Please wait...

<< Back

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งมณฑลเหลียวหนิง

จากหนังสือ

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 2 เหลียวหนิง หน้า 11-45


(น.11) รูป 17 ป้ายต้อนรับพิพิธภัณฑ์เหลียวหนิง


(น.12) รูป 18 พิพิธภัณฑ์แบ่งเป็นแผนกต่างๆ


รูป 19 พิพิธภัณฑ์แบ่งเป็นแผนกต่างๆ

(น.12) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งมณฑลเหลียวหนิง เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 เป็น 1 ใน 8 ของพิพิธภัณฑ์สำคัญของจีน มีผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการ (นายเจียงเนียนซื่อ, นายหวังเหมียนโฮ่ว) คอยต้อนรับ


(น.13) รูป 20 แผนที่มณฑลเหลียวหนิง


รูป 21 หัวกะโหลกมนุษย์โบราณ

(น.13) เริ่มต้นไปที่ ห้องแผนที่ภูมิภาคตงเป่ย เพื่อให้เห็นสภาพทางภูมิศาสตร์โดยทั่วไป ส่วนที่เป็นที่ราบ แม่น้ำเหลียวเหอ อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันตกเป็นภูเขาซึ่งทอดยาวไปที่เทือกเขาปักกิ่ง ตะวันออกมีฉางไป๋ซาน ทางตะวันออกเฉียงใต้มีทะเลหวงไห่และทะเลโป๋ไห่ ภูมิศาสตร์สัมพันธ์กับแหล่งอารยธรรมโบราณตั้งแต่สมัยหินเก่า อยู่แถวแม่น้ำเหลียวเหอและภูเขาจินหนิว บริเวณวังจิ๋นซีฮ่องเต้ บริเวณใกล้โป๋ไห่


(น.14) รูป 22 รูปปั้นแสดงชีวิตของมนุษย์สมัยหิน

(น.14) ห้องต่อไปทำเหมือนกับเราเข้าไปในถ้ำ มีฟอสซิลต่างๆแสดงให้เห็นวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เขาอธิบายว่าเมื่อเร็วๆนี้ได้พบฟอสซิลนกโบราณ รูปจำลองมนุษย์โบราณจินหนิว ทำเป็นแผ่นพลาสติกติดชิ้นส่วนของกระดูกบนแผ่นนั้น แสดงให้เห็นว่าเจอส่วนไหนบ้าง มีกระดูกสันหลังตอนบน เชิงกราน มือ เท้า นักวิชาการค้นคว้าว่าวิวัฒนาการของมนุษย์อยู่ในขั้นใดได้จากลักษณะกระดูกที่บอกได้ว่ามนุษย์นั้นยืน เดิน ใช้ข้อมือช่วยในการหยิบจับของได้หรือยัง กระดูกสัตว์โบราณที่พบในแถบนี้ส่วนมากสูญพันธุ์ไปแล้ว มีกวาง แรด เสือ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะถูกล่าหมดหรือว่าอากาศเย็นลง


(น.15) รูป 23 รูปปั้นแสดงชีวิตของมนุษย์สมัยหิน

(น.15) เลยอยู่ไม่ได้ ช่วงท้ายยุคหินเก่าพบเข็มทำด้วยกระดูก ถึงจะเป็นสมัยเดียวกับมนุษย์ปักกิ่ง แต่มีเทคนิคการเจาะรูเข็มได้ดีกว่าการใช้เข็มช่วยให้เย็บเสื้อผ้าหนังได้ดี มีข้อสังเกตว่าเขตที่หนาวเย็นจำเป็นต้องมีวิวัฒนาการในเรื่องเสื้อผ้าเพื่อป้องกันความหนาวเย็น พูดกันว่ามนุษย์โบราณจากเอเชียข้ามทะเลเป่ยหลิง (แบริ่ง) ไปทางอเมริกา กลายเป็นชาวพื้นเมืองอเมริกา (เอสกิโมที่อลาสก้า)


(น.16) รูป 24 รูปแสดงตำแหน่งกระดูกมนุษย์โบราณที่ขุดพบ


(น.17) รูป 25 ห้องวัฒนธรรมหินใหม่

Next >>