Please wait...

<< Back

สุสานตงหลิง


(น.60) รูป

(น.61)




(น.62) รูป


(น.63) รูป


(น.64) รูป 77 พระเจ้าหนูเอ่อร์ฮาชื่อ

(น.64)
1. พระเจ้าหนูเอ่อร์ฮาชื่อ (ค.ศ.1559-1626) พระนามเมื่อครองราชย์ว่า ชิงไท่จู่ ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1616-1626 เป็นผู้รวมชนเผ่าและสถาปนาราชวงศ์ชิง สิ้นพระชมน์ในสนามรบ


(น.65) รูป 78 พระเจ้าหวงไท่จี๋


รูป 79 พระเจ้าซุ่นจื้อ

(น.65)
2. พระเจ้าหวงไท่จี๋ (ค.ศ. 1592-1643) พระนามเมื่อครองราชย์ว่า ชิงไท่จง ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1627-1643 เป็นโอรสองค์ที่ 8 ของพระเจ้าหนูเอ่อร์ฮาชื่อ มักตามพระราชบิดาไปในการรบอยู่เสมอ พระศพฝังที่เป่ยหลิง สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนม์ 52 พรรษา
3. พระเจ้าซุ่นจื้อ (ค.ศ. 1644-1661) พระนามเดิมว่า ฝู่หลิน เป็นองค์แรกที่เข้าปักกิ่งได้เมื่อพระชนม์ 6 พรรษา ขึ้นครองด้วยพระองค์เองเมื่อมีพระชนม์ได้ 18 พรรษา เป็นผู้รวมจีนและวางรากฐานการปกครองราชวงศ์ชิง


(น.66) รูป 80 พระเจ้าหย่งเจิ้ง

(น.66)
4.พระเจ้าคังซี (ค.ศ.1662-1722) หุ่นขี้ผึ้งให้เห็นว่าแต่งพระองค์ธรรมดาๆ ไม่แต่งชุดจักรพรรดิ เข้ากับประชาชนได้ดี ทรงอยู่ในราชสมบัติ 61 ปี (8-69 พรรษา) เป็นช่วงที่จีนอยู่ในยุคแห่งความสุข แผ่พระราชอำนาจกว้างไกล
5. พระเจ้าหย่งเจิ้ง (ค.ศ. 1723-1735) เป็นพระโอรสองค์ที่ 4 ของพระเจ้าคังซี ตามตำนานบางเรื่องว่าเป็นคนโหดร้ายช่วงชิงอำนาจมา บางเรื่องก็ว่าวางยาพิษพระเจ้าคังซี ตามตำนานที่เขาเอามาแต่งเป็นหนังเรื่อง “ศึกสายเลือด” ที่ฉายใน


(น.67) รูป 81 พระเจ้าเฉียนหลง

(น.67) โทรทัศน์บอกว่า เดิมพระเจ้าคังซีเขียนพินัยกรรมระบุถึงผู้ที่จะสืบทอดพระราชสมบัติต่อไปว่าให้องค์ชายที่สิบสี่หรือองค์ชาย 14 เขียนภาษาจีนว่า 十四 แต่หย่งเจิ้งแก้เป็น 于四 แปลว่าให้องค์ชาย 4 แต่ไกด์บอกว่าเขาไม่เชื่อตำนานนี้ เขาคิดว่าพระองค์ทรงได้ราชสมบัติอย่างถูกต้อง การแก้ตัวอักษรจีนอาจทำได้ แต่แก้อักษรแมนจูทำไม่ได้
(น.68)
6. พระเจ้าเฉียนหลง (ค.ศ.1736-1795) ทำเป็นรูปจักรพรรดิถือพู่กัน เพราะเป็นกษัตริย์นักปราชญ์ เขียนบทกวีและเขียนภาพ พระองค์อยู่ในราชสมบัติ 60 ปี ก็สละราชสมบัติเพราะไม่ต้องการครองราชย์นานเกินกว่าพระอัยกาธิราช ให้พระราชโอรสขึ้นครองราชย์ แต่พระองค์สำเร็จราชการอยู่อีก 3 ปี ฉะนั้นอยู่ในอำนาจ 63 ปี พระชนม์ยืนถึง 89 พรรษา เรียกกันว่าเป็นผู้มีอำนาจนาน ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านบุ๋นและบู๊ ทั้ง 6 พระองค์นี้อยู่ในช่วงที่ราชวงศ์ชิงเจริญถึงจุดสูงสุด ต่อจากนั้นก็อยู่ในยุคเสื่อม เรื่องการขึ้นสู่อำนาจและความเสื่อมของราชวงศ์นั้นเป็นเรื่องที่ชวนให้คิด ผู้ที่ได้อำนาจตอนต้นมักมาจากดินแดนที่ยากจน ยากลำบาก จึงต้องดิ้นรน เมื่อได้อำนาจแล้วบางคนก็รักษาอำนาจไว้ไม่ได้ เพราะการที่จะรักษาอำนาจได้มีปัจจัยหลายอย่าง อย่างหนึ่งคือการปกครอง การบริหารที่มีระบบ อย่างที่เรียกว่ามีระบบที่ดีแล้ว ไม่สำคัญที่ตัวบุคคล เมื่อมีระบบบริหารที่ดีทำให้สามารถหารายได้มาใช้ในการบริหาร (ไม่มีรายได้ก็บริหารไม่ได้) การหารายได้ที่ดีที่สุดคือการเก็บภาษีอากร ถ้าระบบเก็บภาษีอากรล้มเหลวก็ขาดรายได้ เป็นส่วนที่นำความล้มเหลวมาสู่ผู้มีอำนาจ อีกประการหนึ่งเมื่อมีระบบที่สมบูรณ์แล้ว ความคล่องตัวในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป อันทำให้ราชวงศ์หรือผู้มีอำนาจนั้นอยู่รอดได้ก็ลดลง เมื่อมีอำนาจใหม่มาท้าทายก็มักจะพ่ายแพ้อยู่ไม่ได้

Next >>