<< Back
กวนอิม
เจียงหนานแสนงามหน้า204
(น. 204) รูป 155 รูปพระอรหันต์
(น. 204) คนอื่นๆ หายไปหมด ดูเหมือนว่าเขาให้ไปขึ้นเรือก่อน ข้าพเจ้าขึ้นเรือไปถึงที่วัดจินซาน เป็นวัดนิกายฉานจงหรือเซ็น เจ้าอาวาสเป็นหลวงปู่อายุประมาณ 85 ปี มีหลวงพี่เป็นผู้ช่วย ท่านพาเข้าในวิหาร มีพระ เณรสวดมนต์ว่าอะไรก็ไม่ทราบ คงเป็นสันสกฤตแบบจีน พระเณรวัดนี้มีถึง 80 รูป เพราะหลวงปู่มีชื่อเสียงว่าสอนดี หลวงปู่สอนให้จุดธูปเทียนปักไม้หอม เมื่อปักแล้วเดินวนไปรอบหนึ่งแล้วจึงกราบ จะวางพุ่มเองท่านก็ว่าให้ท่านวางให้ ในวัดมีจตุโลกบาลเหมือนวัดอื่น ด้านในมีพระพุทธรูปเหมือนกับวัดต้าหมิงที่ไปเมื่อเช้านี้ รอบๆ มีพระอรหันต์ มีรูปพระโพธิสัตว์กวนอิมด้วย
เจียงหนานแสนงามหน้า269,280
(น. 269) รูป 192 วัดซีหยวน
(น. 269)อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระไภษัชยคุรุ นอกจากนั้นมีพระกัสสปะ พระอานนท์ พระกวนอิมขี่ปลา เจ้าอาวาสเอาพระสูตรที่เขียนเป็นอักษรข่ายซู ลายมืองาม ทั้งชุดมี 81 เล่ม เขาว่าใช้เลือดเขียน ไม่ทราบว่าจริงหรือเปล่า ข้าพเจ้าถามว่าทำไมจึงต้องใช้เลือดเขียน คำตอบว่าเป็นการแสดงน้ำใจ เพราะพระถังซำจั๋งไปนำพระไตรปิฎกจากอินเดีย ต้องพบกับความยากลำบากมากมาย เป็นธรรมเนียมประหลาด ของในวัดนี้ยังมีพระอรหันต์ 500 อยู่ในตู้ในห้องโถงพระอรหันต์ มีรูปร่างลักษณะท่าทางและอากัปกิริยาต่างๆ กัน รูปที่พิเศษคือ รูปปั้นพระอรหันต์จี้กงที่มีอาการ 3 อย่าง คือมองข้างซ้ายยิ้ม ข้างขวาร้องไห้โฮๆ ตรงกลางทำหน้าพะอืดพะอม
(น. 280)รูป 201 นักดนตรีเป่าขลุ่ย
(น. 280) 4. ห้องที่ 4 เรียกว่า ห้องกินเจ ที่จริงคือห้องอ่านหนังสือ ฟังดนตรีขิมโบราณ (กู่เจิง) เพลงปู้ปู้เกา หมายถึง ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น เพลงที่สองเป็นการเล่นพิณผีผาเพลงของชนชาติอี๋ที่อยู่แถวๆ เมืองฉู่สง มณฑลยูนนาน เพลงที่สามสาวร้องเพลงเดี่ยว กล่าวถึงภาพทิวทัศน์ซูโจวสวยงาม 5. รำพัดเพลงพระจันทร์ค่อยๆ ขึ้นจากแม่น้ำในฤดูใบไม้ผลิ 6. เดินออกมาที่ข้างนอก ตรงที่เป็นห้องจัดแบบสมัยราชวงศ์หมิง มีงิ้วซูโจว สาวน้อยไปเที่ยวสวนที่ศาลาโบตั๋น ชมดอกตู้จวน คุยกันเรื่องไปพบหนุ่มที่มาสอบจอหงวนแล้วจากกัน พอหนุ่มมาอีก สาวตายแล้ว มีภาพอยู่ในสวน ภายหลังกวนอิมมาชุบให้ฟื้น
เจียงหนานแสนงามหน้า291
(น. 291) สมัยราชวงศ์ฉิน ฮั่น หกราชวงศ์ ในสมัยราชวงศ์ฮั่นเริ่มพบว่ามีการหลอมเหล็กและหลอมทองแดง พบเครื่องมือทำการเกษตร คันฉ่อง ตุ๊กตาดินเผา ศิลาจารึกของหวังซีจือ และศิลาจารึกอื่นๆ สมัยราชวงศ์สุย ถัง ห้าราชวงศ์ แสดงเครื่องประดับ เช่น ปิ่นปักผม และอุปกรณ์เกี่ยวกับอาหารการกิน เช่น ทัพพี ของที่ใช้ในพิธีชงชา กระโถน ชามฝาสลักลายฉลุ สมัยห้าราชวงศ์ ผู้ปกครองเลื่อมใสศาสนา มีเจดีย์กะไหล่ทอง พบในเจดีย์จินหวาโฝ แผ่นเงินสลักคำอธิษฐานขอความคุ้มครองจากเทพมังกร คัมภีร์ศาสนาสมัยราชวงศ์ซ่ง หยวน มีหีบลงรักใส่คัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร หีบพระธาตุสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 10 – 12 ทั้งสี่ด้านเป็นรูปพระพุทธรูปและรูปกวนอิม เขาบอกว่ายังมีพระพุทธรูปงามๆ อยู่ในโกดังไม่ได้เอาออกมาแสดง ถามว่ากลัวขโมยใช่ไหม เขาว่าไม่ใช่ ของบางอย่างที่แสดงเป็นของจำลอง ของจริงอยู่ในพิพิธภัณฑ์อื่น หรืออยู่ไต้หวัน อีกตึกหนึ่งแสดงสิ่งของสมัยราชวงศ์ชิงและต้นสาธารณรัฐ มีเตียงสลักลวดลาย ทำด้วยไม้แดง บางส่วนใช้กระดูกวัวและไม้หวงหยังสลักติดเข้าไป เกี้ยวเจ้าสาว เกี้ยวหลังนี้ถือว่าเป็นที่รวมศิลปะต่างๆ หลายอย่าง เช่น ลงรัก ปิดทอง ติดกระจก สลักไม้ สร้างสมัยสาธารณรัฐ นอกจากนี้มีเครื่องเรือน ฝังมุกไฟ
คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 46,48
(น.46) รูป 35 หน้าวัดไคหยวน
(น.46) อาคารหอพระไตรปิฎก เรียกว่าหอฉางจิงโหลว มีพระปฏิมาประธานเป็นพระพุทธรูป ด้านซ้ายเป็นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิมหรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ด้านขวาเป็นพระโพธิสัตว์มัญชุศรี ในหอไตรนี้มีพระไตรปิฎกฉบับพระเจ้าเฉียนหลง จำนวน 7,000 กว่าเล่ม เขียนเป็น 4 ภาษาคือ ภาษาจีน ภาษาแมนจู ภาษามองโกล และภาษาทิเบต ซึ่งเป็นภาษาสำคัญที่ใช้กันในจีนสมัยนั้น ข้างๆ หอพระไตรปิฎก จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ มีของเก่ามากมาย ในตู้มีตัวเขียนต่างๆ มีของชิ้นใหญ่ๆ ทำด้วยสำริด มีระฆังใบใหญ่จารึก (น.46) รูป 36 พระประธาน
(น.48) รูป 40 ระฆังจารึกพระสูตรต่างๆ
(น.48) พระสูตร เช่น อวตังสกสูตร ธารณี เช่น มหากรุณาธารณี เจดีย์ไม้ แกะสลักปิดทองสูงสามเมตรกว่า ทำสมัยราชวงศ์หมิง กระถางธูปจากเกาหลีเป็นบรรณาการสมัยราชวงศ์ถัง กระถางธูปขนาดใหญ่ทำจากหินอุกกาบาต สร้างสมัยราชวงศ์หมิง ในตู้มีรูปพระหลวงจีนรูปหนึ่งที่มีศรัทธาแก่กล้า เช้าขึ้นก็กัดลิ้นตนเองเอาเลือดมาเขียนอวตังสกสูตร ตั้งแต่ต้นจนจบใช้เวลา 3 ปี ในทางพุทธศาสนาน่าจะเป็นการบำเพ็ญเพียรที่สุดโต่งเกินไปที่เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงห้ามเช่นเดียวกับการทำตัวสบายเกินไป แต่ในที่นี้เบื้องหลังคือ การต่อต้านญี่ปุ่น ถือเป็นการต่อสู้ทางการเมืองอย่างหนึ่ง แบบเดียวกับการอดอาหาร พระรูปนี้เขาว่าเคยมาเมืองไทย หอฉัน ตรงระเบียงมีมู่หยู หรือเครื่องเคาะจังหวะทำเป็นรูปปลา หอพระโพธิสัตว์ตี้จ้าง (กษิติครรภ) ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ที่ดูแลยมโลก ในหอมีรูปยมบาล (หมอหวัง) ทั้ง 16 หอกวนอิม (หอพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) รูปกวนอิมเป็นผู้ชาย และในตู้มีรูปกวนอิม 18 ปาง จากนั้นไปที่ห้องรับแขก เจ้าอาวาสมอบของขวัญ และหนังสือประวัติโดยละเอียด วัดนี้เป็นวัดในพุทธศาสนานิกายฉานจง (ธยานะ ในอินเดีย, (น.48) รูป 41 เจดีย์ไม้แกะสลักปิดทอง สูง 3 เมตร
เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 89
(น.89) ห่อหลายชั้น ที่ได้ดูเป็นภาพเขียนของติงกวนเผิง ช่างเขียนในราชสำนักราชวงศ์ชิง เป็นภาพในพุทธศาสนา มีลายพระหัตถ์พระเจ้าเฉียนหลงเขียนไว้ มีรูปเทพผู้ควบคุมกฎทางพุทธศาสนา
ท้าวจตุโลกบาล พระโพธิสัตว์กวนอิม 16 ปาง พระยูไล พระศากยมุนี พระมี่เล่อ (พระศรีอารย์) พระโพธิสัตว์มัญชุศรี พระโพธิสัตว์กษิติครรภ พระโผหมู่ เป็นพระผู้พิทักษ์เด็ก พระอรหันต์ต่าง ๆ มีพระอานนท์ เป็นต้น พระศาสดานิกายฉานจงหรือเสียมจงหรือฌานที่ญี่ปุ่นเรียกเซน พระมี่จงซึ่งเป็นพวกเทวดาในลัทธิวัชรยาน เทพที่ดูแลพระไตรปิฎก สุดท้ายบอกปีว่าเสร็จใน ค.ศ. 1767 ปีที่ 37 ในรัชกาลพระเจ้าเฉียนหลง วาดรูป 3 ปี นอกจากนั้นมีคัมภีร์ที่อยู่ในพระราชวังหลวงในปักกิ่ง พระเจ้าปูยีนำมาจากวัง ปัจจุบันได้มีการพิมพ์หนังสือนี้ และเขาให้ข้าพเจ้ามาด้วย (น.89) รูป 159 ดูหนังสือโบราณและภาพเขียนสำคัญที่ไม่ได้นำออกแสดงในพิพิธภัณฑ์
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 หน้า33
(น.33) อีกอาคารมีพระศากยมุนี พระสาวกมีพระอานนท์ พระมหากัสสปะ พระอรหันต์ 16 องค์ ปางต่างๆ ถือของต่างๆ ที่พื้นมีเบาะรองกราบวางอยู่มากคงจะมีลูกศิษย์มาก ด้านหลังมีเจ้าแม่กวนอิมกับลูกศิษย์ ที่ฉากข้างหลังมีพระพุทธเจ้า 53 องค์ อีกอาคารเรียกว่า “ซีฟางซานเซิ่ง” เป็นที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์ 3 องค์แห่งแดนสุขาวดี อันเป็นแดนที่ไปของคนตาย หอพระไตรปิฎกซึ่งอวดว่าสวยงามที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เซียน 3 องค์ คือ สือเต๋อ ฟางถาน หันซาน อีกห้องมีพระจี้กง
ย่ำแดนมังกร
ย่ำแดนมังกร หน้า 325
(น.325) คนหนึ่งชื่อ หยางผายเฟิง เป็นแม่ทัพ นายพลอีกคนคือ นายพล เจียวจ้าน (หนวดดำ) ดูถูกหยางผายเฟิงว่าเป็นผู้หญิงจะทำอะไรได้ จึงทดลองประลองยุทธ์กัน หยางผายเฟิงเก่งจริงๆ กระโดดตีลังกาไปมา หยางผายเฟิงแกล้งทำแพ้ 3 ครั้ง อีกครั้งจึงจะชนะ ในระหว่างการแสดงมีดนตรี เวลาคนแสดงร้องอะไรออกมาคำหนึ่งก็จะมีเสียงตีม้าล่อดังแผ่งๆๆๆ อยู่สักพัก ก็มีดนตรีประกอบ มีปี่ ซออู้ พิณรับ ท่าทางงิ้วชอบทำท่าชี้นิ้วสองนิ้ว คงจะเป็นทำนองวิทยายุทธ์ หรือเลียะพะ หรือจะเป็นมวยจีนก็ไม่ทราบ มีสู้ด้วยทวน ที่ตลกคือมีการเคาะพุงกันด้วย เผลอๆ ก็ร้องดังไอ๊ย่า สำหรับไอ้ตัวหนวดยาวเวลาครุ่นคิดก็ต้องมีการลูบหนวดด้วย ผู้ชายรู้สึกจะใส่หน้ากากบางส่วน บางคนก็บอกว่าไม่ได้ใส่ เป็นการแต่งหน้าผู้หญิงไม่ได้ใส่แต่ใช้วิธีแสดงความรู้สึกด้วยการกลอกตาไปมา การร้องงิ้วต้องมีการลากเสียงจนคุณเฉินซึ่งไม่ชอบงิ้วบอกว่ารำคาญ ฟังไม่รู้เรื่อง คุณหลี่เม่าก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ เรื่องที่สองเป็นเรื่อง ไป๋เฉ่าซาน หรือภูเขาหญ้าร้อยชนิด เรื่องนี้มาจากงิ้วเรื่อง “พญาปราบนกปีศาจ” เรื่องมีอยู่ว่า ไป๋เฉ่าซาน เป็นภูเขาที่อุดมสมบูรณ์ ปกคลุมด้วยป่าไม้และสมันไพร มีน้ำห้วยน้ำซับมาก ทำให้ผืนดินชุ่มชื้น วันดีคืนดีก็มีฝูงปีศาจเข้ามาสิงสู่ทำให้พื้นที่กลับแห้งแล้ง นำความพินาศมาสู่หมู่บ้านทั้งหลายในแถบใกล้เคียง เจ้าแม่ กวนอิม ได้ส่งเทวดามาปราบปีศาจได้สำเร็จ เขาจัดฉากน่าดู ฉากที่ฝนตกหิมะตก เขาใช้ไฟส่องผ่านกระดาษซึ่งเจาะเป็นรู แล้วหมุนให้แสงออกตามรู และใช้วิธีฉายสไลด์ประกอบด้วย