<< Back
ตงปา
จากหนังสือ
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 6
(น.6) รูป 5 เครื่องดนตรีชนเผ่า มีภาพประกอบให้เห็นวิธีใช้
(น.6) เป็นประเภทและมีภาพถ่ายให้ดูว่าใช้ของนั้นทำอะไร เช่น กลองต่างๆ มีมโหระทึก กลองยาวของพม่า เผ่าจิ่งพอ เหมียว (ม้ง, แม้ว) น่าซี อี๋ ไต่ กลองรูปปลาของเผ่าจ้วง กลองหกเหลี่ยมของพวกไป๋ กลองพระอาทิตย์ของพวกเผ่าจีหนัว แตรยาวของชนชาติอี่ แตรชนิดนี้เป่าแล้วเสียงดังมาก ฟังได้ยินข้ามภูเขา เครื่องสาย (ดีด) ของเผ่าอี๋
ชนชาติน่าซี เป็นเผ่าที่ไม่มีในมณฑลอื่น อยู่เฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน มีวัฒนธรรมพิเศษคือมีคนกลุ่มหนึ่งเรียกว่าตงปา ดูเหมือนว่าจะเป็นพระหรือเป็นหมอผีประจำเผ่า เป็นผู้มีความรู้มากกว่าคนอื่น รู้จักการเขียนหนังสือด้วยอักษรภาพ พิพิธภัณฑ์จัดแสดงหนังสือที่ตงปาในสมัยราชวงศ์หมิงเขียน ตงปายังทำหน้าที่เป็นหมอรักษาโรคโดยการเต้นระบำไปรอบๆ (เรื่องเต้นรำรักษาโรคแบบนี้ข้าพเจ้าเคยเห็นหมอผีของชาวเขาในเมืองไทยทำ) ปัจจุบันได้ความว่ายังมีตงปาอยู่ แต่ว่าอายุมากๆ 70 กว่าไปแล้ว คนหนุ่มกว่านั้นไม่มีใครถ่ายทอดวิชาการเอาไว้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 196,197
(น.196) รูป 212 ภาษาตงปา
(น.196) ทางเศรษฐกิจ ถือเป็นสถานที่สำคัญอย่างยิ่ง ทางการจีนยังพยายามรักษาวัฒนธรรมนี้เอาไว้จนถึงปัจจุบัน ลานนี้ปูด้วยหินที่เรียงกันเป็นรูปสัญลักษณ์ฟ้าดิน หมายถึงระหว่างฟ้ากับดินมีคนมากมายสิบเผ่าพันธุ์ต่อๆ กันมา
บ้านของน่าซีเป็น 3 ห้อง เหมือนบ้านพวกไป๋ที่เราเคยไปดูมาแล้ว หน้าบ้านมีตุ้ยเหลียน (บทกวีที่เป็นคำขวัญสั้นๆ ) ติดไว้ การติดตุ้ยเหลียนเป็นประเพณีจีน แต่ตุ้ยเหลียนนี้เขียนเป็นภาษาน่าซี ด้านหนึ่งกล่าวถึงภูเขายู่หลงซาน มีหิมะปกคลุมอยู่เสมอไม่มีวันแก่เฒ่า อีกด้านกล่าวถึงแม่น้ำจินซาเจียงไหลไปนิรันดร มีแม่น้ำน้อยใหญ่ไหลลงสู่แม่น้ำใหญ่สายนี้
ตุ้ยเหลียนอีกบทกล่าวถึงจิตใจที่แก่กล้า ต่างคนมีความปรารถนาดีร่วมกัน ให้ชนชาติทั้งหลายสามัคคีกันเพื่อเป็นคุณูปการแก่การพัฒนา
อักษรพวกน่าซีเป็นอักษรรูปภาพที่เรียกว่าอักษรตงปา
ภาษาตงปาเป็นภาพวาด นอกจากที่เห็นเป็นสมุดหนังสือแล้ว ยังมีแกะสลักในหินและไม้ เขาว่าตงแปลว่าตะวันออก ปา หมายถึงดินแดนที่ห่างไกล มีอักษรเกอปาเป็นสาขาหนึ่งของตงปา เขาทำบอร์ดวิเคราะห์วิวัฒนาการของตัวอักษรและเปรียบเทียบกับอักษรที่จารึกบนกระดองเต่า ปรากฏว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก อาจจะเป็นอักษรรุ่นเดียวกัน แต่ตงปามักจารึกบนไม้ ส่วนอักษรที่จารึกบนกระดองเต่ามีลักษณะเฉพาะตัว
(น.197) รูป 213 ภาษาตงปา
(น.197) ของอื่นๆ ที่เก็บไว้เป็นหมวกของหมอผี เป็นรูปแหลมๆ 5 ยอด หมายถึง 4 ทิศและทิศกลาง เครื่องใช้ในการทำพิธี คัมภีร์ศาสนา ศาสนาตงปานี้แท้ที่จริงก็ประกอบด้วยลัทธิความเชื่อแบบเต๋าปนกับพุทธนิกายลามะ มีความเชื่อเรื่องนรก มนุษย์ วิญญาณ คนที่เป็นตงปาหรือหมอผีเป็นคนที่มีบารมี ชาวบ้านนับถือ ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย
ห้องในบ้าน มีที่นอนเจ้าของบ้านฝ่ายหญิงอยู่ข้างหนึ่ง เตียงเจ้าสาวอยู่ด้านหนึ่ง ฝ่ายผู้ชายมักอยู่ห้องกลางซึ่งมีแท่นบูชา
จัดหมวดหมู่สารสนเทศ
ตงปา
ชนชาติน่าซี เป็นเผ่าที่ไม่มีในมณฑลอื่น อยู่เฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน มีวัฒนธรรมพิเศษคือมีคนกลุ่มหนึ่งเรียกว่าตงปา ดูเหมือนว่าจะเป็นพระหรือเป็นหมอผีประจำเผ่า เป็นผู้มีความรู้มากกว่าคนอื่น รู้จักการเขียนหนังสือด้วยอักษรภาพ พิพิธภัณฑ์จัดแสดงหนังสือที่ตงปาในสมัยราชวงศ์หมิงเขียน ตงปายังทำหน้าที่เป็นหมอรักษาโรคโดยการเต้นระบำไปรอบๆ (เรื่องเต้นรำรักษาโรคแบบนี้ข้าพเจ้าเคยเห็นหมอผีของชาวเขาในเมืองไทยทำ) ปัจจุบันได้ความว่ายังมีตงปาอยู่ แต่ว่าอายุมากๆ 70 กว่าไปแล้ว คนหนุ่มกว่านั้นไม่มีใครถ่ายทอดวิชาการเอาไว้ [1]
อักษรตงปา
อักษรพวกน่าซีเป็นอักษรรูปภาพที่เรียกว่าอักษรตงปา ภาษาตงปาเป็นภาพวาด นอกจากที่เห็นเป็นสมุดหนังสือแล้ว ยังมีแกะสลักในหินและไม้ เขาว่าตงแปลว่าตะวันออก ปา หมายถึงดินแดนที่ห่างไกล มีอักษรเกอปาเป็นสาขาหนึ่งของตงปา เขาทำบอร์ดวิเคราะห์วิวัฒนาการของตัวอักษรและเปรียบเทียบกับอักษรที่จารึกบนกระดองเต่า ปรากฏว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก อาจจะเป็นอักษรรุ่นเดียวกัน แต่ตงปามักจารึกบนไม้ ส่วนอักษรที่จารึกบนกระดองเต่ามีลักษณะเฉพาะตัว [2]
ศาสนา
ศาสนาตงปานี้แท้ที่จริงก็ประกอบด้วยลัทธิความเชื่อแบบเต๋าปนกับพุทธนิกายลามะ มีความเชื่อเรื่องนรก มนุษย์ วิญญาณ คนที่เป็นตงปาหรือหมอผีเป็นคนที่มีบารมี ชาวบ้านนับถือ ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย[3]
อ้างอิง
1. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 6
2. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 196
3. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 197