Please wait...

<< Back

วัดหลิงกวง

จากหนังสือ

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 83,84,85,86,87,88,89,90,91,92,93

(น.83) รูป 86-87 ชื่อรูป ไปวัดพระเขี้ยวแก้ว หรือวัดหลิงกวง
(น.83) “ในโลกนี้ ไม่ร้องไห้ ไม่หัวเราะ หากปรารถนาจะเขียน ก็เขียนได้” ตีความได้ว่า ถ้ามีใจมั่นคงไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม ก็จะมีพลังที่จะเขียนหนังสือได้ ข้าพเจ้าจะพยายามใช้คตินี้ในการเขียนหนังสือต่อไป เดินทางไปชานเมืองปักกิ่ง สองข้างทางมีต้นท้อที่มีแต่กิ่ง ร้านองุ่นเปล่าๆถึงวัดเจดีย์พระเขี้ยวแก้ว เรียกอีกชื่อว่าวัดหลิงกวง หมายถึง แสงสว่างแห่งจิตวิญญาณ หรือแสงปาฏิหาริย์ คำว่า “หลิง” นี้แปลยาก ที่คุณชัยรัตน์ (หรือคุณขลุ่ย ข้าราชการสถานทูต
(น.84) รูป 88 ชื่อรูป วิหารที่วัดหลิงกวง
(น.84) ไทย) แปลว่า “ปาฏิหาริย์” น่าจะถูกต้อง เพราะปกติเราก็พูดกันอยู่เสมอว่า ‘พระธาตุเสด็จ’ หมายถึง การเห็นแสงสว่าง ผู้ที่มาต้อนรับเป็นรองประธานของพุทธสมาคมจีน และประธานของพุทธสมาคมมณฑลยูนนาน ชื่อตาวซูเหริน เมื่อฟังชื่อก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นชาวไต เมืองสิบสองปันนา พูดภาษาไทยได้ เคยไปประเทศไทยหลายครั้ง เช่นตอนที่สิบสองปันนาส่งพระสงฆ์ไปเรียนพุทธศาสนาที่วัดพระบาทตากผ้า ลำพูน ก็เป็นคนไปรับกลับ เป็นน้องหม่อมคำลือ เข้าไปที่วิหารพระพุทธรูปที่สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธ ประทาน สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบันเสด็จมาเบิกพระเนตร มีนามว่าพระพุทธปฏิมาวาสนมุนินทร์ หรือหลวงพ่อปักกิ่ง
(น.85) รูป 89 ชื่อรูป วิหารที่วัดหลิงกวง
รูป 90 ชื่อรูป หลวงพ่อปักกิ่ง
(น.85) ไปที่เจดีย์พระธาตุที่สร้างใหม่ เจ้าอาวาสอยู่หน้าประตู อวยพรเสียงเพราะแบบคนโบราณ คือลากเสียงยาวๆ เหมือนจะเป็นทำนอง ขึ้นไปชั้นบน ทางแคบๆ เย็นๆ ชื้นๆ พระเขี้ยวแก้วอยู่ชั้นบน คุณตาวซูเหรินเล่าประวัติย่อๆว่า พระธาตุนี้
(น.86) รูป 91-92 ชื่อรูป หลวงพ่อปักกิ่ง
(น.86) เข้าใจว่าเป็นของสมัยราชวงศ์ถัง อยู่ที่วัดนี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่ทราบ มีแต่เรื่องเล่าขานกันมาว่าพระเขี้ยวแก้วองค์นี้ มีผู้นำไปเมืองอุทยานะ และนำมา Khotan (อยู่ในซินเกียง) พระภิกษุฝ่าเสี้ยน (ค.ศ. 424 - 498) สมัยราชวงศ์ฉีใต้ นำมาที่นานกิง ราชธานีของฉีใต้ สมัยสุยมีการรวมประเทศ ก็ได้นำไปฉางอัน สมัยห้าราชวงศ์บ้านเมืองวุ่นวาย พระธาตุเคลื่อนย้ายไปที่ต่างๆ จนถึงเมืองเยี้ยนจิง คือปักกิ่งในปัจจุบัน (สมัยเหลียว) มีบันทึกราชวงศ์เหลียวกล่าวไว้ว่า (เล่ม22) ประดิษฐานในเจดีย์เจาเซียน วัดหลิงกวง
(น.87) ในสมัยราชวงศ์ชิง ช่วงที่ประเทศสัมพันธมิตร 8 ชาติ บุกปักกิ่ง (ค.ศ. 1900 สมัยกบฎนักมวย) เนื่องจากบริเวณวัดนี้เป็นเขตสำคัญทางยุทธศาสตร์ เพราะเป็นที่สูงที่สุดในปักกิ่ง ฝ่ายราชวงศ์ชิงจึงตั้งกองทหารไว้ พันธ- มิตรยิงเข้ามาไม่ถูกเจดีย์ แต่เจดีย์เก่าแล้วก็ล้มโครมลง วันหนึ่งพระในวัดนี้ได้พบพระธาตุ พระธาตุนี้บรรจุอยู่ในผอบหิน มีจารึกบอกศักราช ซึ่งตรงกับพงศาวดารจดไว้ จึงเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี แต่ไม่ได้บอกให้ใครทราบ จนกระทั่งถึงสมัยจีนใหม่ พระจึงนำเรื่องพระธาตุเสนอนายกฯ โจวเอินไหล ท่านเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ ปี ค.ศ. 1956
(น.88) รูป 93 ชื่อรูป หลวงพ่อปักกิ่ง
รูป 94 ชื่อรูป คำจารึกที่ฐานชุกชี หลวงพ่อปักกิ่ง
(น.89) รูป 95 ชื่อรูป หลวงพ่ออวยพร
รูป 96 ชื่อรูป ในเจดีย์พระบรมธาตุ
(น.90) รูป 97-98 ชื่อรูป ในเจดีย์พระบรมธาตุ
(น.91) รูป 99 ชื่อรูป เดินไปดูฐานเจดีย์เก่า
(น.91) จึงนำเจดีย์องค์เล็กๆจากพระราชวังหลวงในปักกิ่ง เป็นของในสมัยราชวงศ์ชิง มาประดิษฐานพระบรมธาตุ และสร้างเจดีย์ใหญ่ (ที่เราขึ้นไป) ที่วัดหลิงกวงในปี ค.ศ. 1955 เจดีย์ทองบรรจุพระเขี้ยวแก้วดูเป็นแบบเจดีย์ลัทธิ ลามะทิเบต มีจารึกซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าเป็นตัวเทวนาครี ภาษาสันสกฤต แต่ข้าพเจ้าไม่ทราบเนื้อความ (ความจริงน่าจะเป็นตัวสิทธัมเป็นอักษรอินเดียที่ใช้จารึกมนตร์ต่างๆ ทางลัทธิตันตระ) ปี ค.ศ. 1957 อูนุเป็นนายกรัฐมนตรีพม่า มาขอเชิญพระธาตุไปบูชาที่พม่า (ผ่านสิบสองปันนา) เป็นเวลาหนึ่งปี นี่เป็นเรื่องที่ฟังเล่าด้วยวาจา ถ้าจะเอาให้แน่นอนก็ต้องอ่านหนังสือและวิเคราะห์ดูอีกครั้ง
(น.92) รูป 100 ชื่อรูป เดินไปดูฐานเจดีย์เก่า
รูป 101 ชื่อรูป ฐานเจดีย์เก่า
(น.93) รูป 102 ชื่อรูป สร้อยแก้วลายพระอรหันต์ 18 องค์ และประคำลูกนัต
(น.93) ไปดูฐานเจดีย์เก่าที่เขาบูรณะขึ้น (ของเก่าแตกกระจาย) ฐานของเก่าสมัยราชวงศ์เหลียว ลวดลายต่างๆ เช่น ลายพลับพลา คนมีปีกบินเอียงๆ คล้ายๆ ที่ตุนหวง หินบางก้อนก็เอามาปะจากที่อื่น ฐานเจดีย์ก่อด้วยอิฐสีออกขาว ตอนที่พบพระธาตุว่าอยู่ในกล่องทองคำ เงิน และหินซ้อนกัน พบศิลาจารึกอธิบายเรื่องพระธาตุด้วย ก่อนกลับคุณตาวให้หนังสือประวัติ รูปพระธาตุ สร้อยทำด้วยแก้ว เขียนลายพระอรหันต์ 18 องค์ เขียนจากข้างในประคำทำด้วยเมล็ดของลูกนัตชนิดหนึ่งที่ขึ้นแถบนี้ ซื้อหนังสือเรื่องพระเขี้ยวแก้วมาเล่มหนึ่ง แต่เป็นนวนิยาย ไม่ได้เป็นประวัติจริง ก่อนกลับคุณตาวพูดถึงว่าจะมีงาน “วัฒนธรรมห้าเชียง” ได้แก่ เชียงรุ้ง เชียงตุง เชียงราย เชียงใหม่ เชียงทอง (


จัดหมวดหมู่สารสนเทศ
วัดหลิงกวง

วัดเจดีย์พระเขี้ยวแก้ว เรียกอีกชื่อว่าวัดหลิงกวง หมายถึง แสงสว่างแห่งจิตวิญญาณ หรือแสงปาฏิหาริย์ คำว่า “หลิง” นี้แปลยาก ที่คุณชัยรัตน์ (หรือคุณขลุ่ย ข้าราชการสถานทูตไทย) แปลว่า “ปาฏิหาริย์” น่าจะถูกต้อง เพราะปกติเราก็พูดกันอยู่เสมอว่า ‘พระธาตุเสด็จ’ หมายถึง การเห็นแสงสว่าง[1]

เจดีย์พระธาตุประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว

ไปที่เจดีย์พระธาตุที่สร้างใหม่ ขึ้นไปชั้นบน ทางแคบๆ เย็นๆ ชื้นๆ พระเขี้ยวแก้วอยู่ชั้นบน[2]

ประวัติเจดีย์พระธาตุ

ในสมัยราชวงศ์ชิง ช่วงที่ประเทศสัมพันธมิตร 8 ชาติ บุกปักกิ่ง (ค.ศ. 1900 สมัยกบฎนักมวย) เนื่องจากบริเวณวัดนี้เป็นเขตสำคัญทางยุทธศาสตร์ เพราะเป็นที่สูงที่สุดในปักกิ่ง ฝ่ายราชวงศ์ชิงจึงตั้งกองทหารไว้ พันธมิตรยิงเข้ามาไม่ถูกเจดีย์ แต่เจดีย์เก่าแล้วก็ล้มโครมลง วันหนึ่งพระในวัดนี้ได้พบพระธาตุ พระธาตุนี้บรรจุอยู่ในผอบหิน มีจารึกบอกศักราช ซึ่งตรงกับพงศาวดารจดไว้ จึงเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี แต่ไม่ได้บอกให้ใครทราบ จนกระทั่งถึงสมัยจีนใหม่ พระจึงนำเรื่องพระธาตุเสนอนายกฯ โจวเอินไหล ท่านเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ ปี ค.ศ. 1956 จึงนำเจดีย์องค์เล็กๆจากพระราชวังหลวงในปักกิ่ง เป็นของในสมัยราชวงศ์ชิง มาประดิษฐานพระบรมธาตุ และสร้างเจดีย์ใหญ่ (ที่เราขึ้นไป) ที่วัดหลิงกวงในปี ค.ศ. 1955 เจดีย์ทองบรรจุพระเขี้ยวแก้วดูเป็นแบบเจดีย์ลัทธิ ลามะทิเบต มีจารึกซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าเป็นตัวเทวนาครี ภาษาสันสกฤต แต่ข้าพเจ้าไม่ทราบเนื้อความ (ความจริงน่าจะเป็นตัวสิทธัมเป็นอักษรอินเดียที่ใช้จารึกมนตร์ต่างๆ ทางลัทธิตันตระ) ปี ค.ศ. 1957 อูนุเป็นนายกรัฐมนตรีพม่า มาขอเชิญพระธาตุไปบูชาที่พม่า (ผ่านสิบสองปันนา) เป็นเวลาหนึ่งปี นี่เป็นเรื่องที่ฟังเล่าด้วยวาจา ถ้าจะเอาให้แน่นอนก็ต้องอ่านหนังสือและวิเคราะห์ดูอีกครั้ง ไปดูฐานเจดีย์เก่าที่เขาบูรณะขึ้น (ของเก่าแตกกระจาย) ฐานของเก่าสมัยราชวงศ์เหลียว ลวดลายต่างๆ เช่น ลายพลับพลา คนมีปีกบินเอียงๆ คล้ายๆ ที่ตุนหวง หินบางก้อนก็เอามาปะจากที่อื่น ฐานเจดีย์ก่อด้วยอิฐสีออกขาว ตอนที่พบพระธาตุว่าอยู่ในกล่องทองคำ เงิน และหินซ้อนกัน พบศิลาจารึกอธิบายเรื่องพระธาตุด้วย[3]

ประวัติพระเขี้ยวแก้ว

พระธาตุนี้เข้าใจว่าเป็นของสมัยราชวงศ์ถัง อยู่ที่วัดนี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่ทราบ มีแต่เรื่องเล่าขานกันมาว่าพระเขี้ยวแก้วองค์นี้ มีผู้นำไปเมืองอุทยานะ และนำมา Khotan (อยู่ในซินเกียง) พระภิกษุฝ่าเสี้ยน (ค.ศ. 424 - 498) สมัยราชวงศ์ฉีใต้ นำมาที่นานกิง ราชธานีของฉีใต้ สมัยสุยมีการรวมประเทศ ก็ได้นำไปฉางอัน สมัยห้าราชวงศ์บ้านเมืองวุ่นวาย พระธาตุเคลื่อนย้ายไปที่ต่างๆ จนถึงเมืองเยี้ยนจิง คือปักกิ่งในปัจจุบัน (สมัยเหลียว) มีบันทึกราชวงศ์เหลียวกล่าวไว้ว่า (เล่ม22) ประดิษฐานในเจดีย์เจาเซียน วัดหลิงกวง[4]


อ้างอิง

1. เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 83-84
2. เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 85
3. เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 87,91,93
4. เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 86