Please wait...

<< Back

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง วันพุธที่ 5 มกราคม 2537


(น.38) รูป 28 การทำกล่องใส่โบราณวัตถุ

(น.38) อยู่บ่อยๆ เขาแสดงเรื่องการปะกระดาษที่เขียนตัวหนังสือให้แข็งแรงขึ้น โดยการใช้กระดาษบางอีกแผ่นมาแปะด้านหลัง ใช้น้ำกาวใสๆทา (ไม่เหนียวเลย) ดูคล้ายน้ำข้าวทำจากข้าวสาลี อย่างอื่นก็ใช้ได้แต่ข้าวสาลีดีที่สุด อังกฤษใช้ถั่ว เช่น ถั่วเขียว บางทีก็ใช้ข้าวโพด ที่ตุนหวงเมื่อวิเคราะห์ดูแล้วก็ใช้ข้าวสาลี แสดงว่าเป็นเทคนิคโบราณที่ยังใช้ได้ดี เมื่อปะครั้งแรกแล้ว สามารถใส่ขอบที่เป็นผ้ามีลวดลายได้ ในแผนกเดียวกันมีการทำกล่องใส่โบราณวัตถุ ทำปกหนังสือ การเก็บสำเนาจารึก แต่ก่อนนี้เมื่อทำสำเนาจารึกมาก็มาพับอย่างที่ไทยเราเก็บสำเนาจารึก แต่ต่อมาเห็นว่าพับแบบนี้


(น.39) รูป 29 ขั้นตอนการทำปกหนังสือ


รูป 30 การเก็บสำเนาจารึก

(น.39) เสียง่าย จึงปะกระดาษเสริมด้านหลัง อีกห้องแสดงการซ่อมหนังสือจากตุนหวงซึ่งชำรุดมาก ช่างที่แสดงการซ่อมอยู่ทำงานนี้มา


(น.40) รูป 31 ถ่ายไมโครฟิล์ม

(น.40) 10 ปีแล้ว มีหนังสือภาษาแมนจู มีรูแมลงกัดจนพรุนคล้ายๆกับแมลงกัดหนังสือบ้านเรา อีกเล่มถูกน้ำต้องแกะมาซ่อมทุกหน้า ถ้าสามารถหากระดาษโบราณได้ก็เอากระดาษโบราณมาซ่อม ถ้าหาไม่ได้ก็พยายามหากระดาษที่มีลักษณะคล้ายของเดิมมากที่สุด กระดาษที่ใช้ซ่อมหนังสือมี 3 ชนิด คือ กระดาษทำด้วยเปลือกไม้จันทน์ กระดาษปอ เป็นชนิดที่ใช้ซ่อมหนังสือตุนหวง เยื่อไม้ไผ่ จากฮกเกี้ยน อันฮุย หนังสือจดหมายเหตุตุนหวงเป็นหนังสือม้วน แต่ก่อนใช้กระดาษใหม่ปะทับลงไปเฉยๆ ต่อมาเห็นว่าวิธีนี้ตัวหนังสือจะถูกปิด จึงพยายามรักษาสภาพเก่า ปะเฉพาะส่วนที่เสีย บางแผ่นก็ต้องปะมาก เพราะตอนที่พบเป็นเศษป่นไปหมดแล้ว มีตัวหนังสือเขียนตุ้ยเหลียน ฝีมือเจิ้งป่านเฉียว ตุ้ยเหลียน นี้คือแผ่นป้ายคู่คำคล้องจองที่เป็นสิริมงคล เป็นงานศิลปะที่สำคัญ


(น.41) รูป 32 เอกสารโบราณ


รูป 33 การซ่อมหนังสือ

(น.41) มาก ท่านเป็นนักเขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงในราชวงศ์ชิง การซ่อมเขาปะส่วนที่หายไป แต่ส่วนที่เป็นลายมือไม่ต้องปะ แผนกไมโครฟิล์ม หัวหน้าวิศวกรชื่อเหมาเซียน มีเจ้าหน้าที่ถ่ายไมโครฟิล์มหนังสือเก่าด้วยฟิล์ม 135 ม.ม. เมื่อ

(น.42) ถ่ายเรียบร้อยแล้วก็จะเก็บหนังสือไว้ ให้คนอ่านเฉพาะไมโครฟิล์มถ่ายได้วันละ 1,200 หน้า ได้ความรู้ใหม่อย่างหนึ่งว่า ก่อนสมัยราชวงศ์ซ้องมีแต่หนังสือเป็นม้วน สมัยซ้องจึงมีหนังสือเย็บเล่มแบบกี่ พวกที่เป็นม้วนยังไม่ได้ถ่ายไมโครฟิล์ม หนังสือฝรั่งบางทีก็เย็บแคบ แบะถ่ายไมโครฟิล์มไม่ได้ กี่ถ่ายง่ายกว่าเพราะกระดาษบาง แต่บางเล่มเย็บไว้ติดตัวหนังสือ บางทีเขาก็แกะออกถ่าย บางเล่มเป็นหนังสือที่สำคัญมาก หรือที่แกะแล้วเสีย เขาก็จะเก็บไว้ก่อน รอเทคโนโลยีใหม่ที่จะรักษาหนังสือไว้ไม่ให้เสีย หนังสือที่กำลังถ่ายเป็นเรื่องงานวิศวกรรมขุดคลอง ห้องถ่ายไมโครฟิช เขาแสดงการถ่ายหนังสือวารสารแต่ละแผ่นถ่าย 98 หน้า เขามักถ่ายวารสารที่มีน้อยเล่ม คือ พวกที่ออกมาได้ไม่เท่าไหร่ก็ถูกปิด เลิกกิจการ กระดาษที่พิมพ์มักเป็นกระดาษคุณภาพเลว เสียง่าย ตัวจริงมีน้อยเล่ม ห้องเตรียมงานไมโครฟิล์ม เจ้าหน้าที่ต้องเอาหนังสือมาดูและกรอกฟอร์ม ลงทะเบียนให้ทราบสภาพทั้งหมดของหนังสือโบราณนั้น พี่หวานขอฟอร์มเปล่าๆมาดูเพื่อเป็นตัวอย่าง ห้องตรวจฟิล์ม เมื่อถ่ายเสร็จแล้วต้องให้เจ้าหน้าที่ตรวจอีกที ผู้ตรวจต้องใส่ถุงมือ ต้องส่องแว่นขยายตรวจทุกหน้าเพื่อดูว่าภาพคมชัดดี ขาดหน้าไหนไปบ้างรึเปล่า ถ้าตรวจพบบางหน้าขาดหายไป เช่นคนถ่ายพลิกหน้าข้ามไปก็ต้องทำใหม่ทั้งเล่ม ต้องตรวจเทียบกับแบบฟอร์ม ตัวเลขจำนวนหน้า ถ้าไม่ตรงกันก็ต้องตรวจหาเหตุผลว่าเป็นเพราะอะไร ต้องเอาหนังสือตัวจริง


(น.43) รูป 34 ดูบัตรรายการหนังสือ

(น.43) มาเทียบ (ศัพท์ภาษาจีนเรียกไมโครฟิล์มว่า จ้วนเพียน ไมโครฟิชเรียก ผิงเพียน) ห้องก๊อบปี้ฟิล์ม (ภาษาจีนก็ทับศัพท์ว่า เข่าเป้ย) เมื่อถ่ายฟิล์มและล้างแล้ว ถือเป็นต้นฉบับและจะก๊อบปี้สำหรับใช้บริการ เก็บต้นฉบับไว้ ฟิล์มต้นฉบับตัดต่อภาพไม่ได้เลย เพราะถ้าตัดต่อแล้วก๊อบปี้ได้ไม่ชัด มีไมโครฟิชชนิดใส่ได้แผ่นละ 400 หน้า


(น.44) รูป 35 ห้องวารสาร

(น.44) ขยายได้ อุปกรณ์เป็นของบริษัท TDC (Terminal Data Corporation) เครื่องล้างฟิล์ม เครื่องล้างไมโครฟิช ใช้เวลาม้วนละ 10 นาที (30 เมตร) ห้องเก็บบัตรรายการหนังสือ ดูหนังสือเรื่องเกี่ยวกับเมืองไทยที่แปลหรือที่เขียนเป็นภาษาจีน ส่วนมากจะเป็นหนังสือที่พิมพ์ก่อน ค.ศ. 1988 มีหนังสือที่แปลจากหนังสือของพระยาอนุมานราชธน บัตรหนังสือภาษาไทย (มีทั้งบัตรผู้แต่ง ชื่อหนังสือและเรื่อง) มีมากกว่า 2,000 เรื่อง


(น.45) รูป 36 ห้องวารสาร

(น.45) ห้องวารสาร มีกว่า 10,000 ชื่อ มีหนังสือให้บริการผู้อ่าน ห้องเก็บหนังสือ มี 19 ชั้น เนื้อที่ทั้งหมด 40,000 ตารางเมตร เก็บหนังสือภาษาจีนและภาษาต่างประเทศมากกว่า 8-9 ล้านเล่ม ชั้นที่ขึ้นมาดูเป็นวารสารภาษาต่างประเทศ หนังสือภาษาไทยอยู่ชั้น 11 มี 4,000 กว่าเล่ม เจ้าหน้าที่ 60 คน ดูแล 19 ชั้น (ชั้นละ 2,000 ตารางเมตร)

Next >>