Please wait...

<< Back

วัดหย่งเหอกง

จากหนังสือ

มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 30-39

(น.30) เมษายน ประกาศใช้นโยบายนี้ในวันที่ 6 เมษายน ที่ประชุมคือที่มหาศาลาประชาชน ท่านนายกว่าถ้าสนใจก็ไปดูได้ เขามีห้องของแต่ละมณฑล ซึ่งจะนำของจากมณฑลนั้น ๆ มาตกแต่ง พูดถึงชนกลุ่มน้อยที่มีมากที่สุดคือพวกจ้วง รองลงมาได้แก่พวกเววูเอ๋อร์ซึ่งมีมากในซินเกียง ที่เป็นมณฑลปกครองตนเอง มีคนเววูเอ๋อร์ถึง 6 ล้านคน ชาวฮั่น 5 ล้านคน คาซัก (เป็นพวกเชื้อสายรัสเซีย) ประมาณ 1ล้านคน พวกแมนจูเคยมาปกครองจีนอยู่นาน โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ปักกิ่งนี้ย้อนไปพูดถึงราชวงศ์หมิง ซึ่งแต่แรกตั้งเมืองหลวงอยู่ที่นานกิง หย่งเล่อ เคยมาปกครองปักกิ่ง เมื่อได้ราชสมบัติจึงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองนี้ หย่งเล่อได้ทำประโยชน์แก่จีนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำพจนานุกรมหย่งเล่อต้าเตี่ยน ประวัติศาสตร์จีนมีความแน่นอน เพราะแต่ละราชวงศ์จะมีพนักงานจดบันทึกเหตุการณ์ไว้ พนักงานเหล่านี้มักจะเป็นผู้มีใจเป็นธรรม คือจดตามความเป็นจริง กษัตริย์ทำไม่ดีก็จดไว้ ขณะนี้เรียบเรียงไว้เป็น 24 เล่ม ยังไม่รวมประวัติราชวงศ์ชิง และกล่าวถึงการแบ่งหน่วยราชการกระทรวงของจีน เมื่อรับประทานอาหารเสร็จพักผ่อนระยะหนึ่ง บ่ายสองโมงออกไปวัดลามะหย่งเหอกง พระที่มารับเป็นคนมองโกล อธิบายว่าที่นี่สร้างขึ้นในค.ศ.1694 ซึ่งเป็นปีที่ 33 ในรัชกาลพระเจ้าคังซี เคยเป็นตำหนักของพระราชโอรสองค์ที่ 4 (องค์ชาย 4 ในภาพยนตร์ทีวีเรื่องศึกสายเลือด) ต่อมาองค์ชาย 4 ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหย่งเจิ้งอยู่ 13 ปีก็สวรรคต (ค.ศ. 1723-1736)
(น.31) รูป26. ช่วงบ่ายวันที่ 8 เมษายน ไปที่วัดลามะหย่งเหอกง พระราชโอรสคือ พระเจ้าเฉียนหลงได้ขึ้นครองราชย์ จึงอุทิศตำหนักนี้ถวายเป็นของวัดลามะ เมื่อ ค.ศ. 1744 เพื่อให้ชาวทิเบตและชาวมองโกลมีความภักดีต่อแมนจู ได้เชิญลามะ 7 องค์ มาจากมองโกเลีย ปลายสมัยราชวงศ์ชิงวัดนี้ทรุดโทรมมากเพราะไม่มีทุนบูรณะ มาบูรณะใหม่เมื่อปลด
(น.32) รูป 27.,28.,29.
(น.33) รูป27. เตาเผากำยานทำด้วยสำริด เตาเช่นนี้มีในปักกิ่งเพียง 2 ใบคือใบนี้กับที่พระราชวังหลวง
รูป28. ศิลาจารึก 4 ภาษา (มองโกล, ทิเบต, จีน, แมนจู) กล่าวถึงความเคารพของพระเจ้าเฉียนหลงต่อศาสนาลามะ
รูป29. เขาพระสุเมรุทำด้วยสำริด
(น.33) ปล่อยแล้ว ขณะนี้ก็มีพระชาวมองโกลอยู่วัดนี้ได้รับความคุ้มครองจากโจวเอินไหล ตอนปฏิวัติวัฒนธรรมนักศึกษาจะมาทำลายวัด ท่านโจวได้ให้ท่านหันเหนียนหลงมาคุยกับนักศึกษาไม่ให้เข้าทำลาย จึงรักษาไว้ได้ ขณะนี้มีพระลามะอยู่ 30 องค์ เราเดินดูภายในวัด ที่วัดมีเตาเผากำยานทำด้วยสำริด ในปักกิ่งมีเพียง 2 ใบ คือที่วัดนี้กับที่พระราชวังหลวง ศิลาจารึกมี 4 ภาษา ทิศตะวันออกเป็นภาษามองโกเลีย ตะวันตกเป็นภาษาทิเบต ทิศเหนือภาษาจีน ทิศใต้เป็นภาษาแมนจู ว่ากันว่าภาษาจีนเป็นลายพระหัตถ์ของพระเจ้าเฉียนหลงเอง ภาษามองโกเลียกับภาษาแมนจูดูตัวอักษรคล้าย ๆ กัน เนื้อหาของจารึกทุกด้านเหมือนกัน กล่าวถึงพระเจ้าเฉียนหลงเคารพศาสนาลามะ (ลามะจีวรเหลือง) เพื่อความสามัคคีกับมองโกเลีย
(น.34) ด้านนอกมีภูเขาซูหมี คือเขาพระสุเมรุ สร้างในรัชกาลพระเจ้าว่านลี่ ราชวงศ์หมิง เป็นทรรศนะของนิกายลามะในเรื่องของจักรวาล ที่มีทะเลกับเขาสัตภัณฑ์สลับกัน บนยอดเขาเป็นทางเข้าประตูสวรรค์ ข้าพเจ้าไม่ทราบจะบรรยายเขาพระสุเมรุว่าอย่างไร จึงขออ้างคำพรรณนาม่านวันทองในเรื่องขุนช้างขุนแผน
“ เจ้าปักเป็นหิมพานตาตะหง่านงาม
อร่ามรูปพระสุเมรุภูผา
วินันตกอัสกัณฑ์เป็นหลั่นมา
การวิกอิสินธรยุคนธร
อากาศคงคาชลาสินธุ์
มุจลินทร์ห้าแถวแนวสลอน
ไกรลาสสะอาดเอี่ยวอรชร
ฝูงกินนรคนธรรพ์วิทยา”
ในอาคารอีกหลังมีพระพุทธรูปในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต พระอรหันต์ 18 พระองค์ เล่ากันว่าธรรมเนียมอินเดียมี 16 องค์ จีนเติมอีก 2 องค์ ด้านนอกมีพระพรหมซึ่งคนไทยมาสร้างถวาย
(น.34) รูป30.-31 ภายในอาคารมีพระพุทธรูป
รูป32. ภาพพระบฏพุทธประวัติ เป็นผ้าปัก เล่ากันว่าเป็นฝีพระหัตถ์พระมารดาพระเจ้าเฉียนหลง
(น.35) รูป30.,31.,32
(น.36) รูป33. อีกห้องเป็นพระอมิตาภะอยู่กลาง ด้านตะวันตกมีพระไภษัชยคุรุ ตะวันออกเป็นพระโพธิสัตว์ (สิงโตร้อง) ฝาผนังแขวนภาพพระบฏปักไหมสีต่าง ๆ เอาผ้ามาต่อ ๆ กัน เล่าต่อกันมาว่าเป็นฝีมือพระมารดาพระเจ้าเฉียนหลง อีกอาคารเป็นอาคารแบบทิเบตซ้อนกัน 5 ชั้น เป็นที่ซึ่งพระลามะจะต้องมาทำพิธีทุก ๆ เช้า ครั้งหนึ่งเป็นเวลาชั่วโมงกว่า ๆ มีคัมภีร์ศาสนา แท่นที่ประทับของดาไลลามะ ข้าง ๆ เป็นธรรมาสน์ของปันชานลามะ ประมุขอีกคนหนึ่งของนิกายในฝ่ายพุทธจักร ที่นี่ก็มีรูปพระอรหันต์ 500 องค์ แต่ทำแปลกไปกว่าที่อื่นคือทำรูปภูเขาด้วยไม้จันทน์แดง พระอรหันต์ทำด้วยทองคำ เงิน สำริด เหล็ก และดีบุก ตั้งอยู่ตามภูเขา นอกจากนั้นมีอ่างอาบน้ำพระเจ้าเฉียนหลงตอนอายุ 3 วัน ในวิหารอีกหลังมีรูปพระเมตไตรย ทำด้วยไม้จันทน์ขาวทั้งต้น เป็นพระยืนสูง 18 เมตร ไม้จันทน์ทั้งต้นที่ใช้แกะสลักพระยืนยาว 26 เมตร
(น.37) รูป33. อ่างอาบน้ำพระเจ้าเฉียนหลงตอนทรงพระเยาว์
รูป34. ห้องนี้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์
รูป35. พระยืนองค์นี้ทำด้วยไม้จันทน์ขาวทั้งต้น
(น.38) เพราะอยู่ลึกลงไปในดินอีก 8 เมตร กว้าง 8 เมตร เป็นของถวายพระเจ้าเฉียนหลงจากลามะองค์ที่ 7 จากทิเบต ที่ทิเบตเองก็ไม่มีพระพุทธรูปไม้จันทน์ มีแต่ทองสำริด อาคารนี้ต่อไปที่หอคัมภีร์ ห้องพระศากยมุนี จุดเด่นคือมีเสาเป็นมังกร 99 ตัว ใช้ไม้หนานมู่ชนิดหนึ่งเรียกว่า จินซือ (หนานมู่ลายทอง) มาจากยูนนาน ห้องนี้เป็นที่สวดมนต์พระมารดาเฉียนหลง ห้องต่อไปที่เข้าดูเป็นห้องที่ลามะองค์ที่ 6 เคยมาพักอยู่ตอนมาเฝ้าพระเจ้าเฉียนหลง ปัจจุบันเขาจัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์ มีของที่ได้จากต่างประเทศ (มีของจากกรมการศาสนาไทยด้วย) ของที่ใช้ประจำวัน ของต่าง ๆ เช่น หรูอี้ ประคำ เครื่องดนตรีในพิธีเช่น ปี่ สังข์ ระฆัง เสื้อผ้าที่กษัตริย์ราชวงศ์ชิงถวายลามะ เป็นเสื้อผ้า 4 ฤดู ฤดูหนาวหมวกมีขนสัตว์ ฤดูร้อนหมวกกันแดดปีกใหญ่ รูปปันชานลามะองค์ที่ 6,9,10 องค์สุดท้ายนี้เพิ่งเสียชีวิตไป เคยเป็นรองประธานสภาผู้แทน มีห้องหนึ่งเป็นห้องพระไภษัชยคุรุ ถือว่าเป็นที่ปรุงยาของวัด (ในสมัยก่อน) ปัจจุบันที่ปักกิ่งไม่มีพระลามะที่ปรุงยาได้แล้ว แต่ที่ชิงไห่และที่ทิเบตยังมี เรามีเวลาดูกันน้อย และข้าพเจ้าก็ไม่มีความรู้เกี่ยวกับนิกายลามะ แต่รู้สึกสงสัยว่าลัทธิลามะที่มาอยู่ในเมืองหลวงของจีน กับที่อยู่ในถิ่นเดิมจะมีความเชื่อต่างกันบ้างไหม จะเป็นไปได้ไหมที่นิกายลามะในจีนได้รับอิทธิพลพุทธมหายานนิกายต่าง ๆ ที่นับถือกันอยู่ทั่วไป จากวัดลามะไปมูลนิธิซ่งชิงหลิง รองประธานมูลนิธิ ชื่ออู๋เฉียนเหิงมาต้อนรับ (ประธานเป็นภรรยานายพลจูเต๋อ อดีตประธานสภา สุขภาพไม่ดีอยู่โรงพยาบาล จึงมาต้อนรับไม่ได้) รองประธานอธิบายว่าตึกหลังนี้
(น.39) รูป36. ออกจากวัดลามะ นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลสร้างให้เป็นที่พักของมาดามซ่งชิงหลิง และมาดามอยู่ที่นี่จนเสียชีวิตไป