Please wait...

<< Back

สถาบันชนชาติมณฑลยูนนาน


(น.181) รูป 193 ตุ๊กตาเผ่าต่างๆ ขนาดเล็กๆ

(น.181) ธนู – เกาทัณฑ์ใหญ่ เวลาจะโก่งต้องใช้วัวลาก เสื้อเกราะหนัง ช้างสมัยสามก๊ก เสื้อเกราะของชนชาติต่างๆ ทำด้วยหนังแพะ เปลือกต้นไม้ หนังหมี เสื้อผ้าผีตองเหลือง (ภาษาจีนเรียกว่าหวงเย่กุ่ย แปลว่า ผีใบไม้เหลือง) กี่ทอผ้า หุ่นดินเผาเป็นรูปชนเผ่าต่างๆ ที่นี่ทำได้น่าสนใจกว่าที่อื่นคือมีท่าทางต่างๆ เช่น อ่านหนังสือ สวดมนต์ ฟังวิทยุ ห้องเกี่ยวกับหนังสือทางศาสนาและเครื่องดนตรี ดินเผาตงปา (เหมือนดินเผาที่เด็กปั้นเล่น) ใช้ในพิธีบูชาเทพเจ้ามังกร เป็นรูปกบ รูปงู รูปสัตว์ประหลาด ไม้สลักโบราณ ลายสักเผ่าต่างๆ (มีภาพประกอบ) ภาพฝาผนัง เป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนา พบทางภาคใต้ของยูนนาน คัมภีร์ต่างๆ พิมพ์ไม้ พวกหว่า (ว้า) มีกลองไม้ หัวกะโหลกศัตรู


(น.182) รูป 194 หนังสือโบราณ

(น.182) จดหมายพฤกษศาสตร์ของชาวจิ่งพอ เหมือนกับที่พิพิธภัณฑ์ยูนนาน แต่อธิบายละเอียดกว่า
1. ใบซีจ๋วย (เฟิร์น) = แต่ก่อนบิดามารดาขัดขวาง เดี๋ยวนี้เห็นด้วยแล้ว
2. ใบไมยราบ = ไม่ต้องอาย
3. ใบเหยียนซวน (กำลังเสือโคร่ง) = อย่ายั่วโมโห
4. ใบขนุน = พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายกินข้าวด้วยกันแล้ว
5. ใบชา = สองฝ่ายต้องดูแลกัน
6. ใบยาสูบ, หมาก, เหรียญเงิน, เส้นไม้ไผ่ = เริ่มมีความรู้สึกดี


(น.183) รูป 195 พืชต่างๆ ที่มีความหมาย

(น.183)
7. รากไม้ = คิดถึง
8. พริก = รักร้อนแรง
9. กระดุม = มีบุคคลที่สามเข้าแทรกแซง
10. ใบมะขามป้อม = แค้นมากอยากจับมาสับเป็นท่อนๆ เหมือนบะช่อ
11. มะกล่ำตาช้าง = รักเธอไม่พลัดพรากจากกัน
12. ใบไม้สีแดง = แต่งงานได้, ใบไม้สีขาว = แต่งงานไม่ได้
13. ใบหญ้าไม้กวาด = ฉันรอเธอด้วยความอดทน
14. สนเขา = จะมีโอกาสเจอกันบ่อยๆ
15. ใบไผ่ = หวังว่าเธอจะอยู่ข้างฉันเรื่อยไป

(น.184) นอกจากนั้นยังมีการผสมกันระหว่างของต่างๆ กลายเป็นความหมายใหม่ เช่น พ่อแม่ไม่ให้แต่งงาน อีกสามวันจะหนีตาม ที่เราแอบอยู่ด้วยกันนี้ปิดความลับไม่อยู่แล้ว จดหมายทิเบตทำด้วยไม้ไผ่มีเครื่องหมายใช้ธนูยิงบอกกันเวลาคับขัน นอกจากนั้นมีหนังสือต่างๆ อีกหลายเล่ม เครื่องดนตรีมีเครื่องเป่า ขลุ่ยต่างๆ ฉาบ กลองยาว กลองมโหระทึก เผลอดูเพลินไปหน่อย เลยเวลาไปแล้วต้องรีบกลับ มาดามเฉินบอกว่าแถวนี้เป็นเขตการศึกษา นอกจากสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่รับนักเรียนชั้นมัธยมปลาย สอบเข้าตามปกติแล้ว ยังมีที่รับคนที่ทำงานอยู่แล้วมาเรียน พวกครูที่สอนนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร สอนนักเรียนมัธยมปลายที่สอบได้คะแนนไม่พอที่จะเข้ามหาวิทยาลัยให้เรียนซ้ำ กลับมานัดวิศวกรมาเล่าเรื่องไฟฟ้าพลังน้ำ ในแม่น้ำล้านช้าง (แม่น้ำโขง) ไปโรงแรมคิงเวิลด์ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานกงสุล พบกับคนไทยคือข้าราชการจากสถานทูตปักกิ่ง ข้าราชการและครอบครัวสถานกงสุลที่คุนหมิง คนไทยในเขตการดูแลของสถานกงสุล (ยูนนาน เสฉวน หูหนาน แต่หูหนานไม่มีคนไทย) มีพวกนักเรียน 7 คนที่เรียนอยู่ที่สถาบันชนชาติมณฑลยูนนาน เจ้าหน้าที่ของธนาคาร และบริษัทต่างๆ ที่มาลงทุนในยูนนานและเสฉวน จากนั้นรับประทานอาหารค่ำ ขอให้เขาลองสั่งสุนัขมา คราวนี้เป็นสุนัขน้ำแดง (คราวก่อนเป็นพะโล้) ได้คุยกันเรื่องโอกาสการลงทุนในจีน

จัดหมวดหมู่สารสนเทศ

สถาบันชนชาติมณฑลยูนนาน

นักศึกษาที่นี่ 95% เป็นชนกลุ่มน้อย มีทั้ง 25 ชนชาติ ชาวต่างประเทศก็รับเข้าเป็นนักศึกษา มีนักศึกษาปริญญาตรี 4,500 คน แต่ละปีจบ 400 กว่าคน มีนักศึกษาไทยเรียนที่นี่ 7 คน มาเรียนภาษาจีน ถามเขาดูมีอาจารย์คนหนึ่ง นอกนั้นมาเรียนด้วยเหตุผลต่างๆ กัน คือ ธนาคารจะเปิดสาขาใหม่ส่งพนักงานมาเรียน บิดามารดาส่งมาเรียนเองเพราะค้าขายติดต่อกับจีน

หลักสูตร

หลักสูตรปริญญาตรี

อาจารย์หวงฮุ่ยคุนอธิบายเรื่องสถาบันว่าแบ่งเป็นหลายคณะดังนี้

1. คณะภาษาชนชาติกลุ่มน้อย เปิดสอน 8 ภาษา คือ

1) ภาษาไทลื้อสิบสองปันนา
2) ภาษาไทใหญ่ เต๋อหง
3) ภาษาอี๋ เป็นภาษาตระกูลทิเบต – พม่า
4) ภาษาจีน (ฮั่น)
5) ภาษาหว่า (ว้า) ซึ่งเป็นภาษาตระกูลมอญ – เขมร สาขาปะหล่อง – ว้า
6) ภาษาลาฮู (มูเซอร์) แบ่งเป็น มูเซอร์เหลือง ดำ, แดง เป็นภาษาตระกูลทิเบต – พม่า
7) ภาษาฮาหนี (อีก้อ) เป็นภาษาตระกูลทิเบต – พม่า
8) ภาษาจิ่งพอ เป็นภาษาตระกูลทิเบต – พม่า

2. คณะวิชาภาษาตะวันออก มีสอน 4 คณะ

1) ไทย
2) พม่า
3) เวียดนาม แปลกที่เขาบอกว่าถือภาษาเวียดนามใต้เป็นหลัก
4) ลาว

3. คณะวิชาภาษาตะวันตก

1) อังกฤษ
2) ญี่ปุ่น ใครๆ ก็เอะอะว่าทำไมถือภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาตะวันตก ถามดูก็ไม่มีคำตอบ ข้าพเจ้าเลยคิดเอาเองว่าการจัดว่าใครเป็นตะวันออกตะวันตกในที่นี้เห็นจะขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจ เวลานี้เห็นกันว่าญี่ปุ่นเป็นฝ่ายตะวันตก ข้าพเจ้าว่าให้ถือเป็น 1 ใน G 7
ไปดูห้องอ่านหนังสือ เป็นห้องที่นักศึกษามาหยิบหนังสือเอาเองได้ ถ้าเป็นห้องสมุดต้องบอกให้บรรณารักษ์หยิบ
วิชาการที่นักศึกษาต้องเรียนมีเรื่องประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภาษา – วรรณคดี รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมชนเผ่า และศาสนา นอกจากนั้นต้องเรียนคอมพิวเตอร์ด้วย

หลักสูตรปริญญาโท

ระดับปริญญาโทมี 5 สาขาคือ

1.ประวัติศาสตร์ชนชาติ 2.มานุษยวิทยา 3.มานุษยวิทยาเศรษฐศาสตร์ 4.ภาษาชนชาติ 5.วรรณคดีชนชาติ

สถานที่ต่างๆภายในสถาบัน

ห้องสมุดมหาวิทยาลัย

ห้องสมุดมีเอกสารภาษาของคนกลุ่มน้อยต่างๆ เช่นเอกสารของพวกตงปา (เผ่านาซี) มีเป็นจำนวนมาก อายุ 300 กว่าปี ทางสถาบันเก็บมาจากตามหมู่บ้าน หนังสือตงปานี้ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครอ่านได้แล้ว ทั่วประเทศจีนมีผู้อ่านได้ไม่ถึง 20 คน อาจารย์ที่สถาบันนี้อ่านได้เพียงบางส่วนเท่านั้น คัมภีร์ใบลานของสิบสองปันนาก็มีเป็นจำนวนมากเช่นกัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ตำรายา นอกจากนั้นมีหนังสือภาษาไทใหญ่จากเต๋อหง มีคนแปลเป็นภาษาจีนแล้ว เอกสารที่พิมพ์แล้วอยู่ในตู้หนังสือ มีเอกสารโบราณของพวกอี๋ ปัจจุบันนี้พวกอี๋ได้ปรับปรุงตัวอักษรจากภาษาโบราณผสมกับอักษรจีนมาใช้ โทรทัศน์วิทยุก็ออกเป็นภาษาอี๋ เผ่าฮาหนี (อีก้อ) ใช้อักษรโบราณเขียนหนังสือ นอกจากนั้นยังมีพจนานุกรมภาษาฮั่น (จีน) - จิ่งพอ จีน – ลีซอ จีน – ตู๋หลง อี๋ – ฮั่น คัมภีร์ไบเบิลภาษาเหมียว (แม้ว, ม้ง) คัมภีร์ทิเบต ภาษามองโกล ภาษาหุย (อาหรับ) ภาษาเววูเอ๋อร์ (อุยกูร์) ภาษาคาซัก ภาษาแมนจู หนังสือเรื่องอักษร 5 ลักษณะในราชวงศ์ชิง มีภาษาหม่าน (แมนจู) ฮั่น (จีน) มองโกล ทิเบต และหุย หนังสือวรรณคดีทิเบตสมัยต่างๆ

ห้องเอกสารโบราณคดีจีน

ไปดูห้องเอกสารโบราณจีน ห้องนี้แบ่งหนังสือออกเป็น 5 หมวด
1.จิง (คัมภีร์) เป็นหนังสือจำพวกปรัชญา เช่น หนังสือของขงจื้อ เม่งจื้อ
2.ประวัติศาสตร์ เช่น หนังสือสื่อจี้ ของซือหม่าเชียน มีจำนวนมาก (ตู้เรียงกัน 4 แถว)
3.พวกบทความของนักปราชญ์ เช่น หนังสือเหยียนเที่ยลุ่นสมัยฮั่นตะวันตก เป็นเรื่องวิเคราะห์เศรษฐกิจสมัยนั้น บทความของขงจื้อ ซึ่งอยู่ในสมัยจ้านกว๋อ อธิบายถึงวิธีปกครองแผ่นดินให้มีความสุข (มี 2 แถว)
4.บทความของนักเขียน นักวิชาการทั่วๆ ไป มีทั้งทางด้านวรรณคดี ประวัติศาสตร์ บทกวี บทความร้อยแก้ว (2 แถว)
5.หนังสือที่แยกเป็นเรื่องตามหัวข้อ ลักษณะคล้ายสารานุกรม เช่น เรื่องหยกในประเทศจีน เรื่องจังหวะหนักเบาของบทกวี เรื่องดนตรี
นอกจากนั้นในห้องสมุดยังเก็บสำเนาจารึก (Rubbing) จากศิลาจารึกสมัยต่างๆ หนังสือหย่งเล่อต้าเตี่ยนฉบับที่สถาบันฯ มีอยู่ ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1959 (มี 200 กว่าเล่ม) มีตราสีแดงประทับไว้ว่าเป็นหนังสือหายาก หย่งเล่อต้าเตี่ยนเป็นสารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดของจีน ต้นฉบับมีอยู่ 3,519 ม้วน ชั้นบนมีหนังสือชุดที่ Asia Foundation ให้ มีอยู่ 2,700 กว่าเล่ม มีหลายสาขาวิชา (จำแนกหมวดตามแบบจีน) พจนานุกรมต่างๆ นักศึกษาของสถาบันเรียนภาษาไทย 180 คน มีอาจารย์สอน 10 คน นักศึกษาคนที่ไปรำที่งานดนตรีไทยอุดมศึกษาก็เรียนภาษาไทย ปลายเดือนที่แล้วอธิการบดีไปร่วมงาน 30 ปีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี ค.ศ. 1993 รองอธิการได้ไปงานฉลอง 75 ปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย

ไปดูพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย ข้างหน้าพิพิธภัณฑ์มีจารึกอักษรชาติต่างๆ 9 ชาติ คือ อี๋ ตงปา (เผ่านาซี) ทิเบต จิ่งพอ ลีซอ หว่า (ว้า) ลาฮู ไทใหญ่ (เต๋อหง) ไทลื้อ (สิบสองปันนา)

สิ่งที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์

ของในพิพิธภัณฑ์มีเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ขวานหินขัด เครื่องมือล่าสัตว์ เช่น ธนู บ้าน กระจกสำริด เหรียญเงิน หอยเบี้ย เครื่องประดับสมัยจ้านกว๋อ จอบ แท่งเงินชนิดต่างๆ ที่พบในยูนนาน หนังสือใบลาน กระดาษทำจากเปลือกต้นโก้ว ใช้รากผักกูดเป็นปากกา มีดต่างๆ เครื่องมือจับปลา ภาพถ่ายชาวเผ่าตู๋หลงไต่สะพานเชือก เครื่องจักสาน กระทะต่างๆ รูปขมุกินเหล้าไห ไม้ไผ่ต่างๆ รากไม้ เครื่องตีหินเหล็กไฟ เครื่องชั่ง ภาชนะต่างๆ พิมพ์ขนม เครื่องเงิน ชั้นบนเป็นเรื่องเสื้อผ้า เครื่องประดับ ส่วนใหญ่ทำด้วยเงิน มีกำไลต่างๆ ตุ้มหู เสื้อผ้าเผ่าต่างๆ มีรองเท้าคู่เล็กๆ ตอนแรกคิดว่าเป็นรองเท้าเด็กที่จริงเป็นรองเท้าผู้หญิงโตๆ ที่ถูกรัดเท้า เสื้อผ้าที่จักรพรรดิราชวงศ์ชิงให้ชนชาติไต่สมัยนั้น ตราประทับที่จักรพรรดิพระราชทานเจ้าเมืองไต่ ดาบอาญาสิทธิ์ เสื้อผ้าขุนนางราชวงศ์ชิงให้เจ้าเมืองชนชาติอี๋ ของพวกนี้ทางมหาวิทยาลัยเก็บจากชาวบ้านนานมาแล้ว ธนู – เกาทัณฑ์ใหญ่ เวลาจะโก่งต้องใช้วัวลาก เสื้อเกราะหนัง ช้างสมัยสามก๊ก เสื้อเกราะของชนชาติต่างๆ ทำด้วยหนังแพะ เปลือกต้นไม้ หนังหมี เสื้อผ้าผีตองเหลือง (ภาษาจีนเรียกว่าหวงเย่กุ่ย แปลว่า ผีใบไม้เหลือง) กี่ทอผ้า หุ่นดินเผาเป็นรูปชนเผ่าต่างๆ ที่นี่ทำได้น่าสนใจกว่าที่อื่นคือมีท่าทางต่างๆ เช่น อ่านหนังสือ สวดมนต์ ฟังวิทยุ ห้องเกี่ยวกับหนังสือทางศาสนาและเครื่องดนตรี ดินเผาตงปา (เหมือนดินเผาที่เด็กปั้นเล่น) ใช้ในพิธีบูชาเทพเจ้ามังกร เป็นรูปกบ รูปงู รูปสัตว์ประหลาด ไม้สลักโบราณ ลายสักเผ่าต่างๆ (มีภาพประกอบ) ภาพฝาผนัง เป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนา พบทางภาคใต้ของยูนนาน คัมภีร์ต่างๆ พิมพ์ไม้ พวกหว่า (ว้า) มีกลองไม้ หัวกะโหลกศัตรู จดหมายทิเบตทำด้วยไม้ไผ่มีเครื่องหมายใช้ธนูยิงบอกกันเวลาคับขัน นอกจากนั้นมีหนังสือต่างๆ อีกหลายเล่ม เครื่องดนตรีมีเครื่องเป่า ขลุ่ยต่างๆ ฉาบ กลองยาว กลองมโหระทึก เผลอดูเพลินไปหน่อย เลยเวลาไปแล้วต้องรีบกลับ มาดามเฉินบอกว่าแถวนี้เป็นเขตการศึกษา นอกจากสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่รับนักเรียนชั้นมัธยมปลาย สอบเข้าตามปกติแล้ว ยังมีที่รับคนที่ทำงานอยู่แล้วมาเรียน พวกครูที่สอนนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร สอนนักเรียนมัธยมปลายที่สอบได้คะแนนไม่พอที่จะเข้ามหาวิทยาลัยให้เรียนซ้ำ

จดหมายใบไม้ของชาวจิ่งพอ

จดหมายพฤกษศาสตร์ของชาวจิ่งพอ เหมือนกับที่พิพิธภัณฑ์ยูนนาน แต่อธิบายละเอียดกว่า
1. ใบซีจ๋วย (เฟิร์น) = แต่ก่อนบิดามารดาขัดขวาง เดี๋ยวนี้เห็นด้วยแล้ว
2. ใบไมยราบ = ไม่ต้องอาย
3. ใบเหยียนซวน (กำลังเสือโคร่ง) = อย่ายั่วโมโห
4. ใบขนุน = พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายกินข้าวด้วยกันแล้ว
5. ใบชา = สองฝ่ายต้องดูแลกัน
6. ใบยาสูบ, หมาก, เหรียญเงิน, เส้นไม้ไผ่ = เริ่มมีความรู้สึกดี
7. รากไม้ = คิดถึง
8. พริก = รักร้อนแรง
9. กระดุม = มีบุคคลที่สามเข้าแทรกแซง
10. ใบมะขามป้อม = แค้นมากอยากจับมาสับเป็นท่อนๆ เหมือนบะช่อ
11. มะกล่ำตาช้าง = รักเธอไม่พลัดพรากจากกัน
12. ใบไม้สีแดง = แต่งงานได้, ใบไม้สีขาว = แต่งงานไม่ได้
13. ใบหญ้าไม้กวาด = ฉันรอเธอด้วยความอดทน
14. สนเขา = จะมีโอกาสเจอกันบ่อยๆ
15. ใบไผ่ = หวังว่าเธอจะอยู่ข้างฉันเรื่อยไป
นอกจากนั้นยังมีการผสมกันระหว่างของต่างๆ กลายเป็นความหมายใหม่ เช่น พ่อแม่ไม่ให้แต่งงาน อีกสามวันจะหนีตาม ที่เราแอบอยู่ด้วยกันนี้ปิดความลับไม่อยู่แล้ว [1]

อ้างอิง

1. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า173,174,175,176,177,178,179,180,181,182,183,184