Please wait...

<< Back

วัดไคหยวน


รูป 43 หลวงจีนที่ต่อต้านญี่ปุ่นด้วยการกัดลิ้นเอาเลือดมาเขียนพระสูตร


รูป 44 มู่หยู (เครื่องเคาะจังหวะรูปปลา) แขวนไว้ที่ระเบียง


(น.50) รูป 45 เจ้าอาวาสให้ของที่ระลึก

(น.50) เซ็น ในญี่ปุ่น) ซึ่งเน้นในเรื่องการทำสมาธิเพื่อบรรลุความรู้แจ้งเห็นจริง หรือการทำจิตว่าง ยิ่งกว่าการศึกษาพระธรรมจากคัมภีร์ และไม่เน้นเรื่องโครงสร้างทางการปกครอง อย่างไรก็ตามพระสงฆ์นิกายฉานจงในจีนก็ศึกษาพระสูตรมหายาน เช่น ปรัชญาปรมิตาสูตร อวตังสกสูตร ลังกาวตารสูตร และวิมลกีรตินิเทศสูตร พระสงฆ์ที่นำนิกายธยานะมาเผยแพร่ในจีน คือ พระโพธิธรรม ชาวอินเดีย ชาวจีนเรียกว่า พระตั๊กม้อ เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในจีนราวต้นคริสศตวรรษที่ 6 (ค.ศ. 527) วัดในนิกายฉานจงที่มีชื่อเสียง และคนไทยรู้จักดีจากภาพยนตร์ทีวีคือ วัดเส้าหลิน ที่นี่เห็นมีคนมากันมาก ทั้งชาวบ้านแถวๆ นี้และนักท่องเที่ยว ก่อนที่จะออกจากวัด มีคนไทยมาทัก เขาบอกว่าเขาไปล่องแม่น้ำแยงซีไปถึงอู่ฮั่นและบินมาเที่ยวที่นี่ต่อ


(น.50) รูป 46 ดอกบัวที่วัด



จัดหมวดหมู่สารสนเทศ



วัดไคหยวน

ที่หมายที่ 3 วัดไคหยวน เข้าประตู (ซานหมิน) มีโลกบาล (เทียนหวัง) อยู่ซ้ายขวาข้างละสององค์ ตรงกลางเป็นรูปพระศรีอาริยเมตไตรย[1] วัดนี้กล่าวกันว่าสร้างในสมัยราชวงศ์ถังราว ค.ศ. 738 สมัยจักรพรรดิถังสวนจง (หมิงตี้) บางส่วนเป็นศิลปะสมัยราชวงศ์ซ่งและหยวน แต่ก่อนเคยมีเนื้อที่ร้อยกว่าโหม่ว แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 20 โหม่ว ถูกรุกที่บ้าง เอาไปทำอย่างอื่นบ้าง[2]

รูป 34 วัดไคหยวน

วัดนี้เป็นวัดในพุทธศาสนานิกายฉานจง (ธยานะ ในอินเดีย,เซ็น ในญี่ปุ่น) ซึ่งเน้นในเรื่องการทำสมาธิเพื่อบรรลุความรู้แจ้งเห็นจริง หรือการทำจิตว่าง ยิ่งกว่าการศึกษาพระธรรมจากคัมภีร์ และไม่เน้นเรื่องโครงสร้างทางการปกครอง อย่างไรก็ตามพระสงฆ์นิกายฉานจงในจีนก็ศึกษาพระสูตรมหายาน เช่น ปรัชญาปรมิตาสูตร อวตังสกสูตร ลังกาวตารสูตร และวิมลกีรตินิเทศสูตร พระสงฆ์ที่นำนิกายธยานะมาเผยแพร่ในจีน คือ พระโพธิธรรม ชาวอินเดีย ชาวจีนเรียกว่า พระตั๊กม้อ เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในจีนราวต้นคริสศตวรรษที่ 6 (ค.ศ. 527)[3]

รูป 35 หน้าวัดไคหยวน

ที่นี่เห็นมีคนมากันมาก ทั้งชาวบ้านแถวๆ นี้และนักท่องเที่ยว[4]

อาคารต่างๆภายในวัด

ต้าฉงอู๋เตี่ยน
รูป 36 พระประธาน

อาคารหลักเรียกว่า ต้าฉงอู๋เตี่ยน เป็นวิหารกลางปลูกบนยกพื้นหินแกรนิต หลังคาคงจะซ่อมแซมใหม่ในยุคหลัง (ราชวงศ์หมิง?) ผนังเป็นบานประตู คงจะเปิดได้รอบตัวแบบอาคารจีนทั่วไป มีพระปฏิมาประธาน 3 องค์ ตรงกลางเป็นพระศากยมุนี ข้างซ้ายเป็นพระไภษัชยคุรุ ด้านขวาเป็นพระอมิตาภะ ริมผนังสองด้านเป็นพระอรหันต์ข้างละ 9 องค์ รวมเป็น 18 ที่เรียกว่าจับโป้ยหล่อฮั่น หลังพระประธานมีรูปพระภิกษุองค์หนึ่งไม่ทราบว่าเป็นใคร ตรงกลางเป็นกวนอิมเหยียบบนปลาหลีฮื้อ เรียกว่า กวนอิมทะเลใต้ รูปทั้งหมดนี้สร้างใหม่ ฝีมืองามดี ของเดิมถูกทำลายหมดสมัยปฏิวัติวัฒนธรรม[5]
รูป 37 พระอรหันต์ 18 องค์

รูป 38 เจ้าแม่กวนอิม

หอพระไตรปิฎก
อาคารหอพระไตรปิฎก เรียกว่าหอฉางจิงโหลว มีพระปฏิมาประธานเป็นพระพุทธรูป ด้านซ้ายเป็นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิมหรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ด้านขวาเป็นพระโพธิสัตว์มัญชุศรี ในหอไตรนี้มีพระไตรปิฎกฉบับพระเจ้าเฉียนหลง จำนวน 7,000 กว่าเล่ม เขียนเป็น 4 ภาษาคือ ภาษาจีน ภาษาแมนจู ภาษามองโกล และภาษาทิเบต ซึ่งเป็นภาษาสำคัญที่ใช้กันในจีนสมัยนั้น[6]
รูป 39 พระไตรปิฎฉบับเฉียนหลง มีจำนวน 7,000 กว่าเล่ม 4 ภาษา
ข้างๆ หอพระไตรปิฎก จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ มีของเก่ามากมาย ในตู้มีตัวเขียนต่างๆ มีของชิ้นใหญ่ๆ ทำด้วยสำริด มีระฆังใบใหญ่จารึก พระสูตร เช่น อวตังสกสูตร ธารณี เช่น มหากรุณาธารณี เจดีย์ไม้ แกะสลักปิดทองสูงสามเมตรกว่า ทำสมัยราชวงศ์หมิง กระถางธูปจากเกาหลีเป็นบรรณาการสมัยราชวงศ์ถัง กระถางธูปขนาดใหญ่ทำจากหินอุกกาบาต สร้างสมัยราชวงศ์หมิง[7]
รูป 40 ระฆังจารึกพระสูตรต่างๆ

รูป 41 เจดีย์ไม้แกะสลักปิดทอง สูง 3 เมตร

รูป 42 กระถางธูปทำด้วยหินอุกกาบาต
ในตู้มีรูปพระหลวงจีนรูปหนึ่งที่มีศรัทธาแก่กล้า เช้าขึ้นก็กัดลิ้นตนเองเอาเลือดมาเขียนอวตังสกสูตร ตั้งแต่ต้นจนจบใช้เวลา 3 ปี ในทางพุทธศาสนาน่าจะเป็นการบำเพ็ญเพียรที่สุดโต่งเกินไปที่เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงห้ามเช่นเดียวกับการทำตัวสบายเกินไป แต่ในที่นี้เบื้องหลังคือ การต่อต้านญี่ปุ่น ถือเป็นการต่อสู้ทางการเมืองอย่างหนึ่ง แบบเดียวกับการอดอาหาร พระรูปนี้เขาว่าเคยมาเมืองไทย[8]
รูป 43 หลวงจีนที่ต่อต้านญี่ปุ่นด้วยการกัดลิ้นเอาเลือดมาเขียนพระสูตร

อื่นๆ
หอฉัน ตรงระเบียงมีมู่หยู หรือเครื่องเคาะจังหวะทำเป็นรูปปลา หอพระโพธิสัตว์ตี้จ้าง (กษิติครรภ) ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ที่ดูแลยมโลก ในหอมีรูปยมบาล (หมอหวัง) ทั้ง 16[9]
รูป 44 มู่หยู (เครื่องเคาะจังหวะรูปปลา) แขวนไว้ที่ระเบียง
หอกวนอิม (หอพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) รูปกวนอิมเป็นผู้ชาย และในตู้มีรูปกวนอิม 18 ปาง[10]


อ้างอิง

1. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 45
2. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 44
3. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 48,50
4. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 50
5. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 45
6. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 46
7. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 46,48
8. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 48
9. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 48
10. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 48