Please wait...

<< Back

" มุ่งไกลในรอยทราย วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน 2533 "


(น.300) รูป 190. ภายในสุสาน คนที่มาอธิบายก็พยายามเล่าอย่างละเอียดว่าคนในโลงชื่ออะไร เป็นญาติชั้นไหนกับเซียงเฟย
In the tomb, the guide tried to explain in detail who was who in each coffin and what was his or her relation to Xiangfei.

(น.300) 72 หีบ สุสานนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า สุสานเซียงเฟย คนที่เคยดูภาพยนตร์ทีวีเรื่องจอมใจจอมยุทธ เมื่อได้มาเยี่ยมชมสุสานเซียงเฟยคงนึกถึงเจ้าหญิงเซียงเซียง ตัวละครที่ไม่มีตัวตนในประวัติศาสตร์ ซึ่งกิมย้งหรือจินหยงสร้างขึ้นจากตำนานเกี่ยวกับพระสนมเซียงเฟย ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เซียงเฟยเป็นหลานของอาบัคโคจา ชื่อเดิมว่าอีฟาฮาน ต่อมาไปเป็นพระสนมของจักรพรรดิเฉียนหลง เล่ากันว่านางมีกลิ่นกายหอมจึงเรียกว่าเซียงเฟย ไก๊ด์อธิบายเรื่องศพต่างๆ ในสุสานว่าเป็นศพพี่สะใภ้ อาคนที่ 1 และ 2 พ่อ น้า ตา แม่ และพี่ชายของเซียงเฟย ไก๊ด์บอกว่าเป็นประเพณีที่นี่ถ้าลูกชายตายฝังกับพ่อ ลูกสาวตายฝังกับแม่ เสื้อผ้าไม่ต้องใส่ เพราะถือว่าเกิดมาไม่ได้มีเสื้อผ้ามาด้วยกลับไปก็ไม่ต้องมี เล่าถึงตอนนี้ไก๊ด์บอกว่ามีอะไรอยากถามก็ถามได้ ถ้าตอบได้ก็จะตอบ ถ้าตอบไม่ได้ก็ไม่ตอบ


(น.301) รูป 191. เกี้ยวที่คนอธิบายอ้างว่าเป็นเกี้ยวที่นำศพพระนางเซียงเฟย มาจากกรุงปักกิ่ง
Palanquin, said to be the one which bore the body of Xiangfei back from Peking.

(น.301) มีปัญหาอยู่ว่าศพเซียงเฟยมาฝังอยู่ที่นี่จริงหรือเปล่า บางคนก็บอกว่าไม่ใช่ อยู่ที่สุสานตงหลิงกับจักรพรรดิเฉียนหลง สุสานตงหลิงอยู่ที่จุนหัวมณฑลเหอเป่ยทางด้านตะวันออก แต่คนที่นี่เขาเชื่อว่าพี่สะใภ้นำศพใส่เกี้ยวมา เกี้ยวนี้ยังอยู่จนถึงทุกวันนี้ เขาอ้างว่าเกี้ยวแบบนี้เป็นแบบของปักกิ่งแถวนี้ไม่มี พี่สะใภ้เป็นชาวแมนจู นับถือศาสนาอิสลาม ที่เกี้ยวมีคำขวัญภาษาอาหรับเขียนไว้ว่า คนเราต้องตาย ไม่รู้ว่าวันตายจะมาถึงเมื่อไร ขอให้พระผู้เป็นเจ้าโปรดคุ้มครอง ข้าพเจ้าถามว่าเซียงเฟยเป็นอะไรตาย ไก๊ด์ว่าเขาไม่เชื่อเรื่องที่พระนางถูกฮองไทเฮากลั่นแกล้งจนตาย บอกว่าบางคนว่าพระนางตายเพราะสงคราม อีกคนว่าพี่ชายตายก็เลยตรอมใจตายตามไปด้วย

(น.302) ข้าพเจ้าไม่ได้ดูเรื่องจอมใจจอมยุทธ แต่มีคนเล่าให้ฟัง (จากหนังสือไม่ใช่ดูจากวิดีโออย่างเดียว) ไก๊ด์บรรยายว่าตามที่เล่ากันจักรพรรดิเฉียนหลงยกทัพมารบทางเมืองปาฉู่ เซียงเฟยตกเป็นเชลย จักรพรรดิรักพระนางเซียงเฟยมาก สร้างตำหนักและสวนตามแบบกาชการ์ให้ด้วย พอพระนางเซียงเฟยตายมีคนแห่ศพกลับมาที่กาชการ์ เล่ากันว่าสุสานนี่เป็นที่ขอลูกได้ โดยการเอาด้ายผูกหน้าต่างเหมือนที่อินเดีย เรื่องเล่าเกี่ยวกับพระนางเซียงเฟยเป็นตำนานที่แพร่หลายของเมืองกาชการ์ นิยายหลายเรื่องได้นำเอาตำนานเรื่องนี้ไปเขียนเพิ่มเติมให้มีสีสันยิ่งขึ้น เมื่อกลับจากจีนข้าพเจ้าได้อ่านเรื่องสุสานของครอบครัวอาบัคโคจา และเรื่องพระนางเซียงเฟย จากเอกสารที่มณฑลซินเกียงให้มา จึงได้ทราบว่านักประวัติศาสตร์จีนได้ค้นคว้าวิเคราะห์เรื่องพระนางเซียงเฟยแล้ว และได้สรุปว่าพระนางเซียงเฟย ก็คือพระสนมหรงเฟยนั่นเอง พระนางมีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1734 – 1788 เป็นพระสนมที่จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดปราน และไม่ได้ถูกฮองไทเฮากลั่นแกล้งจนตาย เมื่อพระนางเซียงเฟยสิ้นชีวิตแล้วก็ได้ฝังศพอยู่ที่สุสานตงหลิงของราชวงศ์ชิง บริเวณใกล้ ๆ สุสานมีที่ทำละหมาด ทุกวันศุกร์จะมีคนมา 2,000 – 3,000 คน อาคารที่ทำละหมาดมีเสา 64 เสา ลวดลายที่เสาจะไม่เหมือนกัน มีประตูอิฐ 19 แห่ง สร้างเมื่อปี ค.ศ. 1878 ออกมาหน้าประตูใหญ่มีร้านขายของซื้อมีดมาอีก จากสุสานเราไปต่อที่โรงงานไหม ถือว่าเส้นไหมที่นี่มีคุณภาพดีที่สุดของซินเกียง คุณลุงบอกว่าที่เหอ-เถียนทำกันมานานกว่าแต่ที่นี่มีคุณภาพดี


(น.303) รูป 192. ต่อเส้นไหม คุณหลิวซึ่งเป็นล่ามเป็นผู้ที่ช่วยจัดการนำไหมพันธุ์ของจีนส่งมาให้ข้าพเจ้า หลังจากการที่ข้าพเจ้าได้เยือนเมืองจีนเมื่อ 9 ปีก่อน
Joining silk threads, Mr. Liu, the interpreter, was the person who sent me Chinese variety of silk.

(น.303) กว่า โรงงานที่เราจะไปเดิมเป็นโรงงานอุตสาหกรรมในครัวเรือนแล้วมาตั้งเป็นโรงงานภายหลัง ปีที่แล้วผลิตไหมดิบได้ 300 ตัน ปีนี้วางแผนจะผลิตให้ได้ 420 ต้น การผลิตเส้นไหมมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. คัดเลือกเอารังไหมที่ฝ่อออก
2. ต้มด้วยเครื่อง
3. สาวด้วยเครื่อง
4. ต่อและกรอ

(น.304) รูป 193. ผ้าไหมที่โรงงานผลิต ไม่ใช่ไหมที่คุณภาพดีนัก ของดีเขาจะขายเป็นเส้นไหม
Silk fabric sold at the factory. Its quality is not so good because good quality silk is usually sold as thread.


(น.305) รูป 194. กลับไปรับประทานอาหารที่บ้านพัก
We went back to our place for a meal.

(น.305) คนงานเป็นคนท้องถิ่นราว 35 % ข้าพเจ้าขอเส้นไหมเขามาด้วย เส้นละเอียด แต่ยังไม่ได้ซักเลยไม่นุ่ม เป็นไหมเบอร์ 2 ว่าจะลองเอาไปย้อม ที่โรงงานนี้เขาใช้ที่ทำในประเทศย้อม และทอด้วยเครื่อง ผลิตภัณฑ์ย้อมได้สีเดียว ไม่มีลาย ส่วนใหญ่ใช้ใยสังเคราะห์ จำหน่ายในมณฑล ส่งออกแต่ไหมดิบ ผู้จัดการโรงงานเล่าประวัติโรงงานนี้ว่าตั้งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1960 มีพนักงาน 530 คน ผลิตไหมดิบได้ปีละ 60 ตัน ผ้าไหม 500,000 เมตร


(น.306) รูป 195. ขึ้นเครื่องบินกลับอูหลู่มูฉี
Back to Urumqi by plane.

(น.307) เป็นระดับกลางและต่ำ จะขอรังไหมไปด้วยก็ไม่ได้ ที่นี่เขาต้มหมดแล้ว คราวก่อนคุณหลิวนี่เองเป็นคนจัดการส่งไข่ไหมหางโจวมาให้ จากโรงงานเรากลับไปรับประทานอาหารที่บ้าน (กันเอง) เมื่อถึงเวลาคุณลุงมารับ นั่งรถไปสนามบิน บอกข้าพเจ้าว่าให้มาใหม่หน้าผลไม้จะพาเที่ยวไปในสวนทั้งวันสนุกดี สนามบินที่นี่ว่าจะปรับปรุงเป็นสนามบินนานาชาติ ติดต่อกับราวัลพินดีในปากีสถานง่ายกว่าติดต่อกับอูหลู่มู่ฉี แต่เวลานี้ไปทางรถไม่ได้เพราะถนนเป็นน้ำแข็ง ไปถึงสนามบินตอนสองทุ่มเศษสว่างโร่ตามเคย ก็ดีตรงที่ดูวิวได้ เห็นภูเขาเทียนซานสวยงามมากจนบรรยายไม่ถูก มีธารน้ำแข็ง ทะเลสาบเล็ก ๆ ตรงยอดเขามีที่ราบรูปพัด (Alluvial fan) หลายแห่ง อาจารย์มู่อธิบายว่าคนซินเกียงเรียกเทียนซานว่าเป็นแม่เพราะน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตทั้งหมดมาจากเทียนซานนี้ เครื่องบินแจกจอกเรืองแสงยามราตรีให้ทุกคน ของข้าพเจ้าได้ชุดเครื่องเขียนแถมเป็นพิเศษ ถึงสนามบินอูหลู่มู่ฉีตอนสองยาม คนขับรถบอกว่าพอข้าพเจ้าไปกาชการ์ ฝนก็ตก นั่งรถกลับบ้านพักกับอาจารย์มู่ แต่ข้าพเจ้าคุยไม่ค่อยจะรู้เรื่องเพราะว่าง่วง พยายามถามอาจารย์เรื่องโบราณคดี อาจารย์มู่เล่าว่ากำลังไปสำรวจถ้ำที่คูเชอ กลับถึงบ้านพักตั้งตีหนึ่ง