Please wait...

<< Back

มาเก๊า


(น.274) รูป 211 พิพิธภัณฑ์ทางทะเลมาเก๊า

(น.274) ที่หมายที่ 4 คือ พิพิธภัณฑ์ทางทะเล (Macao Maritime Museum) เป็นของนาวิกโยธินโปรตุเกส ที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์นี้อยู่ใกล้เคียงกับจุดที่โปรตุเกสได้มาขึ้นฝั่งที่มาเก๊าเป็นครั้งแรก เป็นสถานที่แสดงวัฒนธรรมโปรตุเกสและจีน อาคารพิพิธภัณฑ์คล้ายๆ กับเรือ พอเข้ามาในชั้นล่างเป็นห้องโถง แสดงวิถีการดำเนินชีวิต การทำมาหากิน ตลอดจนความเชื่อถือของชุมชนชาวประมงบริเวณชายฝั่งทะเลตอนใต้ของจีน มีการแสดงประวัติของเทพธิดาอาม่า หรือที่เรียกอีกชื่อว่าทินเฮ่า (เทียนโห้ว ในภาษาจีนกลาง) ทางแต้จิ๋วเรียกว่าหมาจู่ ซึ่งเป็นเทพแห่งท้องทะเลผู้คุ้มครองรักษาชาวเรือให้พ้นจากภัยอันตรายทางทะเลโดยเฉพาะอย่างยิ่งไต้ฝุ่นแสดงร้านค้าต่างๆ บริเวณท่าเรือ ตลอดจนอุปกรณ์ในการจับปลา การเพาะเลี้ยงหอยนางรม กระดานสำหรับถีบหาหอยในโคลน การทำงานในเรือสำเภา และเรื่องการเฉลิมฉลองเทศกาลประจำปีของชาวจีน เช่น วันตรุษจีน วันเกิดเทพธิดาทินเฮ่า และเทศกาลแข่งเรือมังกร เป็นต้น มีไม้ชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างเรือ เครื่องมือต่อเรือ


(น.276) รูป 214 สิ่งของและนิทรรศการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินเรือ ชีวิต ธรรมเนียมประเพณีของชาวเรือ

(น.276) ชั้นที่สองเป็นการแสดงภาพเกี่ยวกับประวัติการเดินทางทางทะเลของชาวโปรตุเกส เช่น Prince Henry, the Navigator การเดินทางด้วย Blackship (เรียกว่า Blackship เพราะว่ากระดูกงูเรือเป็นไม้สีดำ) ใน ค.ศ. 1618 จากกัวผ่านมาเก๊า ไปญี่ปุ่น การเดินทางของ Vasco da Gama, Bartholomew Dias เป็นต้น และการเดินทางทางเรือที่สำคัญในยุคเดียวกัน เช่น แผนที่และภาพการเดินทางของนายพลเจิ้งเหอ การค้นพบมาเก๊า การสำรวจทางทะเล แบบจำลองของเรือเดินทะเลประเภทต่างๆ ตลอดจนวิวัฒนาการของการใช้เรือสินค้าสำคัญที่ค้าขายกันในสมัยโบราณ เช่น ใบชา เครื่องเทศ พริกไทย อบเชย ขิง กระวาน กานพลู และเครื่องปั้นดินเผา ศิลาจารึกต่างๆ เช่น จารึกลังกาสมัยราชวงศ์หมิง นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงของมา


(น.276) รูป 215 สิ่งของและนิทรรศการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินเรือ ชีวิต ธรรมเนียมประเพณีของชาวเรือ


(น.277) รูป 216 มีโทรศัพท์เล่าข้อมูลต่างๆ

(น.277) เก๊าในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งประกอบด้วยกำแพงเมืองและป้อมปราการ เป็นต้น ชั้นบนสุดแสดงแบบจำลองของเรือบรรทุกสินค้าจากอดีตจนปัจจุบัน รวมทั้งอุปกรณ์ช่วยการเดินเรือบางชนิด รูปหมู่ดาวที่ใช้ในการเดินเรือ เขียนอธิบายทั้งชื่อจีนและภาษาละติน อุปกรณ์ทำแผนที่ทุ่นต่างๆ ที่ใช้เป็นประโยชน์ต่างกัน ภาพจำลองประภาคารกีอาตลอดจนการทำงานภายใน ภาพการเดินทางของเรือโดยสารตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นเรือกลไฟจนถึง Jetfoils เรือชนิดอื่นๆ เช่น เรือขุดร่องน้ำในปัจจุบัน รวมทั้งเรือสำเภาที่ใช้ในสงครามทางทะเลในอดีต ส่วนหนึ่งของอาคารเป็น Aquarium แสดงชีวิตและธรรมชาติความเป็นอยู่ของปลาในเขตร้อน รวมทั้งภาพจำลองนกน้ำต่างๆ ซึ่งอาศัยอยู่ตามชายฝั่ง ตลอดจนเปลือกหอยที่หาได้ในบริเวณรอบๆ มาเก๊าและอาณาเขตใกล้เคียง ภายนอกอาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นที่จัดแสดงเรือหาปลาในภาคใต้ของจีน เวียดนาม เรือแข่งประเทศต่างๆ รวมทั้งเรือที่ใช้ในการติดตามโจรสลัดในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19

(น.278) มีร้านค้าขายหนังสือและของที่ระลึก และมีภัตตาคารให้คนที่มาชมพิพิธภัณฑ์ ได้หนังสือมา 2 เล่ม เรื่อง Memorandum of the Fleets เป็นภาษาโปรตุเกส จีน และอังกฤษ เป็นรูปถ่ายจากต้นฉบับโบราณรูปเรือใบต่างๆ พิมพ์ใน ค.ศ. 1995 และเรื่อง Ship of China เป็นภาษาโปรตุเกส จีน และอังกฤษเช่นกัน เป็นหนังสือทำนองเดียวกับเล่มแรก แต่เป็นภาพเขียนยุคปัจจุบัน เดินออกไปศาลเจ้าเจ้าแม่อาม่า ทินเฮ่า หรือหมาจู่ ซึ่งเป็นเทพลัทธิเต๋าที่คุ้มครองคนเดินเรือดังที่กล่าวถึงแล้วหลายหน ในศาลเจ้านี้มีรูปเจ้าแม่กวนอิมด้วย มีหลวงจีนท่านหนึ่งมาต้อนรับและพยายามอธิบาย แต่สื่อสารกันไม่ค่อยได้ เลยไม่รู้เรื่อง อ่านจากหนังสือว่าศาลแห่งนี้มีมาก่อนที่โปรตุเกสจะเดินทางมาถึงมาเก๊า แต่อาคารที่เห็นปัจจุบันสร้างสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 บางคนบอกว่าชื่อเมืองมาเก๊ามาจากคำว่า อามาเกา หมายถึง ท่าเรือของอาม่า


(น.278) รูป 217 ศาลเจ้าเจ้าแม่อาม่า


(น.279) รูป 218 พบกับผู้ว่าราชการมาเก๊า

(น.279) ไปทำเนียบผู้ว่าราชการมาเก๊า เป็นอาคารสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เดิมเป็นบ้านของคหบดีชาวมาเก๊า พบผู้ว่าราชการ General Vasco Joaquim Rocha Viera เคยเป็นผู้แทนทางการทหารของโปรตุเกสประจำนาโต้ในเบลเยี่ยม และได้เป็นรัฐมนตรี มีหน้าที่รับผิดชอบ Autonomous Region of Azores (เป็นหมู่เกาะอยู่กลางมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ) ก่อนจะมาเป็นผู้ว่าราชการที่มาเก๊า

(น.281) ในงานมีแขกอื่นๆ อีกหลายคน เช่น สมาชิกสภาและบุคคลสำคัญในมาเก๊า คนที่นั่งข้างข้าพเจ้าในโต๊ะอาหารเป็นประธานกาชาดมาเก๊า บอกว่างานบรรเทาทุกข์ต่างๆ ของมาเก๊ามีไม่มาก เพราะมีพลเมืองน้อย เขาเลยเน้นเรื่องการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ บอกเขาว่าเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่สภากาชาดไทยสนใจมากเช่นกัน เป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง ต้องพิจารณาให้ดีเพื่อให้ปฏิบัติได้ในความเป็นจริงให้มากที่สุดเท่าที่มีได้ เขายังไม่ได้เตรียมตัวในเรื่องรวมกับก าชาดจีนมากนัก เรื่องการรวมประเทศผู้ว่าราชการเห็นว่าไม่มีปัญหาอะไร เพราะว่าตอนที่มาเก๊าเป็นของโปรตุเกสก็ไม่ได้มีความขัดแย้งรุนแรงกับจีนเหมือนกับตอนที่อังกฤษผนวกเกาะฮ่องกง อาหารที่เลี้ยงเป็นอาหารแบบโปรตุเกส ของหวานแปลกดีเป็นเค้กผลไม้ใส่ฝอยทอง รับประทานอาหารเสร็จขึ้นไปที่ห้องพัก นอกจากใช้เวลาเข้าห้องน้ำแล้ว ยังเขียนโพสต์การ์ดตามเคย แต่แรกให้พี่แอ๊ซื้อแสตมป์เอาไว้ ติดไปบ้าง แต่นพรมาบอกว่าแสตมป์ที่นพรซื้อสวยกว่า มีภาพต่างๆ หลากหลาย เช่น ภาพทิวทัศน์และภาพสถานที่สำคัญ แสตมป์ที่ออกในโอกาสต่างๆ ภริยาผู้ว่านั่งไปด้วยจนถึงด่าน ข้าพเจ้าลาเขาเข้าไปในเขตจีนซึ่งมีคณะต้อนรับเดิม ทั้งฝ่ายไทยและจีน ซึ่งยังไม่ได้กลับปักกิ่งรออยู่แถวๆ นั้น มาดามเซี่ยนั่งรถด้วย คุยกันถึงเรื่องเหตุการณ์ที่ฮ่องกงหงเอี้ยนบอกว่าเขาเห็นข้าพเจ้าในโทรทัศน์

(น.283) เมืองนี้มีชื่อเสียงในด้านการชลประทาน และได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการเกษตร “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” เนื่องจากมีภูมิอากาศที่อบอุ่น ฝนตกชุก ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญคือข้าว น้ำตาล ปลา ที่มีมากจนส่งไปขายเมืองอื่นได้ ตั้งแต่จีนดำเนินนโยบายเปิดประเทศ จงซานได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ จนเริ่มมีสภาพเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดกลาง มีการส่งเสริมการค้าพาณิชย์กว้างขวางขึ้น มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกว่า 3,000 ราย นำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการผลิต และสามารถส่งสินค้ากว่า 140 ชนิดไปขายยังต่างประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นเมืองท่องเที่ยว เพราะอยู่ใกล้กวางโจว ฮ่องกง และมาเก๊า ที่พิพิธภัณฑ์บ้านเกิด ดร. ซุนยัดเซ็น มีหัวหน้าพิพิธภัณฑ์ และรองนายกเทศมนตรีต้อนรับ ดูภายในบ้าน


(น.283) รูป 224 ห้องต่างๆ ในบ้าน

(น.287) นอกจากบ้านของดร. ซุน ทางพิพิธภัณฑ์ซื้อบ้านของชาวบ้านอื่นๆ เอาไว้หลายหลังเพื่อให้ดูว่าประชาชนในท้องถิ่นนี้แต่ก่อนอยู่กันอย่างไร มีทั้งคนที่จนกว่าดร. ซุนและคนที่รวยกว่า แสดงโต๊ะอาหาร ห้องที่บูชา ประเพณีสมรส เมื่อดูเสร็จแล้วเดินทางประมาณครึ่งชั่วโมงถึงโรงแรม Zhuhai Holiday Resort เป็นโรงแรมใหญ่โตยังใหม่ ขึ้นไปที่ห้องพักผ่อนครู่หนึ่งแล้วลงมาพบกับนายหวงหลงหยุน นายกเทศมนตรี เมืองจูไห่ นายหยูปิงหลิน รองนายกเทศมนตรี นายเหอเว่ยหลง ผู้อำนวยการสำนักงานต่างประเทศเมืองจูไห่ นางลั่วปี้เจียน รองผู้อำนวยการสำนักงานการต่างประเทศเมืองจูไห่ นายกเทศมนตรีกล่าวต้อนรับออกตัวว่าการมาครั้งนี้ขออภัยที่ไม่ค่อยสะดวกสบายเพราะว่าเป็นช่วงฝนตก แต่ก็หวังว่าจะทำให้ประทับใจและเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์อันดี คนจูไห่ก็ดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์เรื่องเมืองไทย และมีคนไปท่องเที่ยวเมืองไทย ทำให้รู้จักกันดี ขออธิบายเรื่องเมืองจูไห่ว่า แต่ก่อนเป็นหมู่บ้านชาวประมงอยู่บนปากแม่น้ำจูเจียง ยกระดับเป็นเมืองเมื่อ ค.ศ. 1979 และเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเมื่อ ค.ศ. 1980 มีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,581 ตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลยาว 179 กิโลเมตร มีเกาะต่างๆ มากถึง 156 เกาะ จึงมีฉายาว่าเมืองร้อยเกาะ มีดินแดนติดต่อกับมาเก๊าทางใต้ และมีทะเลเชื่อมกับฮ่องกงทางตะวันออก เดินทางไปเสิ่นเจิ้นก็ได้

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 295

(น.295) ที่มหาวิทยาลัย ผู้ต้อนรับมี Prof. C.Y. Chung รองอธิการบดี (Vice Chancellor) Prof. Wong Siu-Lun ผู้อำนวยการศูนย์เอเชียศึกษา Dr. Michael Martin รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยฮ่องกง มหาวิทยาลัยฮ่องกงก่อตั้งใน ค.ศ. 1811 เป็นสถาบันการศึกษาที่ดีเด่นในเอเชีย ดร. ซุนยัดเซ็น และMrs. Anson Chan, Chief Secretary ของรัฐบาลฮ่องกงในปัจจุบันก็เป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยนี้ ศูนย์เอเชียศึกษา ตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1967 เพื่อเป็นศูนย์รวมวิชาการทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับจีน ฮ่องกง เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เป็นโครงการหนึ่งของศูนย์เอเชียศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ติดตาม และวิเคราะห์พัฒนาการของภูมิภาคนี้ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา การอพยพย้ายถิ่น และการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ขณะนี้แบ่งเป็นโครงการย่อยคือ China-ASEAN Project ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโลกจีน (จีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน) กับประเทศในกลุ่มอาเซียน กับโครงการศึกษาประเทศในภูมิภาคเป็นรายประเทศ เริ่มจากไทยศึกษาและเวียดนามศึกษา โดยคิดจะเริ่มจากเปิดสอนภาษาไทยและภาษาเวียดนาม แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยและผู้สนใจทั่วไป ทางไทยคิดจะสนับสนุนในด้านการทำห้องสมุดภาษาไทย และจัดหาครูสอนภาษาไทยให้