<< Back
" ใต้เมฆที่เมฆใต้ วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม 2538 "
(น.134) รูป 145 ยามเช้า
(น.134) วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม 2538
วันนี้แย่มาก ตื่นสายเพราะนาฬิกาตาย ที่ห้องรับประทานอาหารเช้าเขาเปิดเพลงที่ท่านบัวเงินร้องกับ สุนารี เปลี่ยนอีกบรรยากาศ ในบรรยากาศแบบนี้เลยขอนมข้นหวานมาใส่กาแฟแทนน้ำตาล
ออกไปที่ท่าน้ำ ไปลงเรือชื่อเรือเจ้าสุธน ล่องแม่น้ำโขง ถ้าจะเดินทางไปเชียงแสน เชียงของ ใช้เวลา 8 ชั่วโมง ขณะนี้แถบริมแม่น้ำโขงหรือที่เรียกว่าแม่น้ำล้านช้าง
(หลานชางเจียง) มีทั้งการสร้างสะพานสร้างโรงแรม เพื่อการท่องเที่ยว เรือผ่านที่ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นหอคำเมือง สิบสองปันนา (ที่ประทับของเจ้าผู้ครองเมืองสิบสองปันนา) แถบเดียวกันเป็นที่เลี้ยงลิงของกษัตริย์สมัยก่อน เส้นทางแถวนี้มีเชียงรุ่ง
(น.135) รูป 146 ยามเช้า
(น.135) เมืองลา เมืองไฮ แถบต้าล่อทางไปพม่า ริมน้ำมีปาล์มสิบสองปันนาขึ้นเองโดยธรรมชาติ เนื่องจากในเรือมีเวลาอยู่นานเลยขอจัดให้มีการร้องเพลงกัน ผู้ว่าฯ
ขับซอเพลงไทลื้อ เราร้องเพลงแสบหัวใจ ประธานสภาสตรีสิบสองปันนาร้องเพลงพื้นบ้านของชาวไต่ ผู้ช่วยทูตทหารอากาศร้องเพลงเย่วเหลียงไต้เปี่ยวหว่อเตอะซิน แปลว่า
“แสงพระจันทร์สกาวเป็นตัวแทนหัวใจของฉัน” มาดามเฉินร้องเพลงหูหนาน จากนั้นก็คุยกันถึงเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องวัฒนธรรม 5 เชียง และสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ วัฒนธรรม 5 เชียง ได้แก่ เชียงรุ่ง เชียงตุง เชียงราย เชียงทอง (หลวงพระบาง) และเชียงใหม่ ส่วนเชียงแสน และเชียงของนั้นเป็นระดับอำเภอ
(น.136) รูป 147 นั่งในเรือล่องแม่น้ำล้านช้าง (แม่น้ำโขง)
รูป 148 นั่งในเรือล่องแม่น้ำล้านช้าง (แม่น้ำโขง)
(น.137) รูป 149 นั่งในเรือล่องแม่น้ำล้านช้าง (แม่น้ำโขง)
(น.138) รูป 150 ตลาดเมืองฮำ
(น.138) ไปเมืองฮำ ท่านผู้ว่าฯ บอกว่าเป็นคนเมืองฮำนี้เอง เดินเข้าไปในตลาดมีของขายหลายอย่าง
พอดีไปเห็นขนนกยูงจึงซื้อเพื่อไปปักแจกันถวายพระสยามเทวาธิราช สินค้าแถวนี้มีทุกอย่าง ทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค ของเล่นๆ จากไทย เขมร ของจีน ฯลฯ มีผีเสื้อลายต่างๆ สร้อยคอ ผลไม้ต่างๆ
ไปหมู่บ้านสวนมอญ (บ้านชาวลื้อหม่านชุนม่าน) ตำบลก๋านหล่านป้า เข้าไปที่วัดมหาสุทธาวาส (หม่านชุนม่านต้าโฝซื่อ) เจ้าอาวาสไม่อยู่ องค์ที่มาต้อนรับแทนชื่อ พระดำ อนาลโย อยู่วัดพระธาตุหลงถั่น
(น.139) รูป 151 ตลาดเมืองฮำ
รูป 152 เยี่ยมหมู่บ้านสวนมอญ (บ้านชาวไทยลื้อ)
(น.140) รูป 153 วัดมหาสุทธาวาส
(น.140) วัดนั้นกับวัดนี้มีพระองค์เดียว เณร 10 กว่าองค์ ต่อไปเมื่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติแถบที่วัดป่าเชต์แล้วจะได้เปิดการสอนถึงนักธรรมตรี
ท่านเป็นพระ 1 ใน 10 ที่ได้ไปเรียนที่วัดพระบาทตากผ้า ตอนนั้นเจ้าแสนเมืองเป็นผู้พาไป ทางธรรมเรียนหนังสือล้านนา
ส่วนทางโลกก็เรียนหนังสือจีนตามหลักสูตรของรัฐบาล พุทธศาสนาที่นี่อยู่ในขั้นเริ่มต้น วันงานทางศาสนาสำคัญคือ งานเข้าพรรษา ออกพรรษา
และวันสงกรานต์ ส่วนงานวิสาขบูชา อาสาฬหบูชา หรือมาฆบูชา ยังไม่มีการฟื้นฟู พระเทศน์เป็นภาษาไทลื้อให้ญาติโยมฟังเสมอ โ
ดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเข้าพรรษา มีการเทศน์มหาชาติทุกๆ ปี เทศน์คาถาพัน ตั้งแต่ตี 4 ถึง 6 โมงเย็นจบ ที่นี่ยังไม่มีอุปัชฌาย์ องค์ที่มีอยู่อายุพรรษาไม่ถึง แต่วัดนี้เป็นวัดสำคัญ มีอะไรๆ ก็ต้องมาชุมนุมกันที่นี่
Next >>