<< Back
" เจียงหนานแสนงาม วันจันทร์ที่ 5 เมษายน 2542 "
(น. 75) รูป 56 เครื่องปั้นดินเผารูปตุ๊กตาพาหนะที่ใส่ในหลุมศพ
Earthen figures buried in the grave.
(น. 76) รูป 57 เครื่องปั้นดินเผารูปตุ๊กตาพาหนะที่ใส่ในหลุมศพ
Earthen figures buried in the grave.
(น. 76)
10. เครื่องเคลือบสมัยราชวงศ์หยวน-หมิง (ค.ศ. 1279 – ค.ศ. 1368 และ ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1644) มีเครื่องเคลือบชนิดต่างๆ สีขาว ขาวลายน้ำเงิน เหลือง
สีประสมม่วงออกแดง บางชิ้นมีตราเขียนไว้ที่ชามบอกปีรัชศกที่ทำ มีเครื่องลายครามจากเตาหลวงที่จิ่งเต๋อเจิ้น เตาราษฎร์ทำอ่างลายคราม สิ่งของสมัยจักรพรรดิเจียจิ้งแห่งราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1522 – ค.ศ. 1566) มีเครื่องหยกต่างๆ
11. ของที่พิพิธภัณฑ์ได้มาใหม่ เครื่องปั้นดินเผาจำลองและหม้อเผากำยานสมัยราชวงศ์ฮั่น เครื่องเคลือบสมัยราชวงศ์ถังและสมัยห้าราชวงศ์ (ค.ศ. 907 – ค.ศ. 960) จากหูหนาน มีชาวเกาหลีไปซื้อมาบริจาคให้
(น. 76) รูป 58 เครื่องปั้นดินเผารูปตุ๊กตาพาหนะที่ใส่ในหลุมศพ
Earthen figures buried in the grave.
(น. 77) ที่จริงยังมีอีกมากแต่ไม่มีเวลาดู ทางพิพิธภัณฑ์ให้หนังสือเกี่ยวกับของที่แสดงในพิพิธภัณฑ์นี้
ไปที่สถาบันไทยคดีศึกษา รัฐบาลไทยบริจาคเงินจำนวนหนึ่งช่วยในการวิจัยเกี่ยวกับภาษา วรรณคดี สังคม เศรษฐศาสตร์ ป้อนข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยลงในคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเรื่องการท่องเที่ยว
การลงทุน สถานเอกอัครราชทูตไทยช่วยส่งข้อมูลให้ทั้งที่เป็นภาษาจีนและภาษาไทย มีสารานุกรมไทย ที่ธนาคารไทยพาณิชย์จัดทำด้วย มีอาจารย์ 3 คน จะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาสอนเป็นครั้งคราว
(น.77) รูป 59 นักเรียนที่เรียนภาษาไทย
Chinese students who are studying Thai language at Beijing University.
(น. 78) อีกห้องหนึ่งมีอาจารย์และนักศึกษารออยู่ทั้งนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทย และนักศึกษาไทยที่มาเรียนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งนี้ นักศึกษาจีนที่พบเป็นนักศึกษาปีที่1
เพิ่งเรียนภาษาไทยมาได้ประมาณ 1 ภาคการศึกษา สามารถพูดภาษาไทยได้ชัดเจน บางทีก็ใช้สำนวนจีน แต่พอจะเข้าใจได้ ไม่ได้พบคนที่เรียนสูงกว่านั้น จึงไม่ทราบว่าเขาสอนวิชาการที่สูงขึ้นไปกว่านี้หรือเปล่า หรือว่าให้พูดได้อ่านเขียนได้บ้าง เพื่อออกไปทำงานเลย
ก่อนกลับอาจารย์และนักศึกษามายืนส่ง ร้องเพลงลอยกระทงซึ่งอาจารย์เพิ่งสอนให้ร้อง ยังไม่ทันได้อธิบายความหมาย
รถแล่นผ่านห้องสมุดที่สร้างขึ้นใหม่ในโอกาสฉลอง 100 ปีของมหาวิทยาลัย ไม่มีเวลาเข้าไปดู
ท่านทูตจังเหลียนเล่าว่ายังมีกิจกรรมอื่นๆอีก เช่น ความพยายามในการปรับปรุงการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม เช่น อาจจะต้องรวมภาควิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน หรือเลิกบางภาควิชาไปเลย
และต้องเปิดสอนวิชาใหม่ๆ ในสภาพสังคมปัจจุบันคนที่ทำงานทางวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องมีความรู้ทางศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส่วนคนที่เรียนเน้นหนักทางศิลปศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ก็ต้องมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์บ้าง
เวลานี้ผู้นำสนใจเรื่องการศึกษามาก เพราะประเทศจะเจริญเข้มแข็งต้องอาศัยบุคลากรที่มีความสามารถ ทางการจีนจึงพยายามปรับปรุงคุณภาพชีวิตของครูอาจารย์ให้ดีขึ้น
สร้างบ้านพักให้ใหม่ ให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี จะได้มีกำลังใจในการค้นคว้าวิจัยและถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ จีนเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีเรื่องที่จะต้องจัดการอีกหลายเรื่อง
(น. 79) นักเรียนจีนต้องเรียนหนัก มหาวิทยาลัยไม่มีที่พอสำหรับทุกคน ต้องแข่งขันสูง ปัจจุบันอนุญาตให้มีมหาวิทยาลัยเอกชนได้และเพิ่มเติมให้มีการสอนทางโทรทัศน์ ให้นักศึกษาเรียนด้วยตัวเองทางไปรษณีย์ก็มี ใช้รูปแบบการสอนทางไกลในมหาวิทยาลัยระบบเปิด (Open University)
จากมหาวิทยาลัยตรงไปโรงเรียนประถมศึกษาหมายเลข 2 อาจารย์ใหญ่ติดธุระไม่ได้มาต้อนรับ รองอาจารย์ใหญ่ชื่อเจ้าฮุยเป็นผู้หญิงท่าทางคล่องแคล่ว เป็นผู้อธิบายประวัติความเป็นมาของโรงเรียน โรงเรียนแห่งนี้ตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1909
ถึงวันที่ 19 กันยายนจะมีอายุ 90 ปีแล้ว เมื่อแรกก่อตั้งมีจุดประสงค์ให้เป็นโรงเรียนสาธิตของวิทยาลัยครูหญิงเมืองปักกิ่ง ป้ายชื่อโรงเรียนเป็นลายมือของท่านกัวมั่วรั่ว นับถึงปัจจุบันมีนักเรียนสำเร็จการศึกษาไปแล้วหมื่นกว่าคน
นักเรียนเก่าของโรงเรียนนี้เป็นคนมีชื่อเสียงหลายคน เช่น ท่านเฉินเสวียจัง เป็นนักวิทยาศาสตร์ เรียนจบใน ค.ศ. 1922 หวังกวงเหม่ย ภริยาท่านหลิวเซ่าฉี เรียนจบเมื่อ ค.ศ. 1934
(น. 79) รูป 60 โรงเรียนประถมศึกษาหมายเลข 2
At the Primary School No. 2.
(น. 80) ลูกสาวคนเล็กของท่านกัวมั่วรั่วก็เคยเรียนที่นี่ เมื่อเขาจบการศึกษา ท่านกัวมั่วรั่วยังเขียนบทนิพนธ์ของท่านประธานเหมาติดเอาไว้ให้ที่นี่
ปัจจุบันมีนักเรียน 1,960 กว่าคน แบ่งเป็นห้องเรียน 30 กว่าห้อง เรียนวันละ 6 ชั่วโมง มีวิชาที่สอน 10 กว่าวิชา วิชาหลักที่เรียนคือ ภาษาจีน เลข ภาษาอังกฤษ พลศึกษา และคอมพิวเตอร์
ตอนบ่ายวันอังคารมีเวลาว่างให้ทำกิจกรรมได้ เด็กเลือกทำกิจกรรมตามชอบใจ ไม่มีการแบ่งชั้นเรียน นักเรียนที่พ่อแม่ทำงานทั้งคู่มีชั่วโมงพิเศษตอนบ่ายหลังเลิกเรียนให้ทำการบ้านที่โรงเรียนได้ ในทศวรรษ 1950
กระทรวงศึกษาธิการและศูนย์วิจัยกลางของมหาวิทยาลัยครูปักกิ่งเคยมอบให้ทดลองการสอนแบบใหม่ ให้มีชั้นประถม 6 ปี ชั้นมัธยมต้น 3 ปี มัธยมปลาย 3 ปี ปรับปรุงตำราและวิธีสอน ปัจจุบันโรงเรียนรับเด็กตั้งแต่ 6 ขวบครึ่ง จนถึงประมาณ 12 – 13 ขวบ
ข้าพเจ้าถามถึงการคัดเลือกนักเรียนทำอย่างไร
อาจารย์ตอบว่าทางศึกษาธิการเขตแบ่งเขตให้โรงเรียนต่างๆ โรงเรียนรับเด็กในเขตการศึกษา ทุกคนมีสิทธิเข้าเรียน อีกส่วนหนึ่งเป็นลูกหลานศิษย์เก่าที่มีความผูกพันกับโรงเรียน ก็ขอเข้าเรียนได้
ถามว่ากิจกรรมบ่ายวันอังคารมีอะไรบ้าง
(น. 81) รูป 61 ห้องคอมพิวเตอร์
Computer room.
(น. 81) อาจารย์ตอบว่า มีกีฬาชนิดต่างๆ ร้องรำทำเพลง คอมพิวเตอร์ การฝีมือต่างๆ เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านก็แนะนำให้ไปร่วมกิจกรรมที่วังเยาวชนของเขตหรือนคร
โรงเรียนมีคณะนาฏศิลป์ของตนเอง แบ่งเป็นประเภทขับร้องดนตรี Orchestra ดนตรีพื้นเมือง ขับร้องประสานเสียง ถ้าครูในโรงเรียนสอนไม่ได้ก็จะจ้างครูข้างนอกมาสอน
ออกไปดูห้องเรียน
1. ห้องคอมพิวเตอร์ มี 2 ห้อง รวมจำนวนคอมพิวเตอร์ 120 เครื่อง นักเรียนเข้ามาใช้ 1 คนต่อ 1 เครื่อง ใช้เรียนภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ กำลังทดลองใช้เรียนภาษาจีน
เริ่มให้ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งแต่อยู่ชั้น ป.1 แต่ว่า ป.4 ขึ้นไปจะต้องเรียนความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง ใช้ Software Window 95 เป็นส่วนใหญ่เพราะว่าเด็กเล็กๆ ไม่ต้องเรียน
(น. 82) รูป 62 ห้องเก็บอุปกรณ์การสอน
The room where teaching aids are kept.
รูป 63 ตัวอย่างสัตว์ที่ครูสตัฟฟ์ไว้
Example of stuffed animal.
Next >>