<< Back
ยูนนาน
จากหนังสือ
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 14
(น.14) ยุคที่ 5 สมัยสหมหาวิทยาลัยแห่งชาติตะวันตกเฉียงใต้ (National Southwest Association University) ค.ศ. 1937-1946
เป็นช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จีนถูกญี่ปุ่นรุกราน เมื่อเกิดสงครามต่อต้านญี่ปุ่น (เริ่ม 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937) เริ่มที่สะพานมาร์โคโปโล รวมมหาวิทยาลัยหนานไค (ที่เทียนสิน) มหาวิทยาลัยปักกิ่งและมหาวิทยาลัยชิงหัวอพยพไปที่นครฉางซา มณฑลหูหนาน ตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉพาะกาล ในที่สุดอพยพไปอยู่ที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน จึงได้ชื่อว่า สหมหาวิทยาลัยแห่งชาติตะวันตกเฉียงใต้
ยุคนี้เป็นยุคที่น่าศึกษา เพราะเป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จมาก ถึงจะยากลำบากเพราะการย้ายสถานที่ ขาดแคลนอุปกรณ์ เขาแสดงรูปห้องสมุดสมัยนั้น เอาหนังสือใส่หีบตั้งซ้อนๆ กัน สมัยนั้นมีศาสตราจารย์ที่มีชื่อหลายท่าน เช่น ศาสตราจารย์เหวินยี่ตัว นอกจากสอนมหาวิทยาลัยแล้ว ต้องไปสอนโรงเรียนมัธยม และหารายได้เพิ่มเติมด้วยการแกะตรา
มหาวิทยาลัยมีผลงานมากมาย เช่น สร้างบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ 163 คน นักวิทยาศาสตร์ 2 คน คือ หลี่เจิ้งเต้า และหยังเจิ้นหนิง ได้รับรางวัลโนเบล
ยุคที่ 6 มหาวิทยาลัยปักกิ่งกลับคืนสู่ปักกิ่ง (ค.ศ. 1946-1949)
อธิการบดีชื่อ หูซื่อ ขยายสาขาวิชาจากที่มีอักษรศาสตร์ วิทยาศาสตร์และกฎหมาย เพิ่มสาขาวิชาแพทย์ และเกษตร
ยุคที่ 7 สมัย 17 ปีแรกของสมัยสาธารณรัฐประชาชนจีน (ค.ศ. 1949-1966) ป้ายชื่อมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นลายมือประธานเหมา
ใน ค.ศ. 1952 ปรับปรุงหลักสูตร เพิ่มภาควิชาต่างๆ เนินวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ ย้ายที่ตั้งมาอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน รวมกับมหาวิทยาลัยเยี่ยนจิง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของอเมริกัน ทั้ง 2 มหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาการ รวมทั้งการผลิตอาวุธนิวเคลียร์
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 45
(น.45) เมื่อไปอยู่ที่ซินเกียงได้สร้างความเจริญหลายอย่าง เช่น ทำโครงการชลประทานหลายโครงการ บางโครงการบริจาคเงินก่อสร้างด้วย ข้าพเจ้าสงสัยว่าต้องราชภัยถึงแค่นี้ยังมีเงินบริจาคอีกหรือ อาจจะอธิบายได้คือ การลงโทษนั้นเป็นการลงโทษเพื่อเอาใจฝรั่ง ไม่ได้ยึดทรัพย์
สร้างทางประมาณ 20,000 ลี้ (10,000 กิโลเมตร)
บุกเบิกที่ดินการเกษตร 37,000 เอเคอร์ (ประมาณ 92,500 ไร่)
ทำชลประทานทะเลทราย ดึงน้ำจากใต้ดินมาทำการเกษตร (ที่จริงเป็นเทคโนโลยีคนพื้นเมือง อาจจะไปสนับสนุน)
รวมความแล้ว กล่าวได้ว่า คนดี มีความสามารถ เมื่อตกไปอยู่ที่ใด ก็สามารถทำให้ที่นั้นเจริญรุ่งเรือง ทำประโยชน์ต่างๆ ได้ ท่านได้เขียนตุ้ยเหลียนเป็นคติสอนใจลูกหลาน (ตุ้ยเหลียนของจริงหายไปแล้ว เหลือแต่ของทำเทียม) มีใจความว่า อาจารย์และญาติมิตรมาเยี่ยมบ้านหลังน้อย เป็นการให้เกียรติอย่างสูง ลูกหลานอย่าปล่อยให้หนังสือกองสูงท่วมหัวโดยเปล่าประโยชน์
เมื่อพ้นโทษแล้วกลับมาเป็นผู้ว่าราชการมณฑลยูนนานและกุ้ยโจว มีผลงานด้านการพัฒนาหลายอย่าง เช่น ส่งเสริมให้ชาวบ้านถลุงโลหะ เงิน และทองแดง
เมื่อเกษียณอายุราชการ มาสร้างบ้านใหม่ที่ฝูโจว (มีแผนที่บ้านใหม่ให้ดูด้วย)
ค.ศ. 1850 มีพระราชโองการแต่งตั้งให้เป็นขุนนางพิเศษ ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ไปปราบกบฏชาวนา เมื่อเดินทางไปถึงอำเภอผู่หนิง (โผวเล้ง) เมืองเฉาโจว (แต้จิ๋ว) ก็ล้มป่วย ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน รวมอายุได้ 66 ปี
มีภาพแผนที่ประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิง ส่วนที่ระบายสีเอาไว้เป็นมณฑลที่หลินเจ๋อสูเคยไปเป็นผู้ว่าราชการ มี 14 มณฑล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 178
(น.178) เรื่องสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามริมฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ของจีน (Coastal Shrines of Sages and Saints) ที่สำคัญคือ สุสานศิษย์ของพระมะหะหมัดที่มาเผยแพร่ศาสนาอิสลามที่เฉวียนโจว
หนังสือทั้งของจีนและต่างชาติที่เขียนเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ที่นี่มุสลิมชาวจีนยังศึกษาภาษาอาหรับ
ภาพถ่ายสิ่งของโบราณวัตถุเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
ประวัติที่นายพลเรือเจิ้งเหอ ตอนที่เดินทางออกไปสำรวจทะเลใต้มานมัสการทำละหมาดที่สุเหร่าแห่งนี้ เจิ้งเหอเป็นคนมุสลิมแซ่หม่า พื้นเพถิ่นฐานเดิมเป็นคนอำเภอคุนหยัง มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน)
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 249
(น.249) ในสวนสาธารณะจูเจียง ทำสวนหญ้าแฝก ดูสวยงามดี นักท่องเที่ยวชอบมาถ่ายรูปคณะ ดร. สุเมธ จากเมืองไทย Richard Grimshaw จากสหรัฐอเมริกามาเยี่ยมชม
กล่าวโดยสรุปแล้ว หญ้าแฝกเป็นพืชที่ทนทาน ที่กวางตุ้งมี 3 พันธุ์ (คัดพันธุ์จาก 13 พันธุ์) หนาวที่สุด 0˚C ถึงร้อน 40˚C ก็อยู่ได้ ทดลองปลูกระดับ 1,000 เมตรก็อยู่ได้ ที่มณฑลยูนนานทดลองปลูก 2,000 เมตรขึ้นได้ดี และเป็นมณฑลที่สนใจเรื่องหญ้าแฝกเช่นกัน
เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 3-4,6,8-9
(น.3) วันพุธที่ 14 สิงหาคม 2539 เราเดินทางออกจากกรุงเทพฯ โดยสายการบินไทย เที่ยวบิน TG 612 ไปยังนครคุนหมิง ใช้เวลาบินประมาณ 2 ชั่วโมง 5 นาที รับประทานอาหารกลางวันในเครื่องบิน ประมาณ 14.10 น. (เวลาของคุนหมิง ซึ่งเร็วกว่าเวลาในประเทศไทย 1 ชั่วโมง) ถึงท่าอากาศยานคุนหมิง ผู้ที่มาต้อนรับฝ่ายจีนมีนายหลิวจิง รองผู้ว่าราชการมณฑลยูนนาน นางจางซ่งเซียน อธิบดีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (ติดตามตลอดทาง) นายจางเอี๋ยน อธิบดีกรมวิเทศสัมพันธ์มณฑลยูนนาน นายเอี้ยนถิงอ้าย รองอธิบดีกรมเอเชีย ดูแลความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศอื่น ๆ อีก 10 ประเทศ พูดไทยได้ และคนอื่น ๆ ฝ่ายไทยมีเอกอัครราชทูตสวนิต คงสิริ ท่านกงสุลใหญ่พจน์ อินทุวงศ์ ผู้ช่วยทูตทหารสามเหล่าทัพ ข้าราชการสถานเอกอัครราชทูตจากปักกิ่งและสถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง
(น.4) จากสนามบินขึ้นรถไปเรือนรับรองเจิ้นจวง ข้าพเจ้าขอเขาไปดูเรือนรับรองนี้เพื่อเป็นการรำลึกความหลัง ข้าพเจ้าเคยพักอยู่เรือนรับรองนี้เมื่อมาอยู่ที่ยูนนานครั้งแรกในพ.ศ. 2524 (ดู [[ย่ำแดนมังกร]]) ท่านรองหลิวจิงขึ้นมานั่งรถด้วย คนขับรถก็คือคนเดิมที่ขับให้ข้าพเจ้าทั้งเมื่อพ.ศ. 2524 และ พ.ศ. 2538 (ดู [[ใต้เมฆที่เมฆใต้]]) ตำรวจที่มาประจำก็เป็นคนเดียวกับที่มาเมื่อปีก่อน คือ หลี่หงเอี้ยน ล่ามคือคุณอู๋จุ้น เคยอยู่สถานทูตจีนประจำไทย
ท่านรองฯ เล่าว่าท่านเป็นคนปักกิ่ง เคยทำงานกับท่านเติ้งผู่ฟาง ลูกชายท่านเติ้งเสี่ยวผิงถึง 7 ปี ท่านทำงานกระทรวงการค้า มาอยู่ยูนนานได้ 5 ปี มาที่นี่ได้ทำงานด้านการค้าและการติดต่อกับต่างประเทศมาก ได้ไปเมืองไทยถึง 5 ครั้ง ได้เรียนรู้ประสบการณ์มาก เพราะถือว่าไทยสามารถสร้างความเจริญในด้านเศรษฐกิจได้ดี
(น.6) รูป 3 ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ คุนหมิง
(น.6) งานนี้ (เรียกย่อ ๆ ว่า Kunming Fair) เป็นงานแสดงสินค้าท้องถิ่นซึ่งจัดโดยรัฐบาลมณฑลเสฉวน มณฑลยูนนาน มณฑลกุ้ยโจว ภูมิภาคปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสี ภูมิภาคปกครองตนเองทิเบต นครเฉิงตูและนครฉงชิ่ง (ซึ่งเป็นนครอยู่ในมณฑลเสฉวน) กระทรวงการค้าต่างประเทศและความร่วมมือทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกลางให้ความเห็นชอบ การจัดงานมีหลักการคือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้เป็นภาคหนึ่งของจีนที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาเศรษฐกิจ มีพื้นที่ 2,570,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากรถึง 200 ล้านคน มีพรมแดนติดต่อกับเวียดนาม ลาว พม่า และสามารถต่อไปถึงประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูฏาน เนปาล และอินเดีย ฉะนั้นถือได้ว่าเป็นประตูสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(น.8) จัดงานระหว่างวันที่ 8 -15 สิงหาคม ผู้ที่มีความประสงค์ตั้งร้านต้องเสียเงิน 1,500, 2,000, 2,500 เหรียญสหรัฐ (ถามไม่ได้ความว่าราคาต่างกันจะได้อะไรต่างกัน) แต่ละร้านมีขนาดประมาณ 9 ตารางเมตร มีฝากั้น 3 ฝา โต๊ะ เก้าอี้ 3 ตัว พรม ไฟฟลูออเรสเซนต์ 2 ดวง ป้ายสำหรับเขียนชื่อบริษัท ไฟฟ้า และถังผง ถ้าจะจัดภายนอกต้องเสียเงิน 25 เหรียญสหรัฐต่อตารางเมตร ของใช้อื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้วเช่าเอาได้ (เช่น ชั้น โต๊ะ ตู้ไฟ ดอกไม้ ฯลฯ)
ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติแห่งนี้มีทั้งห้องแสดงสินค้า ห้องประชุม ศูนย์ข้อมูล มีพื้นที่ 914,000 ตารางเมตร มีห้องแสดงสินค้า 27 ห้อง ตั้งร้านได้ 1,500 ร้าน (3ม. X 3ม.)
วันนี้มีคนมายุ่บไปหมด เขาบอกว่ามาต้อนรับข้าพเจ้าซึ่งคงไม่ใช่ เห็นจะเป็นเพราะพรุ่งนี้งานก็เลิกแล้ว เราสงสัยกันว่า วันนี้ไม่ใช่วันหยุดทำไมคนมากแบบนี้ มีผู้อธิบายว่าที่นี่เขาผลัดกันหยุด คนที่ยืนกันเยอะแยะนั้นส่วนใหญ่ถือขวดน้ำดื่มเป็นน้ำเปล่า ไม่เห็นใครถือขวดหรือกระป๋องน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้ เนื่องจากคนเยอะเวลาก็น้อยเลยไม่ได้ดูอะไรมาก เดินผ่านร้านยูนนาน ดูยาสูบยูนนานซึ่งมีชื่อเสียงมาก ปีที่แล้วส่งภาษียาสูบให้รัฐบาลกลางได้ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีหลายยี่ห้อ บุหรี่มีชื่อของจีน 12 ยี่ห้อ เป็นของยูนนาน 9 ยี่ห้อ บุหรี่เมืองอี้ซีในยูนนานราคาแพงกว่าบุหรี่ต่างประเทศ (ถ้าไม่นับภาษี)
(น.9) ผ่านร้านอุตสาหกรรมเคมี และร้านขายอะไรทั่ว ๆ ไป (ไม่ค่อยเข้าใจ) มีตัวอย่างดีบุกและสังกะสีว่าเป็นแร่ที่มีมากในหงเหอโจว มณฑลยูนนาน เข้าไปดูกล้องส่องทางไกลที่ผลิตในนครคุนหมิงนี่เอง เขาอวดว่าส่งไปขายสหรัฐฯ มากที่สุด ครองตลาดในสหรัฐฯ ถึง 40 % คุนหมิงเป็นอู่ต่อเรือที่ต่อเรือที่ใช้ในแม่น้ำส่งไปขายต่างประเทศ ส่วนร้านขายของป่า มีพรม เสื้อขนสัตว์ ขนไก่ป่า รองเท้าหนังมีหลายชนิด มีรองเท้าหุ้มข้อ เขาอธิบายว่าสำหรับคนงานโรงงานที่พื้นร้อน เช่น โรงงานเหล็กกล้า
ดูของจีนแล้วไปดูสินค้าไทย เจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์มาต้อนรับ สำนักงานนี้เพิ่งเปิดมาได้ 10 เดือน มีข้าราชการประจำอยู่ 2 คน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเป็นคนจีนอีก 4 คน ลูกสาวเจ้าเมืองสิบสองปันนามาฝึกงานตอนปิดเทอม คนจีนที่สำนักงานพูดภาษาจีนและ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 149
(น.149) แต่ก่อนนี้ช่วงต้นของปลายแม่น้ำฉางเจียงเกิดอุทกภัยบ่อยครั้ง การขนส่งทางเรือมีอุปสรรค ค.ศ. 1931 และ 1935 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ คนตาย 140,000 กว่าคน อุทกภัย ค.ศ. 1954 คนตาย 33,000 คน เขื่อนคันดินที่ก่อสร้างไว้ทั้งสองฝั่งของลำน้ำสามารถป้องกันน้ำท่วมที่มีขนาด 10 ปีครั้งได้ น้ำท่วมมากกว่านั้นป้องกันไม่ได้ ถ้าทำเขื่อนซานเสียเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะสามารถป้องกันน้ำท่วมขนาด 100 ปี ครั้งและ 1,000 ปีครั้งหนึ่งได้
ไฟฟ้าพลังน้ำเป็นพลังงานที่บริสุทธิ์ (ไม่ทำให้อากาศเสีย) ไฟฟ้าพลังน้ำที่ผลิตได้จากเขื่อนซานเสียสามารถทดแทนการผลิตโดยการเผ่าถ่านหินได้เฉลี่ยมากกว่า 50 ล้านตันต่อปี การขนส่งระหว่างฉงชิ่งถึงอี๋ชางก็จะทำได้โดยสะดวก เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมมณฑลทางตะวันออกและมณฑลในตอนกลางของประเทศ สอดคล้องกับแผนพัฒนาฉบับที่ 9 ของประเทศ
ผู้ริเริ่มโครงการนี้คือ ดร.ซุนยัดเซ็น เมื่อ ค.ศ. 1917 จากนั้นพยายามหาข้อมูล และทดลองวิจัยมาโดยตลอด จนพร้อมที่จะเริ่มต้นการก่อสร้าง โครงการซึ่งกำหนดไว้เป็นเวลา 17 ปี มี 3 ขั้นดังนี้
ค.ศ. 1993-1997 ช่วงนี้ทำมา 3 ปีกว่าแล้ว งานราบรื่นดี การวางแผนการลงทุนครบถ้วนในเดือนพฤศจิกายน การก่อสร้างใช้นโยบายยุทธศาสตร์พัฒนาต่อเนื่อง ระวังเรื่องสิ่งแวดล้อม จัดแหล่งท่องเที่ยว รัฐบาลมอบให้บริษัทซานเสียบุกเบิกพลังงานใหม่ ๆ ที่แม่น้ำฉางเจียง ปัจจุบันมีอีก 2 โครงการ คือ โครงการจินซาเจียงและซีโหลวตู้ (ผลิตไฟฟ้าอยู่มณฑลยูนนาน) เซียงเจียป้าอยู่มณฑลเสฉวน
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 202,208-209
(น.202) ข้าพเจ้ากล่าวว่า ได้เรียนมา 15 ปีแล้ว แต่ไม่มีเวลาฝึกฝนจึงยังไม่ดีเท่าที่ควร พูดไม่ได้ แต่ฟังเข้าใจ ท่านประธานาธิบดีกล่าวว่าที่ข้าพเจ้าเรียนนั้นเป็นสำเนียงจีนกลางอย่างมาตรฐาน แต่ที่ท่านประธานาธิบดีพูดเป็นสำเนียงท้องถิ่นไม่ชัด ข้าพเจ้ากล่าวว่าได้ไปซานเสียมีประโยชน์ เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ ย่อมมีปัญหาต่าง ๆ หลายแง่ ได้มาเรียนรู้วิธีที่จีนแก้ปัญหา ไทยก็มีโครงการสร้างเขื่อน ดังนั้นมาเห็นที่นี่ก็ดีมาก
ท่านประธานาธิบดีกล่าวว่าช่วงที่มานี้น้ำมาก ทุกปีมีน้ำท่วม แต่ปีนี้น้ำท่วมใหญ่ เหตุที่น้ำท่วมเป็นเพราะฝนตกมาก หรือน้ำไหลลงจากภูเขา น้ำท่วมลักษณะนี้ขึ้นเร็วลงเร็ว ตอนที่ท่านเข้ามารับตำแหน่งเคยมีน้ำท่วมใน ค.ศ.1991 ข้าพเจ้าว่าเมืองไทยปีที่แล้วก็มีน้ำท่วมใหญ่มาก
ท่านประธานาธิบดีกล่าวว่าประเทศไทยอยู่ใต้ประเทศจีนลงไปอีก จีนทางใต้น้ำมากกว่าจีนทางเหนือ ตามคำกล่าวของจีน ฟ้าไม่สู้จะฟังความปรารถนาของคน น้ำมากไปบ้าง น้ำน้อยไปบ้าง ฝนปีนี้มาก แต่ก็เป็นประโยชน์สำหรับที่แห้งแล้ง ได้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยการชลประทาน การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้ได้ไปซานเสีย ทำให้คิดว่าต่อไปประเทศจีนกับประเทศไทยคงจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ในด้านนี้ ระหว่างที่ข้าพเจ้าเดินทางไปหวังว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายจีนคงจะได้บรรยายเรื่องหลายอย่างอย่างละเอียดแล้ว ได้ทราบว่าได้เคยเดินทางไปเส้นทางสายแพรไหม ดูถ้ำตุนหวง ไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางใต้ที่สุดก็เคยไปยูนนานมาแล้ว กล่าวได้ว่าเคยเห็นจีนมาจนทั่วแล้ว และได้ทราบว่าสนใจภาษาและวรรณคดีจีน
(น.208) ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองฝ่ายมีสถิติข้อมูลเป็นหลักฐาน หลังจากพิจารณาร่วมกันแล้วก็เห็นพ้องกันว่าดำเนินการได้ ที่มีผู้ไม่เห็นด้วยอีกเรื่องคือ ทิวทัศน์งาม ๆ จะหายไป ข้อโต้แย้งไม่ถูกต้องทั้งหมด หมู่บ้านที่จะถูกย้ายไปนั้นคนยอมย้าย เพราะส่วนมากจะย้ายไปอยู่ที่ดีกว่าเดิม ทางการก็พยายามย้ายให้อยู่ใกล้ที่เดิมมากที่สุด ทิวทัศน์งามนี้จะหายไปบ้าง แต่ส่วนมากยังอยู่
ข้าพเจ้ากล่าวว่าได้ไปเห็นน้ำท่วมที่อู่ฮั่น ท่านรองนายกรัฐมนตรีว่าแถบนั้นเป็นเขตน้ำมาก การทำเขื่อนบริเวณนั้นจึงเป็นการป้องกันน้ำท่วมอย่างหนึ่ง ข้าพเจ้ามอบเงินจำนวน 80,000 เหรียญสหรัฐของรัฐบาลไทยที่ให้นำมาแก่ท่าน
เมื่อมอบเงินแล้วไปที่ห้องอาหาร ไปที่หน้าห้องพูดคุยสังสรรค์กับแขกที่มาร่วมงาน มีท่านทูตที่มาประจำที่ไทย 2 ท่าน คือท่านทูตจางเต๋อเหวย และท่านทูตหลี่ซื่อฉุน อาจารย์ที่เคยสอนภาษาจีนข้าพเจ้ามา 2 คน คือ อาจารย์หวางเย่ กับอาจารย์กู้หย่าจง รวมทั้งอาจารย์หวางที่สอนอยู่ปัจจุบันด้วย ที่แย่คือไม่มีเวลาจะคุยกันเท่าไร มีพวกคณะที่สร้างเขื่อนซานเสียมาร่วมในงานเลี้ยงรับรองนี้ด้วย ไปคุยกับท่านรองนายกรัฐมนตรีต่อที่โต๊ะอาหาร ข้าพเจ้าถามถึงการประชุม ASEM ท่านรองนายกฯ เห็นว่าเป็นเพียงการเริ่มต้น น่าจะเริ่มต้นในเรื่องเศรษฐกิจเสียก่อน ไม่เห็นควรที่จะมาพูดเรื่องการเมือง สมัยก่อนประเทศยุโรปเป็นประเทศเจ้าอาณานิคม ถ้าเราพูดปัญหาโดยตรงอาจทำให้เข้าใจไม่ตรงกันได้ ท่านรองนายกฯ รับผิดชอบ เรื่องการท่องเที่ยว เรื่องฮ่องกง ไต้หวัน ข้าพเจ้ากล่าวถึงการเดินทางไปยูนนานทางแม่น้ำโขง ท่านบอกว่าเส้นทางล่องแม่น้ำโขงต่อไปก็จะสะดวก แต่ในปัจจุบันนี้กลางแม่น้ำมีหินใหญ่ทำให้เป็นอันตราย ข้าพเจ้าพูดถึง
(น.209) เส้นทางบกจากทางเหนือของไทยเข้าเชียงตุงและต่อไปคุนหมิง ท่านรองนายกฯ บอกว่าเส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ฝ่ายสัมพันธมิตรลำเลียงอาวุธจากพม่าขึ้นยูนนาน
ในเรื่องฮ่องกงท่านกล่าวว่าฮ่องกงเป็นเมืองอยู่ในการดูแลของอังกฤษมา 150 ปีแล้ว จีนเริ่มเจรจาเรื่องฮ่องกงกับอังกฤษตั้งแต่เมื่อ ค.ศ. 1982 ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมเมื่อปลาย ค.ศ. 1984 เกี่ยวกับการปกครองฮ่องกงนับจาก ค.ศ. 1997 เป็นต้นมา
ย่ำแดนมังกร
ย่ำแดนมังกร หน้า 28
หลังจากนั้นเราไปที่ เทียนถาน หรือหอฟ้า อันเป็นที่ซึ่งจักรพรรดิตั้งแต่ราชวงศ์เหม็ง (หรือ หมิง) มากระทำพิธีพืชมงคลแบบจีนเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่รัฐ เมื่อไปถึงลมแรงมากจนต้องควักแว่นตาขึ้นมาใส่ปะทะผงต่างๆ ที่จะเข้าตาเอาไว้ก่อนอาคารแรกที่ไปเป็นอาคารกลมๆ ชื่อว่า ซิ่นเเหนียนเตี้ยน ผู้ดูแลบอกว่าสร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1420 ในรัชกาลพระจักรพรรดิหย่งเล่อ (ใช้เวลาสร้าง 14 ปี) หลังคา 3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องสีน้ำเงินสวยงามมาก สีน้ำเงินเป็นสีที่บ่งบอกความหมายถึงสวรรค์ เป็นสถานที่พำนักของเทพเจ้าหรือเรียกว่า เทียน (ถ้าเป็นพระราชวังหลังคาจะมุงด้วยกระเบื้องสีเหลืองซึ่งเป็นสีของกษัตริย์) อาคารนี้ถูกเผาในปี 1889 และได้บูรณะใหม่ให้เสร็จสิ้นใน ค.ศ. 1971 ภายในช่างใช้วิธีก่อสร้างอย่างไรก็ไม่ทราบ ทำให้มองเพดานสูงลิบ มีเสาสูงๆเป็นไม้ทั้งต้น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเมตรกว่า สูงเกือบ 20 เมตร ไม้ที่ใช้ทำเสานี้เห็นเขาบอกว่าภาษาจีนเรียกว่าไม้ หนานมู่ ไม่ทราบว่าภาษาไทยจะว่าอะไร ข้าพเจ้าเข้าใจว่าคงจะมีในเมืองไทยเพราะเป็นไม้ที่ได้จากป่าแถวๆ มณฑล ยูนนาน และ เสฉวน ซึ่งอากาศ
ย่ำแดนมังกร หน้า 287-288,290
(น.287) นอกจากห้องนอนแล้ว ข้าพเจ้ายังมีห้องเขียนหนังสือ ซึ่งเขาเตรียมเอกสารอธิบายเกี่ยวกับเมืองคุนหมิง และมณฑลยูนนานพร้อมทั้งสถานที่สำคัญต่างๆ ซึ่งเราจะได้ไปดู ข้าพเจ้าเซ็นชื่อพร้อมทั้งเขียนว่า ขอให้มีมิตรภาพไทย-จีนจงสถิตสถาพร ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย เพราะว่าจากคุนหมิงเราก็จะกลับสู่ประเทศไทย บ้านเกิดเมืองนอนของเรา ซึ่งอันที่จริงแล้ว มณฑลยูนนานอยู่ห่างจากประเทศไทยเพียงไม่กี่กิโลเมตร พวกชาวเขาของเราเดินเท้าจากยูนนานมาสู่ประเทศไทยได้
เมื่อถึงเวลาพวกเราก็ไปที่ห้องเลี้ยงรับรองในบริเวณที่พัก เป็นอาคารอย่างจีน เสาแดงๆ คล้ายๆ เก๋งจีนเมืองไทย ขบวนทั้งหมดและการจัดดอกไม้ที่นี่สวยที่สุด สมกับนามฉายาว่าเมืองนี้เป็นนครแห่งดอกไม้ บนโต๊ะอาหารและบนเวทีข้างหลังจัดดอกไม้ไว้เต็มไปหมด คล้ายๆ กับดอกไม้ภูพิงค์ เมนูอาหารวันนี้หน้าปกทำเป็นรูปช้าง
วันนี้ท่านผู้ว่าราชการมณฑลยูนนานเป็นเจ้าภาพ ดนตรีที่เปิดวันนี้ส่วนใหญ่เป็นดนตรีไทย มีเพลงเขมรไทรโยค เป็นต้น ถึงเวลาที่จะกล่าว speech เขาก็หรี่เพลง คำกล่าวตอบวันนี้ตอนสุดท้ายจบด้วยกลอนภาษาจีน ซึ่งอาจารย์สารสินเป็นผู้แต่ง และ
(น.288) เขียนให้ข้าพเจ้า (ด้วยอักษรไทย) ข้าพเจ้าร้องอุทธรณ์ว่าต้องมาซ้อมให้ก่อนนะ เดี๋ยวออกเสียงไปผิดๆ เชยๆ และการอ่านกลอนเขาก็ต้องมีวิธีพิเศษอีก ไปอ่านไม่มีจังหวะจะโคน คนจะฟังไม่ออกว่าเป็นกลอน ตอนหลังมันมีงานยุ่ง ไม่มีเวลาจะซ้อม ก่อนงานข้าพเจ้าปรารภกับคุณดำรงว่าจะทำอย่างไรดี เกือบจะโทรศัพท์ไปโฮเต็ลเสียแล้ว พอถึงเวลาจริงๆ ก่อนพูด อาจารย์สารสินมาบอกว่าไม่เป็นอะไรให้อ่านช้าๆ เอาไว้ พออ่านจบปรากฏว่าเป็นที่พอใจของฝ่ายจีน แต่ฝ่ายไทยคัดค้านเพราะอาจารย์สารสินผู้ชินต่อการแปลไทยเป็นจีน ลืมที่จะแปลจีนเป็นไทย !
วันนี้การสนทนาออกรสที่สุดเท่าที่เคยมา รู้สึกว่าหัวเราะกันเฮฮา จนกระทั่งคนโต๊ะอื่นมาปรารภทีหลังว่าคราวนี้แปลกที่โต๊ะเสวยดังกว่าใครเขาเพื่อนเลย โดยปกติมักจะเฉยๆ
ท่านผู้ว่าฯ ทักทายกับท่านหวังเป็นการใหญ่ เพราะเคยร่วมเดินทางไกล Long march ด้วยกัน แถมอยู่กองทัพเดียวกันด้วย ยังมีเรื่องน่าตื่นเต้นอีกเรื่อง คือคุณพูนเพิ่มกับภรรยาท่านประธานปฏิวัติเกิดวันเดียวกัน เดือนเดียว ปีเดียวกัน จึงดื่มอวยพรกันใหญ่
ท่านผู้ว่าฯ เล่าว่า ผู้ที่สร้างที่พักแห่งนี้เป็นผู้ว่าราชการมณฑลคนก่อน รู้จักกับท่านผู้ว่าฯ ดี เสียชีวิตไปแล้ว
คนที่มาชนแก้วกับข้าพเจ้ามีอีกคน เคยเจอกันที่กรุงเทพฯ แล้ว ตอนที่เขาพานาฏศิลป์ยูนนานมาแสดง อีกคนหนึ่งเป็นรองผู้ว่าราชการมณฑลยูนนาน ชื่อ เตากว๋อตง ซึ่งท่านมาบอกว่าจริงๆ แล้วท่านเป็นคนชนชาติ ไต่ ชื่อจริงชื่อท้าวราชวงศ์ คนจีน
(น.290) รูป 131 กล่าวตอบที่คุนหมิง (วันกินตุ๊กแก)
(น.290) ต่อไปนี้จะเล่าเรื่องที่เป็นจุดสำคัญของงานคืนนี้ คือเรื่องการกิน.....อาหารอย่างแรกเป็นออร์เดิฟซึ่งปรุงรสพิเศษแบบยูนนาน อย่างที่สองเป็นเอ็นกวางปั้นก้อนไก่ยัดไส้ข้าวเหนียว ปรุงรส 8 อย่าง (มีเม็ดผักชี ขิง และอะไรอีกก็ไม่รู้) เห็ดสดต้มเค็ม อีกอย่างเป็นอะไรก็ไม่รู้ เรียกว่า Yunnan Spring Rolls ต่อไปเป็นสตูว์ขาไก่ ปลากับซ้อสถั่ว รายการต่อไปนั้นเขาเขียนในเมนูว่า braised dog meat หรือ หมาต้มเค็ม อาหารจานนี้ก่อให้เกิดความวิพากษ์วิจารณ์กันมาก ในโต๊ะมีปีจอตั้ง 5 คนคือคุณพูนเพิ่ม ท่านหญิงมณีรัตน์ ท่านประธานกรรมการปฏิวัติ และภรรยา และอาจารย์สารสิน (คนละรอบ) ท่านผู้หญิงมณีรัตน์อ้างว่าเป็นคนปีจอจึงไม่ยอมรับประทานหมา ท่านผู้หญิงสุประภาดาบอกว่าเป็นรักหมา แม้ไม่ใช่คนปีหมาก็ไม่อยากจะกินหมา ส่วนคนอื่นนั้น แม้จะปีหมาแต่ก็เห็นเคี้ยวหมาตุ้ยๆ
ย่ำแดนมังกร หน้า 319
(น.319) เมื่อถึงเวลาไปขึ้นรถใหม่ ท่านท้าวฯ เล่าให้ฟังว่ามีการปลูกป่าสนเพื่อกรีดยางสน ยูนนานทำไม้ได้เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ อันดับหนึ่งนั้นอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอันดับสองเป็นมณฑลเสฉวน ในยูนนานมีโรงงานบ้างแต่ทำไม่มาก
ข้าพเจ้าเห็นว่ามีทั้งข้าวเจ้าและข้าวสาลีอยู่ในเวลาเดียวกัน เลยสงสัยว่าฟางข้าวเจ้าและข้าวสาลีนี่เหมือนกันหรือเปล่า ท่านท้าวฯ บอกว่าไม่เหมือนกัน ฟางข้าวสาลีเอามาม้วนทำเป็นอะไรต่อมิอะไรได้และมุงหลังคาได้เพราะแข็ง ส่วนฟางข้าวเจ้าเอาไว้ให้สัตว์กิน
ข้อสังเกตคือเตี่ยเมืองนี้เก่งมาก เวลาถามอะไรที่ท่านท้าวฯ ไม่ทราบจะตอบว่าอะไร ท่านหันไปถามเตี่ย เตี่ยตอบได้ทุกที
ย่ำแดนมังกร หน้า 331-335
(น.331) ยูนนาน
วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2524
(น.332) ตอนเช้านี้ฝนตกพรำๆ พวกเรารับประทานอาหารเสร็จแล้วก็ลาคนเสิร์ฟโต๊ะและเจ้าหน้าที่ที่บ้าน ซึ่งทุกคนเอาใจและบริการดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเสิร์ฟโต๊ะผู้ชายคนที่เข้าใจภาษาใบ้ของข้าพเจ้า
วันนี้ท่านประธานปฏิวัติผู้นำ ท่านหัวเราะอย่างอารมณ์ดีตามเคย ข้าพเจ้ากับท่านประธานฯ ก็คุยกันเรื่องการปลูกข้าวข้าพเจ้าถามว่าได้ยินหลายคนอธิบายว่า เขาปลูกข้าวบนภูเขาแล้วสูบน้ำขึ้นไปที่คุนหมิงนี้ทำอย่างไร ท่านประธานฯ หัวเราะว่า ที่นี่ข้างบนภูเขาเขาไม่ปลูกข้าวกันหรอก ปลูกอะไรที่ไม่ต้องใช้น้ำมาก พอเข้าฤดูฝนก็มีฝนมากปลูกอะไรได้หลายอย่าง ที่คุนหมิงมีศูนย์บำรุงพืชสัตว์ พืชนี้เอาจากท้องถิ่น และมาจากมณฑลอื่น ส่วนสัตว์มีทั้งอยู่ในประเทศและจากต่างประเทศ เช่น วัวนมจากฮอลแลนด์ ผสมกับวัวของจีน การเลี้ยงโคนมนั้นใช้หญ้าธรรมชาติเป็นส่วนมาก ส่วนน้อยใช้หญ้าปลูกพิเศษ สำหรับโรงโคนมนั้นเขามีที่ดินสำหรับปลูกหญ้าพิเศษ โคนมที่เลี้ยงกันมี 3 อย่างคือ รัฐบาล กรรมสิทธิ์ และของเอกชน
ที่ยูนนานนี้มีชาวนาเลี้ยงเองและมีโรงงานนมผงด้วย ในตอนเช้าๆ รถของโรงงานจะไปซื้อนมสดจากชาวนา ตอนนี้ทางการจะส่งเสริมให้เอกชนทำ และมีการเลี้ยงแพะนมด้วย การเลี้ยงสัตว์นี้มีหน่วยงานเทคนิค สัตวแพทย์ของรัฐบาลออกไปตรวจสอบการเลี้ยงมีสถานีแนะทางวิทยาศาสตร์การปศุสัตว์ สถานีจะช่วยดูแล แต่เก็บค่ารักษาด้วย
(น.333) เดี๋ยวนี้โคนมของเอกชนเลี้ยงดีกว่าของรัฐบาลเสียอีก เพราะดูแลได้ทั่วถึง เมื่อนมสดออกมามีเครื่องฆ่าเชื้อจะเข้าโรงงานนมผง มีการทำเนยมากแต่น้อย นมแพะส่วนมากเอามาทำขนม เพราะคนจีนไม่นิยมดื่มนมแพะ คนยูนนานมีอาหารพิเศษทำจากนมแพะอย่างหนึ่ง เขาเอานมแพะต้มสกัดน้ำออก เอาแรงกดเป็นก้อนคล้ายๆ เต้าหู้ อาหารอีกอย่างหนึ่งมีนมแพะต้ม ข้างบนเป็นชั้นๆ เขาจะช้อนมาตากแห้งแล้วทอด จะฟูกรอบ คนในเมืองชอบกินนมสด ชนบทชอบนมแพะ
ข้าพเจ้าถามถึงวัวเนื้อ เขาก็บอกว่าที่ยูนนานนี้เลี้ยงวัวเนื้อตามภูเขามีหญ้ามาก วัวเนื้อนั้นส่วนมากจะเป็นวัวเนื้อพันธุ์พื้นเมืองเขากำลังผสมกับพันธุ์ดี วัวเนื้อของยูนนานตัวเล็ก จะต้องเอาวัวพันธุ์ของมณฑลอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งตัวโตมาผสม
สำหรับการฆ่าสัตว์ เขามีโรงฆ่ากึ่งอัตโนมัติ และมีตู้เย็นเก็บเนื้อ
ข้าพเจ้าถามถึงการเลี้ยงไก่ ท่านประธานฯ บอกว่า การเลี้ยงไก่ก็มีแต่ยังทำไม่ดี เสียที่มีโรคมาก เดิมทางยูนนานเลียนแบบโรงเลี้ยงไก่ที่ปักกิ่ง แต่ปรากฏว่าทำแล้วขาดทุนแยะ โรงเลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ของรัฐบาลนี้ เดี๋ยวนี้ใช้เฉพาะเป็นที่เพาะไก่ส่งให้คอมมูนเลี้ยง เดี๋ยวนี้จีนเอาพันธุ์ไก่ ไหลหัวจี หรือไก่เล็กฮอร์นซึ่งเป็นพันธุ์ไก่ที่ขนขาวทั้งตัวมาจากสหรัฐฯ และแคนาดา ไก่พันธุ์นี้ถ้าเลี้ยงให้ดีๆ แล้ว ถึงคราวออกไข่จะให้ไข่ถึง 280 ฟองต่อปี ถ้าจะกินเนื้อก็โตเร็ว 3-4 เดือนก็ได้เนื้อหลายกิโลกรัม
(น.334) ข้าพเจ้าถามถึงการเลี้ยงแกะ ท่านประธานฯ บอกว่าเขตเขาที่หนาวๆ หน่อยจะมีการเลี้ยง ในมณฑลที่มีโรงปั่นทอขนสัตว์ ไหมพรม ผ้าห่มขนสัตว์ ผ้าสักหลาด ส่วนการเลี้ยงไหมก็มีเหมือนกัน เขาก็ทอไหมคล้ายๆ ของเสฉวนแต่ยังสู้ไม่ได้
ข้าพเจ้าถามต่อถึงการเลี้ยงหมู ท่านประธานฯ บอกว่าคนยูนนานชอบหมู คนชนบทแทบทุกครอบครัวมีการเลี้ยงหมู 3-5 ตัว บางคนก็เลี้ยง 10 กว่าตัว เอกชนเลี้ยงได้ ส่วนมากเขาจะเลี้ยงเพื่อเอาปุ๋ยด้วย หมูมีหลายพันธ์ที่ได้จากเสฉวน จะดีมากแต่ของยูนนานไม่ดี ตัวเล็กแค่ 60-70 ชั่ง ก็แปลกที่ข้าพเจ้าเคยได้ยินอยู่เสมอว่าหมูของยูนนานเขาดีมาก มีพันธุ์ที่ใช้ทำเบคอนได้ดี ตัวยาวๆ ตั้งแต่มาเมืองจีนนี้พยายามถามเรื่องหมูสืบว่าที่ไหนดี ได้ยินแต่คำปฏิเสธ หมูยูนนานที่เดินกันไปมาข้าพเจ้าก็ว่าคล้ายๆ หมูชาวเขาของเรา ก่อนจะออกจากเมืองไทยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ไปถามหาหมูพันธุ์ ไห้หู ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจากแถบไหน ก็ได้แต่ถามเขาทั่ว และบอกไว้กับกระทรวงต่างประเทศจีน ให้ช่วยติดต่อถามไถ่ให้ด้วย ท่านประธานฯ เล่าต่อว่า เขตเขานั้นพวกที่เลี้ยงหมูจะไม่เลี้ยงในคอก เขาชอบเลี้ยงปล่อยๆ คนไหนที่เลี้ยงหมูด้วยปลูกผักด้วย เขาจะเลี้ยงปล่อยๆ และจะทำรั้วล้อมผักไม่ให้หมูกิน วิธีนี้ชาวเขาของไทยก็ทำ เพราะการเลี้ยงหมูปล่อยๆ จะทำให้หมูมีเนื้ออร่อยกว่า และประหยัดแรงงานคนด้วย นอกจากพวกที่อยู่ในเขตเขาแล้ว ส่วนมากจะเลี้ยงในคอก
ข้าพเจ้าเคยเห็นเองทางภาคเหนือ ว่าเขาปลูกบ้านและเลี้ยงหมูที่ภูเขาลูกหนึ่ง และปลูกผักไว้บนเขาอีกลูกหนึ่ง เพื่อ
(น.335) ป้องกันหมูกินผัก อาหารที่ชาวยูนนานใช้เลี้ยงหมูมีเศษอาหารที่คนไม่กินแล้ว สาหร่ายน้ำ กากถั่ว ข้าว เศษผัก ใบมันเทศ ต้นไม้ชนิดหนึ่งใบคล้ายกล้วย ต้นเหมือนเผือก (อันนี้จนปัญญาจริงๆ ว่ามันต้นอะไรกัน ไม่ทราบว่าท่านประธานฯ แต่งเองหรือเปล่า) มันสำปะหลัง มะละกอ (เอาลูกมะละกอดิบไปต้ม)
พอดีไปถึงทะเลสาบคุนหมิง ฝนตกไม่เห็นอะไรเลย มีหมอกเต็มไปหมด ท่านประธานฯ บอกว่า ทะเลสาบคุนหมิงนั้นจะต้องดูเวลามีแดด อย่างไรก็ตามท่านก็พาลงจากรถ ใส่เสื้อฝนกางร่ม ให้ขึ้นไปบนศาลา และบอกว่าขึ้นข้างบนอีกชั้นจะเห็นวิวทเลสาบ ท่านทูตเริ่มหน้างอแล้ว บอกว่าสำหรับวันนี้ขึ้นไปกี่ชั้นก็ไม่มีประโยชน์ ฝนก็ตกเดี๋ยวจะพาลลื่นหกล้มกันเปล่าๆ ตกลงก็ไม่ขึ้น และกะกันว่าจะไปเที่ยวที่อื่นที่จะพอมองเห็นได้ในสิ่งแวดล้อมเช่นนี้
ตามหมายกำหนดการเดิมบอกว่าเราจะไป หลงเหมิน หรือประตูมังกร ซึ่งเขาก็ไม่ได้เล่าประวัติให้ฟังว่ากระไร
ท่านประธานฯ บอกว่าทะเลสาบนี้ใช้น้ำชลประทานได้ น้ำส่วนหนึ่งใช้เลี้ยงนาได้ ธรรมดาเขาจะมีเรือแล่นในทะเลสาบ พาคนไปเที่ยว
ตอนกลับขึ้นรถ ข้าพเจ้าถามท่านประธานฯ ถึงต้นสน ท่านประธานฯ บอกว่า ที่ยูนนานนี้มีการกรีดยางสนขายมาก การกรีดยางสนจะต้องรู้วิธี ไม่ให้ต้นสนตาย ต้องระมัดระวัง ถ้าทำอย่างสะเพร่าชนิดเอาแต่ได้อาจเกิดความเสียหาย แล้วบอกว่าที่ยูนนานนี้มีโรงกลั่นยางสน
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 62
(น.62) นอกจากนั้นมีลายมือพู่กันภาษาอาหรับหรือภาษาอุยกูร์ ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ เขียนคำจากคัมภีร์อัลกุรอาน ปฏิทินมีรูปทิวทัศน์ ผู้คนจากมณฑลทางตะวันตก เช่น ซินเจียง ทิเบต ยูนนาน กวางสี (ตามนโยบายเปิดกว้างสู่ตะวันตก) นอกจากนั้นมีลายมือพู่กันจีน มีคำว่า อู๋เลี่ยง เป็นคำทางพุทธศาสนาแปลว่า ประมาณมิได้ (อมิตะ) มีตุ้ยเหลียนหรือคำขวัญคู่ติดอยู่ที่ข้างประตู รูปผลไม้ทางซินเจียง ในห้องรับแขกยังมีตู้ใส่ของขวัญหลากหลายที่ได้เป็นของขวัญจากการเดินทางไปประเทศต่างๆ
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 181,184-185
(น.181) เวลา 16:30น. ไปที่ตึกภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เมื่อเข้าไปเห็นรูปศาสตราจารย์เฉิน (รองอธิการกำลังถือต้นพิทูเนียที่ผสมใหม่ให้ประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน) รองหัวหน้าภาควิชาชื่อ ดร. กู้หงยา มาต้อนรับ นำขึ้นไปที่ห้องประชุมบรรยายสรุปเรื่องการทำงาน ฟังไม่ค่อยทัน ขอเอกสารก็บอกว่ายังไม่ได้พิมพ์ ที่จริงน่าจะขอให้เขาช่วย print เอกสารเท่าที่เขาแสดงใน powerpoint เอาเป็นว่าภาควิชาได้ทำการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ และมีการวิจัยของภาควิชาเอง การวิจัยบางอย่างก็ร่วมกับภาคเอกชน เช่น มีการปลูกถ่ายยีนที่ป้องกันโรคได้และทำให้มีผลผลิตสูงขึ้นในข้าว มีการปลูกถ่ายยีนป้องกันเชื้อไวรัส CMV ในพริกลูกใหญ่ เป็นการเพิ่มผลผลิต การทดลองภาคสนามทำที่เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และในมณฑลยูนนาน
Next >>