Please wait...

<< Back

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย

หน้าปก



แนะนำหนังสือ

พิมพ์ครั้งแรก: พ.ศ. 2548
พระราชนิพนธ์ลำดับที่ 48 ในชุดเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ ทรงพระราชนิพนธ์คราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 13-27 สิงหาคม 2544 ในครั้งนี้ทรงบันทึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลชิงไห่ เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย เขตปกครองตนเองทิเบต มหานครปักกิ่ง และมณฑลเหอเป่ย ในพระราชนิพนธ์ "คำนำ" ทรงกล่าวว่า "…พื้นที่ทั้ง 3 แห่งที่เป็นจุดหลักของการไปเยี่ยมเยือนครั้งนี้ มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่โดดเด่นเรื่องภูเขาและที่ราบสูง ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตอยู่เหนือกว่าระดับน้ำทะเล 4,000-5,000 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 2.3 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นที่ราบสูงที่สูงสุดในโลก จนได้สมญาว่า “หลังคาโลก” นอกจากนั้นยังมีพื้นที่ทะเลทราย มีป่าทราย และโอเอซิสเขียวขจีในบางแห่ง ส่วนที่หนิงเซี่ยนั้นมีที่ราบสูงดินเหลืองด้วย ภูเขาสูงในมณฑลชิงไห่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญ 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำฉังเจียง (แยงซีเกียง) แม่น้ำหวงเหอ (ฮวงโห)และแม่น้ำหลานชางเจียง (แม่น้ำโขง) จึงได้ชื่อว่า "ต้นกำเนิดของแม่น้ำ " คำว่า "ชิงไห่" แปลว่า "ทะเลใส" เป็นชื่อทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในผืนแผ่นดินส่วนในของจีน มีพื้นที่ 4,583 ตารางกิโลเมตร และอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 3,196 เมตร ริมฝั่งทะเลสาบมีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์อันกว้างใหญ่ไพศาล ชื่อ "ชิงไห่" จึงใช้เป็นนามของมณฑลด้วย นอกจากภูผา ป่าทราย และความเวิ้งว้างของธรรมชาติ ที่ให้ความรู้สึกโดดเดี่ยว ความเป็นอิสระ และความงามที่ท้าทายแล้ว พื้นที่ทั้ง 3 แห่งนี้ ยังมีชนหลายชาติหลายวัฒนธรรมอาศัยอยู่ร่วมกัน ที่มณฑลชิงไห่ นอกจากชาวจีนแล้ว ยังมีชนกลุ่มน้อย เช่น ชาวทิเบต มองโกล หุย ถู่ ซาลาร์ คาซัค และอื่นๆ ที่หนิงเซี่ย ชนชาติหุยอยู่ร่วมกับชาวจีน ชาวแมนจู มองโกล และทิเบต ส่วนที่ซีจั้งหรือทิเบตนั้นมีชาวทิเบตเป็นชนส่วนใหญ่ อยู่ร่วมกับชาวจีน หุย เหมินปา และโล่ปา พื้นที่ทั้ง 3 แห่งนี้ จึงเป็นดินแดนแห่งสีสันทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจยิ่ง หลังกลับจากการเยี่ยมเยือน ข้าพเจ้าได้บันทึกประสบการณ์การไปเยี่ยมชม และข้อมูลความรู้ที่มาค้นคว้าเองในภายหลัง เรียงร้อยเป็นหนังสือชื่อ "ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย" เพื่อชวนให้ผู้อ่านร่วมท่องเที่ยวไปกับข้าพเจ้าในพื้นที่สูง ไกลแสนไกล ที่เปี่ยมด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม"

สารบัญ

คำนำ

วันที่ 1 วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม 2544

• เสด็จพระราชดำเนินโดยเครื่องบินพระที่นั่งจากท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ถึงท่าอากาศยานนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน
• ทอดพระเนตรสถานกงสุลไทย ที่โรงแรมคุนหมิง
• ทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์นครคุนหมิง
• ทอดพระเนตรตลาดฮัวเหนี่ยว
• เสด็จพระราชดำเนินโดยเครื่องบินพระที่นั่งไปยังมหานครนครฉงชิ่ง
• ประทับแรม ณ โรงแรม Marriott

วันที่ 2 วันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2544

• ทรงออกกำลังกายที่ลานหน้าศาลาประชาชนมหานคงฉงชิ่ง
• เสด็จพระราชดำเนินไปจัตุรัสเฉาเทียนเหมิน
• ทอดพระเนตรบริเวณริมฝั่งที่แม่น้ำเจียหลิงและแม่น้ำแยงซีเกียงไหลมาบรรจบกัน
• ทอดพระเนตรถนนศูนย์การค้า ร้านขายหนังสือซินหัว
• เสวยพระกระยาหารกลางวัน นายกเทศมนตรีมหานครฉงชิ่งจัดถวาย ที่สำนักงานวิเทศสัมพันธ์
• เสด็จพระราชดำเนินไปเมืองอิ๋นชวน ภูมิภาคปกครองตนเองหนิงเซี่ย
• ทอดพระเนตรแหล่งโบราณคดีสุ่ยต้งโกว
• เสวยพระกระยาหารค่ำ ผู้ว่าราชการภูมิภาคปกครองตนเองหนิงเซี่ยจัดถวาย
• ประทับแรม ณ โรงแรม International Hotel

วันที่ 3 วันพุธที่ 15 สิงหาคม 2544

• พระราชทานวโรกาสให้นายเฉินจินหยู รองผู้ว่าราชการภูมิภาคปกครองตนเองหนิงเซี่ย เฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายของที่ระลึก
• ทอดพระเนตรการทำงานของศูนย์วิจัยทะเลทราย ที่ซาปัวโถว อำเภอจงเว่ย
• ทอดพระเนตรเนืนทรายซาปอติ่ง
• ทอดพระเนตรวัดเกาเมี่ยว
• เสด็จพระราชดำเนินไปเมืองซีหนิง มณฑลชิงไห่
• ทรงสนทนากับ Dr. Kevin Stuart
• ประทับแรม ณ เรือนรับรองเซิงหลี่

วันที่ 4 วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม 2544

• ทอดพระเนตรวัดกุมบุม
• ทอดพระเนตรทะเลสาบชิงไห่, อนุสาวรีย์หัตถ์พระพุทธเจ้า

วันที่ 5 วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2544

• ทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ชิงไห่ และมัสยิดตงกวน
• เสด็จพระราชดำเนินไปเมืองลาซา เขตปกครองตนเองทิเบต

วันที่ 6 วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2544

• ทอดพระเนตรพระราชวังโปตาลา, พิพิธภัณฑ์ทิเบต,ร้านหนังสือซินหัวและวัดโจคัง
• เสวยพระกระยาหารค่ำ รองประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองทิเบตจัดถวาย ที่โรงแรมลาซา

วันที่ 7 วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2544

• เสด็จพระราชดำเนินไปเมืองรื่อคาเจ๋อ
• ทอดพระเนตรบ้านกสิกรชาวทิเบต
• ทอดพระเนตรวัดจ๋าสือหลุนปู้
• ทอดพระเนตรวังฤดูร้อน ที่ประทับของพระปันฉานลามะ
• เสวยพระกระยาหารค่ำ ผู้ว่าราชการเมืองรื่อคาเจ๋อจัดถวาย

วันที่ 8 วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม 2544

• เสด็จพระราชดำเนินไปเมืองเซตัง เขตซานหนาน
• ทอดพระเนตรวังยงปู้ลาคัง, วัดชางจู
• เสวยพระกระยาหารค่ำ ณ โรงแรมเซตัง

วันที่ 9 วันอังคารที่ 21 สิงหาคม 2544

• ทอดพระเนตรวัดซังเย
• พระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำตอบแทนฝ่ายจีนและทิเบต ณ โรงแรมหงเฉียว
วันที่ 10 วันพุธที่ 22 สิงหาคม 2544

• ทอดพระเนตรวัดเจ๋อปั้ง, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ และวัดเสรา
• นายรื่อตี้ ประธานสภาประชาชนเขตปกครองตนเองทิเบต เฝ้าทูลละอองพระบาท
• เสวยพระกระยาหารค่ำ ประธานสภาประชาชนเขตปกครองตนเองทิเบตจัดถวาย ณ ที่ทำการรัฐสภา

วันที่ 11 วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม 2544

• ทอดพระเนตรวังหลัวปู้หลินข่า
• เสด็จพระราชดำเนินออกจากเมืองลาซาไปยังกรุงปักกิ่ง
• ประทับแรม ณ เรือนรับรองที่ประทับเตี้ยวอวี๋ไถ

วันที่ 12 วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2544

• พระราชทานพระราชวโรกาสให้นายจูหรงจี และภริยา เฝ้าทูลละอองพระบาท ณ มหาศาลาประชาชน
• เสวยพระกระยาหารกลางวัน ณ บ้านพักของนางจี้หนานเซิง อดีตพระอาจารย์จีน
• ทรงรับรางวัลวรรณกรรมเพื่อความเข้าใจและมิตรภาพระหว่างประเทศ ณ มหาศาลาประชาชน
• เสวยพระกระยาหารค่ำ นายเวินเจียเป่า รองนายกรัฐมนตรีจัดถวาย ใน บริเวณเรือนรับรองเตี้ยวอวี๋ไถ

วันที่ 13 วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2544

• เสด็จพระราชดำเนินไปเมืองเฉิงเต๋อ มณฑลหูเป่ย
• ทอดพระเนตรกำแพงเมืองจีน ส่วนที่เรียกว่าจินซานหลิ่ง
• เสวยพระกระยาหารกลางวัน ณ โรงแรมเฉียนหยาง
• ทอดพระเนตรวังฤดูร้อนเย่อเหอ
• เสวยพระกระยาหารค่ำ นายกเทศมนตรีเมืองเฉิงเต๋อจัดถวาย ณ โรงแรมหงโหลว
• ประทับแรม ณ โรงแรมเฉียนหยาง

วันที่ 14 วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2544

• ทอดพระเนตรวัดผู่หนิง, วังโปตาลาน้อย
• ทอดพระเนตรนิทรรศการเกี่ยวกับการค้าของเฉิงเต๋อ
• เสวยพระกระยาหารค่ำเป็นการส่วนพระองค์ ร่วมกับศาสตราจารย์ไฮห์นโฮลช์ ศาสตราจารย์เฉินซูเผิง และศาสตราจารย์เสี่ยวเค่อ

วันที่ 15 วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2544

• เสด็จพระราชดำเนินไปมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
• ทรงเยี่ยมศาสตราจารย์จี้เซี่ยนหลิน ที่บ้านพักในบริเวณมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
• เสวยพระกระยาหารกลางวัน นางเฉียนเจิ้งอิว รองประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนจัดถวาย ณ เรือนรับรองเตี้ยวอวี๋ไถ
• เสด็จพระราชดำเนินไปมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
• เสด็จพระราชดำเนินกลับสู่ประเทศไทย

ภาคผนวก

ภาคผนวก ก พระราชดำรัส
ภาคผนวก ข พระราชวังโปตาลา

อ้างอิง

เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2548.