<< Back
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 5 ภาคผนวก ง
ระบบปาฉี หรือระบบกองธงทั้งแปด
(น.28) รูป
(น.29) ภาคผนวก ง
(น.30) รูป
(น.31) รูป
(น.31) ระบบปาฉีหรือระบบกองธงทั้งแปด
ระบบปาฉีเป็นการจัดระเบียบสังคมและการปกครองของชาวแมนจู ที่มีพื้นฐานมาจากระบบหนิวลู่ อันเป็นระบบควบคุมทางสังคมที่ชาวแมนจูใช้กันมาตั้งแต่สมัยที่อยู่กันเป็นชนเผ่า
ชาวแมนจูเดิมเรียกว่า ชาวหนี่เจิน ในสมัยโบราณเวลาออกรบหรือล่าสัตว์ ชาวหนี่เจินจะรวมตัวกันจัดตั้งเป็นหมวดหมู่โดยอาศัยตระกูลหรือหมู่บ้านเป็นเกณฑ์ แบ่ง 10 คนเป็น 1 หนิวลู่
(น.32) รูป
(น.32) มีหัวหน้า 1 คน เรียกว่า หนิวลู่เอ๋อเจิน คำว่า “หนิวลู่” เป็นภาษาแมนจู แปลว่า “ลูกศร” ส่วนคำว่า “เอ๋อเจิน” เป็นภาษาแมนจูเช่นกัน
ความหมายดั้งเดิมแปลว่า “เจ้าของ” ต่อมาขยายความแปลว่า “เจ้านาย” รวมความแล้วคำว่า “หนิวลู่เอ๋อเจิน” แปลว่า “เจ้าแห่งลูกศร”
ในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นช่วงที่ชาวหนี่เจินก่อร่างสร้างชาติ ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อ ค.ศ. 1601 พระเจ้าหนูเอ่อร์ฮาชื่อ (ค.ศ. 1616 – 1626)
ซึ่งเป็นผู้วางรากฐานและก่อตั้งอาณาจักรแมนจู ได้จัดตั้งระบบกองธงขึ้นบนพื้นฐานของระบบหนิวลู่ ตามระบบกองธงที่จัดตั้งขึ้นกำหนดให้ชาวหนี่เจินที่อยู่ในวัยฉกรรจ์ทุกคนต้องอยู่ในสังกัด และมีการควบคุมเป็นระดับลดหลั่นกันเป็นลำดับดังนี้
(น.33) รูป
(น.33)
1. กำลังคน 300 คน เป็น 1 หนิวลู่ มีหัวหน้า 1 คนเรียกว่า หนิวลู่เอ๋อเจิน
2. 5 หนิวลู่ (1,500 คน) เป็น 1 เจี่ยลา มีหัวหน้า 1 คนเรียกว่า เจี่ยลาเอ๋อเจิน
3. 5 เจี่ยลา (7,500 คน) เป็น 1 กู้ซาน มีหัวหน้า 1 คนเรียกว่า กู้ซานเอ๋อเจิน
คำว่า “กู้ซาน” เป็นภาษาแมนจู แปลว่า “ธง” คำว่า “ธง” นี้ ภาษาจีนออกเสียงว่า “ฉี” ส่วนคำว่า “กู้ซานเอ๋อเจิน” นั้นภาษาแมนจูแปลว่า “ผู้บัญชาการกองธง” ถึง ค.ศ. 1606
หลังการพัฒนาระบบหนิวลู่เป็นระบบกองธงได้ 5 ปี พระเจ้าหนูเอ่อร์ฮาชื่อได้จัดตั้งกองธงขึ้น 4 กอง แต่ละกองใช้ธงสีเหลือง สีขาว สีแดง และสีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์ตามลำดับ
(น.34) ถึงค.ศ. 1615 พระเจ้าหนูเอ่อร์ฮาชื่อได้จัดตั้งกองธงขึ้นอีก 4 กองธง ใช้ธงสีเหลืองมีขอบแดง ธงสีขาวมีขอบแดง ธงสีแดงมีขอบขาว และธงสีน้ำเงินมีขอบแดง
เป็นสัญลักษณ์ รวมมีกองธงทั้งหมด 8 กองธง กำลังพล 60,000 คน หรือ 200 หนิวลู่ (1 หนิวลู่มี 300 คน) ต่อมาถึงแม้จำนวนหนิวลู่จะเพิ่มขึ้นจาก 200 เป็น 400 หนิวลู่
หรือกำลังพลเพิ่มจาก 60,000 คนเป็น 120,000 คนก็ตาม ก็ยังคงจัดเป็น 8 กองธงเหมือนเดิม ด้วยเหตุนี้จึงเรียกระบบการควบคุมกำลังคนแบบนี้ว่า ระบบปาฉี หรือระบบกองธงทั้งแปด (ปา = แปด, ฉี = ธง)
สันนิษฐานว่า การที่ชาวแมนจูใช้ธงสีต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์และเป็นชื่อหน่วยในระบบการควบคุมกำลังพลนั้น คงเป็นเพราะว่าธงเป็นสัญลักษณ์ของชนชาติจีนและเป็นของคู่บ้านคู่เมืองมาแต่ครั้งโบราณ
รวมทั้งเป็นเครื่องมือสำคัญในการบัญชาการรบคู่มากับกลอง ธงจึงมีความสำคัญในวัฒนธรรมจีน ชาวแมนจูคงได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจีน จึงนำเอาธงมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในระบบการควบคุมกำลังคนที่พัฒนาขึ้นจากพื้นฐานเดิม
ต่อมาระบบปาฉีของชาวแมนจูได้ขยายตัวออกไป มีปาฉีทหารฮั่นและปาฉีมองโกลด้วย เริ่มจากพระเจ้าหนูเอ่อร์ฮาชื่อผู้ทรงเป็นข่านแห่งอาณาจักรโฮ่วจิน ได้จัดให้ชาวฮั่นหรือชาวจีนที่มาสวามิภักดิ์เป็นกำลังพล 6 หนิวลู่
ขึ้นสังกัดกับปาฉีแมนจูถึงสมัยพระเจ้าหวงไทจี๋หรือพระเจ้าชิงไท่จง (ค.ศ. 1627 – 1643) กำลังพลชาวฮั่นมีเพิ่มขึ้น จึงจัดเป็นทหารฮั่น 1 กองธง และได้
(น.35) รูป
(น.36) จัดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปลายรัชกาลใน ค.ศ. 1642 ก็ตั้งครบทั้ง 8 กองธง มีจำนวนพล 24,050 คน ส่วนปาฉีมองโกลนั้นได้เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1635 ในสมัยพระเจ้าหวงไท่จี๋ และได้จัดตั้งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนครบ 8 กองธง มีกำลังพล 16,840 คน
ทั้งปาฉีทหารฮั่นและปาฉีมองโกลมีระบบการควบคุมกำลังคนลดหลั่นเป็นลำดับ และใช้ธงสีต่าง ๆ เหมือนปาฉีแมนจูทุกประการ แม้ว่าปาฉีของชนทั้ง 3 เผ่ารวมกันแล้วจะเป็น 24 กองธง
แต่ก็ยังคงเรียกว่า “ระบบปาฉี” หรือ “ระบบกองธงทั้งแปด” เหมือนเช่นเดิม เพียงแต่เติมคำภาษาจีน “ชิง” เข้าไปเป็น “ชิงปาฉี” แปลว่า “ระบบกองธงทั้งแปดแห่งราชวงศ์ชิง”
ส่วนคำลงท้ายชื่อตำแหน่งของผู้คุมกำลังพลในแต่ละระดับนั้นเมื่อระบบปาฉีพัฒนามาได้ระยะหนึ่ง ได้มีการเปลี่ยนแปลงกล่าวคือ ใน ค.ศ. 1634 สมัยพระเจ้าหวงไท่จี๋ได้เปลี่ยนตำแหน่งจาก
“หนิวลู่เอ๋อเจิน” เป็น “หนิวลู่จางจิง” และ “เจี่ยลาเอ๋อเจิน” เป็น “เจี่ยลาจางจิง” ส่วนตำแหน่ง “กู้ซานเอ๋อเจิน” ยังคงใช้ชื่อตำแหน่งเหมือนเดิม คำว่า “จางจิง” เป็นภาษาแมนจูแปลว่า “หัวหน้า”
การเปลี่ยนแปลงคำลงท้ายชื่อตำแหน่งจาก “เอ๋อเจิน” เป็น “จางจิง” นั้น เป็นเพราะว่าในเวลาต่อมาคำว่า “เอ๋อเจิน” ได้ใช้ในความหมายว่า “ผู้นำชั้นสูงชาวแมนจู” เทียบได้กับคำภาษาจีน 3 คำคือ “เทียนจื่อ” (天子) แปลว่า “โอรสสวรรค์” “หวัง” (王 หรือ “อ๋อง” ในภาษาไทย) แปลว่า “เจ้านาย
(น.37) รูป
(น.37) ทรงกรมชั้นใหญ่” และ “จวิน” (君) แปลว่า “เจ้าเมืองหรือขุนนางผู้ใหญ่” ส่วนชื่อตำแหน่ง “กู้ชานเอ๋อเจิน”
ที่ไม่เปลี่ยนคำลงท้ายนั้นอาจเป็นเพราะว่าผู้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่หรือบางคนก็เป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์อยู่แล้ว
ในระยะแรกของการจัดตั้ง ระบบปาฉีมีบทบาทหน้าที่ทั้งในด้านการทหาร การปกครอง และการผลิต เช่น ผู้เป็น “หนิวลู่จางจิง”
นั้นนอกจากออกรบแล้ว ในยามปกติจะทำหน้าที่สำรวจจัดทำบัญชีสำมะโนครัว จำนวนไร่นา บ้านเรือน ทะเบียนทหาร ไปจนถึงการแก้ไขข้อขัดแย้งของผู้คนที่อยู่ในความควบคุมของตน ส่วน “กู้ซานเอ๋อเจิน” นั้น นอกจาก
Next >>