Please wait...

<< Back

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งมณฑลเหลียวหนิง


รูป 26 ห้องวัฒนธรรมหินใหม่

(น.17) ห้องที่ 2 วัฒนธรรมหินใหม่ 5,000-10,000 ปี หน้าห้องมีรูปมังกรโบราณหน้าตาคล้ายหัวหมู ของจริงเป็นหยก 8,000 ปีมาแล้วมีวัฒนธรรมฝูซิน มีมาก่อนวัฒนธรรมหย่างเซ่า มีเครื่องปั้นดินเผาลายเชือกทาบ หินบดธัญพืช เครื่องประดับ มีรูปมังกร แหจับปลา ตัวแหไม่เหลืออยู่แล้ว คงมีแต่หินเจาะรูที่ใช้ถ่วงแห


(น.18) รูป 27 วัฒนธรรมหงซาน

(น.18) วัฒนธรรมหงซานสมัยเดียวกับหย่างเซ่า ไม่พบบ้านเรือนที่อยู่ พบแต่สถานที่บูชาเทวดา เขาทำรูปจำลองบริเวณที่ขุดค้นให้ดู มีที่บูชาเทพมารดา พบรูปเคารพหนู่เสิน (เป็นผู้หญิงอ้วนๆแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ คติเช่น นี้มีมากในสังคมโบราณโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมเกษตรกรรม เมื่อมีศาสนาอื่นเข้ามาก็มักปะปนกับเทพเจ้าอื่น) ที่นี่พบแท่นบูชาเทวดา พบหลุมศพในหลุมมีเครื่องประดับทำด้วยหยก รูปมังกรหัวหมูที่ติดไว้หน้าห้องก็มาจากหลุมนี้ อายุก็ประมาณ 5,500 ปี นอกจากนั้นมีขวานหิน พลั่วหิน คันไถ (หย่างเซ่าไม่มี) เครื่องบูชา รูปหนู่เสินนั่งไขว่ขาประสานมือ ภาชนะเขียนสี เครื่องประดับรูปเต่า นก ปลา 4,000-5,000 ปี สมัยหินใหม่ (หินขัด)


(น.19) รูป 28 วัฒนธรรมหงซาน


รูป 29 วัฒนธรรมหงซาน


(น.20) รูป 30 สมัยสำริด


รูป 31 สมัยสำริด

(น.20) ห้องที่ 3 สมัยสำริด ราชวงศ์ซาง ราชวงศ์โจว ที่เก่าที่สุด 4,000 ปี สมัยเซี่ยและสมัยซาง สำริดรุ่นแรกในตะวันออกเฉียงเหนือทำเป็นภาชนะสามขา ยังมีภาชนะดินเผาเขียนสีแดงดำ อาวุธโบราณชนิดจีนหนึ่งเรียก เกอ ลักษณะคล้ายขวาน เปิดพจนานุกรม จีน-อังกฤษ เรียกว่า dagger axe ทำด้วยสำริด ภาชนะสำริดรุ่นนี้มีจารึกชื่อบุคคลผู้ล่วงลับไปแล้วมีรูปร่างต่างๆ เช่น รูปหงส์ รูปมังกร หูภาชนะเป็นรูปหัววัว หัวเสือ


(น.21) รูป 32 สมัยสำริด


รูป 33 สมัยสำริด


(น.22) รูป 34 สมัยสำริด

(น.22) ที่แปลกคือเป็นรูปสัตว์ประหลาดขี่เสือจับหมู (ข้าพเจ้าดูแล้วไม่ทราบว่าเป็นพระพนัสบดี หรือเป็นต้นแบบของหน้ากาลที่เราเห็นในสถาปัตยกรรม) เสือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์เพราะเป็นเจ้าป่า เครื่องอาวุธ คันฉ่องโลหะ ภาชนะดินเผาทางภาคเหนือต่างจากภาคกลางคือมีรูเจาะสำหรับแขวน มีระฆังสำริด เครื่องประดับม้าของชิ้นหนึ่งมีรูปร่างแปลกคือ งู 2 ตัวพันกันคาบกบซึ่งประดับ Turquoise รูปเสือตะครุบกระต่าย ท่อพ่นลมสุมไฟรูปหัวม้า สรุปได้ว่าวัฒนธรรมในยุคนี้ของเหลียวหนิง (สมัยชุนชิวจ้านกว๋อ) ประกอบด้วยการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และจับปลา


(น.23) รูป 35 สมัยสำริด

Next >>