Please wait...

<< Back

เกล็ดหิมะในสายหมอก ความนำ





(น.1) กล่าวนำ ถึงแม้ข้าพเจ้าจะเคยเดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีนหลายครั้ง แต่ครั้งที่ถือว่าเป็นการเดินทางเพื่อประโยชน์ในด้านการศึกษาอย่างแท้จริงนั้น ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่สาม กล่าวคือ ในครั้งแรกเดินทางเพื่อทำความรู้จักกับประเทศจีนโดยรวมใน พ.ศ.2524 ครั้งที่สอง พ.ศ.2533 เพื่อศึกษาภาคตะวันตกของจีน หรือที่รู้จักกันว่าเป็นเส้นทางแพรไหมในสมัยโบราณ ครั้งที่สามคือครั้งนี้ ตั้งใจไปศึกษาเรื่องภาคตะวันออก


(น.2) รูป



(น.3) เฉียงเหนือของจีนคือ มณฑลเหลียวหนิง จี๋หลิน และเฮยหลงเจียง ซึ่งเป็นดินแดนถิ่นกำเนิดของพวกแมนจู ภาษาจีนเรียกว่าพวกหม่านโจว ต่อมาได้รวมกันตั้งราชวงศ์ชิง เข้าบุกปักกิ่งและใช้เป็นราชธานีต่อมาจนสิ้นราชวงศ์ ดินแดนตะวันออกเฉียงเหนือยังเป็นดินแดนสำคัญในประวัติการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปัจจุบันก็ยังมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมืองของจีนเนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก เป็นแหล่งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ทั้งยังมีทัศนียภาพที่งดงาม สภาพภูมิศาสตร์ที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง


(น.4) รูป

(น.4) อุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งในการเดินทางในมณฑลเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมกราคม คือความหนาวเย็น ผู้เดินทางมาจะต้องเตรียมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่ป้องกันความหนาวได้ทำให้ไม่สะดวกและสิ้นเปลือง แต่หากเตรียมตัวพร้อมแล้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็เป็นสถานที่ดึงดูดใจนักเดินทางที่จะเข้าไปแสวงหาความงามแห่งธรรมชาติและความรู้อันหลากหลายที่น่าสนใจยิ่ง ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าเดินทางไปประเทศจีนก็จะเขียนบันทึกประสบการณ์เพื่อเล่าสู่มิตรสหายญาติพี่น้อง และทุกครั้งที่ประสบปัญหาเรื่องการถ่ายทอดเสียงอ่าน เนื่องจากหลายเสียงที่ใช้ภาษาจีนไม่มีใช้ในภาษาไทย จึงไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ นอกจากพยายามเขียนให้ใกล้เคียงที่สุด คำไหนที่คนไทยรู้จักดีอยู่แล้ว เช่น จะเขียนว่า ปักกิ่ง ไม่เขียนว่า เป่ยจิง ใช้คำว่า ฮกเกี้ยน ไม่ใช้ ฝูเจี้ยน อีกตัวอย่างหนึ่ง


(น.5) รูป

(น.5) เช่นคำที่มีเสียงสระกึ่งเสียงยาวและเสียงสั้น ที่ระบบ pinyin ใช้อักษรแทนเสียงด้วย ong อาจถอดเสียงเป็น -ุง หรือ -ง แล้วแต่ว่าคำไทยนั้นคนไทยชินกับการถอดเป็นเสียงใด สระที่ใช้แทนเสียง a อาจออกเสียงเป็น ะ หรือ า แล้วแต่ความคุ้นเคยและความนิยม นอกจากนั้นจะรวบรวมคำศัพท์ที่เป็นชื่อบุคคล ชื่อเฉพาะต่างๆ สถานที่ทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ จัดทำเป็นนามานุกรมไว้ในภาคผนวก มีตัวเขียนภาษาจีนพร้อมคำอ่านตามแบบสัท- ศาสตร์ที่จีนเรียกว่า พินยิน (pinyin) อักษรจีนที่ใช้เขียนจะขอเขียนตามระบบอักษรย่อจากตัวเต็มที่ใช้กันแพร่หลายในสาธารณรัฐประชาชนจีน