Please wait...

<< Back

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม 2537


(น.87) รูป 92 หลวงพ่อปักกิ่ง

(น.87) ในสมัยราชวงศ์ชิง ช่วงที่ประเทศสัมพันธมิตร 8 ชาติ บุกปักกิ่ง (ค.ศ. 1900 สมัยกบฎนักมวย) เนื่องจากบริเวณวัดนี้เป็นเขตสำคัญทางยุทธศาสตร์ เพราะเป็นที่สูงที่สุดในปักกิ่ง ฝ่ายราชวงศ์ชิงจึงตั้งกองทหารไว้ พันธมิตรยิงเข้ามาไม่ถูกเจดีย์ แต่เจดีย์เก่าแล้วก็ล้มโครมลง วันหนึ่งพระในวัดนี้ได้พบพระธาตุ พระธาตุนี้บรรจุอยู่ในผอบหิน มีจารึกบอกศักราช ซึ่งตรงกับพงศาวดารจดไว้ จึงเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี แต่ไม่ได้บอกให้ใครทราบ จนกระทั่งถึงสมัยจีนใหม่ พระจึงนำเรื่องพระธาตุเสนอนายกฯ โจวเอินไหล ท่านเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ ปี ค.ศ. 1956


(น.88) รูป 93 หลวงพ่อปักกิ่ง

Sf1_088_0943.jpg รูป 94 คำจารึกที่ฐานชุกชี หลวงพ่อปักกิ่ง


(น.89) รูป 95 หลวงพ่ออวยพร


รูป 96 ในเจดีย์พระบรมธาตุ


(น.90) รูป 97 ในเจดีย์พระบรมธาตุ


รูป 98 ในเจดีย์พระบรมธาตุ


(น.91) รูป 99 เดินไปดูฐานเจดีย์เก่า

(น.91) จึงนำเจดีย์องค์เล็กๆจากพระราชวังหลวงในปักกิ่ง เป็นของในสมัยราชวงศ์ชิง มาประดิษฐานพระบรมธาตุ และสร้างเจดีย์ใหญ่ (ที่เราขึ้นไป) ที่วัดหลิงกวงในปี ค.ศ. 1955 เจดีย์ทองบรรจุพระเขี้ยวแก้วดูเป็นแบบเจดีย์ลัทธิ ลามะทิเบต มีจารึกซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าเป็นตัวเทวนาครี ภาษาสันสกฤต แต่ข้าพเจ้าไม่ทราบเนื้อความ (ความจริงน่าจะเป็นตัวสิทธัมเป็นอักษรอินเดียที่ใช้จารึกมนตร์ต่างๆ ทางลัทธิตันตระ) ปี ค.ศ. 1957 อูนุเป็นนายกรัฐมนตรีพม่า มาขอเชิญพระธาตุไปบูชาที่พม่า (ผ่านสิบสองปันนา) เป็นเวลาหนึ่งปี นี่เป็นเรื่องที่ฟังเล่าด้วยวาจา ถ้าจะเอาให้แน่นอนก็ต้องอ่านหนังสือและวิเคราะห์ดูอีกครั้ง


(น.92) รูป 100 ชื่อรูป เดินไปดูฐานเจดีย์เก่า


รูป 101 ฐานเจดีย์เก่า


(น.93) รูป 102 สร้อยแก้วลายพระอรหันต์ 18 องค์ และประคำลูกนัต

(น.93) ไปดูฐานเจดีย์เก่าที่เขาบูรณะขึ้น (ของเก่าแตกกระจาย) ฐานของเก่าสมัยราชวงศ์เหลียว ลวดลายต่างๆ เช่น ลายพลับพลา คนมีปีกบินเอียงๆ คล้ายๆ ที่ตุนหวง หินบางก้อนก็เอามาปะจากที่อื่น ฐานเจดีย์ก่อด้วยอิฐสีออกขาว ตอนที่พบพระธาตุว่าอยู่ในกล่องทองคำ เงิน และหินซ้อนกัน พบศิลาจารึกอธิบายเรื่องพระธาตุด้วย ก่อนกลับคุณตาวให้หนังสือประวัติ รูปพระธาตุ สร้อยทำด้วยแก้ว เขียนลายพระอรหันต์ 18 องค์ เขียนจากข้างในประคำทำด้วยเมล็ดของลูกนัตชนิดหนึ่งที่ขึ้นแถบนี้ ซื้อหนังสือเรื่องพระเขี้ยวแก้วมาเล่มหนึ่ง แต่เป็นนวนิยาย ไม่ได้เป็นประวัติจริง ก่อนกลับคุณตาวพูดถึงว่าจะมีงาน “วัฒนธรรมห้าเชียง” ได้แก่ เชียงรุ้ง เชียงตุง เชียงราย เชียงใหม่ เชียงทอง (หลวงพระบาง) ซึ่งเขาคิดจะไปร่วมงาน

Next >>