<< Back
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2537
(น.111) รูป 191 เวลาเดินบนน้ำแข็งต้องระวังให้ดีเพราะลื่นมาก
(น.111) ศาสตราจารย์จ้าวเป็นกรรมการสถาบันวิจัยภูมิศาสตร์ ศาสตราจารย์เฝิงเล่าให้ฟังว่าได้ทำงานกับศาสตราจารย์เฉินซู่เผิงตั้งแต่ ค.ศ. 1970 กว่า ๆ
ศาสตราจารย์เฉินสนับสนุนและเป็นที่ปรึกษาของสถานีที่นี่จะมาปีละครั้งสองครั้ง ในประเทศจีนก็มีแต่สถานีนี้ที่ศึกษาจริงจังในเรื่องรังสีดวงอาทิตย์ มีอุปกรณ์วัดแสง Ultraviolet และอื่น ๆ เครื่องมือเหล่านี้ผลิตขึ้นเอง
การสนทนาไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะว่าข้าพเจ้าก็ไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องที่พูด เพียงแต่เคยเห็นบางอย่าง ศัพท์พวกนี้แปลเป็นจีนคงจะลำบากแถมแปลมาเป็นไทยอีกต่อ
ปกติเวลาดูงานหรือทำงานก็พูดศัพท์พวกนี้เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ค่อยจะได้คิดแปลเป็นไทยเลย เขาบอกว่าสถานีที่นี่วัดแสงดวงอาทิตย์ (Daylight measurement) มีสถานีทดลองที่จิ้งเยว่ถาน มีชาว
(น.112) รูป 192 เวลาเดินบนน้ำแข็งต้องระวังให้ดีเพราะลื่นมาก
(น.112) ต่างประเทศมาร่วมงานด้วย เช่น จากมหาวิทยาลัยชีบะ และสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยบอสตัน
สหรัฐอเมริกามาทำงานได้ 3 ปีแล้ว แต่ก่อนนี้รังสีดวงอาทิตย์และปริมาณ Ultraviolet จะมีเท่าไรนั้นไม่ได้เป็นที่สนใจมากนัก เพราะไม่ได้คิดกันว่าจะมีผลกระทบต่อมนุษย์มากนัก
ต่อมาค้นพบว่ามีผลทั้งในด้านสุขภาพของคนโดยตรงและเกษตรกรรม (น้ำแล้ง น้ำท่วม) จึงให้ความสำคัญต่องานนี้มากขึ้น ตอนที่ภูเขาไฟพินาตูโบในฟิลิปปินส์ระเบิดสามารถวัดความเปลี่ยนแปลงของแสงอาทิตย์ที่มาสู่โลก
(ถูกมลภาวะบัง) ได้จากฉางชุน ที่สถานีมีงานด้านการพัฒนาการใช้เรดาร์ (SAR) และ Multispectral Scanner ชนิดที่ติดเครื่องบิน ในการวิเคราะห์ภาพต่าง ๆ (image processing)
เขียน software เอง แต่ด้าน hardware จีนยังพัฒนาได้ไม่ดี ใช้ของอเมริกาและญี่ปุ่น นอกจากนั้นทำเรื่องการใช้ Microwave, Laser การใช้ Spectrometer วัดในพื้นที่ภาคสนาม การ
(น.113) รูป 193 ทดลองลื่นบนน้ำแข็ง
รูป 194 ทดลองลื่นบนน้ำแข็ง
(น.113) วิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลหลายช่วงคลื่น การใช้ข้อมูลดาวเทียมทั้ง Landsat TM และ MOS
การทำงานได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน ซึ่งข้าพเจ้าก็ไม่ทราบอีกนั่นแหละว่าชื่อจริง ๆ ว่าอย่างไร หน่วยหนึ่งทำงานในการวิจัยอุปกรณ์ที่จะต้องใช้เลนส์และสถาบันวิจัยภูมิศาสตร์ ซึ่งขึ้นกับสภาวิทยาศาสตร์ เครื่องอีกอย่างหนึ่งฟังจาก
(น.114) คำอธิบายก็ยังไม่เข้าใจ คือ เครื่องวัด Bidirectional Reflection Spectrum สำหรับเรื่องพื้นที่ศึกษา (Test Site)
ศาสตราจารย์จ้าวเป็นคนอธิบายว่าสถาบันได้เลือกพื้นที่ประมาณ 300 ตารางกิโลเมตร ในเขตพื้นที่ราบซงเหลียวกับภูเขาในแถบตะวันออกของมณฑลจี๋หลิน ห่างจากเมืองฉางชุน 13.5 กิโลเมตร
ในพื้นที่นี้มีสภาพภูมิศาสตร์ สภาพธรรมชาติที่หลากหลาย มีทรัพยากรธรรมชาติมาก มีพื้นที่ป่า (ปลูก) และป่าชั้นที่ 2 (Secondary Forest คือป่าที่ขึ้นมาเองตามธรรมชาติแทนป่าชั้นแรก)
มีพืชชั้นสูงราว 530 ชนิด ในด้านอุทกวิทยามีแม่น้ำอีถง ไหลตามแนวเหนือใต้ มีอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติมากมาย มีลักษณะต่าง ๆ กันในแง่ของมลภาวะ ตะกอน ซึ่งเหมาะแก่การศึกษาด้าน Remote Sensing
สามารถศึกษาด้านธรณีวิทยา ธรณีสัณฐาน ปฐพีวิทยา พืชพันธุ์ต่าง ๆ ได้ด้วย ที่ดินผืนนี้มีลักษณะเป็นตัวแทนของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เพราะอยู่ศูนย์กลางของภูมิภาค และมีลักษณะที่เหมือนกับส่วนอื่น ๆ ปี
ค.ศ. 1979 มีการทดลองใช้ Aerial Remote Sensing นักวิชาการหลายชาติมาประมาณ 400 คน คิดว่าไทยก็มาด้วย ค.ศ. 1980 สร้าง Large Scale Simulation Remote Sensing Lab
วัด ground spectrum measurement ซึ่งอาจารย์บอกว่าได้ผลเรื่องป่าไม้มากกว่าพืชอื่น ต่อมาได้ทำสถานีวัดแสงจากดวงอาทิตย์ที่ทำงานอัตโนมัติ มีมหาวิทยาลัยด้านการเกษตรปลูกพืชต่าง ๆ
(น.115) รูป 195 ช่วงที่มีหิมะปกคลุมเดินไม่ยาก
รูป 196 ช่วงที่มีหิมะปกคลุมเดินไม่ยาก
(น.115) การร่วมมือกันที่ทำอยู่มี 2 รูปแบบ แบบแรกเป็นการร่วมมือกันโดยทั้ง 2 ฝ่ายร่วมออกทุนช่วยกันค้นคว้าวิจัย ส่วนอีกแบบหนึ่งนั้น ประเทศอื่นเอางานวิจัยของเขามาทำ
อาจารย์ทั้งสองท่านสรุปว่าน่าจะมาดูงานที่นี่เพราะมีอีกหลายสถาบันที่น่าสนใจ มีสถาบันศึกษาด้านชีวเคมี ฟิสิกส์ เป็นต้น
(น.116) รูป