Please wait...

<< Back

อั้งยี่

ประเภทคำ

สังคมจีน
คำอธิบายเพิ่มเติม
กุลีจีนที่รมตัวกันเป็นกลุ่มอิทธิพล

จากหนังสือ

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 145,157

(น.145) เมืองฮ่องกง ความเจริญของสังคมและการขยายดินแดน (ค.ศ. 1852-1862) เมืองเจริญขึ้นในเขตหวั่นจ๋าย (Wanchai) และ Sai Ying Poon สงครามฝิ่นครั้งที่ 2 จีนเสียเกาลูน และเกาะอื่นรอบๆ ตามอนุสัญญาปักกิ่งใน ค.ศ. 1860 สาเหตุของสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับเรือแอร์โรว์ และบาทหลวงฝรั่งเศสถูกสังหาร มีเรื่องดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วเมื่อเขียนถึงพิพิธภัณฑ์สงครามฝิ่น ในช่วงเวลานี้การค้ากุลีเจริญเนื่องจากธุรกิจในเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เจริญขึ้น ขาดแคลนแรงงานท้องถิ่นจึงต้องนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมาก มีธุรกิจที่เรียกว่า หนำปักหอง (หนานเป่ยหัง) นำกุลีจากเมืองจีนไปในที่ต้องการ เข้าใจว่าธุรกิจเรือแดงของบริษัทหวั่งหลีก็เป็นธุรกิจประเภทนี้ ข้าพเจ้าดูนิทรรศการตอนนี้แล้วนึกถึงช่วงที่ไทยปฏิรูปบ้านเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เราต้องการแรงงานจำนวนมากใช้ในการสร้างทางรถไฟ ถนน และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เป็นช่วงที่กำลังเลิกไพร่และเลิกทาส มีการนำแรงงานจีนซึ่งมีจำนวนมาก กุลีจีนเหล่านี้ขยันขันแข็งและอดทน ส่วนทางใต้มีการทำเหมืองแร่ดีบุก และต่อมาทำสวนยาง กุลีจีนเหล่านี้บางครั้งรวมตัวกันเป็นกลุ่มอิทธิพล เรียกว่า พวกอั้งยี่ การเลิกทาสในสหรัฐอเมริกาก็เป็นเหตุให้มีการนำกุลีจีนไปใช้ในไร่อ้อยในสหรัฐอเมริกาและตามเกาะต่างๆ ในโลกใหม่

(น.157) ในเมืองไทยทูตต่างๆ ที่มาจากอังกฤษก็ล้วนแต่พยายามแพร่ขยายการค้าฝิ่นเข้ามาในประเทศ แต่ไทยเรามีนโยบายต่อต้านการค้าและการสูบฝิ่นที่เข้มงวดมาตั้งแต่อยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ คือสมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 ปลายรัชกาลที่ 3 เป็นช่วงสมัยที่อังกฤษได้ชัยชนะในสงครามฝิ่นแล้ว อังกฤษส่งทูตเข้ามาอีกคนหนึ่งคือ เซอร์เจมส์ บรุก มีนโยบายข่มขู่ไทยแบบเดียวกับที่เคยขู่และทำร้ายจีนสำเร็จมาแล้ว แต่เคราะห์ดีที่รัฐบาลอังกฤษยังไม่สนใจไทยเนื่องจากยังมีภาระทางอื่น รอจนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ สวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ ไทยเปลี่ยนนโยบายฝิ่นเป็นการอนุญาตให้มีเจ้าภาษีฝิ่น เนื่องจากคนจีนเข้ามาในไทยมากขึ้นเพื่อมาหางานทำ หนีภัยธรรมชาติ ภัยจากสงครามฝิ่น และกบฏไท่ผิง เมื่อเข้ามาแล้วก็นำนิสัยชอบสูบฝิ่นมาด้วย ไทยเห็นว่าถ้ามีพวกอั้งยี่ประมูลภาษีฝิ่นแล้วก็จะดูแลปราบปรามกันเอง จำกัดฝิ่นให้อยู่ในวงแคบ เมื่อเซอร์จอห์น เบาริงเข้ามาเป็นทูตทำสัญญาเบาริง ทำให้ไทยเสียรายได้ในการค้า เนื่องด้วยเก็บเงินได้แค่ภาษีร้อยชัก 3 ภาษีฝิ่นจึงเป็นรายได้สำคัญอย่างหนึ่ง รัฐบาลไทยออกกฎหมายไม่ให้คนไทยสูบฝิ่น คนไทยที่อยากสูบฝิ่นที่โรงยาฝิ่นต้องปลอมตัวเป็นคนจีนไว้เปีย ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนเป็นรัฐบาลผูกขาดฝิ่นเอง เมื่อองค์การระหว่างประเทศแบบเป็นทางการ เช่น องค์การสันนิบาตชาติ องค์การสหประชาชาติ มีนโยบายต่อต้านฝิ่น ฝิ่นจึงเป็นของผิดกฎหมายไปทั่วโลก ช่วงนี้เรื่องของประเทศจักรวรรดินิยม


จัดหมวดหมู่สารสนเทศ

อั้งยี่

ที่มาของแรงงานอั้งยี่

เมืองฮ่องกง ความเจริญของสังคมและการขยายดินแดน (ค.ศ. 1852-1862)ในช่วงเวลานี้การค้ากุลีเจริญเนื่องจากธุรกิจในเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เจริญขึ้น ขาดแคลนแรงงานท้องถิ่นจึงต้องนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมาก มีธุรกิจที่เรียกว่า หนำปักหอง (หนานเป่ยหัง) นำกุลีจากเมืองจีนไปในที่ต้องการ เข้าใจว่าธุรกิจเรือแดงของบริษัทหวั่งหลีก็เป็นธุรกิจประเภทนี้ ช่วงที่ไทยปฏิรูปบ้านเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เราต้องการแรงงานจำนวนมากใช้ในการสร้างทางรถไฟ ถนน และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เป็นช่วงที่กำลังเลิกไพร่และเลิกทาส มีการนำแรงงานจีนซึ่งมีจำนวนมาก กุลีจีนเหล่านี้ขยันขันแข็งและอดทน ส่วนทางใต้มีการทำเหมืองแร่ดีบุก และต่อมาทำสวนยาง กุลีจีนเหล่านี้บางครั้งรวมตัวกันเป็นกลุ่มอิทธิพล เรียกว่า พวกอั้งยี่ การเลิกทาสในสหรัฐอเมริกาก็เป็นเหตุให้มีการนำกุลีจีนไปใช้ในไร่อ้อยในสหรัฐอเมริกาและตามเกาะต่างๆ ในโลกใหม่ [1]

อั้งยี่กับการค้าฝิ่นในไทย

ในเมืองไทยทูตต่างๆ ที่มาจากอังกฤษก็ล้วนแต่พยายามแพร่ขยายการค้าฝิ่นเข้ามาในประเทศ แต่ไทยเรามีนโยบายต่อต้านการค้าและการสูบฝิ่นที่เข้มงวดมาตั้งแต่อยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ คือสมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 ปลายรัชกาลที่ 3 เป็นช่วงสมัยที่อังกฤษได้ชัยชนะในสงครามฝิ่นแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า(รัชกาลที่ 4)อยู่หัวขึ้นครองราชย์ ไทยเปลี่ยนนโยบายฝิ่นเป็นการอนุญาตให้มีเจ้าภาษีฝิ่น เนื่องจากคนจีนเข้ามาในไทยมากขึ้นเพื่อมาหางานทำ หนีภัยธรรมชาติ ภัยจากสงครามฝิ่น และกบฏไท่ผิง เมื่อเข้ามาแล้วก็นำนิสัยชอบสูบฝิ่นมาด้วย ไทยเห็นว่าถ้ามีพวกอั้งยี่ประมูลภาษีฝิ่นแล้วก็จะดูแลปราบปรามกันเอง จำกัดฝิ่นให้อยู่ในวงแคบ เมื่อเซอร์จอห์น เบาริงเข้ามาเป็นทูตทำสัญญาเบาริง ทำให้ไทยเสียรายได้ในการค้า เนื่องด้วยเก็บเงินได้แค่ภาษีร้อยชัก 3 ภาษีฝิ่นจึงเป็นรายได้สำคัญอย่างหนึ่ง รัฐบาลไทยออกกฎหมายไม่ให้คนไทยสูบฝิ่น คนไทยที่อยากสูบฝิ่นที่โรงยาฝิ่นต้องปลอมตัวเป็นคนจีนไว้เปีย ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนเป็นรัฐบาลผูกขาดฝิ่นเอง[2]


อ้างอิง

1. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 145
2. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 157