Please wait...

<< Back

หวางหมิง

จากหนังสือ

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 74-75,79-83

(น.74) ก่อนเก้าโมงไปที่โรงแรมแชงกรีลา มีงานแนะนำการแปลหนังสือของข้าพเจ้า แบบที่สมัยใหม่เขาชอบจัดกัน มีคนมามากมาย พวกสถานทูตก็ไปกัน ครูกู้ก็มารออยู่ นอกนั้นมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรมหลิวเต๋อโหย่ว นายหยูโหย่วเซียนผู้อำนวยการสำนักงานข่าวสารและการพิมพ์ ที่แปลก


(น.75) รูป 77 ระหว่างงาน

(น.75) คือพบอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรมหวางเหมิง ขณะนี้เป็นนักเขียน และดำรงตำแหน่งอีกหลายอย่าง ทางด้านสมาคมนักเขียนและด้านวิชาการ ท่านเป็นผู้เขียนเรื่อง “ผีเสื้อ” ซึ่งข้าพเจ้าแปล

(น.79) ได้คุยกับคุณหวางเหมิงอีกครั้ง ข้าพเจ้าเคยพบเขาเมื่อหลายปีมาแล้ว ขณะที่เขายังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ไปเข้าพบข้าพเจ้าที่ตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ขณะที่พำนักอยู่ในประเทศไทยได้แต่งบทกวีเป็นกลอนเปล่าสมัยใหม่หลายบท เช่น เรื่องเกี่ยวกับอาหารไทย พุทธมณฑล เป็นต้น หลังจากพบกัน เขาได้เขียนบทความบรรยายเรื่องการพบอย่างละเอียด ข้าพเจ้ายังทึ่งว่าเขาสามารถ


(น.80) รูป 83 สนทนากับหวางเหมิง

(น.80) จำรายละเอียดของห้องที่นั่งคุยกันได้ดีมาก เขาคุยให้ข้าพเจ้าฟังเรื่องอะไรก็ลืมไปแล้ว เมื่อกลับจีนเขาได้ส่งบทกวีสั้นๆมาให้บทหนึ่ง ชื่อว่า “เลียนแบบสปิโนซ่า”
“ไม่ร้องไห้ ไม่หัวเราะ แต่เขียนหนังสือ” เลียนแบบของเดิมว่า “ไม่ร้องไห้ ไม่หัวเราะ แต่เข้าใจ”


(น.81) รูป 84 ออกจากโรงแรมแชงกรีลา

(น.81) เมื่อกลับมาแล้วข้าพเจ้าได้ค้นสมุดเก่าๆ ที่ข้าพเจ้าจดบทกวีภาษาจีนเอาไว้ พบบทกวีสั้นๆ ที่หวางเหมิงแต่งเมื่อมาเมืองไทย พ.ศ. 2530 มีอยู่ 5 บท อยู่ในชุดภาพพจน์จากเมืองไทย คือ
1. ฤดูร้อนซ้อนฤดูร้อน
2. พุทธมณฑล
3. มะพร้าวและสหาย
4. พระเจดีย์ทอง
5. เลียนแบบสปิโนซ่า ตอบเจ้าหญิง บทนี้เขาเขียนสั้นๆ


(น.82) รูป 85 ไปวัดพระเขี้ยวแก้ว หรือวัดหลิงกวง
(น.82) ถอดเป็นความภาษาไทยได้ว่า “เมื่อได้เข้าเฝ้าเจ้าหญิงสิรินธร เจ้าหญิงถามว่า ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วยังเขียนหนังสืออยู่หรือเปล่า” (ข้าพเจ้าตอบว่า)


(น.83) รูป 86 ไปวัดพระเขี้ยวแก้ว หรือวัดหลิงกวง


รูป 87 ไปวัดพระเขี้ยวแก้ว หรือวัดหลิงกวง

(น.83)
“ในโลกนี้ ไม่ร้องไห้ ไม่หัวเราะ
หากปรารถนาจะเขียน ก็เขียนได้”
ตีความได้ว่า ถ้ามีใจมั่นคงไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม ก็จะมีพลังที่จะเขียนหนังสือได้ ข้าพเจ้าจะพยายามใช้คตินี้ในการเขียนหนังสือต่อไป