obtained from Landsat and Spot Satellites ten years ago.

(น.91) ที่แล้วเจอเข้าพอดี) การป้องกันด้วยวิธีปลูกป่านี้เสียงบประมาณมากประมาณ 1,700 ล้านหยวน ต้องการการประเมินผลเป็นแนวทางว่าต่อไปควรจะทำอย่างไร ฉะนั้นจึงมีการร่วมมือกันวิจัยประมาณ 100 กว่าหน่วยงาน มหาวิทยาลัย 28 แห่ง สภาวิทยาศาสตร์ของจีน ในด้านรีโมทเซนซิ่งก็ใช้ภาพจากดาวเทียม LANDSAT ทั้ง MSS และ TM ทีแรกใช้ดูจาก FCC แต่ไม่ชัด จึงทำ Enhancement ใช้เทคนิค Quasi Fourier Transformation แล้วจำแนกข้อมูล ทำแผนที่มาตราส่วน 1: 100,000 ผลของการวิเคราะห์สรุปว่าโครงการปลูกป่านี้ได้ผลมาก ขนาดแถวนั้นเป็นเขตทะเลทรายก็ยังเติบโตได้ ใน ค.ศ. 1977 มีป่า 6.31% ปัจจุบันมี 8.43% ข้อคิดอย่างหนึ่งที่คณะทำงานนำเสนอรัฐบาลคือต้นไม้ที่ใช้ในการปลูกป่านั้นคือต้นหยาง (ที่ฝรั่งเรียกว่า Poplar) เป็นต้นไม้ที่ขึ้นเร็ว ทนสภาพอากาศและสภาพดินเลวได้ เมื่อประสบความสำเร็จไปขั้นที่ 1 แล้ว ต่อไปควรจะเปลี่ยนชนิดของต้นไม้ให้มีหลายๆ อย่าง อาจจะเป็นไม้ที่มีคุณภาพดีกว่าต้นหยาง ให้งบประมาณปลูกต่อไป การปลูกต้นไม้จะช่วยแก้ปัญหาดินถูกกัดเซาะด้วย


(น.92) รูป 91 เจ้าหน้าที่โครงการสาธิตระบบข้อสนเทศทางภูมิศาสตร์
Project officials demonstrated software for Geographic information system.

(น.92) ในโครงการเดียวกันนี้เขาก็เลยทำแผนที่การใช้ที่ดินด้วย เมื่อทำแผนที่แล้วก็วิเคราะห์ประเมินการใช้ทรัพยากรดิน ได้ผลออกมาว่าที่ดินเพาะปลูกในเขตชลประทานมีไม่พอจะต้องเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ยังมีปัญหาการขยายตัวของทะเลทราย ปัญหาดินเค็มอันเกิดจากการทำการชลประทานที่ผิดพลาด ปัญหาทุ่งหญ้าไม่เพียงพอเพราะถูกกินจนหญ้าขึ้นไม่ทัน จะต้องเลิกส่งเสริมการเพิ่มจำนวนสัตว์ ได้มีการรวบรวมผลประมวลเป็นระบบข้อสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เรื่องที่ 3 การใช้ข้อมูลรีโมทเซนซิ่งในการศึกษาที่ราบสูงดิน Loess บริเวณที่ต้องศึกษาประมาณ 800 กว่าล้านตารางกิโลเมตร ทรายแป้ง (Silt) ถูกกัดเซาะไปประมาณปีละ 5,000 ตัน ซึ่งเป็นขั้นรุนแรง บริเวณลุ่มแม่น้ำหวงเหอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่เป็นแหล่งถ่านหิน ซึ่งเป็นพลังงาน

(น.93) สำคัญของจีน แถบนี้มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างรุนแรง ในการทำโครงการนี้เขาหวังผลหลายๆ อย่าง ที่เห็นชัดได้แก่
1.การทำเหมืองแร่มากเกินไป ทำให้เกิดของเสีย เกิดมลภาวะในน้ำ ก็จะถือโอกาสหามาตรการแก้เรื่องนี้
2.การแก้ปัญหาเขตด้อยพัฒนา
3.การควบคุมแม่น้ำหวงเหอในเขตมณฑลชานซี ส่านซี และมองโกเลียใน มีผลในการวางแผนการใช้ที่ดิน การศึกษาเรื่องคนที่มาตั้งถิ่นฐานใหม่ในส่วนที่เคยเป็นทะเลทราย ไม่มีผู้คน จัดบริเวณที่ควรตั้งบ้านเรือน ที่ควรปลูกป่า
ในหัวข้อนี้ได้แสดงผลในคอมพิวเตอร์ให้ดูด้วย เขาพัฒนา Software ขึ้นมาใช้เอง บางส่วนก็ใช้การแปลภาพด้วยสายตา บางส่วนก็ใช้คอมพิวเตอร์ทำ ทั้ง Unsupervised Classification และ Supervised Classification การจำแนกข้อมูลใช้เครื่อง Microcomputer ซึ่งปัจจุบันมีประสิทธิภาพดี มีขนาดเล็กพอที่จะนำไปในการสำรวจภาคสนามได้ ต่อข้อมูลเข้าระบบใหญ่ได้ ต่อออก plotter ได้


(น.94) รูป 92 ถ่ายรูปหน้าแผนที่ประเทศจีน
H.R.H. posed for a photograph in front of the map of China.

(น.94) ก่อนถึงเรื่องสุดท้ายอาจารย์หวางกับพวกบอกให้ถ่ายรูปหมู่หน้าแผนที่เมืองจีนขนาดใหญ่ที่รวบรวมจากภาพจากดาวเทียม LANDSAT ทั้ง MSS และ TM รวบรวมมา 10 ปี เรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องระบบข้อสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS เรื่องนี้งงไปหมด เพราะว่าเขาเร่งอธิบายมาก อาจารย์หวางบอกว่าประชุมกับกระทรวงการต่างประเทศแล้ว เขาให้เฉพาะช่วงเช้าวันเดียวจะต้องให้เสร็จ มีอะไรอยากโชว์อีกเยอะ ถ้าฟังไม่รู้เรื่องก็อ่านหนังสือที่เขาจะจัดให้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้ หรือถามมาทีหลัง ตั้งแต่ ค.ศ. 1980 ได้ทำระบบสำหรับใช้ทั่วประเทศ ประสานกับระบบในระดับท้องถิ่น ใช้เครื่องหลายอย่าง ทั้งไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่อง Mi-

(น.95) cro vax 2 เครื่อง VAX 785 ใช้โปรแกรม ARC INFO เป็นหลัก ศึกษาเก็บข้อมูลในด้าน Slope ใช้ DTM กับภาพดาวเทียม เส้นทางน้ำ แผนที่ การบันทึกข้อสนเทศเรื่องแผนที่นั้นมีทั้งใช้คน digitize ที่ละจุด หรือใช้เครื่อง Scan การทำระบบข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบด้วยแผนที่พืชพันธุ์ต่างๆ แผนที่ดิน แผนที่ที่มีเส้นระดับ ตัวอย่างที่ศึกษาอยู่บริเวณเทียนสิน บริเวณทะเลสาบในมณฑลเจียงซู โครงการจัดการป่าไม้ ใช้ซอฟต์แวร์ GIDAS ซึ่งสามารถทำได้ในด้านการบริหารจัดการข้อมูล การจัดข้อมูลรีโมทเซนซิ่ง (Remote Sensing Processing) การวิเคราะห์ข้อมูล ซอฟต์แวร์ GEOUNION คล้ายๆ กับ ARC INFO มีความสามารถในการรวมแผนที่เข้าด้วยกัน รวมโพลิกอน ซ้อนภาพ การใช้ GIS ช่วยในการพยากรณ์การเกิดน้ำท่วม สร้างโมเดลซึ่งสามารถ plot อดีตและคาดอนาคตได้เช่นโครงการศึกษาทะเลสาบตงถิงซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีขนาดเล็กลง ศึกษาแม่น้ำหวงเหอในมณฑลซานตง เพื่อให้ทราบว่าส่วนไหนเป็นที่อันตราย และเพื่อให้ย้ายประชาชนไปที่ปลอดภัยได้ทัน โครงการทำแผนที่ ความสามารถที่จะพัฒนา (Potential map) ที่เกาะไหหลำ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่น การสร้างระบบ GIS และ

(น.96) ใช้ภาพดาวเทียมในการแก้ไขข้อมูลให้เป็นข้อมูลปัจจุบันเสมอ การสร้างกราฟแสดงการพัฒนาประเทศ อธิบายว่าแต่ก่อนการพัฒนาเป็นไปอย่างช้าๆ หลังการปลดปล่อยเศรษฐกิจดีขึ้น มาตกอีกครั้งในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมเมื่อมีนโยบายเปิดประตูอย่างปัจจุบันเศรษฐกิจดีขึ้น โครงการการศึกษาด้านสมุทรศาสตร์ การศึกษาสภาพของสิ่งแขวนลอยในน้ำทะเล (หมายถึงมลภาวะ) ที่หางโจว การเลือกบริเวณที่เหมาะสมที่จะสร้างท่าเรือ ในกรณีนี้เรื่องของธรณีวิทยามีหัวข้อย่อยที่ต้องศึกษาหลายอย่างเช่น Morphotectonic Analysis, Neotectonic (การพยากรณ์แผ่นดินไหว), รอยเลื่อน (Faults), ระดับภูมิสัณฐาน การศึกษาการกัดเซาะ (Erosion) ซึ่งเขาแบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่การกระทำของแม่น้ำ ลม น้ำแข็ง แบ่งระดับความเสียหายเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ไม่เสียหาย จนถึงขั้นอันตราย ตัวอย่างอยู่ที่มณฑลเฮยหลงเจียง โครงการศึกษาติดตามเรื่องหิมะ ซึ่งมีความสำคัญมากในด้านแหล่งน้ำของดินแดนทะเลทราย ในเรื่องนี้นอกจากจะใช้ภาพดาวเทียม สัญญาณภาพจาก Airborne Sensors ต่างๆ แล้ว ยังใช้เครื่องมือวัดการสะท้อนคลื่นภาคพื้นดิน ดูความลึกของหิมะ ระยะเวลาที่หิมะตก (หิมะเก่า หิมะใหม่) การศึกษาการเคลื่อนที่ของแม่น้ำหวงเหอซึ่งย้ายที่รวดเร็วมาก เห็นได้ชัดจากภาพ ใน ค.ศ. 1975, 1976, 1981, 1986 การสำรวจแร่ การใช้ดาวเทียมศึกษาผลผลิตข้าวโพดฤดูหนาวในเกาะไหหลำ การแสดงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานด้านนี้


(น.97) รูป 93 ดูวีดีโอเทปแสดงการใช้เครื่องมือติดเครื่องบิน (High Altitude Airborne Remote Sensing Operation System)
Watching a video tape showing High Altitude Airborne Remote Sensing Operation System.

Next >>