<< Back
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 5 ภาคผนวก ข
เตี้ยวหยูว์ไถ
(น.16) รูป
(น.17) รูป
(น.18) รูป
(น.19) รูป
(น.19) เตี้ยวหยูว์ไถ
เตี้ยวหยูว์ไถเป็นชื่อหมู่เรือนรับรองแขกบ้านแขกเมืองของรัฐบาลจีน ตั้งอยู่ในบริเวณอันกว้างขวางของพระราชอุทยานเตี้ยวหยูว์ไถ มีพื้นที่ถึง 420,000 ตารางเมตร
(ประมาณ 262.5 ไร่) พระราชอุทยานนี้มีทิวทัศน์งดงามเป็นที่เลื่องชื่อในนครปักกิ่ง และมีความเป็นมาที่ยาวนานถึง 800 กว่าปี ในสมัยก่อนเป็นที่พักผ่อนสำราญพระราชอิริยาบถขององค์พระจักรพรรดิ
มีตำหนักที่ประทับซึ่งเรียกกันว่าเตี้ยวหยูว์ไถเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1959 รัฐบาลจีนได้ก่อสร้างปรับปรุงตกแต่งพระราชอุทยานนี้ให้เป็นเรือนรับรองสำหรับแขกบ้านแขกเมือง และได้ใช้เป็นเรือนรับรองของทางการสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
(น.20) รูป
(น.20) หมู่เรือนรับรองที่สร้างขึ้นมี 15 หลัง เรียงรายไปตามรอบทะเลสาบ ที่มีพื้นที่ถึง 50,000 กว่าตารางเมตร แต่ละหลังมีลักษณะสถาปัตยกรรมแตกต่างกันไป
แต่ก็สร้างได้อย่างประณีตสอดคล้องกลมกลืนกับพระตำหนักเตี้ยวหยูว์ไถเดิมในท่ามกลางทิวทัศน์อันงามตระการ มีสายน้ำซีซานไหลผ่านยู่ว์หยวนถานคดเคี้ยวไปตามศาลาและสะพานหินต่างๆ
นอกจากนั้น ในบริเวณเตี้ยวหยูว์ไถยังมีสโมสร ร้านขายของที่ระลึก ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ห้องถ่ายเอกสาร ห้องส่ง
(น.21) โทรเลข ห้องแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สถานีบริการรถแท็กซี่ ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่แขกบ้านแขกเมืองที่มาพัก ในด้านอาหารก็มีรสชาติอร่อย
เป็นอาหารชั้นเลิศจากกุ๊กฝีมือเยี่ยม ที่มีความสามารถประกอบอาหาร สำหรับงานเลี้ยงแบบต่าง ๆ ทั้งอาหารจีน อาหารฝรั่ง อาหารในราชสำนัก และอาหารพื้นถิ่นของภูมิภาคต่าง ๆ
ปัจจุบันพระตำหนักเตี้ยวหยูว์ไถที่ตั้งอยู่ท่ามกลางหมู่เรือนรับรอง ยังคงรักษารูปแบบเดิมในสมัยพระจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิงไว้อย่างครบถ้วน เช่น มีเรือนหย่างหยวน
ภายในเรือนหลังนี้มีทางเดินได้โดยรอบ มีหินซ้อนกันเป็นรูปภูเขา ข้างหน้าเรือนมีธารน้ำไหลผ่านไปรวมตัวกันเป็นสระที่สวยงาม หรือหอชิงลู่ก็ตั้งอยู่ในบริเวณที่งดงามเขียวขจีด้วยต้นสนและไผ่ใบเขียว
ส่วนศาลาเซียวปี้ก็มีสถาปัตยกรรมอันวิจิตร สระของศาลานี้เป็นที่พักผ่อนตกปลา สอดคล้องกับชื่อ “เตี้ยวหยูว์ไถ” ที่มีความหมายว่า “บริเวณที่ยกพื้นขึ้นสำหรับตกปลา” (เตี้ยว (釣) = ตกปลา, ตกเบ็ด, หยูว์ (魚) = ปลา, ไถ (台) = เวที, ยกพื้น, พลับพลา)