<< Back
พิพิธภัณฑ์มณฑลจี๋หลิน
จากหนังสือ
เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 77-91
(น.77) ไปที่พิพิธภัณฑ์มณฑลจี๋หลิน ดูเรื่องประวัติศาสตร์ของมณฑลแต่ครั้งโบราณ เริ่มยุคหินเป็นห้องแรก เรื่องมนุษย์โบราณอายุประมาณล้านปีมาแล้ว เช่น แหล่งที่หมู่บ้านหวังฝู่ถุนพบใน ค.ศ. 1989 กระดูกมนุษย์โบราณพบที่อำเภอหยูซู่ พบ ค.ศ. 1951 อายุประมาณ 70,000 – 40,000 ปีมาแล้ว มนุษย์อันถูพบเมื่อ ค.ศ. 1963 พบแต่ฟันกรามล่าง อายุประมาณ 26,000 ปี ค.ศ. 1984 พบวัฒนธรรมหินใหม่ 7,000 – 8,000 ปี สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือด้ามมีดทำด้วยกระดูกปลา คมมีดทำด้วยหิน มีปี้คือหยกกลม มีรูตรงกลาง ที่ฮุนชุนพบร่องรอยที่อยู่อาศัย รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำเครื่องปั้นใช้ทรายแดง วัฒนธรรมตอนนี้เริ่มมีเกษตรกรรม มีบ้านเรือนอยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง
(น.78) รูป 137 เริ่มต้นเล่าเรื่องตั้งแต่ยุคหิน
รูป 138 เริ่มต้นเล่าเรื่องตั้งแต่ยุคหิน
รูป 139 เริ่มต้นเล่าเรื่องตั้งแต่ยุคหิน
(น.79) รูป 140 ยุคสำริด
รูป 141 เกราะที่นักรบใช้
รูป 142 จำลองภาพฝาผนังที่เขียนในสุสาน
(น.79) ห้องที่ 2 ยุคสำริด ราชวงศ์ซาง พบที่หยวนเป่าโถว มีกริชสำริด เครื่องปั้นดินเผาเรียกว่าเถาติ่ง มี 3 ขา เครื่องปั้นจากเต๋อหุ้ยเป่ยหลิง เครื่องปั้นที่มาจากสุสานเรียกว่าเถาโต้ว
ห้องที่ 3 ยุคเหล็ก ประมาณ 3 ศตวรรษก่อนคริสตกาล มีพวกเกาหลี เหลียว จิน หยวน ช่วงนี้ประมาณ 2,000 กว่าปี มีชนชาติฟูหยู มีประเทศฟูหยูในสมัยฮั่นตะวันตก เมือง
(น.80) รูป 143 จำลองภาพฝาผนังที่เขียนในสุสาน
(น.80) หลวงอยู่แถบจี๋หลิน สมัยนี้มีเครื่องปั้นมีหูห้อย เกราะที่นักรบใช้ดาบขนาด 95 ซ.ม. ถือว่าเป็นดาบเหล็กที่ยาวที่สุดในภาคอีสาน อาณาจักรเกาหลีหรือเกาโกลี มีวัง หอคอย อ่างเก็บน้ำ มีจอกสุราทำด้วยหยกสีขาวจากซินเกียง เป็นของที่กษัตริย์ฮั่นพระราชทาน กษัตริย์เกาโกลี เหล็กไถอันโต ภาชนะทองแดง ภาพสุสานมีภาพวาดที่วาดลงไปบนหิน มีรูปเทวดาประจำทิศ 4 ด้าน ได้แก่ มังกรเขียว (ชิงหลง) ทิศตะวันออก เสือขาว (ไป๋หู่) ทิศตะวันตก นกกระจอกเทศสีแดง (จูช่วย) ทิศใต้ งูพันเต่า (เสวียนหวู่) ทิศเหนือ ภายหลังกลายเป็นสัญลักษณ์ของสำนักบู๊ตึ้ง เพดานเป็นรูปหนู่วา เทพสตรีที่สร้างมนุษย์คนแรก เสินหนง เทพแห่งการเกษตร คนซ่อมฟ้าสร้างโลก จู้หลุนทำล้อเหล็กคนแรก และฝูซี ถลุงเหล็กเป็นคนแรก
(น.81) รูป 144 เข็มขัดทองราชวงศ์โป๋ไห่
รูป 145 เข็มขัดทองราชวงศ์โป๋ไห่
(น.81) เครื่องปั้นกระเบื้องจากเกาโกลี เตาหุงข้าวใส่ไว้ในหลุมฝังศพ แสดงถึงความเป็นห่วงว่าคนตายแล้วจะต้องทำกับข้าว กฎหมายปศุสัตว์ ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 4 – 5 พบสุสานรูปร่างคล้ายพีระมิดมี 7 ชั้น ขึ้นบันได 22 ชั้น สุสานอยู่กลางเป็นของจีน เมืองจี๋อัน
ตู้ต่อไปเป็นเรื่องราชวงศ์โป๋ไห่ ตอนราชวงศ์ถังของจีนมีอำนาจ มีเข็มขัดทอง (คนตายเป็นเชื้อพระวงศ์) ส่งพระโอรสไปเรียนที่ราชสำนักถัง มีภาพทูตราชวงศ์ถังนำพระราชโองการของกษัตริย์โป๋ไห่ มีการชนแก้วกัน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องดินเผาปากเบี้ยว มีผู้พบสุสานเจ้าหญิงโป๋ไห่ มีภาพวาดและจารึกภาพคน 4 คน อธิบายว่าเป็นองครักษ์ประจำเป็นหญิงแต่งเป็นชาย และมีแท่นบูชาทางพุทธศาสนา
Next >>