<< Back
บ้านของเหล่าเซ่อ
จากหนังสือ
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 74,75,76,77,79,80
(น.74) รูป 77 รูปเหล่าเซ่อ
รูป 78 โต๊ะเขียนรูปของแม่ (ภรรยาเหล่าเซ่อ)
(น.75) รูป 79 ห้องรับแขก
รูป 80 รูปที่แม่เขียน
(น.76) รูป 81 โต๊ะเขียนหนังสือเหล่าเซ่อ
(น.76) อีกด้านเป็นห้องคุณพ่อ มีโซฟา เตียงไม้ประกอบหินอ่อนจากชิงเต่า คุณพ่อดูเหมือนจะเป็นโรคปวดหลังเลยต้องนอนเตียงแข็ง บนเตียงวางไพ่ไว้ บอกว่าเวลาเขียนหนังสือจนมึนก็มาถอดไพ่เล่น โต๊ะเขียนหนังสือก็เป็นโต๊ะเล็กๆ มีวิทยุแบบโบราณวางอยู่ มีโคมไฟ (แต่ไม่มีโคม) แว่นตาที่ใช้ ปากกาหมึกซึม ขวดหมึก ที่เขี่ยบุหรี่ มีปฏิทินเปิดเอาไว้วันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.1966 ซึ่งเป็นวันที่ตาย มีถ้วยชาหรือกาแฟแบบฝรั่ง อาจารย์นิออนถามว่าเวลาอยู่ทำความอบอุ่นอย่างไร ลูกสาวเล่าว่าแต่ก่อนมี heater แต่ว่าเอาออกไปเพื่อความปลอดภัย
(น.77) รูป 82 เตียงเหล่าเซ่อ
(น.77) ในห้องมีพัดลมตั้งโต๊ะ Westinghouse แบบโบราณ ตู้อย่างโบราณ เสาแขวนเสื้อ overcoat หีบใส่เสื้อผ้า ตู้ใส่ของเป็นตู้ติดข้างฝา แต่ก่อนดูเหมือนจะไว้หนังสือ ห้องที่เราดูพวกนี้เขาติดกระจกกันไว้คนธรรมดาไม่ได้ให้เข้าไป
ตรงลานกลางบ้านเรียกว่า “ลานพลับแดง” มีต้นพลับอยู่ 2 ต้น ปัจจุบันยังออกลูก คุณแม่ (หูเจียฉิง) เป็นคนตั้งชื่อ
ห้องรับประทานอาหารจัดเป็นห้องนิทรรศการแสดงประวัติของเหล่าเซ่อ ท่านเป็นลูกคนแมนจูที่มีฐานะค่อนข้างยากจน อยู่ในกองธงสีแดง (ในแปดกองธงหรือปาฉี) ชื่อเดิมว่า ซูชิ่งชุน มีอีกชื่อว่า เซ่อหยู เกิด ค.ศ.1899 ที่เสี่ยวหยังเชวียนหูถง ทางตะวันตกของปักกิ่ง ปัจจุบันเรียกว่า เสี่ยวหยังเจียหูถง
คำว่า หูถง เป็นคำทับศัพท์จากภาษามองโกลว่า เซี่ยงทง แปลว่า ตรอก ซอย ออกเสียงเพี้ยนไปเป็น หูถง ในสมัยราชวงศ์หยวนซึ่งตั้งเมืองหลวงที่ปักกิ่งและได้พัฒนาเมืองนี้มาก ทั้งเมืองมีหูถงเพียง 29 สาย เมืองปักกิ่งในสมัยราชวงศ์หยวนเรียกว่า ต้าตู มาถึงราชวงศ์หมิง ในเขตกำแพงเมืองมีหูถง 900 กว่าสาย และนอกกำแพงเมืองมี 300 กว่าสาย สมัยราชวงศ์ชิง ในกำแพงเมืองมี 1,200 กว่าสาย นอกกำแพงเมือง 600 กว่าสาย การสำรวจใน ค.ศ.1946 ได้ข้อมูลว่าทั้งหมดมี 3,065 สาย ปัจจุบันคงเหลือน้อยลง เพราะรื้อทิ้งสร้างตึกสูง
(น.77) รูป 83 หนังสือที่เหล่าเซ่อแต่ง
(น.79)ฉงชิ่งแล้วเล่าเรื่องความเป็นไปที่ปักกิ่ง พ่อเอาไปเขียนเรื่อง ซื่อซื่อถงถัง หรือ สี่ชั่วคนอยู่พร้อมกันใต้หลังคาเดียวกัน
หลังสงครามไปอยู่นิวยอร์ก ใช้ชื่อ Lau Shaw เขียนเรื่อง The Yellow Storm เรื่อง The Drum Singer เขียนเป็นภาษาอังกฤษ และแปลเป็นภาษาจีนภายหลัง
เมื่อปลดแอก (หลัง ค.ศ.1949) นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลให้กลับมาเมืองจีนมาอยู่บ้านหลังนี้ ค.ศ.1950 เขียนเรื่อง หลงซูโกว (คูน้ำหนวดมังกร) เป็นเรื่องวิพากษ์วิจารณ์ความล้าหลังของสังคมในอดีต และชมเชยว่าการปฏิวัติช่วยให้มีชีวิตชนชั้นกรรมาชีพดีขึ้น เป็นเรื่องที่ได้รางวัล “ศิลปินประชาชน” ในช่วงนี้เขียนหนังสือหลายประเภท เช่น บทละคร (งิ้ว) เรื่อง ร้านน้ำชา มีผู้แปลเป็นหลายภาษา เขียนหนังสือสำหรับเด็กหลายเรื่อง มีรูปถ่ายกับประธานเหมา นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลและหลิวเซ่าฉี เรื่องสุดท้ายที่เขียนเขียนไม่จบชื่อ เรื่อง ภายใต้ธงแดง เป็นเรื่องเกี่ยวกับกองธงแดงสมัยแมนจู
เดินย้อนกลับไปดูห้องข้างๆ ห้องกินข้าว สมัยก่อนเป็นห้องครัว ตอนนี้เป็นห้องเก็บหนังสือต่างๆ ทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ เขาชอบอ่านภาษาอังกฤษเพื่อฝึกภาษา มีบางเล่มเพื่อนชาวต่างประเทศเซ็นให้ ท่านเสียชีวิตใน ค.ศ.1966 โดยกระโจนลงในบึงไท่ผิงหูในกรุงปักกิ่ง เนื่องจากทนความอัปยศระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรมไม่ได้
(น.79) รูป 84 ตู้หนังสือ
(น.80) รูป 85 ลูกสาวเหล่าเซ่อให้หนังสือประวัติเหล่าเซ่อ
(น.80) ในห้องสำนักงานลูกสาวท่านเหล่าเซ่อให้หนังสือซึ่งมีข้อมูลมากกว่าที่แสดงไว้ มีศิลปินท่านหนึ่งชื่อ สูเฟิงถัง ให้รูปที่เขียนจากความบันดาลใจที่ได้อ่านหนังสือของเหล่าเซ่อ เป็นรูปรถเจ๊กกับเสือมีโบว์ผูกที่หาง
บ้านนี้เพิ่งเปิดเป็นอนุสรณ์สถานเมื่อ ค.ศ. 1999