<< Back
มาเก๊า
ประเภทคำ
เขตบริหารพิเศษ
คำอธิบายเพิ่มเติม
มาเก๊า / โอวเหมิน
จีนเรียกว่า โอวเหมิน
จากหนังสือ
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 67
(น.67) กลับโรงแรม Golden Resources International (จินหยวน) แล่นรถผ่านสวนสาธารณะซีหู เมื่อถึงเวลาไปโรงแรม Lake View ผู้ว่าราชการมณฑลเลี้ยง
กล่าวต้อนรับว่า ขอต้อนรับในนามประชาชน 34.5 ล้านคน นับเป็นวันที่ 3 ที่มารับตำแหน่ง (เป็นคนเจ้อเจียงไม่ได้เป็นคนฮกเกี้ยน) เนื่องจากข้าพเจ้ามามณฑลฮกเกี้ยนเป็นครั้งแรก จึงขอแนะนำมณฑลนี้
ประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์
มณฑลฝูเจี้ยน (หรือฮกเกี้ยน) มีชื่อย่อว่า หมิ่น ได้ชื่อจากแม่น้ำหมิ่น (หมิ่นเจียง) ส่วนชื่อฮกเกี้ยนก็เรียกกันมานานกว่า 1,300 ปีแล้ว มณฑลนี้เปิดสู่โลกภายนอกมานาน มาร์โคโปโลบันทึกไว้ว่า ท่าเรือแห่งหนึ่งที่ฮกเกี้ยนมีพ่อค้ามาจากทั่วโลก ฮกเกี้ยนเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางแพรไหมทางทะเล เมืองฝูโจวและเมืองเซี่ยเหมินเป็นเมืองท่าที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติมาค้าขายได้ เป็น 2 แห่งในจำนวน 5 แห่งแรก มีจังหวัด 9 จังหวัด 85 อำเภอ เนื้อที่ 120,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ติดกับมณฑลกวางตุ้ง เจ้อเจียง และเจียงซี ทางใต้ใกล้กับเกาะไต้หวัน มีพื้นที่ทางทะเล 130,000 ตารางกิโลเมตร มีแนวชายฝั่งยาวกว่า 3,300 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับ 2 ในบรรดามณฑลต่างๆ ของจีน
มีประชากร 34.5 ล้านคน เป็นถิ่นฐานเดิมของชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมาก ปัจจุบันมีคนเชื้อสายฮกเกี้ยนอยู่ในต่างประเทศถึงสิบล้านคน อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด ในไทยมี 230,000 คน ฮ่องกง มาเก๊า 123,000 คน ชาวไต้หวัน 80% (ประมาณ 20 ล้านคน) ย้ายถิ่นฐานมาจากฮกเกี้ยน ผู้คนระหว่าง 2 ฝั่งจึงผูกพันกันมาก
ในด้านทรัพยากร มีอยู่มากมาย ที่เป็นพิเศษคือ
1. ป่าไม้ มีประมาณ 4% ของจีน พื้นที่มณฑล 80% เป็นภูเขา มีป่าสมบูรณ์ถึง 60.5% สูงสุดของประเทศจีน
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 93
(น.93) ภาพการประชุมวิชาการ มีผู้เขียนพู่กันจีนมอบไว้ให้ ผู้นำต่างๆ มาเยี่ยมชม มีรูปเรือหลากหลายแบบ มีแม้กระทั่งเรือดำน้ำ
มีส่วนที่ใช้ต่อเรือ ซึ่งต่อเรือได้พร้อมกัน 3 ลำ ขนาด 50,000 ตัน 2 ลำ เยอรมนีสั่งต่อลำหนึ่ง อีกลำหนึ่ง Santa Cruz de Tenerife เป็นของสเปน ลูกเรือมารอแล้ว สวีเดนสั่งต่อลำหนึ่งขนาด 17,000 ตัน อีก 2-3 ปีจะผลิตขนาด 100,000 ตัน
ดูเสร็จแล้วไปที่ โรงแรมภูเขาว่อหลง (Wolong Mountain Villa) รับประทานอาหารกลางวัน รองนายกเทศมนตรีหญิงกล่าวต้อนรับสั้นๆ แต่แรกจะมีการบรรยายสรุปละเอียด แต่อธิบดีหลี่บอกว่ารีบรับประทานอาหารดีกว่าเพราะรายการตอนบ่ายมีอีกมาก ได้ความคร่าวๆ ว่าบริเวณนี้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งหนึ่งในกลุ่ม 4 แห่ง ประเภทยกเว้นภาษี สนับสนุนให้มีการลงทุนเน้นเฉพาะให้คนไต้หวันมาลงทุน แต่คนอื่นก็มาได้ถ้าอยากจะมา จริงๆ แล้วพวกที่มามากที่สุดเป็นพวกฮ่องกง มาเก๊า และพวกอะไรก็ไม่ทราบเพราะเป็นบริษัทข้ามชาติ ทำเครื่องไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ มีการเดินเรือร่วมกับไต้หวันด้วย
ไปสนามบินขึ้นเครื่องบินสายการบินเซี่ยเหมินไปลงสนามบินอู่อี๋ซาน ใช้เวลาบินประมาณ 30 นาที เมื่อไปถึงฝนตกเล็กน้อย คนขับรถเล่าว่า ตอนที่พระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งฮอลแลนด์เสด็จมา ฝนก็ตกแบบนี้ คนขับรถเป็นพนักงานของฝ่ายวิเทศสัมพันธ์เมืองฝูโจว ขับรถมา 5 ชั่วโมงกว่าระยะทาง 350 กิโลเมตร
แล่นรถไปตามอู่อี๋ซานไปหยุดที่พิพิธภัณฑ์ในพื้นที่ (site museum) เป็นเตาเผาเซรามิก ชื่อ อวี้หลินถิง สมัยราชวงศ์ซ่ง ในกำหนดการใช้คำว่าโรงงาน พวกเราฝ่ายที่เป็นนักซื้อถึงกับเตรียมเงินจะซื้อเครื่องปั้นดินเผากัน แต่ไม่มีของขาย
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 180,195
(น.180) เมืองเฉวียนโจวมีอุตสาหกรรม 53% เกษตร 8% การบริการ 39% มีบริษัทระดับตำบล ผลิตรองเท้า วัสดุก่อสร้าง อาหารสัตว์ อาหารสำเร็จรูป หัตถกรรม ปัจจุบันเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทค การท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ เสื้อผ้าและหมวก เงินลงทุนมาจากกลุ่มธุรกิจในไต้หวัน ฮ่องกง และมาเก๊า รวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ก่อนนี้ GDP ต่ำมาก ปัจจุบันพัฒนาเข้าสู่ระดับการเมืองชั้นนำ
เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ออกจากโรงแรมไปสุสานอันศักดิ์สิทธิ์ (หลิงซานเซิ่งมู่) ตั้งอยู่บริเวณภูเขาหลิงซาน มีประวัติว่าสมัยราชวงศ์ถังสานุศิษย์ของพระมะหะหมัด 4 ท่าน เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาอิสลามในประเทศจีน คนแรกไปที่กว่างโจว คนที่ 2 ไปหยังโจว คนที่ 3 และคนที่ 4 มาที่เฉวียนโจว และมาถึงแก่กรรมที่เมืองนี้ (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 7) สุสานของท่านถือเป็นศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ใน ค.ศ. 1988 รัฐบาลขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานอนุรักษ์
(น.195) ตั้งแต่มาเก๊าคืนสู่จีนแล้ว การท่องเที่ยวในมาเก๊ามากขึ้น นักท่องเที่ยวเหล่านี้ได้แวะมาจูไห่ด้วย การไปมาหาสู่ระหว่างมาเก๊ากับจูไห่สะดวกขึ้น คนจากมาเก๊ามาซื้อของที่จูไห่ เพราะข้าวของที่จูไห่ผลิตเอง ราคาจึงถูกกว่า มีการเลี้ยงสัตว์ทะเลมาก สินค้าอุปโภคบริโภคของจูไห่มีอยู่มาก แรงงานของจูไห่ถูกกว่าแรงงานที่มาเก๊า อาหารที่มาเก๊าบางอย่าง เช่น เนื้อ ปลา ผัก ส่งมาจากจูไห่ ดอกไม้จากจูไห่ส่งไปขายที่มาเก๊า น้ำจืดที่ใช้ในมาเก๊าส่วนหนึ่งก็มาจากจูไห่ด้วย
ที่จูไห่พัฒนาอุตสาหกรรมประเภทไฮเทคและไอทีได้ดี เพราะมีฐานในการค้นคว้าวิจัยจึงปรับปรุงอุตสาหกรรมสาขานี้
ปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 16 แห่ง มหาวิทยาลัยอื่นในจีนมาเปิดวิทยาเขตที่จูไห่ เช่น มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ชิงหัว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปักกิ่ง ครุศาสตร์ ปักกิ่ง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาร์บิน มหาวิทยาลัยจงซาน เป็นต้น
พัฒนาท่าเรือได้เป็นอย่างดี อยากเชิญคนไทยมาลงทุน และท่องเที่ยวพักผ่อน
เข้าห้องน้ำแล้วขึ้นเครื่องบินเดินทางต่อไปไหโข่วในมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ)
มาถึงสนามบินเมืองไหโข่ว มณฑลไหหลำ มืดแล้ว มีคณะของคุณวันชัย จิราธิวัฒน์ และคุณทรงศักดิ์ เอาฬาร จากสมาคมไหหลำไทยมารับ นั่งรถมาที่โรงแรม Mandarin ผู้จัดการมาจากสิงคโปร์
รับประทานข้าวมันไก่ตอน
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 225
(น.225) เขาภูมิใจว่าฉงไห่มีประวัติยาวนาน เป็นบ้านเกิดของชาวจีนโพ้นทะเลมากมาย มีพื้นที่ 1,690 ตารางกิโลเมตร มีชาวจีนโพ้นทะเลตระกูลต่างๆ 554,000 คน ส่วนใหญ่ไปอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย มีแม่น้ำว่านฉวน เมืองชายทะเลโป๋อ๋าว ประชากร 10,000 คนเท่านั้น และมีศูนย์ประชุมซึ่งเร็วๆ นี้จัด Asia Forum ต่อไปจะสร้างหอประชุมนั่งได้ 3,000 คน และสร้างที่พักมากขึ้น
ที่นี่มีตึกทำงานของทหารหญิงรุ่นปัจจุบัน อายุราว 20-30 ปี ร่วมฝึกทหารทุกปี หน้าที่ประจำวันคือ การพัฒนาชุมชน
คนฉงไห่มีการศึกษาสูง เป็นที่แรกในไหหลำที่จัดการศึกษาฟรี 9 ปีสำเร็จ นักเรียนจากที่นี่ไปสอบเรียนต่อได้ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยชิงหัวกันมาก
ดูแผนที่สถานที่ท่องเที่ยว มีซานย่า หนานซาน และโป๋อ๋าว แผนที่แสดงสถานที่ปฏิวัติในเกาะไหหลำ มีผู้ที่สละชีวิตเพื่อการปฏิวัติ
สภาพแวดล้อมที่นี่ดีมาก ธรรมชาติสวยงาม ประวัติศาสตร์น่าสนใจศึกษา มีที่ประชุม มีการลงทุนจากชาวจีนโพ้นทะเลทั้งมาเก๊า ฮ่องกง และที่อื่นๆ GDP สูงถึง 4,200 ล้านหยวน รายได้ต่อคน 3,800 หยวนต่อปีในชนบท ส่วนในเมืองได้ประมาณ 6,000 หยวน
เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงามหน้า7,17
(น. 7) วันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2542
มาถึงปักกิ่งประมาณบ่าย 5 โมงเวลาท้องถิ่น คราวนี้ผู้รับรองประจำตัวคือ ท่านทูตจังเหลียน เป็นผู้ติดตามฝ่ายจีน ท่านทูตจังเหลียนนี้เคยเดินทางไปกับข้าพเจ้าตอนที่ไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนเมื่อ พ.ศ. 2537 ท่านทูตเล่าว่าตอนนี้กำลังสร้างสนามบินใหม่ให้เสร็จทันงานฉลองครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ และจะใช้สนามบินปัจจุบันเป็นสนามบินสำหรับสายการบินในประเทศ ท่านกล่าวต่อไปว่าขณะนี้จะเห็นได้ว่ากำลังซ่อมแซมสถานที่สำคัญหลายๆ ที่เพื่อเตรียมการให้ทันงานเฉลิมฉลองที่มีความหมายยิ่งต่อชาวจีน ส่วนเดือนธันวาคมก็จะมีการฉลองที่มาเก๊ากลับคืนเป็นของจีน ที่เทียนอันเหมินมีการปูหินใหม่และปลูกหญ้า
(น. 17) ท่านรองนายกรัฐมนตรีพูดถึงเรื่องการแก้ไขมลภาวะในน้ำที่ทะเลสาบเตียนฉือในนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน และการแก้ไขสภาพอากาศเป็นพิษโดยใช้รถไฟฟ้า รถยนต์ก็ให้ใช้น้ำมันไร้สารตะกั่ว แก้ไขระบบท่อไอเสีย พูดกันถึงเรื่องการจัดกีฬาโอลิมปิกว่าจะพยายามจัดใน ค.ศ. 2008 หวังว่าไทยจะสนับสนุน
เมื่อเลี้ยงเสร็จกลับมาที่อาคาร 10 ข้าพเจ้าวิ่งอยู่ในห้องประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วจึงลงมือเขียนหนังสือ
อ่าน China Daily มีเรื่องการเตรียมกฎหมาย Basic Law ที่จะใช้ในมาเก๊าให้ทันในวันที่ 20 ธันวาคมปีนี้ นอกจากนั้นมีเรื่องความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา มีการ
เจียงหนานแสนงามหน้า341
(น. 341)แห่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง มณฑลยูนนานนี้มีสนามบินมากที่สุด มาตรฐานดีที่สุด การตัดถนนก็เร่งทำให้มากขึ้น พัฒนาโทรคมนาคมไปอำเภอต่างๆ โทรศัพท์ และโทรศัทพ์มือถือ
ในด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศนั้นมีความร่วมมือกับไทยมากที่สุด ถึงแม้จะลดน้อยไปบ้างในช่วงวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้นมีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับผู้ใหญ่ในพรรคและในระดับรัฐบาลมณฑล ผู้ว่าราชการฯ หลี่เองไปไทย 3 ครั้ง ไปเยือนตั้งแต่เหนือจดใต้ นักท่องเที่ยวไทยก็มาที่ยูนนานมากที่สุด และคนยูนนานก็ไปเที่ยวเมืองไทยมากเช่นกัน
โครงการลงทุนจากต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดคือ โครงการโรงไฟฟ้าที่จิ่งหงที่ไทยเป็นผู้ลงทุน นอกจากนั้นยังมีสำนักงานของธนาคารไทย ฉะนั้นถึงแม้ว่าเกิดวิกฤติการณ์ก็เชื่อว่าความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจยังมั่นคงอยู่
รัฐบาลกลางมอบให้จัดงาน EXPO’99 มีรองนายกรัฐมนตรีหลี่หลานชิงเป็นประธาน ผู้ว่าราชการฯ หลี่เองเป็นรองประธานเตรียมการและผู้จัด มีประเทศต่างๆ และองค์การระหว่างประเทศมาร่วมงานด้วยจำนวนมาก ประเทศที่มาจัดสวนมี 34 แห่ง รวมทั้งประเทศไทย ได้ไปตรวจงานมาแล้ว เห็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยกำลังเร่งมือจัด มี 80 กว่าประเทศที่เข้าร่วมในการแสดงต้นไม้ในร่ม ในจีนเองก็มีมณฑลต่างๆ ภูมิภาคปกครองตนเอง ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวันก็มาช่วย มีการจัดสวนกลางแจ้ง ปลูกพืชต่างๆ เสียค่าใช้จ่ายในการจัด การรับรอง และอื่นๆ รวมๆ แล้วใช้งบประมาณมาก
เจียงหนานแสนงามหน้า357
(น. 357) นั่งรถต่อไปที่หมายสุดท้าย ผ่านสวนอังกฤษและสวนออสเตรเลีย ไปที่ศาลาจีน แสดงสิ่งของจากมณฑลต่างๆ ในจีน รวมทั้งฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน ลักษณะคล้ายๆ ของขวัญที่แต่ละมณฑลมอบให้ฮ่องกงตอนที่กลับคืนสู่จีน อย่างที่ข้าพเจ้าเคยเขียนไว้ในหนังสือคืนถิ่นจีนใหญ่
ที่จริงมีอะไรน่าสนใจน่าดูอีกมาก แต่ถึงเวลาที่เราต้องกลับแล้ว ได้ของที่ระลึก งานนี้ดูเหมือนว่าจีนลงทุนมาก เมื่อ พ.ศ. 2533 ข้าพเจ้าเคยได้ไปร่วมงานเกษตรแบบเดียวกันนี้ที่เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ตามที่ข้าพเจ้าได้เขียนหนังสือบันทึกไว้ชื่อ ชมดอกไม้ไกลบ้าน ยังไม่รู้สึกว่าน่าสนใจขนาดนี้ ทั้งที่งานนี้ยังไม่เปิด เท่ากับสร้างเมืองใหม่ไปเลย ในบริเวณนี้มีภัตตาคาร โรงแรม ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ครบถ้วน
เข้าใจว่าคงมีคนมาเที่ยวงานเกิน 10 ล้านคน บัตรเข้างาน 100 หยวน ถือว่าค่อนข้างแพง เพราะเขาลงทุนมาก แต่ว่าครู นักเรียน ผู้ที่มาเป็นกลุ่ม จะได้รับการพิจารณาราคาพิเศษ ชาวต่างประเทศคิดว่าจะมีสัก 80 ประเทศ แต่ที่จริงแล้วมีมากกว่านั้น ที่เขาไม่หวังสูงมากนักเพราะในช่วงนี้หลายประเทศประสบวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ มีปัญหาการเมืองและมีการเลือกตั้ง งานนี้กลายเป็นเวทีสัมมนาทางวิชาการที่ผู้เชี่ยวชาญพืชสวนจากทั่วโลกจะมีโอกาสมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน กระทรวงการต่างประเทศจีนช่วยมากเรื่องการติดต่อและการโปรโมตงาน ยังมีปัญหาเรื่องอากาศ เรื่องจัดโรงแรมให้พอ เรื่องหาคนพูดภาษาอังกฤษได้มารับรองแขก
คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 31
(น.31) 2. คณะวิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น ภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์ ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา
3. คณะวิศวกรรมศาสตร์ แบ่งเป็น ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมโครงสร้าง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมออกแบบ
4.คณะนิติศาสตร์และธุรกิจ แบ่งเป็น ภาควิชากฎหมาย ภาควิชาเศรษฐศาสตร์
5.คณะแพทยศาสตร์ เป็นหลักสูตร 5 ปี
6.คณะการศึกษาผู้ใหญ่
นอกจากนี้ยังมีสถาบัน และศูนย์วิจัยอีก 15 แห่ง
มหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตไปแล้วกว่า 6,000 คน และเปิดอบรมบุคคลากรให้รัฐไปกว่า 1,000 คน ขณะนี้มีนักศึกษาประมาณ 5,000 คน และผู้เข้ารับการอบรม 626 คน มีนักเรียนจากต่างประเทศหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย สิงคโปร์ อเมริกา ออสเตรเลีย มาเลเซีย นอกจากนั้นยังมีที่มาจากฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน
การเรียนการสอนเน้นด้านวิทยาศาสตร์ ได้เชิญอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาสอน และส่งอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยไปศึกษาต่อ ฝึกอบรม และดูงานที่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เบลเยี่ยม ออสเตรเลีย และฮ่องกง ให้ไปร่วมประชุมสัมมนาระดับนานาชาติ ทำวิจัยร่วมกับนักวิชาการต่างประเทศ
ปรัชญาในการศึกษาคือ จะต้องยึดหลักจริยธรรม ส่งเสริม
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 96,101,102,103
(น.96) รูป102 ศูนย์ศิลปะหัตถกรรมเมืองโฝซาน มีโคมจีนหลายแบบ
(น.96) ที่หมายที่ 2 คือศูนย์ศิลปะหัตถกรรมพื้นเมืองโฝซาน ผู้จัดการศูนย์มาต้อนรับศูนย์นี้เทศบาลเมืองโฝซานตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1956 โดยที่กั๋วโมโร่เป็นผู้สนับสนุนและเขียนป้ายชื่อให้ มีความประสงค์ที่จะวิจัยและรักษางานฝีมือพื้นเมือง ในการดูแลได้รับงบประมาณท้องถิ่นของโฝซาน มีชาวต่างประเทศมาเข้าชมมาก และรับสั่งของด้วยเป็นที่แสดงและผลิตศิลปหัตถกรรม เราไม่มีเวลามากก็เลยเข้าชมแต่ละแผนกอย่างเร็วๆ ผ่านๆ ไป โคมจีนแบบที่ตอนเด็กๆ เราซื้อมาเล่นอันเล็กๆ เดิมใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น เอาไม้เป็นโครง และติดกระดาษ ประดับเปลือกไข่ หญ้า แต่ปัจจุบันนี้ใช้พลาสติก ที่นี่มีแบบต่างๆ กว่า 100 แบบเขาส่งออกไปขายหลายแห่ง เช่น ที่สิงคโปร์ มาเลเซีย มาเก๊า โปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ บางทีก็ไม่ได้ส่งออก แต่ไปแสดงนิทรรศการเฉยๆ เช่น ไต้หวัน
เครื่องปั้นดินเผาเขียนสี มีรูปกวนอิม ม้า ตุ๊กตาเด็กเล่นเล็กๆ ผลไม้ซึ่งทำเหมือนจริงมาก เช่น แห้ว แอปเปิ้ล ท้อ ส้ม ยังมีอาหารผัดในจาน เช่น ถั่วลันเตาผัดปลาหมึก
(น.101)
5. รับผิดชอบงานก่อสร้างด้านวิศวกรรมโยธาที่เกี่ยวกับการชลประทานในแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง
คณะกรรมการมีเจ้าหน้าที่ประมาณ 1,200 คน มีวิศวกรระดับศาสตราจารย์ 15 คน วิศวกรชั้นสูง 119 คน และวิศวกรทั่วไป 307 คน มีอุกรณ์ที่ทันสมัย สามารถวางแผนผังจากการใช้ประโยชน์จากที่ราบลุ่มแม่น้ำจูเจียง ซึ่งเป็นโครงการของรัฐบาล นอกจากนั้นยังสร้างระบบการจ่ายน้ำระหว่างเมืองจูไห่และมาเก๊าตามโครงการพัฒนาเมืองและความร่วมมือเกี่ยวกับการก่อสร้างงานด้านการชลประทานกับหน่วยงานในประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และประเทศไทย
เมื่อไปถึงสำนักงาน นายเสวียเจี้ยนเฟิง ประธานคณะกรรมการโครงการชลประทานจูเจียงต้อนรับ พร้อมกับนายหวังลี่หยู วิศวกร (ที่ข้าพเจ้าลองให้หาตัว) นายหลูหุ้ยจาง หัวหน้าสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ของโครงการลุ่มแม่น้ำจูเจียง ไปที่ห้องประชุมมีโต๊ะสี่เหลี่ยม ไทยนั่งฟากหนึ่ง จีนนั่งฟากหนึ่ง คุณเสวียกล่าวต้อนรับ มีล่ามแปลเป็นภาษาอังกฤษ กล่าวเท้าความถึงการที่คุณหวังลี่หยูได้ไปทำงานวิจัยในประเทศไทยร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ไทยในด้านรีโมตเซนซิ่งเป็นเวลา 10 ปีมาแล้ว จีนเริ่มงานด้านรีโมตเซนซิ่งนี้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1979 ตัวเขาเองได้ไปดูงานนี้ที่เมืองไทยประมาณ ค.ศ. 1993-1994 มีผู้แทนจากจีนไปดูงานด้านนี้ 2 คณะ และร่วมกันทำงานวิจัยในด้านการตกตะกอนและการที่ดินถูกกัดเซาะ ( Sedimentation and Soil Erosion) การทำงานได้รับความร่วมมือจากสภาวิจัยแห่งชาติ ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้
(น.102) โครงการชลประทานแบ่งงานวิจัย ดังนี้
งานวิจัยทางด้านอุทกศาสตร์ (Hydraulic Research)
การวิจัยโดยใช้ รีโมตเซนซิ่ง (Research on the Application of Remote Sensing Technology)
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Instrumentation and Automation Research)
งานที่ศึกษามีหลายอย่าง เช่น การศึกษาเรื่องปากน้ำ (estuary) แม่น้ำจูเจียงในด้านการตกตะกอนที่ทำให้ทางเดินเรือตื้นเขิน การศึกษาเรื่องตะกอนนี้เป็นประโยชน์ในการสร้างสะพานด้วย ศึกษาในเรื่องตะกอนทางเมืองมาเก๊า ดินแดนที่ได้จากการถมทะเล ท่าเรือใหม่ของมาเก๊า ข้อมูลที่ใช้ในโครงการเหล่านี้ส่วนมากเป็น Landsat MSS และ TM ระหว่าง ค.ศ. 1973-1995 ใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์
ขึ้นไปชั้นบน ดูเครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่อง scan และ printer สีที่ใช้สำหรับข้อมูลรีโมตเซนซิ่ง digitizer นำข้อมูลภาพดาวเทียวจาก CCT (ใช้ทั้งข้อมูลจาก Landsat และ SPOT) มา load ในคอมพิวเตอร์ ข้อมูลนี้เก็บมาประมาณ 20 ปี ใช้ซอฟต์แวร์หลายอย่าง ที่แสดงให้ดู มีหลายเรื่อง เช่น
Dynamic Monitoring of Pearl River Estuary ศึกษาเรื่องการไหลของกระแสน้ำ ปรับปรุงปากอ่าว
(น.102) รูป 107 นิทรรศการที่แสดงในสำนักงานชลประทาน
(น.103) รูป 108 นิทรรศการที่แสดงในสำนักงานชลประทาน
(น.103) เรื่อง Land Reclamation ต้องการศึกษากระแสน้ำเพื่อสร้างคันกั้นน้ำ ให้ดินมาเกาะ
เรื่องการวางแผนร่องน้ำเพื่อการเดินเรือ ศึกษาว่าร่องน้ำไหนเป็นร่องน้ำใหญ่
การศึกษาสภาพน้ำ สิ่งแวดล้อมของทะเลรอบเกาะฮ่องกง การวางแผนพัฒนาบริเวณมาเก๊า
สร้างฐานข้อมูลสำหรับการติดตามศึกษาเรื่องภัยน้ำท่วมในลุ่มแม่น้ำจูเจียง โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ ค.ศ. 1980 มีการสำรวจภาคพื้นดินด้วย
การเขียนแผนที่ฝั่งทะเล เขียนเส้นระดับ บันทึกระบบน้ำ และฐานข้อมูลต่างๆ ใช้โปรแกรม Photoshop
ทำโมเดลทางคณิตศาสตร์ของบริเวณแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณตะวันตกของมาเก๊า โปรแกรมแสดงผลได้ทั้งเป็นภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง พิมพ์ออกทาเป็นรายงานได้
การศึกษาเรื่องกระแสน้ำที่ไหลเวียนของน้ำในอ่าว น้ำขึ้นน้ำลง เวลาที่กระแสน้ำเปลี่ยนทิศทาง การ Calibrate เครื่องมือวัด
ดูเสร็จแลกเปลี่ยนของขวัญ คุณหวังลี่หยูให้รูปที่พบกันครั้งก่อน
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 128,156
(น.128) ชาวเสิ่นเจิ้นรักเมืองของตนและรักพรรคมาก ภูมิสถานเมืองนี้ได้เปรียบเพราะว่าคล้ายกับฮ่องกง และติดต่ออยู่กับฮ่องกงและมาเก๊านอกจากนั้นยังได้ทรัพยากรมนุษย์มาจากทั่วประเทศ
ขณะนี้กำลังเตรียมการเรื่องการรับฮ่องกงคืน และการเตรียมพัฒนาประเทศในขั้นที่ 2 จึงมีภาระหนักอยู่เบื้องหน้า ภารกิจในขั้นต่อไปจะมีรายละเอียดอย่างไรต้องรอฟังการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 15 ที่จะมีขึ้นเร็วๆนี้
ข้าพเจ้าถามว่าการปรับปรุงเมืองขั้นที่สองเป็นอย่างไร เขาว่าขั้นแรกเป็นการปูพื้นฐาน ก่อสร้าง ขั้นที่สองเป็นการปรับปรุงโครงสร้างการผลิต มีการวางระบบบริหารบริษัท โรงงานต่างๆ ใช้เทคโนโลยีและวิทยการขั้นสูง
รับประทานอาหารกลางวัน รองประธานสภาหลิวเป็นเจ้าภาพเขาเล่าถึงแหล่งท่องเที่ยวในเมืองเสิ่นเจิ้นที่อยากพาไปดูแต่ไม่มีเวลาได้แก่ หมู่บ้านชนเผ่ากลุ่มน้อย หน้าต่างโลก และสวนซาฟารี เป็นต้น เขาเล่าว่าเวลานี้มีงานมากเพราะจะต้องทำหน้าที่ในสมาคมสตรีเป็นรองประธานสหบาลกรรมกร สหพันธ์เยาวชน ที่จริง เขาเป็นคนหูหนาน แต่เพิ่งมาอยู่ที่นี่เมื่อ ค.ศ. 1989 ที่นี่มีอุตสาหกรรมส่งออกที่น่าสนใจ เช่น เครื่องไฟฟ้า นาฬิกา รถจักรยานยนต์ คอมพิวเตอร์ มีท่าเรือคอนเทนเนอร์ใหญ่ระดับโลก ผลิตตู้คอนเทนเนอร์ขายส่งออก มีชื่อเสียง รายได้การคลังก็สูง พูดถึงเมืองเสิ่นเจิ้นนี้เขาบอกว่ามี กฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด คนที่จะมาทำงานได้จะต้องตรวจสอบว่าเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถพอสมควร แม้แต่คนงานก็ต้องมีความรู้ถึงชั้นมัธยมศึกษา มาอยู่ที่นี่ก็เป็นโอกาสให้
(น.156) นอกจากการสอบความรู้จากหนังสือขงจื๊อแล้ว ยังให้บอกชื่อผู้ค้าฝิ่นและให้ชี้แจงวิธีหยุดยั้งการค้าฝิ่น พยายามจับฝิ่นรวมทั้งฝิ่นของชาวต่างประเทศโดยผ่านพ่อค้าจีน เขาพยายามมากที่จะไม่ก่อสงคราม พยายามเขียนจดหมายกราบทูลสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียไม่ให้ทรงสนับสนุนการค้าฝิ่นโดยให้เห็นแก่ศีลธรรม แต่ไม่ได้ผล เพราะว่าคนในอังกฤษก็ยังสูบฝิ่น พวกพ่อค้าฝิ่นทั้งหลายแหล่ต่างไปล้อบบี้สภาให้ต่อต้านมาตรการของจีน ตอนแรกสภายังไม่ประกาศสงครามกับจีน แต่ส่งกองทัพเรือไปจีนภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลเรือยอช อีเลียต นายพลหลินขับไล่อังกฤษออกจากกวางตุ้ง มาเก๊า อังกฤษก็เลยไปที่ฮ่องกง หยุดการค้ากับจีน ช่วงนั้นอเมริกันเลยทำหน้าที่พ่อค้าคนกลางอย่างสบาย คนจีนที่ฮ่องกงก็ต่อต้านอังกฤษ
สนธิสัญญานานกิง ค.ศ. 1842 (ตรงกับรัชกาลที่ 3) ข้อที่มีผลกับไทยอย่างหนึ่งคือ การยกเลิกการค้าผูกขาดแบบสิบสามห้าง ข้อนี้ทำให้ข้อได้เปรียบของไทยที่ค้าโดยตรงในระบบบรรณาการหมดไป
ข้าพเจ้าเคยได้เห็นแผนที่โบราณที่ผู้รู้กำหนดอายุจากปีศักราชที่เขียนไว้ว่าอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีเส้นทางการเดินเรือจากไทยถึงเทียนสิน และไปทางคลองใหญ่จนถึงปักกิ่ง กับอีกแผ่นหนึ่งแผนที่บริเวณอ่าวกวางตุ้ง มีที่ตั้งด่าน บ้านพักราชทูต และสิบสามห้าง แสดงว่าแผนที่นั้นต้องทำก่อนสงครามฝิ่น ได้ทราบว่ารัชกาลที่ 3 ทรงสดับตรับฟังข่าวคราวเรื่องการคุกคามของจักรวรรดินิยมในจีนอยู่สม่ำเสมอจากราชทูตและพ่อค้าที่ไปมาระหว่างระหว่างจีนและไทย
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 198
(น.198) รับประทานเสร็จแล้วยังเหลือเวลาอีกนานก่อนจะถึงพิธีส่งคืนฮ่องกง จึงเดินไปเดินมาอยู่ในศูนย์ประชุมอันใหญ่โตดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เข้าห้องน้ำล้างหน้า สีฟันได้เสียด้วยซ้ำ เดินเข้าไปในห้องผู้ใหญ่จีน ผู้ใหญ่อังกฤษ (ที่ Baroness Thatcher นั่ง) เดินออกไปข้างนอกเจอลอร์ดและเลดี้วิลสันอีก เจอคุณหลู่ผิง ซึ่งเป็นผู้อำนวยการของสำนักงานฮ่องกง มาเก๊า ขึ้นกับคณะรัฐมนตรี (State Council) เป็นฝ่ายปักกิ่งที่ดูแลฮ่องกงและมาเก๊า คุณหลู่ผิงดูแลเรื่องฮ่องกง มาเก๊ามาร่วม 20 ปีแล้ว เขาเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นในเซี่ยงไฮ้ก่อนการปลดปล่อย จึงน่าจะรู้จักระบบตะวันตกดี ข้าพเจ้าได้พบเขาเมื่อเขามากรุงเทพฯ และเขาอธิบายนโยบายของจีนต่อฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ พบผู้ว่าฯ Chris Patten ก็ชมเขาว่ากล่าวสุนทรพจน์ดีมาก
ก่อนถึงเวลามีพิธีข้าพเจ้าเข้าไปในห้องพิธีที่ Grand Hall Level 6 ซึ่งจุแขกได้ประมาณ 4,000 คน พอเข้าไปก็งงชะงักตามเคยเพราะไม่รู้ว่าจะต้องนั่งที่ไหน มีเจ้าหน้าที่มาว่าว่าทำไมไม่ไปนั่งที่ ยืนตรงนี้เกะกะทางที่ทหารจะเดินแถวเข้ามา ข้าพเจ้าว่าไม่ได้อยากยืน แต่มันหาที่ไม่ได้จริงๆ ไอริสหันไปพูดเป็นภาษากวางตุ้งว่าอะไรก็ไม่ทราบ คนนั้นเขาเลยไปเรียกใครมาอีกคน ซึ่งพยายามชี้ที่ให้เดินไป และทำหน้าเหมือนข้าพเจ้านี่ยุ่งมาก ข้าพเจ้าก็เลยเดินไปตามมือเขาชี้ไปเจอเข้ากับท่านรัฐมนตรีประจวบและภรรยา และท่านปลัดกระทรวงฯ พวกเขาก็เลยบอกว่าให้ข้าพเจ้านั่งตรงนี้แหละ ที่จริงก็ควรถูกแล้ว
ก่อนพิธีมีวงโยธวาทิตของทหารจีนกับทหารอังกฤษเล่นสลับกัน เล่นเพราะทั้งสองวง ท่านรัฐมนตรีชี้ว่าทหารจีนที่เขาเลือกมานี้รูปร่างสูงใหญ่ทั้งนั้น
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 216,222,223,225
(น.216) พิธีการในช่วงนี้มีดังนี้ เมื่อบุคคลผู้ใหญ่เข้ามาพร้อมกันแล้ววงดุริยางค์บรรเลงเพลงชาติ ประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมินกล่าวสุนทรพจน์ ดังนี้
ท่านสุภาพสตรี ท่านสุภาพบุรุษ และเพื่อนร่วมชาติทั้งหลาย
วันนี้รัฐบาลจีนและอังกฤษได้จัดพิธีส่งมอบฮ่องกง ประกาศว่าฮ่องกงกลับเป็นของจีน ขณะนี้มีการสถาปนาเขตบริหารพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นทางการ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญ มีผลอย่างมากต่อฮ่องกง ต่อจีน และแม้แต่ต่อโลกทั้งโลก ข้าพเจ้าขอถือวันนี้เป็นวันมงคล ไม่เฉพาะแต่สำหรับเพื่อนร่วมชาติชาวฮ่องกง แต่สำหรับชาวจีนและชาติจีนทั้งหมด
ในโอกาสประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่นี้ ในนามของรัฐบาลกลางของจีนและชาวจีนทุกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีในการที่ฮ่องกงกลับคืนสู่มาตุภูมิและการสถาปนาเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ข้าพเจ้าขอถือโอกาสต้อนรับเพื่อนร่วมชาติชาวฮ่องกง 6 ล้านคน ที่กลับสู่ครอบครัวใหญ่แห่งมาตุภูมิ และแสดงความขอบคุณเพื่อนร่วมชาติในฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน กับทั้งชาวจีนโพ้นทะเลที่ช่วยในการกลับคืนจีนของฮ่องกง และผู้รักชาติทุกคนที่ช่วยในการรวมฮ่องกง ข้าพเจ้าขอขอบคุณเพื่อนชาวต่างประเทศที่ใส่ใจและสนับสนุนการที่ฮ่องกงกลับคืนสู่จีน ในนามของรัฐบาลจีน ข้าพเจ้าใคร่ขอต้อนรับแขกผู้มีเกียรติและมวลมิตรที่มาพร้อมกันในพิธีนี้
การกลับคืนสู่มาตุภูมิของฮ่องกงเป็นหน้าที่สว่างไสวของพงศาวดารชาติจีน ตั้งแต่นี้ต่อไปเพื่อนร่วมชาติฮ่องกงจะเป็นนายที่นี่อย่างแท้จริง ในขณะที่พงศาวดารของฮ่องกงพลิกหน้าใหม่
(น. 222)ฮ่องกงได้กลายเป็นบ้านของชาวต่างประเทศหลายคนที่อาศัยอยู่ที่นี้ไปแล้ว ในอนาคตฮ่องกงยังคงเป็นบ้านของพวกเขา พวกเขาสามารถอาศัยอยู่และทำงานอย่างปลอดภัยด้วยความพึงพอใจ ในฮ่องกงทุกคนจะมีโอกาสที่จะแข่งขันอย่างเท่าเทียมกัน และทุกคนจะมีสิทธิและเสรีภาพโดยความคุ้มครองของกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นคนเชื้อชาติหรือสีผิวใด
เมื่อตกลงปัญหาฮ่องกงสำเร็จ รัฐบาลจีนและอังกฤษได้แสดงให้ประชาคมระหว่างประเทศได้เห็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาทางประวัติศาสตร์ระหว่างรัฐโดยสันติวิธี ณ ที่นี้ข้าพเจ้าของแสดงความขอบคุณชาวอังกฤษทั้งที่อยู่ในรัฐบาลและไม่ได้อยู่ในรัฐบาลที่มีส่วนร่วมในการทำให้การเปลี่ยนแปลงในฮ่องกงเป็นไปได้อย่างราบรื่น เรามั่นใจว่าความสำเร็จในการแก้ปัญหาฮ่องกงจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ
จีนเองมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจและชีวิตทางสังคมเนื่องมาจากผลของการปฏิรูป การเปิดประเทศ และแรงกระตุ้นจากขบวนการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ผลแห่งความสำเร็จเหล่านี้สืบเนื่องมาจากเส้นทางสู่สังคมนิยมตามแบบจีนที่เราถือปฏิบัติ เราจะถือการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นงานหลัก โดยไม่หันเหไปด้านอื่น พยายามปฏิรูปให้ลึกเข้า เปิดกว้างขึ้นไปอีกสู่โลกภายนอก และผลักดันความก้าวหน้าทางสังคม เราจะสนับสนุนการรวมตัวกับมาตุภูมิโดยอาศัยหลัก “หนึ่งประเทศ สองระบบ” เพื่อให้แน่ใจว่าการกลับคืนของมาเก๊าจะเป็นไปอย่างราบรื่น และในที่สุดจะสามารถแก้ปัญหาไต้หวันได้ เราจะปฏิบัติตามนโยบายต่างประเทศที่เป็น
Next >>