<< Back
สงครามฝิ่น
(น.120) รูป 116 เครื่องมือสูบฝิ่น
(น.120) ห้องจำลองแสดงการสูบฝิ่น มีเครื่องมือในการสูบฝิ่นของจริงแสดงไว้ให้ดู
เขารวบรวมฝิ่น (papaver somnifera) ทำภาพอัดแห้งเอาไว้ให้ดู ให้ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ไว้ด้วย แต่ว่าฝิ่นอัดนั้นทำไว้ตั้งแต่ ค.ศ. 1969 จึงชำรุดแล้วน่าจะทำใหม่
ตอนที่ 6 เป็นห้องที่ว่าด้วยหลินเจ๋อสูทั้งห้อง หลินเจ๋อสู (ค.ศ. 1785-1850) เป็นชาวฝูเจี้ยน เขาเป็นคนที่คนจีนถือว่าเป็นวีรบุรุษ ที่พยายามคุ้มครองคนจีนให้พ้นจากภัยฝิ่น คนจีนจึงเป็นชาติแรกที่พยายามหามาตรการเลิกยาเสพติด ใน ค.ศ. 1839 เขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหูเป่ยและหูหนาน ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจราชการมีภารกิจไปตรวจสอบเรื่องกรณีฝิ่นที่กวางตุ้ง
ของที่วางแสดงไว้มีบันทึกรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน บันทึกประจำวันของหลินเจ๋อสูเกี่ยวกับการตรวจโครงการชลประทานตั้งแต่วันที่ 7-23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831 ลายมือของหลินเจ๋อสูเขียนบทกวี (ข้าพเจ้าเคยเรียนบทกวีของหลินเจ๋อสู แต่จดเอาไว้ตรงไหนจำไม่ได้หาไม่เจอแล้ว จำได้ว่าเป็นบทกวีรักชาติ ค่อนข้างดุเดือด)
เรื่องบทบาทของสมาคมลับในการต่อต้านต่างชาติ
รูปผู้ว่าราชการกวางตุ้ง ที่สนับสนุนหลินเจ๋อสู
รูป Charles Elliot เป็นผู้กำกับการค้าหรือทูตพาณิชย์ของอังกฤษในจีน
รูปการจับคนค้าฝิ่นตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม ถึง 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1839
(น.121) ตารางแสดงฝิ่นที่ถูกทำลายใน ค.ศ. 1839 ของอังกฤษถูกทำลายไป 2,253,332 กิโลกรัม ส่วนของอเมริกาถูกทำลายไป 122,892 กิโลกรัม
หุ่นจำลองที่แสดงวิธีการทำลายฝิ่น
ชั้นที่สอง เป็นเรื่องสงครามฝิ่น ตอนนี้เวลาน้อยเขาเลยพาเราดูอย่างเร็วมาก เห็นนักท่องเที่ยวทั้งคนจีนและชาวต่างประเทศสนใจมาดูกันมาก
ตอนที่ 1 การป้องกันการบุกของชาวต่างชาติ
(น.121) รูป 117 หุ่นแสดงการทำลายฝิ่น
(น.122) เมื่อทำลายฝิ่นแล้วนายพลหลินทราบว่าจะต้องรบกันแน่ๆ จึงหาวิธีป้องกันเมือง มีการตั้งด่านดักเรือ 3 ชั้น โดยใช้ซุงทำเป็นแพ และใช้โซ่กั้นแม่น้ำ มีป้อม 3 จุด แต่ละฝั่งของปากแม่น้ำจูเจียง มีรูปจำลองให้ดูว่าภูมิประเทศจริงเป็นอย่างไร
ตอนที่ 2 การบุกของอังกฤษและการตั้งรับของจีนในกวางตุ้ง
อังกฤษนำเรือรบเข้ามาเดือนเมษายน ค.ศ. 1840 มีเรือรบ 48 ลำ ปืนใหญ่ 500 กระบอก ทหาร 4,000 นาย มาถึงจีนในเดือนมิถุนายนถือเป็นการเริ่มสงคราม
แสดงแผนที่การเดินทัพของอังกฤษและสมรภูมิในสงครามฝิ่นครั้งแรก เดิมอังกฤษไปกวางโจว จะเข้าแม่น้ำจูเจียง แต่จีนป้องกันไว้อย่างดีจึงเปลี่ยนเส้นทางไปเอ้หมึง ก็เข้าไม่ได้อีก จึงไปทางติ้งไห่ใกล้เมืองเซี่ยงไฮ้ได้ชัยชนะแล้วขึ้นไปถึงเมืองเทียนสินซึ่งอยู่ใกล้กับปักกิ่งจักรพรรดิเกรงภัยจึงให้หย่าทัพ
รูปเขียนสีน้ำมันที่แสดงการรบที่ซาเจี่ยว อยู่ปากแม่น้ำจูเจียง ในภาพมีทหารแขกซีปอยร่วมรบด้วย
(น.122) รูป 118 ภาพแสดงการรบที่หู่เหมิน
(น.123) การรบที่ชวนปี่ หลังจากจีนแตกพ่ายที่ซาเจี่ยวแล้ว มีรูปป้ายศิลาที่ทำสรรเสริญม้าของแม่ทัพ แม่ทัพตาย ม้าถูกจับ แต่ศัตรูก็ไม่สามารถบังคับม้าได้ ต้องเอาไปปล่อยบนภูเขา ม้าตายไปเองเพราะคิดถึงเจ้าของ ชาวจีนจึงเขียนป้ายสรรเสริญม้าตัวนั้น
รูปแม่ทัพเรือจีน และกล้องส่องทางไกลที่แม่ทัพผู้นี้ใช้ รูปป้อมที่เขาถูกฆ่าใน ค.ศ. 1841
การรบที่หู่เหมิน ของที่แสดงให้ดูเห็นได้ว่า ทหารจีนยังใช้เกราะแบบโบราณ อาวุธโบราณต่างๆ เช่น ดาบ หอก ง้าว โตมร ขณะที่อังกฤษใช้อาวุธที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า
เรื่องการต่อต้านของประชาชนในหมู่บ้านซานหยวนหลี่ อยู่ใกล้กวางโจว ถือเป็นชัยชนะของฝ่ายจีนครั้งแรก เพราะฝ่ายอังกฤษชนะแล้วก็เข้าปล้นสะดม ประชาชนจึงร่วมกันต่อต้าน ล้อมทหารได้อาวุธไว้เป็นจำนวนมาก
ตอนที่ 3 สงครามฝิ่นสิ้นสุด
ในขณะรบมีแม่ทัพจีนถูกฆ่าตายที่ติ้งไห่ 3 คนคือ เกอหยวนฟา หวังซีเผิง และเจิ้งกั๋วหง ที่อู่ซงก็มีนายพลถูกฆ่า
อังกฤษให้ไปเจรจาและลงนามที่นานกิงในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1842 ผลของสัญญาทำให้จีนต้องเปิดเมืองท่า 5 เมือง คือ กวางโจว เอ้หมึง ฝูโจว หนิงโป เซี่ยงไฮ้ ยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ ยกเลิกการค้าผูกขาดระบบหัง (行) ในมณฑลกวางตุ้ง และให้มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เสียเงินชดใช้ให้อังกฤษเป็นค่าฝิ่นที่ทำลายไป
(น.124) ต่อมาประเทศอื่นๆ ก็ต่างเรียกร้องสิทธิตามแบบอังกฤษ จีนถือว่ากลายเป็นประเทศกึ่งอาณานิคม และเป็นความอัปยศ (แต่ข้อสังเกตคือในช่วงนี้จีนยังไม่ถือว่าฮ่องกงเป็นของอังกฤษ)
มีภาพฮ่องกงก่อนเป็นของอังกฤษ ใน ค.ศ. 1816 รูปใน ค.ศ. 1846
หลังจากนั้นมีการตั้งสมาคมเพื่อการป้องกันตัว แต่ตั้งในรูปสมาคมหรือสถาบันการศึกษาค้นคว้า เช่น สมาคมตงผิง สถาบันเชิงผิง สถาบันซีหู เป็นต้น
ตอนที่ 4 สงครามฝิ่นครั้งที่ 2 เรียกกันว่า สงครามแอร์โรว์
อังกฤษหาเหตุขยายอิทธิพลทางการค้า ถือโอกาสประท้วงว่าข้าราชการจีนไปขึ้นเรืออังกฤษชื่อ แอร์โรว์ แล้วบังคับให้ลดธงชาติอังกฤษ อังกฤษประกาศสงคราม ฝรั่งเศสเข้าด้วยบอกว่ามิชชันนารีฝรั่งเศสถูกฆ่าตายในจีนเริ่มรบกันจริงๆ ค.ศ. 1857 ปีต่อมาอังกฤษบังคับจีนให้ลงนามในสนธิสัญญาเทียนสิน (ค.ศ. 1858) ซึ่งมีสาระว่าให้มีคณะทูตในปักกิ่งได้ ให้เปิดเมืองท่าต่างๆ เพิ่ม อนุญาตให้พวกฝรั่งเดินทางได้ทั่วจีน เผยแพร่ศาสนาได้อย่างอิสระ และมีการตกลงเพิ่มเติมที่เซี่ยงไฮ้ ให้ฝิ่นเป็นของถูกกฎหมาย จีนไม่ยอมลงนามอังกฤษและฝรั่งเศสจึงส่งทหารเข้ายึดปักกิ่ง เผาพระราชวังหยวนหมิงหยวน ถึง ค.ศ. 1860 จีนจึงยอมปฏิบัติตามสนธิสัญญาเทียนสินและลงนามในอนุสัญญาปักกิ่ง (ค.ศ. 1860) ยกเกาลูนให้อังกฤษ
(น.125) สิ้นสงครามคราวนี้อังกฤษได้แหลมเกาลูน ต่อมา ค.ศ. 1898 ขอเช่าที่เหนือแหลมขึ้นไปเรียกว่า New Territories เป็นเวลา 99 ปี เนื้อที่ 980 ตารางกิโลเมตร (เมื่อหมดสัญญา จีนไม่ยอมให้เช่าต่อ อังกฤษจึงคืนเกาะฮ่องกงและเกาลูนให้ด้วย เพราะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีดินแดน New Territories ซึ่งเป็นเมืองเบื้องหลังเมืองท่า (Hinterland)
(น.145) เมืองฮ่องกง ความเจริญของสังคมและการขยายดินแดน (ค.ศ. 1852-1862)
เมืองเจริญขึ้นในเขตหวั่นจ๋าย (Wanchai) และ Sai Ying Poon
สงครามฝิ่นครั้งที่ 2 จีนเสียเกาลูน และเกาะอื่นรอบๆ ตามอนุสัญญาปักกิ่งใน ค.ศ. 1860
สาเหตุของสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับเรือแอร์โรว์ และบาทหลวงฝรั่งเศสถูกสังหาร มีเรื่องดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วเมื่อเขียนถึงพิพิธภัณฑ์สงครามฝิ่น
ในช่วงเวลานี้การค้ากุลีเจริญเนื่องจากธุรกิจในเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เจริญขึ้น ขาดแคลนแรงงานท้องถิ่นจึงต้องนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมาก มีธุรกิจที่เรียกว่า หนำปักหอง (หนานเป่ยหัง) นำกุลีจากเมืองจีนไปในที่ต้องการ เข้าใจว่าธุรกิจเรือแดงของบริษัทหวั่งหลีก็เป็นธุรกิจประเภทนี้ ข้าพเจ้าดูนิทรรศการตอนนี้แล้วนึกถึงช่วงที่ไทยปฏิรูปบ้านเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เราต้องการแรงงานจำนวนมากใช้ในการสร้างทางรถไฟ ถนน และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เป็นช่วงที่กำลังเลิกไพร่และเลิกทาส มีการนำแรงงานจีนซึ่งมีจำนวนมาก กุลีจีนเหล่านี้ขยันขันแข็งและอดทน ส่วนทางใต้มีการทำเหมืองแร่ดีบุก และต่อมาทำสวนยาง กุลีจีนเหล่านี้บางครั้งรวมตัวกันเป็นกลุ่มอิทธิพล เรียกว่า พวกอั้งยี่ การเลิกทาสในสหรัฐอเมริกาก็เป็นเหตุให้มีการนำกุลีจีนไปใช้ในไร่อ้อยในสหรัฐอเมริกาและตามเกาะต่างๆ ในโลกใหม่
พื้นฐานทางประวัติศาสตร์
ราชวงศ์ชิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยจักรพรรดิเตากวาง (ค.ศ. 1821-1851) มีปัญหาและค่อยๆ เสื่อมไป แต่ผู้ปกครองสมัยนั้นไม่สู้จะรู้สึก พวกขุนนางเหล่าผู้ดีก็ยังคงใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยหรูหรา ข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง สังคมเสื่อมโทรม ประชาชนยากจนไม่มีที่ทำกินเพราะว่าที่ดินถูกคนมั่งมีโกงไป คนจนต้องทำสัญญาขายลูกไปเป็นทาสช่วงใช้ ส่วนในยุโรป มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้มีพลังทางเทคโนโลยีลัทธิทุนนิยมของตะวันตกจึงพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว (เขาแสดงเครื่องต้นของจักรพรรดิ รูปหน้าพระราชวังปักกิ่ง แสดงแผนที่ของจักรวรรดิจีนในสมัยนั้นซึ่งใหญ่โตกว่าปัจจุบัน ลากเส้นไว้ให้เห็นว่าถูกตัดดินแดนไปหลังสงครามฝิ่น ธงประจำพระองค์ของจักรพรรดิเป็นรูปมังกร ใบสัญญาขายลูกซึ่งคนรวยเขียน คนจนเพียงแต่ปั๊มนิ้วมือ รายงานเรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวง)ในสมัยนั้นในจีน จักรพรรดิเป็นผู้ถือกรรมสิทธิที่ดิน แบ่งให้เจ้านายและขุนนาง ส่วนพวกชาวนาต้องเช่าที่ ดอกเบี้ยสูงถึง 20% เขาถ่ายรูปสัญญาเช่าที่ดินไว้ให้ดูด้วย [1]
การขยายตัวของตะวันตกและฝิ่นสู่เมืองจีน
นักสำรวจยุโรปชาติต่างๆ เข้ามาทางประเทศตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน (แผนที่แสดงการแผ่อำนาจของชาวตะวันตก) ตามด้วยพวกพ่อค้า และนักล่าอาณานิคม (แสดงภาพแต่ละคน บอก ค.ศ. ที่มา) เช่น ฮอลแลนด์มาที่เกาะไต้หวันใน ค.ศ. 1624 โปรตุเกสมาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ค.ศ. 1622 ฮอลแลนด์ยึดเกาะเผิงหูได้ เรือรบอังกฤษมาใน ค.ศ. 1834 รูปบุคคล เช่น Earl McCartney ค.ศ. 1791 เป็นทูตอังกฤษสมัยนั้น Lord Amherst ค.ศ. 1834
ชาวตะวันตกต้องการสินค้าของจีน เช่น ผ้าไหม และเส้นไหมดิบ เครื่องกระเบื้อง (porcelain) ชา แต่ว่าไม่มีสินค้าตะวันตกที่จีนต้องการ จีนมีเศรษฐกิจดี ทำเองได้หมด อังกฤษไม่สามารถแทรกแซงได้ ต้องดำเนินนโยบายให้เศรษฐกิจจีนอ่อนแอลง จึงทดลองนำฝิ่นจากอินเดียเข้ามาขาย ร่วมมือกับชาวอเมริกันที่นิวยอร์ก โดยเริ่มมาจำหน่ายที่หวงผู่ในมณฑลกวางตุ้ง คนอังกฤษ 2 คนคือนายวิลเลียม จาร์ดีนส์ และนายเจมส์ แมธีสันร่วมมือกันตั้งบริษัทค้าฝิ่น นายจาร์ดีนส์เป็นนายแพทย์ ดังนั้นใครๆ จึงเข้าใจว่าใช้ฝิ่นเป็นยา ขณะนั้นมีขุนนางท้องถิ่นหลายคนที่เริ่มเห็นภัยของฝิ่นและทูลจักรพรรดิว่าควรต่อต้านการค้าฝิ่น ฝิ่นที่นี่เขาทำเป็นรูปทรงกลม (เหมือนลูกบอล) ต่างจากฝิ่นดิบที่ข้าพเจ้าเคยเห็นที่เมืองไทย ทำเป็นก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า เขาถ่ายภาพโกดังเก็บฝิ่นที่อินเดีย และบริษัท East India Company ที่กรุงลอนดอน มองดูเหมือนพิพิธภัณฑ์ การปลูกฝิ่น การตรวจคุณภาพฝิ่น รูปเมืองกวางโจวใน ค.ศ. 1730 รูปอ่าวหวงผู่ก่อนสงคราม รูปเรือขนฝิ่น
ตารางสินค้าเข้าสินค้าออกของจีนเป็นช่วงๆ ระหว่าง ค.ศ. 1760-1833 สินค้าเข้ามีมูลค่าน้อยกว่าสินค้าออกทุกปี[2]
การค้าฝิ่นของชาวตะวันตก
ชาวตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษลักลอบนำฝิ่นเข้าจีนเพื่อหารายได้ซื้อสินค้าจีน ฝิ่นนี้ปลูกในอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ปลูกในตุรกีบ้าง แต่เดิมพวกอาหรับและเตอร์กเคยนำฝิ่นเข้าจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 จีนใช้เป็นยาแก้ปวดหรือยากล่อมประสาท ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความนิยมสูบฝิ่นจากอเมริกาแพร่เข้ามาในจีน มีคนนำฝิ่นมาผสมยาสูบ สูบกันแพร่หลายนิยมกันทั่วไป ราว ค.ศ. 1729 มีปัญหาเรื่องฝิ่นมากจนทางการจีนต้องออกประกาศห้ามขายห้ามสูบ ค.ศ. 1729 จักรพรรดิออกราชโองการห้ามนำเข้าฝิ่นและห้ามปลูกฝิ่น แต่ไม่เป็นผล การค้าฝิ่นยังเจริญเรื่อยมา
เขาว่ากันว่าในตอนเริ่มต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 โปรตุเกสเริ่มค้าขายฝิ่นก่อน แต่พอปลายศตวรรษ อังกฤษกลายเป็นเจ้าแห่งการค้าฝิ่น บริษัทอินเดียตะวันออกผูกขาดการค้าฝิ่นในแคว้นเบงกอลของอินเดีย มีการปรับปรุงพันธุ์ วิธีปลูกให้ได้ผลมาก ลงทุนน้อย ชาติตะวันตกที่มีส่วนในการค้าฝิ่นอีกชาติหนึ่งคือ สหรัฐอเมริกา
บริษัทอินเดียตะวันออกไม่ได้นำฝิ่นเข้าจีนเอง ให้พ่อค้ารายย่อยเป็นผู้นำฝิ่นจากอินเดียเข้าจีนโดยการลักลอบไปให้พวกนำเข้าอีกกลุ่มเข้าทางชายฝั่งทะเล เงินแท่งทองแท่งที่ได้จากการค้าก็จะต้องนำมาส่งที่บริษัทอินเดียตะวันออกที่กวางตุ้ง พวกพ่อค้าจะได้เป็นตั๋วแลกเงินปอนด์ไปขึ้นเงินได้ที่ลอนดอน ส่วนบริษัทอินเดียตะวันออก (หลัง ค.ศ. 1858 รัฐบาลอังกฤษเข้าปกครองอินเดียโดยตรง) เอาเงินแท่งทองแท่งซื้อสินค้าจีนไปขาย[3]
การต่อต้านการค้าฝิ่นของจีน
หวงจิ้วจื่อ เป็นขุนนางที่ดูแลเรื่องการพิธี เขาเป็นคนแรกที่เสนอให้เลิกฝิ่น ถึงกับทำหนังสือกราบทูลจักรพรรดิ ในพิพิธภัณฑ์มีรูปถ่ายหนังสือกราบบังคมทูลให้ดูด้วย
หลินเจ๋อสู เป็นหัวหน้าใหญ่ที่ทำลายฝิ่นครั้งใหญ่ที่สุดของจีนบริเวณที่ตั้งพิพิธภัณฑ์นี้
(น.119) รูป 114 ภาพแสดงผลเสียของการติดฝิ่น
นอกจากนี้ยังแสดงหนังสือพับแบบจีน แสดงประวัติคนติดฝิ่นว่า เดิมเป็นคนที่มีฐานะ ติดฝิ่นแล้วต้องขายบ้าน ขายสมบัติ กลายเป็นขอทาน ลูกเมียตกยากต้องร้องไห้ เมียเอามีดสับกล้องสูบฝิ่น (แล้วมีอะไรเกิดขึ้นก็ไม่ทราบ) หนังสือนี้เขียนสมัยราชวงศ์ชิง เป็นที่แพร่หลาย เป็นความพยายามประชาสัมพันธ์โทษของฝิ่น โดยบอกว่าเมื่อติดแล้ว เลิกไม่ได้ (You could not get rid of the habit)
แสดงสัญญาจำนองที่ของคนติดฝิ่น
รูปคนสูบฝิ่น ซึ่งมีทั้งคนรวย คนชั้นสูง คนจน ขุนนาง และทหาร แสดงให้เห็นว่าการนำฝิ่นมาจำหน่ายนั้น ไม่เป็นผลเสียในด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับเรื่องดุลการค้าเท่านั้น แต่เป็นการทำลายโครงสร้างของประเทศทั้งทางด้านการเมืองเศรษฐกิจ (เงินเฟ้อมาก) และสังคม ทำลายทรัพยากรมนุษย์ เช่น ในการรบกัน ทหารที่ติดฝิ่น มีสุขภาพเสื่อมไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ[4]
(น.119) รูป 115 ภาพแสดงผลเสียของการติดฝิ่น
(น.120) รูป 116 เครื่องมือสูบฝิ่น
(น.120) ห้องจำลองแสดงการสูบฝิ่น มีเครื่องมือในการสูบฝิ่นของจริงแสดงไว้ให้ดู
หลินเจ๋อสู (ค.ศ. 1785-1850) เป็นชาวฝูเจี้ยน เขาเป็นคนที่คนจีนถือว่าเป็นวีรบุรุษ ที่พยายามคุ้มครองคนจีนให้พ้นจากภัยฝิ่น คนจีนจึงเป็นชาติแรกที่พยายามหามาตรการเลิกยาเสพติด ใน ค.ศ. 1839 เขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหูเป่ยและหูหนาน ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจราชการมีภารกิจไปตรวจสอบเรื่องกรณีฝิ่นที่กวางตุ้ง
ของที่วางแสดงไว้มีบันทึกรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน บันทึกประจำวันของหลินเจ๋อสูเกี่ยวกับการตรวจโครงการชลประทานตั้งแต่วันที่ 7-23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831 ลายมือของหลินเจ๋อสูเขียนบทกวี (ข้าพเจ้าเคยเรียนบทกวีของหลินเจ๋อสู แต่จดเอาไว้ตรงไหนจำไม่ได้หาไม่เจอแล้ว จำได้ว่าเป็นบทกวีรักชาติ ค่อนข้างดุเดือด)
เรื่องบทบาทของสมาคมลับในการต่อต้านต่างชาติ
รูปผู้ว่าราชการกวางตุ้ง ที่สนับสนุนหลินเจ๋อสู
รูป Charles Elliot เป็นผู้กำกับการค้าหรือทูตพาณิชย์ของอังกฤษในจีน
รูปการจับคนค้าฝิ่นตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม ถึง 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1839
ตารางแสดงฝิ่นที่ถูกทำลายใน ค.ศ. 1839 ของอังกฤษถูกทำลายไป 2,253,332 กิโลกรัม ส่วนของอเมริกาถูกทำลายไป 122,892 กิโลกรัม[5]
สงครามฝิ่น
การป้องกันการบุกของชาวต่างชาติ
(น.121) รูป 117 หุ่นแสดงการทำลายฝิ่น
เมื่อทำลายฝิ่นแล้วนายพลหลินทราบว่าจะต้องรบกันแน่ๆ จึงหาวิธีป้องกันเมือง มีการตั้งด่านดักเรือ 3 ชั้น โดยใช้ซุงทำเป็นแพ และใช้โซ่กั้นแม่น้ำ มีป้อม 3 จุด แต่ละฝั่งของปากแม่น้ำจูเจียง[6]
การบุกของอังกฤษและการตั้งรับของจีนในกวางตุ้ง
อังกฤษนำเรือรบเข้ามาเดือนเมษายน ค.ศ. 1840 มีเรือรบ 48 ลำ ปืนใหญ่ 500 กระบอก ทหาร 4,000 นาย มาถึงจีนในเดือนมิถุนายนถือเป็นการเริ่มสงคราม
แสดงแผนที่การเดินทัพของอังกฤษและสมรภูมิในสงครามฝิ่นครั้งแรก เดิมอังกฤษไปกวางโจว จะเข้าแม่น้ำจูเจียง แต่จีนป้องกันไว้อย่างดีจึงเปลี่ยนเส้นทางไปเอ้หมึง ก็เข้าไม่ได้อีก จึงไปทางติ้งไห่ใกล้เมืองเซี่ยงไฮ้ได้ชัยชนะแล้วขึ้นไปถึงเมืองเทียนสินซึ่งอยู่ใกล้กับปักกิ่งจักรพรรดิเกรงภัยจึงให้หย่าทัพ
รูปเขียนสีน้ำมันที่แสดงการรบที่ซาเจี่ยว อยู่ปากแม่น้ำจูเจียง ในภาพมีทหารแขกซีปอยร่วมรบด้วย
การรบที่ชวนปี่ หลังจากจีนแตกพ่ายที่ซาเจี่ยวแล้ว มีรูปป้ายศิลาที่ทำสรรเสริญม้าของแม่ทัพ แม่ทัพตาย ม้าถูกจับ แต่ศัตรูก็ไม่สามารถบังคับม้าได้ ต้องเอาไปปล่อยบนภูเขา ม้าตายไปเองเพราะคิดถึงเจ้าของ ชาวจีนจึงเขียนป้ายสรรเสริญม้าตัวนั้น
รูปแม่ทัพเรือจีน และกล้องส่องทางไกลที่แม่ทัพผู้นี้ใช้ รูปป้อมที่เขาถูกฆ่าใน ค.ศ. 1841
การรบที่หู่เหมิน ของที่แสดงให้ดูเห็นได้ว่า ทหารจีนยังใช้เกราะแบบโบราณ อาวุธโบราณต่างๆ เช่น ดาบ หอก ง้าว โตมร ขณะที่อังกฤษใช้อาวุธที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า
เรื่องการต่อต้านของประชาชนในหมู่บ้านซานหยวนหลี่ อยู่ใกล้กวางโจว ถือเป็นชัยชนะของฝ่ายจีนครั้งแรก เพราะฝ่ายอังกฤษชนะแล้วก็เข้าปล้นสะดม ประชาชนจึงร่วมกันต่อต้าน ล้อมทหารได้อาวุธไว้เป็นจำนวนมาก[7]
สงครามฝิ่นสิ้นสุด
ในขณะรบมีแม่ทัพจีนถูกฆ่าตายที่ติ้งไห่ 3 คนคือ เกอหยวนฟา หวังซีเผิง และเจิ้งกั๋วหง ที่อู่ซงก็มีนายพลถูกฆ่า
อังกฤษให้ไปเจรจาและลงนามที่นานกิงในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1842 ผลของสัญญาทำให้จีนต้องเปิดเมืองท่า 5 เมือง คือ กวางโจว เอ้หมึง ฝูโจว หนิงโป เซี่ยงไฮ้ ยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ ยกเลิกการค้าผูกขาดระบบหัง (ตัวอักษรจีน) ในมณฑลกวางตุ้ง และให้มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เสียเงินชดใช้ให้อังกฤษเป็นค่าฝิ่นที่ทำลายไป
ต่อมาประเทศอื่นๆ ก็ต่างเรียกร้องสิทธิตามแบบอังกฤษ จีนถือว่ากลายเป็นประเทศกึ่งอาณานิคม และเป็นความอัปยศ (แต่ข้อสังเกตคือในช่วงนี้จีนยังไม่ถือว่าฮ่องกงเป็นของอังกฤษ)
หลังจากนันมีการตั้งสมาคมเพื่อการป้องกันตัว แต่ตั้งในรูปสมาคมหรือสถาบันการศึกษาค้นคว้า เช่น สมาคมตงผิง สถาบันเชิงผิง สถาบันซีหู เป็นต้น [8]
สงครามฝิ่นครั้งที่ 2
เรียกกันว่า สงครามแอร์โรว์
อังกฤษหาเหตุขยายอิทธิพลทางการค้า ถือโอกาสประท้วงว่าข้าราชการจีนไปขึ้นเรืออังกฤษชื่อ แอร์โรว์ แล้วบังคับให้ลดธงชาติอังกฤษ อังกฤษประกาศสงคราม ฝรั่งเศสเข้าด้วยบอกว่ามิชชันนารีฝรั่งเศสถูกฆ่าตายในจีนเริ่มรบกันจริงๆ ค.ศ. 1857 ปีต่อมาอังกฤษบังคับจีนให้ลงนามในสนธิสัญญาเทียนสิน (ค.ศ. 1858) ซึ่งมีสาระว่าให้มีคณะทูตในปักกิ่งได้ ให้เปิดเมืองท่าต่างๆ เพิ่ม อนุญาตให้พวกฝรั่งเดินทางได้ทั่วจีน เผยแพร่ศาสนาได้อย่างอิสระ และมีการตกลงเพิ่มเติมที่เซี่ยงไฮ้ ให้ฝิ่นเป็นของถูกกฎหมาย จีนไม่ยอมลงนามอังกฤษและฝรั่งเศสจึงส่งทหารเข้ายึดปักกิ่ง เผาพระราชวังหยวนหมิงหยวน ถึง ค.ศ. 1860 จีนจึงยอมปฏิบัติตามสนธิสัญญาเทียนสินและลงนามในอนุสัญญาปักกิ่ง (ค.ศ. 1860) ยกเกาลูนให้อังกฤษ
สิ้นสงครามคราวนี้อังกฤษได้แหลมเกาลูน ต่อมา ค.ศ. 1898 ขอเช่าที่เหนือแหลมขึ้นไปเรียกว่า New Territories เป็นเวลา 99 ปี เนื้อที่ 980 ตารางกิโลเมตร (เมื่อหมดสัญญา จีนไม่ยอมให้เช่าต่อ อังกฤษจึงคืนเกาะฮ่องกงและเกาลูนให้ด้วย เพราะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีดินแดน New Territories ซึ่งเป็นเมืองเบื้องหลังเมืองท่า(Hinterland) [9]
อ้างอิง
1. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 115
2. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 116-117
3. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 117-118
4. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 118-120
5. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 120-121
6. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 121
7. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 122-123
8. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 123-124
9. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 124-125