Please wait...

<< Back

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 2 เหลียวหนิง วันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2537


(น.13) รูป 20 แผนที่มณฑลเหลียวหนิง


รูป 21 หัวกะโหลกมนุษย์โบราณ

(น.13) เริ่มต้นไปที่ ห้องแผนที่ภูมิภาคตงเป่ย เพื่อให้เห็นสภาพทางภูมิศาสตร์โดยทั่วไป ส่วนที่เป็นที่ราบ แม่น้ำเหลียวเหอ อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันตกเป็นภูเขาซึ่งทอดยาวไปที่เทือกเขาปักกิ่ง ตะวันออกมีฉางไป๋ซาน ทางตะวันออกเฉียงใต้มีทะเลหวงไห่และทะเลโป๋ไห่ ภูมิศาสตร์สัมพันธ์กับแหล่งอารยธรรมโบราณตั้งแต่สมัยหินเก่า อยู่แถวแม่น้ำเหลียวเหอและภูเขาจินหนิว บริเวณวังจิ๋นซีฮ่องเต้ บริเวณใกล้โป๋ไห่


(น.14) รูป 22 รูปปั้นแสดงชีวิตของมนุษย์สมัยหิน

(น.14) ห้องต่อไปทำเหมือนกับเราเข้าไปในถ้ำ มีฟอสซิลต่างๆแสดงให้เห็นวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เขาอธิบายว่าเมื่อเร็วๆนี้ได้พบฟอสซิลนกโบราณ รูปจำลองมนุษย์โบราณจินหนิว ทำเป็นแผ่นพลาสติกติดชิ้นส่วนของกระดูกบนแผ่นนั้น แสดงให้เห็นว่าเจอส่วนไหนบ้าง มีกระดูกสันหลังตอนบน เชิงกราน มือ เท้า นักวิชาการค้นคว้าว่าวิวัฒนาการของมนุษย์อยู่ในขั้นใดได้จากลักษณะกระดูกที่บอกได้ว่ามนุษย์นั้นยืน เดิน ใช้ข้อมือช่วยในการหยิบจับของได้หรือยัง กระดูกสัตว์โบราณที่พบในแถบนี้ส่วนมากสูญพันธุ์ไปแล้ว มีกวาง แรด เสือ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะถูกล่าหมดหรือว่าอากาศเย็นลง


(น.15) รูป 23 รูปปั้นแสดงชีวิตของมนุษย์สมัยหิน

(น.15) เลยอยู่ไม่ได้ ช่วงท้ายยุคหินเก่าพบเข็มทำด้วยกระดูก ถึงจะเป็นสมัยเดียวกับมนุษย์ปักกิ่ง แต่มีเทคนิคการเจาะรูเข็มได้ดีกว่าการใช้เข็มช่วยให้เย็บเสื้อผ้าหนังได้ดี มีข้อสังเกตว่าเขตที่หนาวเย็นจำเป็นต้องมีวิวัฒนาการในเรื่องเสื้อผ้าเพื่อป้องกันความหนาวเย็น พูดกันว่ามนุษย์โบราณจากเอเชียข้ามทะเลเป่ยหลิง (แบริ่ง) ไปทางอเมริกา กลายเป็นชาวพื้นเมืองอเมริกา (เอสกิโมที่อลาสก้า)


(น.16) รูป 24 รูปแสดงตำแหน่งกระดูกมนุษย์โบราณที่ขุดพบ


(น.17) รูป 25 ห้องวัฒนธรรมหินใหม่


รูป 26 ห้องวัฒนธรรมหินใหม่

(น.17) ห้องที่ 2 วัฒนธรรมหินใหม่ 5,000-10,000 ปี หน้าห้องมีรูปมังกรโบราณหน้าตาคล้ายหัวหมู ของจริงเป็นหยก 8,000 ปีมาแล้วมีวัฒนธรรมฝูซิน มีมาก่อนวัฒนธรรมหย่างเซ่า มีเครื่องปั้นดินเผาลายเชือกทาบ หินบดธัญพืช เครื่องประดับ มีรูปมังกร แหจับปลา ตัวแหไม่เหลืออยู่แล้ว คงมีแต่หินเจาะรูที่ใช้ถ่วงแห


(น.18) รูป 27 วัฒนธรรมหงซาน

(น.18) วัฒนธรรมหงซานสมัยเดียวกับหย่างเซ่า ไม่พบบ้านเรือนที่อยู่ พบแต่สถานที่บูชาเทวดา เขาทำรูปจำลองบริเวณที่ขุดค้นให้ดู มีที่บูชาเทพมารดา พบรูปเคารพหนู่เสิน (เป็นผู้หญิงอ้วนๆแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ คติเช่น นี้มีมากในสังคมโบราณโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมเกษตรกรรม เมื่อมีศาสนาอื่นเข้ามาก็มักปะปนกับเทพเจ้าอื่น) ที่นี่พบแท่นบูชาเทวดา พบหลุมศพในหลุมมีเครื่องประดับทำด้วยหยก รูปมังกรหัวหมูที่ติดไว้หน้าห้องก็มาจากหลุมนี้ อายุก็ประมาณ 5,500 ปี นอกจากนั้นมีขวานหิน พลั่วหิน คันไถ (หย่างเซ่าไม่มี) เครื่องบูชา รูปหนู่เสินนั่งไขว่ขาประสานมือ ภาชนะเขียนสี เครื่องประดับรูปเต่า นก ปลา 4,000-5,000 ปี สมัยหินใหม่ (หินขัด)


(น.19) รูป 28 วัฒนธรรมหงซาน

Next >>